คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จขกท น่าจะหมายถึง แท่งเหล็กชุดที่ไขว้กันเป็นตัว X ยึดระหว่าง I girder ( จขกท เรียก I beam ) ปกติเหล็กชุดนี้ในแบบจะเรียก cross frame ครับ
พอขยายรูปดู ไปที่ web stiffenet ของ I girder เหมือนโดนถอด cross frame ไปจริงๆ ด้วย เนื่องจากที่ web stiffener มีร่องรอยอยู่ชัดมากๆ
เจ้าตัว cross frame มีหน้าที่กระจายน้ำหนักที่บรรทุกจากบนสะพาน กระจายเข้าหา I girder ให้หลายๆตัวช่วยกันรับไป จะได้ ไม่ต้องออกแบบ I girder ให้ใหญ่เกินไป รวมทั้งช่วยไม่ให้ I girder เกิดการ buckling
การโดนถอดไป 1 ช่อง น่าจะมีผลในด้าน การกระจายน้ำหนักบรรทุก ลงสู่ I girdet แต่ละตัว ทำให้แรงที่ลง I girder เปลี่ยนไป ครับ
ส่วนเรื่อง girder buckling น่าจะยังไม่เกิดเนื่องจากเขาถอดแค่ 1 ช่อง คือ I girder ที่มีอยู่ ยังโดนล๊อคด้วย cross frame ที่ด้านข้างอีก 1 ด้าน เสมอ
ถ้าคนถอด ถอด cross frame จน มี I girder ที่ไม่มีชุด cross frame ประกบ ด้านข้างเลย I gider ตัวนั้น ก็จะมี โอกาสเกิด พฤติกรรม torsional buckling ได้ง่ายขึ้นมากๆ ครับ
ชิ้นโครงสร้าง ที่ทำหน้าที่เหมือน cross frame ของสะพานเหล็ก ก็มีในสะพานคอนกรีตอัดแรง ครับ คือ เป็นคานขวาง ยึด คาน ปูน pc I girder เข้าหากัน ในคานปูน pc I girder เราเรียกชิ้นที่ยึดว่า diaphragm จะมีการยึดที่ตำแกน่งปลายคานเรียก end diaphragm หรือ exterior diaphragm และมีการยึดช่วงในคาน interior diaphragm ก็ทำหน้าที่ กระจายแรง ให้คานหลายๆตัวช่วยกันรับน้ำหนักครับ
โดยปกติ การกระจายแรงหรือน้ำหนักบรรทุกนั้น ถ้าอาศัยเพียงแค่แผ่นพื้นปูน การกระจายแรงยังดีไม่พอ เมื่อเทียบกับการมีชุด cross frame ส่วนเรื่อง การป้องกัน torsional buckling นั้น cross frame ทำได้ดีอยู่แล้วครับ
ในบางสะพานตัว cross frame ก็ใช้รุปแบบ I beam หรือ H beam นะครับ คือ เป็นแค่คานขวาง ไม่มีการไขว้เป็นรูปตัว X นะครับ
พอขยายรูปดู ไปที่ web stiffenet ของ I girder เหมือนโดนถอด cross frame ไปจริงๆ ด้วย เนื่องจากที่ web stiffener มีร่องรอยอยู่ชัดมากๆ
เจ้าตัว cross frame มีหน้าที่กระจายน้ำหนักที่บรรทุกจากบนสะพาน กระจายเข้าหา I girder ให้หลายๆตัวช่วยกันรับไป จะได้ ไม่ต้องออกแบบ I girder ให้ใหญ่เกินไป รวมทั้งช่วยไม่ให้ I girder เกิดการ buckling
การโดนถอดไป 1 ช่อง น่าจะมีผลในด้าน การกระจายน้ำหนักบรรทุก ลงสู่ I girdet แต่ละตัว ทำให้แรงที่ลง I girder เปลี่ยนไป ครับ
ส่วนเรื่อง girder buckling น่าจะยังไม่เกิดเนื่องจากเขาถอดแค่ 1 ช่อง คือ I girder ที่มีอยู่ ยังโดนล๊อคด้วย cross frame ที่ด้านข้างอีก 1 ด้าน เสมอ
ถ้าคนถอด ถอด cross frame จน มี I girder ที่ไม่มีชุด cross frame ประกบ ด้านข้างเลย I gider ตัวนั้น ก็จะมี โอกาสเกิด พฤติกรรม torsional buckling ได้ง่ายขึ้นมากๆ ครับ
ชิ้นโครงสร้าง ที่ทำหน้าที่เหมือน cross frame ของสะพานเหล็ก ก็มีในสะพานคอนกรีตอัดแรง ครับ คือ เป็นคานขวาง ยึด คาน ปูน pc I girder เข้าหากัน ในคานปูน pc I girder เราเรียกชิ้นที่ยึดว่า diaphragm จะมีการยึดที่ตำแกน่งปลายคานเรียก end diaphragm หรือ exterior diaphragm และมีการยึดช่วงในคาน interior diaphragm ก็ทำหน้าที่ กระจายแรง ให้คานหลายๆตัวช่วยกันรับน้ำหนักครับ
โดยปกติ การกระจายแรงหรือน้ำหนักบรรทุกนั้น ถ้าอาศัยเพียงแค่แผ่นพื้นปูน การกระจายแรงยังดีไม่พอ เมื่อเทียบกับการมีชุด cross frame ส่วนเรื่อง การป้องกัน torsional buckling นั้น cross frame ทำได้ดีอยู่แล้วครับ
ในบางสะพานตัว cross frame ก็ใช้รุปแบบ I beam หรือ H beam นะครับ คือ เป็นแค่คานขวาง ไม่มีการไขว้เป็นรูปตัว X นะครับ
แสดงความคิดเห็น
สะพานที่โครงสร้างเป็นเหล็ก ตัว I-beam จำเป็นต้องมีตัวยึดระหว่างกันทุกอันไหมครับ เจอที่อโศกเหมือนกันแหว่งไป
ผมสังเกตมานานแล้วแหละ ประมาณสิบปีละ แต่ไม่มีโอกาสจะถ่ายรูปมาถาม
ผมเจอว่า I-beam ของสะพานข้ามคลอง ตรงสถานทูตญี่ปุ่นเก่า ตรงท่าเรืออโศก โครงเหล็กยึด I-beam มันหายไปบางส่วน
คือผมก็ไม่ทราบว่ามันไม่มีแต่แรกตั้งแต่ตอนบูรณะสะพาน หรือ ว่ามันโดนเอาออกไปภายหลัง
เลยสงสัยว่าปกติแล้ว I-beam มันควรมีตัวยึดระหว่างกันทุกอันไหมครับ ถึงแม้ว่ามันไม่ได้เป็นแนวรับแรงหลักก็ตาม
แล้วแบบนี้ส่งผลต่อความ stable ของ I-beam ที่วางเป็นคานสะพานไหม
ในภาพสุดท้ายดูจากร่องรอย เหมือนมันโดนเอาออกไปทีหลัง เพราะ รอยเก่าเนื่องจากฝุ่นแตกต่างกัน