บางคนอาจจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า "
หนามตำใจในการปฏิบัติธรรม" นี่คืออะไร? ผมจะอธิบายให้ชัดเจน
นักปฏิบัติธรรม จะต้องมีความตรงไปตรงมาในการปฏิบัติ มีสัมมาทิฏฐิในจิต ไม่ลำเอียง
ไม่เบี่ยงเบนและบิดเบือนความจริงโดยเจตนา
ถ้าสิ่งใดที่คนอื่นพูดถูก คุณรู้อยู่แก่ใจว่าถูก คุณจะต้องว่าถูก ยอมรับในความถูกต้องนั้น (จิตของคุณจะพัฒนาไปเรื่อยๆ)
แต่ถ้าคุณลำเอียงมีอคติด้วยอย่างหนึ่งอย่างใด (ลำเอียง เพราะรัก,เพราะโลภ,เพราะโกรธ,เพราะหลง)
แล้วเจตนาพูดเรื่องนั้นให้บิดเบือนไป ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าผู้อื่นพูดถูกต้องแล้ว
แสดงว่าคุณกำลังเดินออกนอกเส้นทางของความมีสัมมาทิฏฐิ ออกนอกเส้นทางของนักปฏิบัติ
เพราะการตั้งใจเจตนาพูดบิดเบือน ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าผู้อื่นพูดถูกต้องแล้ว ก็คือการตั้งใจพูดเท็จโดยเจตนา ศีลของคุณจึงไม่บริสุทธิ์
และเรื่องๆนั้นก็จะกลายมาเป็นหนามตำใจในการปฏิบัติธรรมของคุณ จะทำให้คุณหาความก้าวหน้าในทางธรรมได้ยาก
ยกตัวอย่างเช่น....
ถ้าคุณเคยโต้เถียงกับผู้อื่นว่าไม่ควรที่จะฝึกกสิณ เพราะเข้าใจว่าการฝึกกสิณจะทำให้เป็นบ้า เพราะตอนนั้นคุณขาดความรู้
แต่ต่อมาในภายหลังคุณรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้สอนให้ฝึกกสิณเอง ถ้าการฝึกกสิณแล้วเป็นบ้า พระพุทธเจ้า ก็คงจะไม่สอนเอาไว้
แสดงว่าคุณมีความเข้าใจผิด เพราะขาดความรู้ เพราะรู้ไม่ถึงเอง แต่ก็พยายามจะตะแบงพูดให้คนอื่นเข้าใจว่าการฝึกกสิณไม่ดีไปซะทุกกระทู้
จะมีผลทำให้ต่อมา ถ้าวันใดคุณนึกอยากจะฝึกกสิณเพื่อให้มีทิพย์จักษุญาณขึ้นมาบ้าง แต่ติดตรงที่คุณเคยโต้เถียงตะแบงกับผู้อื่นเอาไว้ในเรื่องกสิณ
พยายามพูดบิดเบือนความจริงเอาไว้มากมายซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าการฝึกกสิณไม่ดี (ทั้งๆที่รู้ความจริงแล้วว่าดี เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้เอง)
ใจของคุณยังตะแบงอยู่ ว่าตัวเองพูดถูกต้องในครั้งนั้น ไม่ยอมรับว่าตัวเองขาดความรู้ จึงมีความเข้าใจผิด เพราะกลัวเสียหน้า (
ใจยังตะแบงไม่เลิก)
จะมีผลทำให้ทุกๆครั้งที่คุณพยายามจะฝึกกสิณให้ได้ หนามตำใจที่คุณเคยตะแบงธรรมในเรื่องกสิณกับผู้อื่นเอาไว้ จะออกมาขวางการปฏิบัติ
คุณจะวางอารมณ์สมาธิได้ไม่ถึง จะทำอย่างไรก็ไม่ผ่าน
จนกว่าจิตของคุณจะยอมรับถึงความเข้าใจผิดของตนเองในอดีตอย่างเต็มใจ
คุณถึงจะผ่านด่านนี้ไปได้ (นักปฏิบัติธรรมจะมาเจอด่านนี้ เพราะว่าคุณจะต้องมีสัมมาทิฏฐิในทุกๆเรื่องที่คุณกำลังปฏิบัติ)
และถ้าคุณชอบโต้เถียงกับผู้อื่นมาก โต้เถียงกับผู้อื่นบ่อย
และก็ชอบตะแบงธรรมว่าตัวเองพูดถูกไปซะทุกเรื่อง (ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองเข้าใจผิดแล้ว)
คุณจะขาดสปิริตของนักปฏิบัติธรรม
คุณจะสะสมหนามตำใจอยู่ในจิตหลายเรื่อง จะมีผลทำให้การปฏิบัติธรรมของคุณไม่ก้าวหน้า
เพราะผลกรรมจากการเจตนาปรามาสและตะแบงธรรม จะมาปิดกั้นความเจริญในทางธรรมของคุณเอาไว้
บทความเรื่อง "หนามตำใจ" ในการปฏิบัติธรรม
บางคนอาจจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า "หนามตำใจในการปฏิบัติธรรม" นี่คืออะไร? ผมจะอธิบายให้ชัดเจน
นักปฏิบัติธรรม จะต้องมีความตรงไปตรงมาในการปฏิบัติ มีสัมมาทิฏฐิในจิต ไม่ลำเอียง ไม่เบี่ยงเบนและบิดเบือนความจริงโดยเจตนา
ถ้าสิ่งใดที่คนอื่นพูดถูก คุณรู้อยู่แก่ใจว่าถูก คุณจะต้องว่าถูก ยอมรับในความถูกต้องนั้น (จิตของคุณจะพัฒนาไปเรื่อยๆ)
แต่ถ้าคุณลำเอียงมีอคติด้วยอย่างหนึ่งอย่างใด (ลำเอียง เพราะรัก,เพราะโลภ,เพราะโกรธ,เพราะหลง)
แล้วเจตนาพูดเรื่องนั้นให้บิดเบือนไป ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าผู้อื่นพูดถูกต้องแล้ว
แสดงว่าคุณกำลังเดินออกนอกเส้นทางของความมีสัมมาทิฏฐิ ออกนอกเส้นทางของนักปฏิบัติ
เพราะการตั้งใจเจตนาพูดบิดเบือน ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าผู้อื่นพูดถูกต้องแล้ว ก็คือการตั้งใจพูดเท็จโดยเจตนา ศีลของคุณจึงไม่บริสุทธิ์
และเรื่องๆนั้นก็จะกลายมาเป็นหนามตำใจในการปฏิบัติธรรมของคุณ จะทำให้คุณหาความก้าวหน้าในทางธรรมได้ยาก
ยกตัวอย่างเช่น....
ถ้าคุณเคยโต้เถียงกับผู้อื่นว่าไม่ควรที่จะฝึกกสิณ เพราะเข้าใจว่าการฝึกกสิณจะทำให้เป็นบ้า เพราะตอนนั้นคุณขาดความรู้
แต่ต่อมาในภายหลังคุณรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้สอนให้ฝึกกสิณเอง ถ้าการฝึกกสิณแล้วเป็นบ้า พระพุทธเจ้า ก็คงจะไม่สอนเอาไว้
แสดงว่าคุณมีความเข้าใจผิด เพราะขาดความรู้ เพราะรู้ไม่ถึงเอง แต่ก็พยายามจะตะแบงพูดให้คนอื่นเข้าใจว่าการฝึกกสิณไม่ดีไปซะทุกกระทู้
จะมีผลทำให้ต่อมา ถ้าวันใดคุณนึกอยากจะฝึกกสิณเพื่อให้มีทิพย์จักษุญาณขึ้นมาบ้าง แต่ติดตรงที่คุณเคยโต้เถียงตะแบงกับผู้อื่นเอาไว้ในเรื่องกสิณ
พยายามพูดบิดเบือนความจริงเอาไว้มากมายซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าการฝึกกสิณไม่ดี (ทั้งๆที่รู้ความจริงแล้วว่าดี เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้เอง)
ใจของคุณยังตะแบงอยู่ ว่าตัวเองพูดถูกต้องในครั้งนั้น ไม่ยอมรับว่าตัวเองขาดความรู้ จึงมีความเข้าใจผิด เพราะกลัวเสียหน้า (ใจยังตะแบงไม่เลิก)
จะมีผลทำให้ทุกๆครั้งที่คุณพยายามจะฝึกกสิณให้ได้ หนามตำใจที่คุณเคยตะแบงธรรมในเรื่องกสิณกับผู้อื่นเอาไว้ จะออกมาขวางการปฏิบัติ
คุณจะวางอารมณ์สมาธิได้ไม่ถึง จะทำอย่างไรก็ไม่ผ่าน จนกว่าจิตของคุณจะยอมรับถึงความเข้าใจผิดของตนเองในอดีตอย่างเต็มใจ
คุณถึงจะผ่านด่านนี้ไปได้ (นักปฏิบัติธรรมจะมาเจอด่านนี้ เพราะว่าคุณจะต้องมีสัมมาทิฏฐิในทุกๆเรื่องที่คุณกำลังปฏิบัติ)
และถ้าคุณชอบโต้เถียงกับผู้อื่นมาก โต้เถียงกับผู้อื่นบ่อย และก็ชอบตะแบงธรรมว่าตัวเองพูดถูกไปซะทุกเรื่อง (ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองเข้าใจผิดแล้ว)
คุณจะขาดสปิริตของนักปฏิบัติธรรม คุณจะสะสมหนามตำใจอยู่ในจิตหลายเรื่อง จะมีผลทำให้การปฏิบัติธรรมของคุณไม่ก้าวหน้า
เพราะผลกรรมจากการเจตนาปรามาสและตะแบงธรรม จะมาปิดกั้นความเจริญในทางธรรมของคุณเอาไว้