TMB ขายลูกกิน (โดย อีหล่าน้อย เว็บ Share2Trade)
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3222
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กำไรไตรมาสสองและงบครึ่งปี 2561 ออกมาสร้างความผิดหวังอีกครั้ง ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หลังจากงบออกมาได้ไม่กี่วัน ก็มีเรื่องแปลกและพิลึกพิลั่นตามมาติดๆกัน
นั่นคือข่าวการขาย(เกือบ)ทิ้งชนิดแทบไปเหลือเยื่อใยใน หุ้น บลจ.ทหารไทย หรือ TMBAM ให้กลุ่ม"พรูเด็นเชียล"ล็อตแรก 65% เสริมความแข็งแกร่ง ก่อนเล็งขายออกที่เหลืออีก 35% ในอนาคตทั้งหมด
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา TMB แจ้งว่า ได้เข้าทำสัญญากับ บริษัท พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย จำกัด (พีซีเอแอล) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับ อีสท์สปริง อินเวสต์เมนทส์ (สิงคโปร์) จำกัด (อีสท์สปริง) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่พีซีเอแอลถือหุ้นอยู่ทั้งหมดโดยทางอ้อม สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (บลจ. ทหารไทย) โดยภายใต้สัญญาดังกล่าว ธนาคารตกลงที่จะขายหุ้นของ บลจ.ทหารไทย คิดเป็นร้อยละ 65 ให้แก่ พีซีเอแอล
รวมทั้งตกลงที่จะขายหุ้นใน บลจ.ทหารไทย ส่วนที่เหลือทั้งหมดอีกร้อยละ 35 ให้แก่ พีซีเอแอลในอนาคตตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา
ทั้งนี้ การซื้อขายหุ้นตามสัญญาดังกล่าวจะอยู่ภายใต้ เงื่อนไขข้อบังคับก่อน โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่ใช้กันโดยทั่วไปกับสัญญาประเภทเดียวกับสัญญาซื้อขายหุ้นนี้ ซึ่งรวมถึงการได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลและเงื่อนไขการขายหุ้นระบุว่า 1) บลจ. ทหารไทย (ที่พ้นจากอำนาจควบคุมของ TMB แล้ว) จะยังคงเป็นหนึ่งใน บลจ. ขายให้กับลูกค้าของธนาคารร่วมกับบริษัทจัดการหลักทรัพย์อื่นๆ ตามปกติ นั่นคือ TMB ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายกองทุนให้กับTABAM ต่อไป 2) การเข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับอีสท์สปริง จะช่วยเพิ่มศักยภาพของ บลจ.ทหารไทย และยังเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์การขายกองทุนแบบเปิด (TMB open-architecture) ให้สามารถนำเสนอ ผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าธนาคาร ได้มากยิ่งขึ้น
ในการทำดีลนี้ TMB แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินสหรัฐฯ เมอริลล์ ลินช์ และธนาคารไอเอ็นจี (ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่แล้วของTMB) และตั้งที่ปรึกษาทางกฎหมาย บริษัท อัลเลน แอนด์ โอเวอรี่ ร่วมให้ความเห็นในการกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ ตลอดการเจรจาสัญญา
หากตัดคำพูด"ดีเกินจริง"ในการแถลงข่าว ของ นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ TMB ถึงข้อดีของการขายทิ้ง บลจ.ทหารไทยที่อ้างว่าในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา บลจ. ทหารไทยมีผลการดำเนินงานที่ดีและมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีสูงถึง 26% ก็จะได้สาระเหลืออยู่ว่า บลจ. ทหารไทย จะยังคงบริหารงานโดยผู้บริหารชุดเดิมซึ่งมี นายสมจินต์ ศรไพศาล เป็นกรรมการผู้จัดการ ต่อไป โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากอีสท์สปริง เข้ามาช่วยเติมเต็มศักยภาพ ที่เหลือรายละเอียดอื่นๆ ล้วนอยู่ในความอึมครึม ไม่ว่าจะเป็นราคาขาย หรือ เหตุผลอื่นๆ ที่สำคัญเหตุผล 2 ข้อที่ใช้อ้างในการขายทิ้งTMBAM นั้น จริงแล้วมีข้อแรกข้อเดียวที่มีสาระ ส่วนข้อหลังอ้างตามสูตรสำเร็จให้ดูดีเท่านั้น ไม่มีสาระอะไรเลย
พูดถึงความจำเป็นในการขาย TMBAM ถือว่ายังไม่ชัดเจนในทางการเงินเพราะTMB ไม่ได้อยู่ในฐานะยากลำบากต้องถูกสถานการณ์บีบคั้นให้ขายทรัพย์สินทิ้งเพื่อเอาตัวรอดจากการขาดทุนหรือมีปัญหาอื่น เพราะหากพิจารณาลงลึกในงบการเงิน TMB ที่รายงานออกมาล่าสุดในไตรมาสสองที่ผ่านมา ก็ไม่เลวร้ายมากนัก โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2561 ที่ 9,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อนหน้า จากจำนวนลูกค้ารายย่อยที่ใช้บริการTMB และเครือข่ายเป็นประจำ (Active Customer) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2.5 ล้านราย ขณะที่ Active Digital Customer เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1 ล้านราย
นอกจากนั้น ยังสามารถขยายฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น 3% มาอยู่ที่ 6.32 แสนล้านบาท ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเงินฝากลูกค้ารายย่อย กับสามารถขยายสินเชื่อคุณภาพ (Performing loan) ได้ 2% จากปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 6.36 แสนล้านบาท เป็นการเติบโตจากกลุ่มลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก โดยเฉพาะจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น 9% หรือ 1.2 หมื่นล้านบาท ในส่วนของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ พบว่าสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงเติบโตได้ดีที่ 3% หรือ 7.7 พันล้านบาท
ความสำเร็จในรายรุกสร้างฐานลูกค้ารายย่อย ที่มีผลลบต่อส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย ให้ลงมาอยู่ที่ 3.01% ลดลงชัดเจนจาก 3.19% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 2% มาอยู่ที่ 12,130 ล้านบาท โดดเด่นและหักลบรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น 7% มาอยู่ที่ 6,447 ล้านบาท ทำให้โดยรวม ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 18,576 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 8,559 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เช่นกัน และแม้กำไรปกติจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อมีการตั้งสำรองมาก ผลลัพธ์จึงน่าผิดหวัง
ในส่วนของ TMBAM แม้ไม่มีการกล่าวถึงมากนักในงบการเงินของ TMB, แต่นักวิเคราะห์ที่ขุดคุ้ยหาข้อมูลเชิงลึกบางสำนักระบุว่า TMBAM (ซึ่งTMB เป็นแกนหลักในการร่วมก่อตั้ง บลจ.ทหารไทย เมื่อปี 2539 โดยในปัจจุบัน เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด) น่าจะมีปัญหาถูกเบียดขับรุนแรงขึ้นในการแข่งขัน จนธุรกิจรายได้ในธุรกิจบลจ.ของ TMBAM ในไตรมาสองล่าสุดลดลง เพราะกองทุน TMB Global Income Fund ให้ผลตอบแทนที่อ่อนแอลง
รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบลจ.ของ TMBAM คิดเป็น 30% ของรายได้ค่าธรรมเนียมรวม และรายได้จากกองทุน Fixed Income คิดเป็น 36% ของรายได้ค่าธรรมเนียมของธุรกิจ TMBAM
พูดตรงประเด็นคือ TMBAM เป็นภาระมากกว่าโอกาส ดังนั้นการตัดสินใจขายกิจการ"ที่ไม่ถนัด"เพื่อทำตัวให้เบา ให้กับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะเป็นบวกกับทั้ง TMB เพื่อจะไปทำงานอื่นแทน
ในระยะสั้น TMB จะมีกำไรจากการบันทึกขายเงินลงทุนใน TMBAM แต่ในระยะยาวจะส่งผลให้รายได้และกำไรจากธุรกิจบลจ.ที่ลดลง
สิ่งที่เป็นปริศนายิ่งกว่า"ปมกอร์เดี้ยน"ให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์งุนงง คือ ทำไมถึงมีเงื่อนขายทิ้งTMBAM ทั้งหมดในอนาคตด้วย
ที่ผ่านมา ปัญหาของTMB ที่บั่นทอนราคาหุ้นมาโดยตลอดคือ สิ่งที่นักวิเคราะห์พยายามตอกย้ำครั้งแล้วครั้งเล่า(แล้วก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ยอมพูดถึง) ว่า TMB มีแนวโน้มเชิงลบหลายด้านเช่น 1) สินเชื่อโตช้า 2) รายได้ค่าธรรมเนียมไม่ดีตามคาด ยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว จากการกระจุกตัวของการขายกองทุน 3) กำไรครึ่งปีแรกออกมาน่าผิดหวัง และครึ่งปีหลังยังมีความเสี่ยงอยู่ 4) ผลกระทบจาก IFRS9 ยังเป็นแรงกดดันในอนาคต
กระบวนการ"ทำตัวให้เบา"ด้วยการที่TMB ขายทิ้งเงินลงทุนใน TMBAM จึงมีคำถามมากกว่าคำตอบรออยู่ข้างหน้า
ที่น่าสนใจคือ 1 ในคำถามอยู่ที่ว่าการที่ธนาคารไอเอ็นจี เข้าเป็นเป็นหนึ่งใน 2M ที่ปรึกษาการเงินในการขายทิ้ง TMBAM จะเข้าข่าย"ผลประโยชน์ทับซ้อน"หรือไม่
คำตอบยังไม่มีในตอนนี้
//////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com
TMB ขายลูกกิน (โดย อีหล่าน้อย เว็บ Share2Trade)
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3222
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กำไรไตรมาสสองและงบครึ่งปี 2561 ออกมาสร้างความผิดหวังอีกครั้ง ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หลังจากงบออกมาได้ไม่กี่วัน ก็มีเรื่องแปลกและพิลึกพิลั่นตามมาติดๆกัน
นั่นคือข่าวการขาย(เกือบ)ทิ้งชนิดแทบไปเหลือเยื่อใยใน หุ้น บลจ.ทหารไทย หรือ TMBAM ให้กลุ่ม"พรูเด็นเชียล"ล็อตแรก 65% เสริมความแข็งแกร่ง ก่อนเล็งขายออกที่เหลืออีก 35% ในอนาคตทั้งหมด
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา TMB แจ้งว่า ได้เข้าทำสัญญากับ บริษัท พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย จำกัด (พีซีเอแอล) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับ อีสท์สปริง อินเวสต์เมนทส์ (สิงคโปร์) จำกัด (อีสท์สปริง) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่พีซีเอแอลถือหุ้นอยู่ทั้งหมดโดยทางอ้อม สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (บลจ. ทหารไทย) โดยภายใต้สัญญาดังกล่าว ธนาคารตกลงที่จะขายหุ้นของ บลจ.ทหารไทย คิดเป็นร้อยละ 65 ให้แก่ พีซีเอแอล
รวมทั้งตกลงที่จะขายหุ้นใน บลจ.ทหารไทย ส่วนที่เหลือทั้งหมดอีกร้อยละ 35 ให้แก่ พีซีเอแอลในอนาคตตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา
ทั้งนี้ การซื้อขายหุ้นตามสัญญาดังกล่าวจะอยู่ภายใต้ เงื่อนไขข้อบังคับก่อน โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่ใช้กันโดยทั่วไปกับสัญญาประเภทเดียวกับสัญญาซื้อขายหุ้นนี้ ซึ่งรวมถึงการได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลและเงื่อนไขการขายหุ้นระบุว่า 1) บลจ. ทหารไทย (ที่พ้นจากอำนาจควบคุมของ TMB แล้ว) จะยังคงเป็นหนึ่งใน บลจ. ขายให้กับลูกค้าของธนาคารร่วมกับบริษัทจัดการหลักทรัพย์อื่นๆ ตามปกติ นั่นคือ TMB ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายกองทุนให้กับTABAM ต่อไป 2) การเข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับอีสท์สปริง จะช่วยเพิ่มศักยภาพของ บลจ.ทหารไทย และยังเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์การขายกองทุนแบบเปิด (TMB open-architecture) ให้สามารถนำเสนอ ผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าธนาคาร ได้มากยิ่งขึ้น
ในการทำดีลนี้ TMB แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินสหรัฐฯ เมอริลล์ ลินช์ และธนาคารไอเอ็นจี (ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่แล้วของTMB) และตั้งที่ปรึกษาทางกฎหมาย บริษัท อัลเลน แอนด์ โอเวอรี่ ร่วมให้ความเห็นในการกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ ตลอดการเจรจาสัญญา
หากตัดคำพูด"ดีเกินจริง"ในการแถลงข่าว ของ นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ TMB ถึงข้อดีของการขายทิ้ง บลจ.ทหารไทยที่อ้างว่าในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา บลจ. ทหารไทยมีผลการดำเนินงานที่ดีและมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีสูงถึง 26% ก็จะได้สาระเหลืออยู่ว่า บลจ. ทหารไทย จะยังคงบริหารงานโดยผู้บริหารชุดเดิมซึ่งมี นายสมจินต์ ศรไพศาล เป็นกรรมการผู้จัดการ ต่อไป โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากอีสท์สปริง เข้ามาช่วยเติมเต็มศักยภาพ ที่เหลือรายละเอียดอื่นๆ ล้วนอยู่ในความอึมครึม ไม่ว่าจะเป็นราคาขาย หรือ เหตุผลอื่นๆ ที่สำคัญเหตุผล 2 ข้อที่ใช้อ้างในการขายทิ้งTMBAM นั้น จริงแล้วมีข้อแรกข้อเดียวที่มีสาระ ส่วนข้อหลังอ้างตามสูตรสำเร็จให้ดูดีเท่านั้น ไม่มีสาระอะไรเลย
พูดถึงความจำเป็นในการขาย TMBAM ถือว่ายังไม่ชัดเจนในทางการเงินเพราะTMB ไม่ได้อยู่ในฐานะยากลำบากต้องถูกสถานการณ์บีบคั้นให้ขายทรัพย์สินทิ้งเพื่อเอาตัวรอดจากการขาดทุนหรือมีปัญหาอื่น เพราะหากพิจารณาลงลึกในงบการเงิน TMB ที่รายงานออกมาล่าสุดในไตรมาสสองที่ผ่านมา ก็ไม่เลวร้ายมากนัก โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2561 ที่ 9,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อนหน้า จากจำนวนลูกค้ารายย่อยที่ใช้บริการTMB และเครือข่ายเป็นประจำ (Active Customer) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2.5 ล้านราย ขณะที่ Active Digital Customer เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1 ล้านราย
นอกจากนั้น ยังสามารถขยายฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น 3% มาอยู่ที่ 6.32 แสนล้านบาท ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเงินฝากลูกค้ารายย่อย กับสามารถขยายสินเชื่อคุณภาพ (Performing loan) ได้ 2% จากปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 6.36 แสนล้านบาท เป็นการเติบโตจากกลุ่มลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก โดยเฉพาะจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น 9% หรือ 1.2 หมื่นล้านบาท ในส่วนของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ พบว่าสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงเติบโตได้ดีที่ 3% หรือ 7.7 พันล้านบาท
ความสำเร็จในรายรุกสร้างฐานลูกค้ารายย่อย ที่มีผลลบต่อส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย ให้ลงมาอยู่ที่ 3.01% ลดลงชัดเจนจาก 3.19% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 2% มาอยู่ที่ 12,130 ล้านบาท โดดเด่นและหักลบรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น 7% มาอยู่ที่ 6,447 ล้านบาท ทำให้โดยรวม ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 18,576 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 8,559 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เช่นกัน และแม้กำไรปกติจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อมีการตั้งสำรองมาก ผลลัพธ์จึงน่าผิดหวัง
ในส่วนของ TMBAM แม้ไม่มีการกล่าวถึงมากนักในงบการเงินของ TMB, แต่นักวิเคราะห์ที่ขุดคุ้ยหาข้อมูลเชิงลึกบางสำนักระบุว่า TMBAM (ซึ่งTMB เป็นแกนหลักในการร่วมก่อตั้ง บลจ.ทหารไทย เมื่อปี 2539 โดยในปัจจุบัน เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด) น่าจะมีปัญหาถูกเบียดขับรุนแรงขึ้นในการแข่งขัน จนธุรกิจรายได้ในธุรกิจบลจ.ของ TMBAM ในไตรมาสองล่าสุดลดลง เพราะกองทุน TMB Global Income Fund ให้ผลตอบแทนที่อ่อนแอลง
รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบลจ.ของ TMBAM คิดเป็น 30% ของรายได้ค่าธรรมเนียมรวม และรายได้จากกองทุน Fixed Income คิดเป็น 36% ของรายได้ค่าธรรมเนียมของธุรกิจ TMBAM
พูดตรงประเด็นคือ TMBAM เป็นภาระมากกว่าโอกาส ดังนั้นการตัดสินใจขายกิจการ"ที่ไม่ถนัด"เพื่อทำตัวให้เบา ให้กับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะเป็นบวกกับทั้ง TMB เพื่อจะไปทำงานอื่นแทน
ในระยะสั้น TMB จะมีกำไรจากการบันทึกขายเงินลงทุนใน TMBAM แต่ในระยะยาวจะส่งผลให้รายได้และกำไรจากธุรกิจบลจ.ที่ลดลง
สิ่งที่เป็นปริศนายิ่งกว่า"ปมกอร์เดี้ยน"ให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์งุนงง คือ ทำไมถึงมีเงื่อนขายทิ้งTMBAM ทั้งหมดในอนาคตด้วย
ที่ผ่านมา ปัญหาของTMB ที่บั่นทอนราคาหุ้นมาโดยตลอดคือ สิ่งที่นักวิเคราะห์พยายามตอกย้ำครั้งแล้วครั้งเล่า(แล้วก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ยอมพูดถึง) ว่า TMB มีแนวโน้มเชิงลบหลายด้านเช่น 1) สินเชื่อโตช้า 2) รายได้ค่าธรรมเนียมไม่ดีตามคาด ยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว จากการกระจุกตัวของการขายกองทุน 3) กำไรครึ่งปีแรกออกมาน่าผิดหวัง และครึ่งปีหลังยังมีความเสี่ยงอยู่ 4) ผลกระทบจาก IFRS9 ยังเป็นแรงกดดันในอนาคต
กระบวนการ"ทำตัวให้เบา"ด้วยการที่TMB ขายทิ้งเงินลงทุนใน TMBAM จึงมีคำถามมากกว่าคำตอบรออยู่ข้างหน้า
ที่น่าสนใจคือ 1 ในคำถามอยู่ที่ว่าการที่ธนาคารไอเอ็นจี เข้าเป็นเป็นหนึ่งใน 2M ที่ปรึกษาการเงินในการขายทิ้ง TMBAM จะเข้าข่าย"ผลประโยชน์ทับซ้อน"หรือไม่
คำตอบยังไม่มีในตอนนี้
//////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com