คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
1. ตำแหน่ง/หน้าที่ต่างๆในกระทรวงพลังงานนั้น มีหน้าที่ทำอะไรบ้างหรอครับ? เงินเดือนในเเต่ละตำเเหนังเท่ากันไหม ?
- ข้าราชการทุกกระทรวง จะมีตำแหน่งหลายตำแหน่ง ครอบคลุมแทบทุกสาขาวิชา โดยแบ่งเป็นตำแหน่งหลัก กับ ตำแหน่งสนับสนุน
ตำแหน่งสนับสนุน ก็เช่น ธุรการ นักจัดการงานทั่วไป พัสดุ นิติกร บัญชี ฯลฯ
(บางตำแหน่งที่เป็นตำแหน่งสนับสนุนของหน่วยนึง อาจจะเป็นตำแหน่งหลักของอีกหน่วยนึงได้)
ตำแหน่งหลัก ในกระทรวงพลังงาน เช่น นักวิชาการพลังงาน เป็นต้น
ข้าราชการพลเรือนสามัญ (ที่สังกัดกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือนและบรรจุแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน)
มีฐานเงินเดือนแรกบรรจุ แยกตามตำแหน่งคุณวุฒิที่ใช้บรรจุ ปัจจุบัน ดังนี้ ครับ
ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
ระดับ ปวท., อนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
ระดับ ปวส., อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
ระดับ ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับ ปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับ ปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้
เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
ปลัดอำเภอ ได้รับ 5,000 บาท/เดือน หากได้ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไข
https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2017/10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%9E.pdf
นักการทูต เมื่อออกประจำการอยู่ต่างประเทศ จะได้รับ เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ (พ.ข.ต.)
http://saraban-law.cgd.go.th/easinetimage/inetdoc?id=show_CGD.A.17936_1_BCS_1_pdf
บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
เช่น สำนักงานศาล, สำนักงาน ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
ถามว่าเงินเดือนแต่ละตำแหน่งเท่ากันไหม
ตอบว่า ในตำแหน่งปกติทั่วไปส่วนใหญ่จะเท่ากัน คือ ป.ตรี 15,000 ป.โท 17,500 และใช้เงื่อนไขหลักเกณฑ์คล้ายกัน
สังเกตดูว่า ฐานเงินเดือนแรกบรรจุข้าราชการ จะเป็นช่วงเงินเดือน คือ
- ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 15,000 – 16,500 บาท
- ระดับปริญญาโท ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 17,500 – 19,250 บาท
- ระดับปริญญาเอก ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 21,000 – 23,100 บาท
ส่วนต่างของช่วงเงินเดือนนั้นจะมาจาก 4 ทาง เช่น
ข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิ ป.ตรี ถ้าสังเกตจะมีช่วงเงินเดือนอยู่คือ 15,000 - 16,500 บาทครับ
(วุฒิ ป.โท 17,500 - 19,250 บาท)
ในระดับ ป.ตรี ส่วนต่าง 1,500 บาท (16,500 - 15,000) นั้นมาจาก 4 ทาง ตามประกาศกระทรวงนั้น ๆ เช่น
1. มีประสบการณ์การทำงานด้านที่เกี่ยวข้อง 1 ปี
2. ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาถิ่น
3. สอบได้ใน 10% แรกของบัญชี โดยได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80%
และ
4. มีคุณวุฒิที่เทียบได้ในระดับเดียวกันมากกว่า 1 วุฒิ (หรือบรรจุในตำแหน่งที่กำหนด)
เป็นต้น
ซึ่งทั้ง 4 ทาง มีน้ำหนักคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ ของส่วนต่างเงินเดือนครับ อย่างเช่น 25% ของ 1,500 บาท = 375 บาท
(ไม่ใช่ 25% จากฐานเงินเดือนครับ)
ถ้าเข้าเงื่อนไขข้างต้น ก็จะได้ฐานเงินเดือนแรกบรรจุ 15,000 บวก 375 = 15,375 บาท เป็นต้น
สัดส่วน เงื่อนไข และรายละเอียดบางอย่างจะแตกต่างกันไปในแต่ละกระทรวงครับ
อ้างอิง
ปัจจัย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง
http://job.ocsc.go.th/images/Salary/bus01.pdf
http://job.ocsc.go.th/images/Job/635236697614587761.pdf
2. ตำแหน่งหน้าที่เเต่ละปีที่เปิดรับสมัคเหมือนกันไหมครับ?
- ไม่เหมือนกันเลย ต้องติดตามดูประกาศรับสมัครเป็นครั้ง ๆ ไป
3. ในการสอบเข้านี่ต้องสอบ ภาค ก,ข,ค เพื่อเข้าใช่ไหมครับ ?
(ในความเข้าใจของผมนั้น ภาค ก คือ การสอบวัด iq , ความรู้ทั่วไป , ความรู้รอบตัว
ภาค ข คือ การสอบความรู้เฉพาะในตำแหน่งหน้าที่นั้นที่เราสมัครวมไปถึงความรู้ของกระทรวงนั้นๆ
ภาค ค คือ การสอบสัมพาท ) ไม่รู้ว่าความเข้าใจของผมนี้ถูกรึป่าว?
- ตาม ความคิดเห็นที่ 5 ครับ
ปล. สัมภาษณ์
4. สมมุติว่าเข้าได้เเล้วจะได้ขั้น ซี ไหนหรอครับ ? เเล้วเงินเดือนในขั้นนี้เท่าไร ? การเลื่อนขั้นขึ้นอยู่กับอะไรเป็นหลักหรอครับ?(ความเข้าใจของผมนั้นการเลื่อนขั้นขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาในการทำงานรึป่าว?)
- ปัจจุบันข้าราชการในประเทศไทยยกเลิกระบบ C ไปแล้ว
ข้าราชการกลุ่มสุดท้ายที่เปลี่ยนจากระบบ C มาเป็นระบบแท่ง คือ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปี 2559)
เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ไม่น่าจะยึดติดกับระบบ C อีกแล้ว
แต่ทั้งนี้ระดับตำแหน่งข้าราชการในปัจจุบัน ก็ยังสามารถเทียบกลับเป็นระบบ C ได้อยู่ ดังนี้
1. ประเภททั่วไป (บรรจุด้วยคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญา) มี 4 ระดับ
- ปฏิบัติงาน = C1 - C4
- ชำนาญงาน = C5 - C6
- อาวุโส = C7 - C8
- ทักษะพิเศษ = C9
2. ประเภทวิชาการ (บรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา) มี 5 ระดับ
- ปฏิบัติการ = C3 - C5
- ชำนาญการ = C6 - C7
- ชำนาญการพิเศษ = C8
- เชี่ยวชาญ = C9
- ทรงคุณวุฒิ = C10 - C11
3. ประเภทอำนวยการ (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไปและแท่งวิชาการ) มี 2 ระดับ
- อำนวยการต้น = C8 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C8.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าชำนาญการพิเศษ แต่เล็กกว่าเชี่ยวชาญ)
- อำนวยการสูง = C9 (เดิม)
4. ประเภทบริหาร (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไป วิชาการ และอำนวยการ) มี 2 ระดับ
- บริหารต้น = C9 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C9.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าอำนวยการสูง แต่เล็กกว่าทรงคุณวุฒิ)
- บริหารสูง = C10 - C11 (เดิม)
จขกท. บอกว่าเรียน ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ แน่นอนว่าจบมาสอบราชการก็ต้องสอบด้วยวุฒิ ป.ตรี และบรรจุด้วยวุฒิ ป.ตรี
ระดับแรกบรรจุก็ต้องเป็นระดับปฏิบัติการ เทียบเท่า C3 - C5
เงินเดือนแรกบรรจุของระดับปฏิบัติการที่บรรจุด้วยวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี คือ 15,000 – 16,500 บาท
เงินเดือนคุณก็จะใต่ระดับไปเรื่อย ๆ จนตันเพดานของระดับที่คุณครอง และสามารถทะลุขึ้นไปได้อีก 1 ระดับ เช่น
ระดับปฏิบัติการมีเพดานเงินเดือนตันที่ 26,900 บาท
ถ้าคุณเป็นระดับปฏิบัติการอยู่ทั้งปีทั้งชาติคุณจะมีเพดานเงินเดือนตันที่ 26,900 บาท
แต่สามารถทะลุไปตันที่เพดานเงินเดือนของระดับชำนาญการได้ คือ 43,600
สำหรับระดับ C ถ้าจะให้ลงละเอียดกว่านี้อีกก็ ป.ตรี บรรจุปฏิบัติการครบ 2 ปี เทียบได้ C4 บรรจุปฏิบัติการครบ 4 ปี เทียบได้ C5 เป็นต้น
ส่วนการเลื่อนระดับขึ้นเป็นชำนาญการ
ถ้ามีวุฒิ ป.ตรี เพียว ๆ ก็ต้องครองระดับปฏิบัติการ 6 ปี จึงจะมีสิทธิขอเลื่อนขึ้นชำนาญการ
ถ้ามีวุฒิ ป.โท ครองระดับปฏิบัติการ 4 ปี มีสิทธิขอเลื่อนขึ้นชำนาญการ
ถ้ามีวุฒิ ป.เอก ครองระดับปฏิบัติการ 2 ปี มีสิทธิขอเลื่อนขึ้นชำนาญการ
ส่วนการเลื่อนระดับจากชำนาญการเป็นชำนาญการพิเศษ อันนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
จะขึ้นชำนาญการพิเศษได้ต้องครองระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
นอกนั้นอยู่ที่วาสนา อัตรากำลัง ฯลฯ
บางคนอาจจะตันอยู่ชำนาญการจนเกษียณเลยก็มีเยอะแยะ
5. หรือผมจะต่อ ป.โท เเล้วค่อย สมัคดี ในความคิดผม ฐานเงินเดือนน่าจะสูงขึ้นอีกนิด ?
- ในกรณีที่มีวุฒิ ป.โท มาแล้ว และวุฒิ ป.โท นั้น ตรงตามมาตรญานกำหนดตำแหน่ง
จะสามารถนำวุฒิ ป.โท นั้นมาปรับเงินเดือนได้ เมื่อบรรจุครบ 1 ปี
โดยจะสมัครด้วยวุฒิ ป.ตรี แล้วเอาวุฒิ ป.โท มาปรับเมื่อครบ 1 ปี
หรือบรรจุด้วยวุฒิ ป.โท เลย ก็ตาม
เงินเดือนเมื่อบรรจุครบ 1 ปี ของทั้ง 2 กรณี จะต่างกันไม่เกิน 1,000 บาท บวกลบ
เพราะฉะนั้นอย่าไปซีเรียสว่าต้องบรรจุด้วยวุฒิ ป.โท เท่านั้น
เพราะการจะเปิดรับวุฒิ ป.โท โดยเฉพาะ มีโอกาสน้อยมากกกกกกกกกกก
6. ขอถามเพิ่ม อีกนิดหน่อยนะครับ ถ้าอย่างงั้น พอจะมีทางที่จะเข้ารัฐก่อนเเล้วค่อยย้ายเข้ากระทรวงพลังงานได้ไหม เพราะเท่าที่อ่านมา เหมือนกับว่าเมื่อสอบเข้าไปเเล้วจะเป็นส่วนของข้าราชการพลเรือน เพราะอย่างงั้นก้ทำรัฐก่อนเเล้วค่อยย้ายเข้าจะได้ขั้นเป็น c ไหมครับ ? เเล้วระหว่าง ขั้น c3-4 กับข้าราชการพลเรือนนั้นต่างกันตรงไหนบ้างหรอครับ?
- ทำรัฐ นี่คือทำอะไรครับ
ทำรัฐวิสาหกิจเหรอครับ
ถ้าทำรัฐวิสาหกิจ อันนี้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ได้เลยนะ (เอาจริง ๆ ถึงจะได้ แต่ไม่ใช่กรณีชาวบ้านทั่วไปทำแน่ ๆ)
ถ้าไม่ใช่ ก็ไปเรียบเรียงคำถามมาใหม่ให้คนตอบเข้าใจง่าย ๆ หน่อยครับ
ส่วนระดับ C ตอบไปหมดแล้ว
- ข้าราชการทุกกระทรวง จะมีตำแหน่งหลายตำแหน่ง ครอบคลุมแทบทุกสาขาวิชา โดยแบ่งเป็นตำแหน่งหลัก กับ ตำแหน่งสนับสนุน
ตำแหน่งสนับสนุน ก็เช่น ธุรการ นักจัดการงานทั่วไป พัสดุ นิติกร บัญชี ฯลฯ
(บางตำแหน่งที่เป็นตำแหน่งสนับสนุนของหน่วยนึง อาจจะเป็นตำแหน่งหลักของอีกหน่วยนึงได้)
ตำแหน่งหลัก ในกระทรวงพลังงาน เช่น นักวิชาการพลังงาน เป็นต้น
ข้าราชการพลเรือนสามัญ (ที่สังกัดกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือนและบรรจุแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน)
มีฐานเงินเดือนแรกบรรจุ แยกตามตำแหน่งคุณวุฒิที่ใช้บรรจุ ปัจจุบัน ดังนี้ ครับ
ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
ระดับ ปวท., อนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
ระดับ ปวส., อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
ระดับ ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับ ปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับ ปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้
เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
ปลัดอำเภอ ได้รับ 5,000 บาท/เดือน หากได้ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไข
https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2017/10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%9E.pdf
นักการทูต เมื่อออกประจำการอยู่ต่างประเทศ จะได้รับ เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ (พ.ข.ต.)
http://saraban-law.cgd.go.th/easinetimage/inetdoc?id=show_CGD.A.17936_1_BCS_1_pdf
บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
เช่น สำนักงานศาล, สำนักงาน ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
ถามว่าเงินเดือนแต่ละตำแหน่งเท่ากันไหม
ตอบว่า ในตำแหน่งปกติทั่วไปส่วนใหญ่จะเท่ากัน คือ ป.ตรี 15,000 ป.โท 17,500 และใช้เงื่อนไขหลักเกณฑ์คล้ายกัน
สังเกตดูว่า ฐานเงินเดือนแรกบรรจุข้าราชการ จะเป็นช่วงเงินเดือน คือ
- ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 15,000 – 16,500 บาท
- ระดับปริญญาโท ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 17,500 – 19,250 บาท
- ระดับปริญญาเอก ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 21,000 – 23,100 บาท
ส่วนต่างของช่วงเงินเดือนนั้นจะมาจาก 4 ทาง เช่น
ข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิ ป.ตรี ถ้าสังเกตจะมีช่วงเงินเดือนอยู่คือ 15,000 - 16,500 บาทครับ
(วุฒิ ป.โท 17,500 - 19,250 บาท)
ในระดับ ป.ตรี ส่วนต่าง 1,500 บาท (16,500 - 15,000) นั้นมาจาก 4 ทาง ตามประกาศกระทรวงนั้น ๆ เช่น
1. มีประสบการณ์การทำงานด้านที่เกี่ยวข้อง 1 ปี
2. ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาถิ่น
3. สอบได้ใน 10% แรกของบัญชี โดยได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80%
และ
4. มีคุณวุฒิที่เทียบได้ในระดับเดียวกันมากกว่า 1 วุฒิ (หรือบรรจุในตำแหน่งที่กำหนด)
เป็นต้น
ซึ่งทั้ง 4 ทาง มีน้ำหนักคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ ของส่วนต่างเงินเดือนครับ อย่างเช่น 25% ของ 1,500 บาท = 375 บาท
(ไม่ใช่ 25% จากฐานเงินเดือนครับ)
ถ้าเข้าเงื่อนไขข้างต้น ก็จะได้ฐานเงินเดือนแรกบรรจุ 15,000 บวก 375 = 15,375 บาท เป็นต้น
สัดส่วน เงื่อนไข และรายละเอียดบางอย่างจะแตกต่างกันไปในแต่ละกระทรวงครับ
อ้างอิง
ปัจจัย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง
http://job.ocsc.go.th/images/Salary/bus01.pdf
http://job.ocsc.go.th/images/Job/635236697614587761.pdf
2. ตำแหน่งหน้าที่เเต่ละปีที่เปิดรับสมัคเหมือนกันไหมครับ?
- ไม่เหมือนกันเลย ต้องติดตามดูประกาศรับสมัครเป็นครั้ง ๆ ไป
3. ในการสอบเข้านี่ต้องสอบ ภาค ก,ข,ค เพื่อเข้าใช่ไหมครับ ?
(ในความเข้าใจของผมนั้น ภาค ก คือ การสอบวัด iq , ความรู้ทั่วไป , ความรู้รอบตัว
ภาค ข คือ การสอบความรู้เฉพาะในตำแหน่งหน้าที่นั้นที่เราสมัครวมไปถึงความรู้ของกระทรวงนั้นๆ
ภาค ค คือ การสอบสัมพาท ) ไม่รู้ว่าความเข้าใจของผมนี้ถูกรึป่าว?
- ตาม ความคิดเห็นที่ 5 ครับ
ปล. สัมภาษณ์
4. สมมุติว่าเข้าได้เเล้วจะได้ขั้น ซี ไหนหรอครับ ? เเล้วเงินเดือนในขั้นนี้เท่าไร ? การเลื่อนขั้นขึ้นอยู่กับอะไรเป็นหลักหรอครับ?(ความเข้าใจของผมนั้นการเลื่อนขั้นขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาในการทำงานรึป่าว?)
- ปัจจุบันข้าราชการในประเทศไทยยกเลิกระบบ C ไปแล้ว
ข้าราชการกลุ่มสุดท้ายที่เปลี่ยนจากระบบ C มาเป็นระบบแท่ง คือ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปี 2559)
เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ไม่น่าจะยึดติดกับระบบ C อีกแล้ว
แต่ทั้งนี้ระดับตำแหน่งข้าราชการในปัจจุบัน ก็ยังสามารถเทียบกลับเป็นระบบ C ได้อยู่ ดังนี้
1. ประเภททั่วไป (บรรจุด้วยคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญา) มี 4 ระดับ
- ปฏิบัติงาน = C1 - C4
- ชำนาญงาน = C5 - C6
- อาวุโส = C7 - C8
- ทักษะพิเศษ = C9
2. ประเภทวิชาการ (บรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา) มี 5 ระดับ
- ปฏิบัติการ = C3 - C5
- ชำนาญการ = C6 - C7
- ชำนาญการพิเศษ = C8
- เชี่ยวชาญ = C9
- ทรงคุณวุฒิ = C10 - C11
3. ประเภทอำนวยการ (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไปและแท่งวิชาการ) มี 2 ระดับ
- อำนวยการต้น = C8 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C8.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าชำนาญการพิเศษ แต่เล็กกว่าเชี่ยวชาญ)
- อำนวยการสูง = C9 (เดิม)
4. ประเภทบริหาร (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไป วิชาการ และอำนวยการ) มี 2 ระดับ
- บริหารต้น = C9 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C9.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าอำนวยการสูง แต่เล็กกว่าทรงคุณวุฒิ)
- บริหารสูง = C10 - C11 (เดิม)
จขกท. บอกว่าเรียน ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ แน่นอนว่าจบมาสอบราชการก็ต้องสอบด้วยวุฒิ ป.ตรี และบรรจุด้วยวุฒิ ป.ตรี
ระดับแรกบรรจุก็ต้องเป็นระดับปฏิบัติการ เทียบเท่า C3 - C5
เงินเดือนแรกบรรจุของระดับปฏิบัติการที่บรรจุด้วยวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี คือ 15,000 – 16,500 บาท
เงินเดือนคุณก็จะใต่ระดับไปเรื่อย ๆ จนตันเพดานของระดับที่คุณครอง และสามารถทะลุขึ้นไปได้อีก 1 ระดับ เช่น
ระดับปฏิบัติการมีเพดานเงินเดือนตันที่ 26,900 บาท
ถ้าคุณเป็นระดับปฏิบัติการอยู่ทั้งปีทั้งชาติคุณจะมีเพดานเงินเดือนตันที่ 26,900 บาท
แต่สามารถทะลุไปตันที่เพดานเงินเดือนของระดับชำนาญการได้ คือ 43,600
สำหรับระดับ C ถ้าจะให้ลงละเอียดกว่านี้อีกก็ ป.ตรี บรรจุปฏิบัติการครบ 2 ปี เทียบได้ C4 บรรจุปฏิบัติการครบ 4 ปี เทียบได้ C5 เป็นต้น
ส่วนการเลื่อนระดับขึ้นเป็นชำนาญการ
ถ้ามีวุฒิ ป.ตรี เพียว ๆ ก็ต้องครองระดับปฏิบัติการ 6 ปี จึงจะมีสิทธิขอเลื่อนขึ้นชำนาญการ
ถ้ามีวุฒิ ป.โท ครองระดับปฏิบัติการ 4 ปี มีสิทธิขอเลื่อนขึ้นชำนาญการ
ถ้ามีวุฒิ ป.เอก ครองระดับปฏิบัติการ 2 ปี มีสิทธิขอเลื่อนขึ้นชำนาญการ
ส่วนการเลื่อนระดับจากชำนาญการเป็นชำนาญการพิเศษ อันนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
จะขึ้นชำนาญการพิเศษได้ต้องครองระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
นอกนั้นอยู่ที่วาสนา อัตรากำลัง ฯลฯ
บางคนอาจจะตันอยู่ชำนาญการจนเกษียณเลยก็มีเยอะแยะ
5. หรือผมจะต่อ ป.โท เเล้วค่อย สมัคดี ในความคิดผม ฐานเงินเดือนน่าจะสูงขึ้นอีกนิด ?
- ในกรณีที่มีวุฒิ ป.โท มาแล้ว และวุฒิ ป.โท นั้น ตรงตามมาตรญานกำหนดตำแหน่ง
จะสามารถนำวุฒิ ป.โท นั้นมาปรับเงินเดือนได้ เมื่อบรรจุครบ 1 ปี
โดยจะสมัครด้วยวุฒิ ป.ตรี แล้วเอาวุฒิ ป.โท มาปรับเมื่อครบ 1 ปี
หรือบรรจุด้วยวุฒิ ป.โท เลย ก็ตาม
เงินเดือนเมื่อบรรจุครบ 1 ปี ของทั้ง 2 กรณี จะต่างกันไม่เกิน 1,000 บาท บวกลบ
เพราะฉะนั้นอย่าไปซีเรียสว่าต้องบรรจุด้วยวุฒิ ป.โท เท่านั้น
เพราะการจะเปิดรับวุฒิ ป.โท โดยเฉพาะ มีโอกาสน้อยมากกกกกกกกกกก
6. ขอถามเพิ่ม อีกนิดหน่อยนะครับ ถ้าอย่างงั้น พอจะมีทางที่จะเข้ารัฐก่อนเเล้วค่อยย้ายเข้ากระทรวงพลังงานได้ไหม เพราะเท่าที่อ่านมา เหมือนกับว่าเมื่อสอบเข้าไปเเล้วจะเป็นส่วนของข้าราชการพลเรือน เพราะอย่างงั้นก้ทำรัฐก่อนเเล้วค่อยย้ายเข้าจะได้ขั้นเป็น c ไหมครับ ? เเล้วระหว่าง ขั้น c3-4 กับข้าราชการพลเรือนนั้นต่างกันตรงไหนบ้างหรอครับ?
- ทำรัฐ นี่คือทำอะไรครับ
ทำรัฐวิสาหกิจเหรอครับ
ถ้าทำรัฐวิสาหกิจ อันนี้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ได้เลยนะ (เอาจริง ๆ ถึงจะได้ แต่ไม่ใช่กรณีชาวบ้านทั่วไปทำแน่ ๆ)
ถ้าไม่ใช่ ก็ไปเรียบเรียงคำถามมาใหม่ให้คนตอบเข้าใจง่าย ๆ หน่อยครับ
ส่วนระดับ C ตอบไปหมดแล้ว
แสดงความคิดเห็น
อยากถามเกี่ยวกับกระทรวงพลังงานครับ ผู้รู้ช่วยตอบที
คือส่วนตัวนั้นเรียนอยู่วิศวกรรมพลังงาน ที่สถาบันแห่งหนึ่ง ปี 3 ขึ้นปี 4 ครับ เเล้วทีนี้มีความคิดที่ว่าอยากจะเข้าทำงานของรัฐบาล ในส่วนของกระทรวงพลังงาน พอลองเข้าเว็บของกระทรวงพลังงาน เลยเกิดคำถามขึ้นมา
1.ตำแหน่ง/หน้าที่ต่างๆในกระทรวงพลังงานนั้น มีหน้าที่ทำอะไรบ้างหรอครับ? เงินเดือนในเเต่ละตำเเหนังเท่ากันไหม ?
2.ตำแหน่งหน้าที่เเต่ละปีที่เปิดรับสมัคเหมือนกันไหมครับ?
3.ในการสอบเข้านี่ต้องสอบ ภาค ก,ข,ค เพื่อเข้าใช่ไหมครับ ?
(ในความเข้าใจของผมนั้น ภาค ก คือ การสอบวัด iq , ความรู้ทั่วไป , ความรู้รอบตัว
ภาค ข คือ การสอบความรู้เฉพาะในตำแหน่งหน้าที่นั้นที่เราสมัครวมไปถึงความรู้ของกระทรวงนั้นๆ
ภาค ค คือ การสอบสัมพาท ) ไม่รู้ว่าความเข้าใจของผมนี้ถูกรึป่าว?
4. สมมุติว่าเข้าได้เเล้วจะได้ขั้น ซี ไหนหรอครับ ? เเล้วเงินเดือนในขั้นนี้เท่าไร ? การเลื่อนขั้นขึ้นอยู่กับอะไรเป็นหลักหรอครับ?(ความเข้าใจของผมนั้นการเลื่อนขั้นขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาในการทำงานรึป่าว?)
5.หรือผมจะต่อ ป.โท เเล้วค่อย สมัคดี ในความคิดผม ฐานเงินเดือนน่าจะสูงขึ้นอีกนิด ?
ปล. ที่อยากเข้ากระทรวงพลังงานนั้นเนื่องจาก มีสวัสดิการที่ดี รวมไปถึงการทำงานที่ค่อนข้างมั่นคง เเละน่าจะตรงกับ สาขาที่ผมเรียนมาด้วย
ตอบบางข้อก็ได้ครับ อยากรู้จริงๆ ข้อมูลของกระทรวงพลังงานนั้นมีไม่มากเท่าไร(หรือผมยังค้นหาไม่เจอ) เพื่อที่จะตัดสินใจในอนาคต ขอบคุณมากครับ