ฆ่าสัตว์เพื่อ “กิน” บาปใหม ซื้อกินไม่บาปเหรอ?

รบกวนผู้รู้ “ศาสนาพุทธ” ทุกท่านช่วยครับ
อยากทำความเข้าใจก่อนจะเกิดศาสนาครับ

1.    ก่อนจะมีศาสนาพุทธ ธรรมชาติของโลกนั้น ก็มีวัตรจักห่วงโซ่อาหารอยู่แล้ว
“มนุษย์” ก็เหมือนสัตร์ชนิดอื่นๆ “มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ประเสริฐ”  มนุษย์อย่างเรามีวิวัฒนาการอย่างยาวนาน
ล่าสัตว์มาต้องแต่ สายพันธุ์แรกๆเลย (ผมจำชื่อไม่ได้) แต่มนุษย์มีสายพันธุ์ แบ่งเป็นช่วงๆนะ หน้าตา ไม่คล้ายเราเลย

( ช่วงแรกๆ มนุษย์ไม่มีคำพูดภาษาท่าทาง แต่เกิดจากการล่าสัตว์ หลายๆคนล่าไม่ได้เพราะไม่เป็นทีม

จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ “ท่าทางและคำพูด”)
จนเริ่มถึงช่วงที่ มนุษย์  มีวิวัฒนาการ ด้าน ตัวอักษร ความคิด สังคม ด้านอื่นๆเพิ่มขึ้น
จึงเริ่มมี “ ศาสนา “  ขึ้นมาทีหลัง  

2.   ศาสนาพุทธ กล่าวใว้ว่า  การฆ่าสัตว์ที่จะถือว่าเป็นการละเมิดศีล และเป็นบาปโดยสมบูรณ์ (ปาณาติบาต)
ต้องประกอบด้วยเงื่อนไข ๕ ประการ
(๑) สัตว์มีชีวิต
(๒) รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
(๓) มีจิตคิดจะฆ่า
(๔) พยายามฆ่า
(๕) สัตว์ตาย
ผมชอบหาสัตว์กินเอง เลยสังสัยครับ
บางคนซื้อทาน แล้วไม่บาปหรอครับ?

ถ้าเป็นแบบนี้ ผมต้องซื้อกินใช่ไหม?
คนขายบาปใหม ? ผมไปรับจากโรงเชือด
โรงเชือดบาปใหม? มีคนเลี้ยงขายผมมา
คนเลี้ยงบาปใหม? ผมอยากให้คนกินเนื้อสัตว์คุณภาพดี

สรุปแล้วผมก็ไม่เข้าใจเลย มาตั้งกระทู้ถามเลยครับ
*** ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกิดการขัดแย้งใดๆ เพียงแค่อยากรู้ในอีกมุมมองครับ***

ขอบคุณทุกท่านร่วงหน้าครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 25
รวมๆสรุปแล้ว.

“ซื้อกินไม่บาป” ส่วนแม่ค้าและผู้ผลิต รับ บาปรับกรรม ไปเต็มๆ
“ผมรู้สึกถึงความไม่แฟร์เลยครับ”

ใครจะเชื่อก็เชื่อไป ผมไม่เชื่อ “แต่ผมเชื่อในการทำดีได้ดี”
ทุกวันนี้โลกก้าวได้เพราะวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
ถ้าผมมานั้งคิดเรื่องพวกนี้ ผมคงไม่มีกินไปนานแล้ว
เพราะอาชีพที่ผมทำ มันเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต
แล้วเป็น สิ่งที่พวกคุณชอบกินกันด้วย (สดๆเนื้อเด้งมาก)

ทั้งนี้และนั้น คนที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการผลิตจนถึงหน้าแผง บาป
เพราะเจตนา ก็เลี้ยงไป ไว้ไห้พวกคุณทานอยู่แล้ว
พวกคุณซื้อกินกันชิลๆ ไม่บาป



“อย่าลืมช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแลดล้อมนะครับ ถ้าเราทำให้มันขาดหายอย่าลืมทดแทนคืนเคาไปนะครับ”
เห็นผมตั้งถามแบบนี้ ผมรักธรรมชาติสุดหัวใจครับ

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่