เดือน มิ.ย. 2561 พบมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม 165,310 คน สูงสุดตั้งแต่เก็บข้อมูลมาเมื่อเดือน ม.ค. 2557
24 ก.ค. 2561 จาก
ข้อมูลเศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน มิ.ย. 2561 โดยกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่าจากข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2561 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 11,454,211 คน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือน มิ.ย. 2560) ซึ่งมีจำนวน 10,601,371 คน หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (%YoY) ของเดือน มิ.ย. 2561 เทียบกับเดือน พ.ค. 2561 พบว่าในเดือน มิ.ย. 2561 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.04 ขยายตัวจากเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.80 สถานการณ์การจ้างงานขยายตัวมากกว่าร้อยละ 1 จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ
สถานการณ์การว่างงาน (ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม : SSO) จากข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2561 มีผู้ว่างงานจำนวน 165,310 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 5.57 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือน มิ.ย. 2560) ซึ่งมีจำนวน 156,587 คน และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (เดือน พ.ค. 2561) ซึ่งมีจำนวน 160,180 คน โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.20 และหากคิดเป็นอัตราการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือน มิ.ย. 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.44 มีอัตราขยายตัวเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานของเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.41 ทั้งนี้จากข้อมูลอัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือน มิ.ย. 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.0
อนึ่งจากการเก็บข้อมูลของกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 – มิ.ย. 2561 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมในเดือน มิ.ย. 2561 นี้ที่ 165,310 คน เป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 (สถิติสูงสุดที่ทำไว้ก่อนหน้านี้คือในเดือน ส.ค. 2559 ที่จำนวน 161,012 คน)
สถานการณ์การเลิกจ้าง อัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 คิดจากจำนวนผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้าง ต่อจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือน มิ.ย. 2561 ผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างมีจำนวนทั้งสิ้น 23,707 คน คิดเป็นร้อยละ 0.21 มีอัตราชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. 2561ที่มีอัตราการเลิกจ้างลูกจ้างที่ร้อยละ 0.22 แต่มีอัตราขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว ที่มีอัตราการเลิกจ้างลูกจ้าง ที่ร้อยละ 0.20
นอกจากนี้ใน
รายงานข้อมูลแรงงานรายเดือน มิ.ย. 2561 ยังระบุถึงสถานการณ์แรงงานไทยในต่างประเทศและคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศ พบว่ามีแรงงานทั้งหมด 445,202 คน ไปแบบถูกกฎหมาย 236,046 คน ไปแบบผิดกฎหมาย 209,156 คน ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศรวม 9,785 ราย ช่วยเหลือเงินสิทธิประโยชน์ 4,019 ราย ช่วยเหลืออื่นๆ 5,766 ราย
ในด้านข้อมูลตำแหน่งงานจากกรมการจัดหางาน พบว่าเดือน มิ.ย. 2561 มีตำแหน่งงานว่าง 26,691 คน ผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 27,971 คน ได้รับการบรรจุงาน 21,700 คน ส่วนในด้านแรงงานสัมพันธ์สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่าผลการตรวจแรงงาน/สถานประกอบการณ์ระหว่างวันที่ 1-30 มิ.ย. 2561 มีสถานประกอบการณ์ปฏิบัติถูกต้อง 3,666 แห่ง ปฏิบัติไม่ถูกต้อง 954 แห่ง ลูกจ้างได้รับการปฏิบัติถูกต้อง 113,114 คน ได้รับการปฏิบัติไม่ถูกต้อง 37,636 คน มีการชุมนุมเรียกร้อง 1 ครั้งในสถานประกอบการณ์ 1 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมด 620 คน ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม 387 คน
JJNY : เสดตะกิดชีวิตดี๊ดี...ซี้จุกสูญ มิ.ย. 2561 ผู้ประกันตนว่างงาน 165,310 คน สูงสุดตั้งแต่ ม.ค. 2557
24 ก.ค. 2561 จาก ข้อมูลเศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน มิ.ย. 2561 โดยกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่าจากข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2561 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 11,454,211 คน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือน มิ.ย. 2560) ซึ่งมีจำนวน 10,601,371 คน หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (%YoY) ของเดือน มิ.ย. 2561 เทียบกับเดือน พ.ค. 2561 พบว่าในเดือน มิ.ย. 2561 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.04 ขยายตัวจากเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.80 สถานการณ์การจ้างงานขยายตัวมากกว่าร้อยละ 1 จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ
สถานการณ์การว่างงาน (ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม : SSO) จากข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2561 มีผู้ว่างงานจำนวน 165,310 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 5.57 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือน มิ.ย. 2560) ซึ่งมีจำนวน 156,587 คน และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (เดือน พ.ค. 2561) ซึ่งมีจำนวน 160,180 คน โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.20 และหากคิดเป็นอัตราการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือน มิ.ย. 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.44 มีอัตราขยายตัวเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานของเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.41 ทั้งนี้จากข้อมูลอัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือน มิ.ย. 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.0
อนึ่งจากการเก็บข้อมูลของกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 – มิ.ย. 2561 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมในเดือน มิ.ย. 2561 นี้ที่ 165,310 คน เป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 (สถิติสูงสุดที่ทำไว้ก่อนหน้านี้คือในเดือน ส.ค. 2559 ที่จำนวน 161,012 คน)
สถานการณ์การเลิกจ้าง อัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 คิดจากจำนวนผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้าง ต่อจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือน มิ.ย. 2561 ผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างมีจำนวนทั้งสิ้น 23,707 คน คิดเป็นร้อยละ 0.21 มีอัตราชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. 2561ที่มีอัตราการเลิกจ้างลูกจ้างที่ร้อยละ 0.22 แต่มีอัตราขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว ที่มีอัตราการเลิกจ้างลูกจ้าง ที่ร้อยละ 0.20
นอกจากนี้ใน รายงานข้อมูลแรงงานรายเดือน มิ.ย. 2561 ยังระบุถึงสถานการณ์แรงงานไทยในต่างประเทศและคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศ พบว่ามีแรงงานทั้งหมด 445,202 คน ไปแบบถูกกฎหมาย 236,046 คน ไปแบบผิดกฎหมาย 209,156 คน ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศรวม 9,785 ราย ช่วยเหลือเงินสิทธิประโยชน์ 4,019 ราย ช่วยเหลืออื่นๆ 5,766 ราย
ในด้านข้อมูลตำแหน่งงานจากกรมการจัดหางาน พบว่าเดือน มิ.ย. 2561 มีตำแหน่งงานว่าง 26,691 คน ผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 27,971 คน ได้รับการบรรจุงาน 21,700 คน ส่วนในด้านแรงงานสัมพันธ์สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่าผลการตรวจแรงงาน/สถานประกอบการณ์ระหว่างวันที่ 1-30 มิ.ย. 2561 มีสถานประกอบการณ์ปฏิบัติถูกต้อง 3,666 แห่ง ปฏิบัติไม่ถูกต้อง 954 แห่ง ลูกจ้างได้รับการปฏิบัติถูกต้อง 113,114 คน ได้รับการปฏิบัติไม่ถูกต้อง 37,636 คน มีการชุมนุมเรียกร้อง 1 ครั้งในสถานประกอบการณ์ 1 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมด 620 คน ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม 387 คน