เนื้อหาและภาพในกระทู้นี้ ผมเอามาจากเพจของตัวเอง
https://www.facebook.com/MemoirsOfMrNomad/ ครับ เลยใช้คำว่า "แอดมิน" แทนตัวเองครับ
เลบานอน (๑): Baalbek
-----------------------------
“ไป Baalbek ใช้เวลากี่ชั่วโมงครับ” แอดมินถามคุณลุงข้าง ๆ ในรถมินิบัสเป็นภาษาอาหรับโดยอาศัยอ่านจากคู่มือสนทนาท้ายเล่มหนังสือท่องเที่ยว
คุณลุงทำหน้างง ๆ เป็นอันชัดเจนว่า แอดมินออกเสียงเพี้ยนไปมาก ครั้นเปิดหนังสือให้คุณลุงดู คุณลุงก็ทำท่าจะอ่านไม่ออก
ก่อนจะตัดสินใจไป Baalbek แอดมินก็หาข้อมูลมาก่อนว่าใช้เวลาราว ๆ ๒ ชั่วโมง แต่หนังสือเก่าเกือบ ๑๐ ปี และตอนนั้นรถติดมาก ยังไม่ได้ออกจากเมืองหลวงเบรุตเลย เลยกังวลใจว่า จะไปเช้าเย็นกลับไม่ได้
พอดีได้ยินคนข้างหลังพูดภาษาฝรั่งเศสกัน แอดมินเลยใจชื้น หันไปถาม และได้คำตอบว่า
“๒ ชั่วโมงจ้า”
เอาเข้าจริงเหมือนจะใช้เวลาเกือบ ๆ ๓ ชั่วโมง เพราะรถติด ทางหลวงมีช่องเดินรถแค่ ๒ ช่อง รถนั่งไม่ค่อยสบายเท่าไหร่ แถมมลพิษก็เยอะ
แต่พอได้มาสัมผัสเมืองโรมันโบราณ Baalbek ความเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้ง
ชื่อ Baalbek ฟังดูไม่เหมือนภาษาละตินเท่าไหร่ นั่นก็เพราะเมืองนี้แต่เดิมก่อตั้งโดยชาวฟีนิเชียน ก่อนที่พวกโรมันจะเข้ามายึดครองและตั้งชื่อใหม่ว่า Heliopolis หรือ City of the Sun แอดมินขอแปลเก๋ ๆ ว่า อาทิตยปุระ บางคนถึงกับบอก่วา เป็นเมืองโรมันที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง
จุดเด่นของที่นี่ คือ วิหารจูปิเตอร์ (ราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่า) วิหารแบคเคิส (เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น) และวิหารวีนัส (เทพีแห่งความงามความรัก) ซึ่งชาวโรมันใช้ประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งการร่วมเพศในลักษณะการบูชาเทพเจ้าอย่างหนึ่งด้วย (sacred prostitute หรือ sacred sex)
จุดประสงค์ของการสร้างวิหารอันใหญ่โตของชาวโรมัน ก็เพื่อทั้งวัตถุประสงค์ทางศาสนา และทางการเมือง ในตอนนั้นศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาค พวกโรมันเลยพยายามเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนให้มานับถือศาสนาของตัวเอง โดยสร้างวิหารที่ใหญ่โตสวยงามจนต้องตะลึงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางเมืองให้ผู้คนเกิดความยำเกรงอีกนัยหนึ่ง
แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาวจากทั้งการยึดครองของอารยธรรมอื่น ๆ และภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวหลายต่อหลายครั้ง Baalbek ในวันนี้ยังทำให้แอดมินต้องตะลึง
ความประทับใจแรก เริ่มจากทางเข้าที่เป็นบันไดหิน และมีเสาใหญ่น่าเกรงขามตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า พร้อมแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านมา ก่อนจะพบกับซากปรักหักพังมากมายที่ดูแล้วสวยงามไปอีกแบบ
พอเดินขึ้นเนินวิหารจูปิเตอร์ แล้วหันกลับมา แอดมินประทับใจกับวิวที่เห็นจากข้างบนมาก รูปที่แอดมินลงไว้ก่อนหน้าก็ถ่ายจากเนินวิหารจูปิเตอร์นั่นเอง
ส่วนวิหารแบคเคิส มีสภาพเกือบสมบูรณ์มาก หลัก ๆ ก็ขาดแต่หลังคา พวกเสาและกำแพงต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพที่ดีมาก
ตอนนั้นเริ่มเหนื่อย และเป็นตอนบ่ายแก่ ๆ กลัวกลับเบรุตไม่ทัน แอดมินเลยได้แต่ชำเลืองมองวิหารวีนัส ซึ่งอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยดีนัก ใครมีโอกาสไป ก็ถ่ายรูปมาเผื่อแอดมินด้วยนะครับ แอดมินว่า เที่ยวโบราณสถานอย่างนี้ช่วยให้ข้อคิดเราอย่างหนึ่งว่า อะไร ๆ ก็ล้วนอนิจจัง ยิ่งใหญ่ก็ล่มสลายได้สักวัน จึงควรละสิ่งต่าง ๆ ไม่ยึดติดจนเป็นทุกข์
ตอนขากลับไม่ค่อยทุกข์ใจเหมือนตอนขามา ด้วยว่าทั้งเที่ยวเสร็จแล้ว และเตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้วว่าต้องเจออะไรระหว่างทาง
ตอนต่อไปคงได้นำเสนอวัฒนธรรมอาหรับในเลบานอนครับ
เลบานอน ประเทศอาหรับสุดแสนประทับใจ
เลบานอน (๑): Baalbek
-----------------------------
“ไป Baalbek ใช้เวลากี่ชั่วโมงครับ” แอดมินถามคุณลุงข้าง ๆ ในรถมินิบัสเป็นภาษาอาหรับโดยอาศัยอ่านจากคู่มือสนทนาท้ายเล่มหนังสือท่องเที่ยว
คุณลุงทำหน้างง ๆ เป็นอันชัดเจนว่า แอดมินออกเสียงเพี้ยนไปมาก ครั้นเปิดหนังสือให้คุณลุงดู คุณลุงก็ทำท่าจะอ่านไม่ออก
ก่อนจะตัดสินใจไป Baalbek แอดมินก็หาข้อมูลมาก่อนว่าใช้เวลาราว ๆ ๒ ชั่วโมง แต่หนังสือเก่าเกือบ ๑๐ ปี และตอนนั้นรถติดมาก ยังไม่ได้ออกจากเมืองหลวงเบรุตเลย เลยกังวลใจว่า จะไปเช้าเย็นกลับไม่ได้
พอดีได้ยินคนข้างหลังพูดภาษาฝรั่งเศสกัน แอดมินเลยใจชื้น หันไปถาม และได้คำตอบว่า
“๒ ชั่วโมงจ้า”
เอาเข้าจริงเหมือนจะใช้เวลาเกือบ ๆ ๓ ชั่วโมง เพราะรถติด ทางหลวงมีช่องเดินรถแค่ ๒ ช่อง รถนั่งไม่ค่อยสบายเท่าไหร่ แถมมลพิษก็เยอะ
แต่พอได้มาสัมผัสเมืองโรมันโบราณ Baalbek ความเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้ง
ชื่อ Baalbek ฟังดูไม่เหมือนภาษาละตินเท่าไหร่ นั่นก็เพราะเมืองนี้แต่เดิมก่อตั้งโดยชาวฟีนิเชียน ก่อนที่พวกโรมันจะเข้ามายึดครองและตั้งชื่อใหม่ว่า Heliopolis หรือ City of the Sun แอดมินขอแปลเก๋ ๆ ว่า อาทิตยปุระ บางคนถึงกับบอก่วา เป็นเมืองโรมันที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง
จุดเด่นของที่นี่ คือ วิหารจูปิเตอร์ (ราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่า) วิหารแบคเคิส (เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น) และวิหารวีนัส (เทพีแห่งความงามความรัก) ซึ่งชาวโรมันใช้ประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งการร่วมเพศในลักษณะการบูชาเทพเจ้าอย่างหนึ่งด้วย (sacred prostitute หรือ sacred sex)
จุดประสงค์ของการสร้างวิหารอันใหญ่โตของชาวโรมัน ก็เพื่อทั้งวัตถุประสงค์ทางศาสนา และทางการเมือง ในตอนนั้นศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาค พวกโรมันเลยพยายามเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนให้มานับถือศาสนาของตัวเอง โดยสร้างวิหารที่ใหญ่โตสวยงามจนต้องตะลึงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางเมืองให้ผู้คนเกิดความยำเกรงอีกนัยหนึ่ง
แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาวจากทั้งการยึดครองของอารยธรรมอื่น ๆ และภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวหลายต่อหลายครั้ง Baalbek ในวันนี้ยังทำให้แอดมินต้องตะลึง
ความประทับใจแรก เริ่มจากทางเข้าที่เป็นบันไดหิน และมีเสาใหญ่น่าเกรงขามตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า พร้อมแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านมา ก่อนจะพบกับซากปรักหักพังมากมายที่ดูแล้วสวยงามไปอีกแบบ
พอเดินขึ้นเนินวิหารจูปิเตอร์ แล้วหันกลับมา แอดมินประทับใจกับวิวที่เห็นจากข้างบนมาก รูปที่แอดมินลงไว้ก่อนหน้าก็ถ่ายจากเนินวิหารจูปิเตอร์นั่นเอง
ส่วนวิหารแบคเคิส มีสภาพเกือบสมบูรณ์มาก หลัก ๆ ก็ขาดแต่หลังคา พวกเสาและกำแพงต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพที่ดีมาก
ตอนนั้นเริ่มเหนื่อย และเป็นตอนบ่ายแก่ ๆ กลัวกลับเบรุตไม่ทัน แอดมินเลยได้แต่ชำเลืองมองวิหารวีนัส ซึ่งอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยดีนัก ใครมีโอกาสไป ก็ถ่ายรูปมาเผื่อแอดมินด้วยนะครับ แอดมินว่า เที่ยวโบราณสถานอย่างนี้ช่วยให้ข้อคิดเราอย่างหนึ่งว่า อะไร ๆ ก็ล้วนอนิจจัง ยิ่งใหญ่ก็ล่มสลายได้สักวัน จึงควรละสิ่งต่าง ๆ ไม่ยึดติดจนเป็นทุกข์
ตอนขากลับไม่ค่อยทุกข์ใจเหมือนตอนขามา ด้วยว่าทั้งเที่ยวเสร็จแล้ว และเตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้วว่าต้องเจออะไรระหว่างทาง
ตอนต่อไปคงได้นำเสนอวัฒนธรรมอาหรับในเลบานอนครับ