ปฏิบัติการนำหมูป่าออกจากถ้ำ ....รายงานจากสื่อต่างประเทศ .../sao..เหลือ..noi

กระทู้สนทนา
ABC ออสเตรเลียสัมภาษณ์ทีมกู้ภัยออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐ #พาทีมหมูป่ากลับบ้าน เผยนาทีที่ขออนุมัติแผน
จากรัฐมนตรีของไทยซึ่งทุกคนเตรียมใจไว้ว่าน่าจะต้องมีผู้เสียชีวิตในระหว่างการดำน้ำออกมาราว 3 - 4 คน อันนี้ยาว
ที่สุดแต่ค่อนข้างละเอียดที่สุดแล้ว แนะนำอ่านเหมือนเดิมครับ

ABC (ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นคนละช่องกับ ABC ของสหรัฐ) ทำสารคดีเรื่องการกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในรายการ Four
Corners โดย มีไฮไลต์คือการสัมภาษณ์นักดำน้ำอังกฤษ ผู้บังคับทีมช่วยเหลือของสหรัฐ และคู่ดำน้ำของ Dr.
Richard Harris ชาวออสเตรเลีย

Jason Mallinson นักดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษที่เราน่าจะจำกันได้ให้กล่าวว่า นี่เป็นหนึ่งในภารกิจที่ยากที่สุด
อันตรายที่สุด และเสี่ยงที่สุดที่เขาเคยทำ ไม่ใช่ในแง่ของความปลอดภัยของเขา แต่เป็นในแง่ของความปลอดภัยของคนที่
เขาจะต้องรับผิดชอบ เขาไม่เคยทำอะไรที่เสี่ยงขนาดนี้มาก่อน และคิดว่าคงจะไม่ต้องทำอะไรแบบนี้อีกแล้ว แต่นั่นเป็น
ทางเลือกเดียวในตอนนั้น

เขาเสริมว่าตัวเขาเองมั่นใจว่าจะพาตัวเองออกมาได้ มั่นใจว่าจะเชือกนำทางจะไม่หลุดมือ มั่นใจว่าจะนำเด็กออกมาได้
แต่เขาไม่มั่นใจ 100% ว่าเด็กที่นำออกมาจะมีชีวิตอยู่หรือไม่

เช่นเดียวกับนาวาอากาศตรี Charles Hodges ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมกู้ภัยของสหรัฐที่ทำหน้าที่
รับเด็กจากนักดำน้ำและตรวจสอบสุขภาพเด็กในโถง 3 กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่ภารกิจนี้จะสำเร็จนั้นต่ำมากเท่าที่จะนึก
ออก เขาทำใจไว้ว่าอาจจะต้องมีเด็ก3,4 หรือ 5 คนที่เสียชีวิตในระหว่างการกู้ภัย และเขาก็บอกกับท่านผู้ว่าฯไปว่าเขามั่น
ใจว่ามีโอกาสที่ภารกิจจะสำเร็จ 60-70%

เขายังเผยว่าการดำน้ำพาเด็กออกมานั้นเป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ แต่ถ้าให้เด็กอยู่ในนั้นเป็นเวลา 4 - 5 เดือน และประมาณ
การว่าจะต้องเตรียมอาหารแห้งให้เด็กขั้นต่ำสุดวันละ 1 มื้อ เท่ากับจะต้องเตรียมอาหารถึง 1,800 มื้อเป็นอย่างน้อยเข้าไปข้าง
ใน ซึ่งไม่มีที่พอในถ้ำ และจะต้องใช้การดำน้ำเข้าออกถึง 18 เที่ยว ดังนั้นการให้เด็กรอคนหมดหน้าฝนจึงเป็นทางเลือกที่เป็น
ไปไม่ได้ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากฝนที่กำลังเข้ามาซึ่งอาจทำให้นักดำน้ำไม่สามารถส่งอาหารได้ครบตามที่คำนวณไว้

เขาเสริมว่าเขารู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ไม่เพียงแต่มันจะเป็นข่าวดี แต่เด็ก ๆ ยังได้กลับไปพบผู้ปกครอง และนั่นคือสิ่งสำคัญ
ที่อยู่ในใจของเขาและหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญก็คือ Dr. Richard Harris และคู่บัดดี้ดำน้ำคือ Craig
Challen ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพเด็กๆ และให้ยาระงับอาการตกใจก่อนที่จะนำเด็กออกมา รวมถึงประเมินสุขภาพ
เด็กตลอดทาง ซึ่งเขาเป็นฟันเฟืองสำคัญในความสำเร็จของภารกิจนี้

Jason Mallinson ยังบอกอีกว่าถ้าไม่มี Dr. Richard Harris ภารกิจนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะ
เขาอยู่กับเด็ก ๆ พูดกับเด็ก ๆ ทำให้เด็กสงบลง ด้วยความเชี่ยวชาญจากการเป็นแพทย์ฉุกเฉิน (คุณหมอ Harris เป็น
แพทย์ในบริษัท medSTAR ซึ่งเป็นบริษัทขนย้ายผู้ป่วย - ผู้แปล)

ส่วนคู่บัดดี้ของคุณหมอคือ Craig Challen เผยว่าพวกเขาเกือบพลาดรับโทรศัพท์จากรัฐบาลไทยที่โทรมาขอ
ความช่วยเหลือ เพราะเขาจัดกระเป๋าเตรียมไปเที่ยวทุ่ง Nullarbor ในออสเตรเลียใต้เรียบร้อยแล้ว แต่กลับกัน
พวกเขาต้องรื้อของทุกอย่างออก เตรียมอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม และไปสนามบินภายใน 45 นาที
ทั้งสองเดินทางมาถึงถ้ำหลวงในวันที่ 6 ก.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ จ่าเอกสมาน กุนัน (ยศในขณะนั้น) เสียชีวิต เมื่อถูกถาม
ว่าข่าวการเสียชีวิตของจ่าเอกสมานทำให้ตระหนักถึงอันตรายของภารกิจมากขึ้นหรือไม่ Craig Challen
กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยว่านี่เป็นภารกิจที่อันตราย แต่เราซึ่งเป็นนักดำน้ำในถ้ำนั้นสามารถดูแลตัวเองได้เพราะนี่คือสิ่งที่เรา
ทำมาตลอด แต่สำหรับคนอื่น ๆ และ #หน่วยซีล ของ #กองทัพเรือไทย ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถสูงมากแต่นี่
ไม่ใช่สภาวะแวดล้อมที่พวกเขาคุ้นเคยและได้รับการฝึกมา

นาวาอากาศตรี Charles Hodges เสริมว่าเมื่อจ่าเอก สมานเสียชีวิต ทุกคนพักภารกิจ ถอยออกมา และมาประเมิน
ความเสี่ยงกันใหม่ว่ามีความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ตระหนักว่ามันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เพราะ
สุดท้ายก็ยังมีเด็ก ๆ และโค้ชที่ต้องช่วยออกมาอยู่ดี ดังนั้นยังไงเราก็ต้องเดินหน้าต่อ ดังนั้น แม้ว่าการเสียชีวิตของจ่าเอกสมาน
จะเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและในใจของเขาก็ระลึกว่าจ่าเอกสมานคือวีรบุรุษของคนไทยและคนทั้งโลก แต่พวกเขาก็รอช้าไม่ได้
และพวกเขาจะไม่ปล่อยให้การเสียชีวิตของจ่าเอกสมานต้องสูญเปล่า

หลังจากการค้นพบเด็ก ๆ แล้ว ทีมกู้ภัยทุกคนเริ่มรู้ตัวลึก ๆ ว่าการนำเด็กออกมาด้วยการดำน้ำคงต้องเป็นทางเลือกเดียว ทาง
หน่วยซีลของไทยได้เข้าพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทยเพื่ออธิบายให้ท่านฟัง รวมถึงทีมกู้ภัยทั้งหมดที่
อธิบายแผนการเป็นขั้นเป็นตอนให้กับท่านรัฐมนตรีฟัง ซึ่งตัวนาวาอากาศตรี Charles Hodges มั่นใจว่าแผนจะ
ได้รับการอนุมัติเพราะเขาเชื่อว่าแผนการนี้ได้ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี

นาวาอากาศตรี Charles Hodges กล่าวกับท่านรัฐมนตรีว่า ท่านครับ โลกทั้งโลกกำลังดูเราอยู่ เรามีเด็ก 12 คน
และโค้ชติดอยู่ในถ้ำ และเรามีความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์เป็นอย่างมาก แต่โชคร้ายที่ในสถานการณ์แบบนี้เราจะไม่ใช้อารมณ์
ดังนั้นเราตัดสินใจทุกอย่างด้วยเหตุและผลและพยายามเอาอารมณ์ออกทั้งหมด และตอนนี้สถานการณ์มาถึงจุดที่เหลือทางเลือก
เพียงทางเลือกเดียว และถ้าไม่ตัดสินใจที่จะดำน้ำพาเด็กออกมา สถานการณ์จะกลายเป็นผู้ตัดสินใจให้เราแทน เขาคิดว่าท่าน
รัฐมนตรีเข้าใจในเหตุและผล ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานหน่วยซีลของไทยก็มาบอกกับเขาว่า แผนการทั้งหมดได้รับ
การอนุมัติและเราจะเดินหน้าทันที

พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson หนึ่งในนักดำน้ำจากกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวว่า หลังจากนั้นพวกเขาก็เริ่ม
ฝึกกันในสระน้ำที่ได้รับอนุเคราะห์จากโรงเรียนละแวกนั้น และได้เด็ก ๆ มาเป็นตัวอย่างฝึก การฝึกเริ่มจากง่าย ๆ และใช้
อุปกรณ์จำลอง และเป็นการฝึกความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มใช้อุปกรณ์จริง และเด็กตัวอย่างจริง ซึ่งก็จะเริ่มฝึกจากการใส่อุปกรณ์
ให้เด็ก การนำเด็กดำน้ำ การส่งผ่านเด็กไปยังนักดำน้ำคนอื่น และพยายามลงรายละเอียดไปเรื่อย ๆ จนมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึก
มากที่สุดเท่าที่ทักษะของตนจะมี ทุกคนได้ฝึกร่วมกัน และทุกคนจะทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากก็ตาม

จุดเล็ก ๆ อย่างข้อความของเด็ก ๆ ที่ Jason Mallinson เกิดไอเดียให้เด็ก ๆ เขียนออกมาให้ผู้ปกครองได้กลาย
เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สร้างกำลังใจชั้นดีที่ทำให้ทีมกู้ภัยมั่นใจมากขึ้น Jason Mallinson ยังย้ำถึงความกล้าหาญ
ที่น่าทึ่งของเด็ก ๆ ที่เมื่อพวกเขาอธิบายแผนการให้เด็ก ๆ ฟัง ไม่มีใครเลยที่แสดงอาการตกใจหรือร้องไห้ เด็ก ๆ ยอมปฏิบัติ
ตามภารกิจทั้งหมด ซึ่งมันน่าทึ่งมากเมื่อเทียบกับอายุของพวกเขา

Craig Challen เสริมอีกว่าในบ่ายวันเสาร์ เขาและหมอ Harris เข้าไปตรวจสอบเด็ก ๆ และพบว่าพวกเขา
มีกำลังใจดีมาก โดยหน่วยซีลทั้ง 4 นายที่อยู่กับเด็ก ๆ ทำหน้าที่ได้ดีมากในการเสริมกำลังใจให้เด็ก ๆ ดังนั้นทุกอย่างดูพร้อม
มาก แม้ว่า Jason Mallinson จะซ่อนความกังวลไว้ข้างในว่า ถ้าฝนจะตกหนักอย่างที่พยากรณ์ไว้จริง ทุกอย่าง
มันจะยิ่งยุ่งยากขึ้นก็ตาม

และนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านผู้ว่าตระหนักว่าปฏิบัติการจะต้องเริ่มภายในวันอาทิตย์นั้น และท่านก็ประกาศวัน D-Day
นักดำน้ำต่างชาติ 13 คนพร้อมหน่วยซีลของไทย 5 คนเริ่มดำน้ำเข้าไปหาเด็ก ๆ

เช่นเดียวกับการแถลงข่าวของทีม #หมูป่า ที่คงจะได้ฟังกันไปแล้ว นักดำน้ำออสเตรเลียบอกว่าผู้ที่ตัดสินใจว่าใครจะออกมา
เป็นกลุ่มแรกคือเด็ก ๆ และหน่วยซีลของไทย โดยพวกเขารอรับการตัดสินใจเท่านั้น หลังจากนั้น เมื่อพิจารณาถึงความสามารถ
ในการดำน้ำของเด็ก ๆ อุปสรรคทางภาษา และอายุของเด็ก ๆ ทำให้ทุกคนตัดสินใจที่จะต้องทำทุกอย่างให้เด็ก ๆ โดยเด็ก ๆ
ไม่ต้องทำอะไร

พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson จากกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวว่าทีมกู้ภัยแบ่งถ้ำออกเป็น 9 โถง ในส่วนที่
ซับซ้อนที่สุดจะเป็นหน้าที่ของนักดำน้ำอังกฤษซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ในส่วนอื่น ๆ ก็จะแบ่งกันไปตามความเชี่ยว
ชาญและทักษะของแต่ละคน เรื่อยไปจนถึงคนเกือบ 150 คนที่รับผิดชอบตามจุดต่าง ๆ ตั้งแต่โถง 9 จนถึงหน้าถ้ำ ทุกคน
ทำงานกันเป็นทีมเดียวกันแต่มีหน้าที่ต่างกัน

Jason Mallinson หนึ่งในนักดำน้ำอังกฤษที่รับหน้าที่พาเด็ก ๆ ดำน้ำออกมากล่าวว่าในวันแรก ๆ ทัศนวิสัยยังดี
อยู่ แต่ในวันสุดท้ายเขามองไม่เห็นอะไรเลย นั่นทำให้พวกเขาเหนื่อยมากในแง่ของจิตใจ

Dr. Richard Harris จะดำน้ำมากับเด็ก ๆ ในช่วง 350 เมตรแรก และเมื่อมาถึงช่วงแห้งที่ยาว 200 เมตร
Craig Challen จะรับหน้าที่ถอดหน้ากากของเด็ก ๆ ออก ตรวจสอบอุปกรณ์ และพาเด็ก ๆ สไลด์ข้ามเนินดิน
ไปจนถึงช่วงที่จะต้องดำน้ำอีกครั้ง ใส่อุปกรณ์ และพากลับลงน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าจะต้องใช้นักดำน้ำ 2 คนต่อเด็ก 1 คนมัน
จะต้องใช้เวลานานมาก สุดท้ายก็เลยกลายเป็นการดูแลหนึ่งต่อหนึ่ง

และก็จะมีช่วงแห้งที่เป็นช่วงสูงชันที่จะต้องแขวนเด็กเอาไว้บนเชือกกู้ภัยและค่อย ๆ พาเด็กไปราว ๆ 150 เมตร เพราะมัน
อันตรายเกินไปที่จะให้เด็กลงเดินและข้ามช่วงสูงชันนั้น โดยเด็ก ๆ จะถูกแขวนด้วยเชือกแขวนที่ปรับปรุงพิเศษเพื่อการนี้
Jason Mallinson เสริมว่าจะมีช่วงที่ต้องดำน้ำขึ้นตรง ๆ ซึ่งนักดำน้ำไม่มีทางรู้ว่าจะถึงช่วงนั้นเมื่อไหร่จนกว่า
จะเอาหัวโขกกับผนักของเด็ก ๆ หลุด เด็กก็จะต้องเสียชีวิต หรือถ้านักดำน้ำทำเชือกนำทางหลุดมือ พวกเขาก็จะตกอยู่ใน
อันตรายมากงถ้ำ ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้น นักดำน้ำก็จะรู้ว่าจะต้องดำขึ้นตรง ๆ ไปตามช่องแคบ ๆ นักดำน้ำต้องลองว่าจะพา
เด็กกับนักดำน้ำไปพร้อมกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอย และลองให้นักดำน้ำดำคนเดียวดู ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอย ลองดันเด็ก
ไปตามช่องดู ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอยอีก มันเป็นกระบวนการที่กินเวลานานและน่ากลัวมาก เพราะถ้าเกิดดันเด็กไปชนผนังถ้ำ
และกระแทกหน้ากา

แต่เมื่อทุกคนพาเด็กสี่คนแรกออกมาได้ทุกคนก็ทั้งโลงใจและรู้สึกหมดแรงในเวลาเดียวกัน แต่ความกดดันก็ยังมีอยู่เพราะ
ทุกคนรู้ว่าฝนกำลังมาแล้ว และนั่นไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงลดลงเลย พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson กล่าวว่า
มันจึงเป็นการฉลองสั้น ๆ หลังจากนั้นทุกคนก็ต้องกลับไปตั้งสมาธิ ทำตัวเป็นมืออาชีพ เพราะทุกคนรู้ว่านี่เป็นความสำเร็จ
เล็ก ๆ ในภารกิจที่ใหญ่กว่า และรู้ว่าถ้าฝนตกลงมาก่อนหน้าที่คาดไว้แม้เพียงนิดเดียว ภารกิจกู้ภัยจะต้องยุติลง เพราะมันจะ
เสี่ยงมากเกินไปต่อทั้งเด็ก ๆ และนักดำน้ำเอง และแม้เด็กชุดที่สองจะออกมาสำเร็จซึ่งหมายถึงความสำเร็จ 8 ครั้งจากความ
พยายาม 8 ครั้ง มันก็ไม่ทำให้พวกเขาเบาใจลง

เขาจำได้ว่าหลังจากวันที่สอง เขาเข้าไปบอกกับนักดำน้ำอังกฤษว่า พวกคุณสุดยอดอย่างกะ Rock Star และนี่จะต้อง
ถูกจารึกในประวัติศาสตร์แน่นอน

ในภารกิจวันสุดท้าย Dr. Richard Harris เลือกที่จะอยู่กับเด็ก ๆ และหน่วยซีลของไทยเป็นกลุ่มสุดท้าย
ซึ่ง Craig Challen บอกว่าทำงานของหมอ Harris ว่ายอดเยี่ยมมาก ๆ

นาวาอากาศตรี Charles Hodges เล่าถึงช่วงสุดท้ายของภารกิจว่า เมื่อคุณรู้ว่าเด็ก ๆ ออกมากันหมดแล้ว หน่วยซีล
ของไทยออกมากันแล้ว ในตอนสี่ทุ่มที่ทุกคนยืนอยู่ตรงนั้นทุกคนก็ปล่อยให้อารมณ์กลับเข้ามาในจิตใจอีกครั้ง มันรู้สึกได้ว่า
ทุกคนได้ทำอะไรสักอย่างสำเร็จ ทุกคนที่มาจากต่างที่กันมาทำงานด้วยกัน และโลกก็เฝ้ามองอยู่ Craig Challen
เสริมว่าเขารู้สึกโล่งมาก แต่หน่วยซีลของไทยยังมีงานต้องจัดการ ดังนั้นเขาจึงออกมากันช้ากว่า 2-3 ชั่วโมง

ซึ่งนั่นก็ทำให้มีเรื่องดราม่าในตอนสุดท้ายของภารกิจจนได้ พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson สารภาพตามตรง
ว่ามันอาจจะเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่ ณ วินาทีนั้นปั้ม น้ำหนึ่งตัวในโถง 3 เสีย และยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งรอรับหน่วยซีล
กลุ่มสุดท้ายให้ออกมา เมื่อได้รับแจ้งว่าระดับน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกคนตื่นเต้นมาก แต่สุดท้าย ทุกคนออกออกมา
ได้อย่างปลอดภัย

(ยังมีต่อ)
สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่