เนื่องจากว่าตู้แช่สแตนเลสที่บ้านผมคอมเพรสเซอร์ได้ลาโลกไปแล้ว เลยต้องการจะเปลี่ยนตัวใหม่
แต่หาข้อมูลไปๆ มาๆ ก็พบแต่ว่าคอมเพรสเซอร์ของตู้แช่แบบนี้มันมีแต่แบบลูกสูบทั้งนั้นเลย แถมส่วนใหญ่ก็เป็นของ K ซะหมด
ที่เป็นแบบโรตารี่ก็มีแต่ในตู้เย็นบ้าน ผมเลยลองเทียบสเปคดูว่าเพราะอะไรมันถึงไม่นิยมกัน
ตู้แช่ของผมประมาณนี้ครับ 1200 ลิตร/42 คิว
ส่วนคอมเพรสเซอร์เป็นแบบลูกสูบ
สเป็คของคอมเพรสเซอร์ก็ประมาณนี้ครับ
แต่เมื่อผมลองมาเทียบกับคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
โอ้โหเหะ!! แบบโรตารีนี่มันนอนเข้าวินมาเลยแฮะ แต่ทำไมเค้าถึงไม่ใช้กัน ผมเลยไปลองหาข้อมูลเพิ่มพบว่า
ข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือ
1. อึด ถึก ทน
2. อยู่มายาวนานทำให้ช่างมีความชำชาญหรือเปรียบเสมือนคู่ซ้อมของช่างก็ว่าได้
3. มีขนาดให้เลือกใช้มากมายราวกับถุงยางอนามัย
4. สามารถใช้ในระบบที่มีการเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งไกลๆ ได้ (แต่ก็ไม่รู้ว่าประมาณเท่าไหร่ ??)
5. ถ้าตัวคอมเสียยังพอผ่าซ่อมได้
ส่วนข้อเสียคือ
1. กินไฟ
2. เสียงกระหึ่ม
3. หนัก
4. ถ้าเป็นรุ่น 220 V/1Ph/50Hz ต้องมีตัวช่วยในการสตาร์ท (แคปสตาร์ทละมั้ง ??)
คราวนี้มาดูข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี
1. ประหยัดไฟกว่า
2. เงียบ
3. ในขนาดที่เท่ากันทำความเย็นได้ดีกว่า (ไม่เกิน 30000 btu)
3. เบา
5. ในราคาที่เท่ากันได้ btu eer ที่สูงกว่า
ส่วนข้อเสียก็
1. ความอึดน้อยกว่า
2. ความชำนาญของช่างอาจจะน้อยกว่า
3. ถ้าเกิน 30000 btu เมื่อไหร่ eer จะตกลงฮวบเลย
4. การเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งทำได้ไม่ไกลมาก (ก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่าประมาณเท่าไหร่ ??)
5. ซ่อมยาก ซื้อใหม่คุ้มกว่า
จากทั้งหมดนี้ผมจึงมัคำถามครับว่า
1. ทำไมตู้แช่แบบสแตนเลสถึงไม่นิยมใช้คอมเพรสเซอร์แบบ rotary ครับ ?
2. เพราะขดท่อน้ำยาที่ยาวในตู้แช่ ทำให้คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ทำงานได้ไม่เต็มที่ใช่มั้ยครั้บ ?
3. ความยาวที่เหมาะสมกับคอมเพรสเซอร์แต่ละแบบเป็นเท่าไหร่บ้างครับ มีวิธีคำนวณ หรือมาตรฐานอะไรรึป่าวครับ ?
4. แล้วถ้าเป็นคอมเพรสเซอร์แบบสกอล์ หล่ะครับ สามารถนำมาติดตั้งกับตู้แช่ แบบนี้ได้รึป่าวครับ
อาจจะยาวซักนิดแต่ก็ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาครับ
ทำไมตู้แช่แบบสแตนเลสถึงไม่นิยมใช้คอมเพรสเซอร์แบบ rotary ครับ ??
แต่หาข้อมูลไปๆ มาๆ ก็พบแต่ว่าคอมเพรสเซอร์ของตู้แช่แบบนี้มันมีแต่แบบลูกสูบทั้งนั้นเลย แถมส่วนใหญ่ก็เป็นของ K ซะหมด
ที่เป็นแบบโรตารี่ก็มีแต่ในตู้เย็นบ้าน ผมเลยลองเทียบสเปคดูว่าเพราะอะไรมันถึงไม่นิยมกัน
ตู้แช่ของผมประมาณนี้ครับ 1200 ลิตร/42 คิว
ส่วนคอมเพรสเซอร์เป็นแบบลูกสูบ
สเป็คของคอมเพรสเซอร์ก็ประมาณนี้ครับ
แต่เมื่อผมลองมาเทียบกับคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
โอ้โหเหะ!! แบบโรตารีนี่มันนอนเข้าวินมาเลยแฮะ แต่ทำไมเค้าถึงไม่ใช้กัน ผมเลยไปลองหาข้อมูลเพิ่มพบว่า
ข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือ
1. อึด ถึก ทน
2. อยู่มายาวนานทำให้ช่างมีความชำชาญหรือเปรียบเสมือนคู่ซ้อมของช่างก็ว่าได้
3. มีขนาดให้เลือกใช้มากมายราวกับถุงยางอนามัย
4. สามารถใช้ในระบบที่มีการเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งไกลๆ ได้ (แต่ก็ไม่รู้ว่าประมาณเท่าไหร่ ??)
5. ถ้าตัวคอมเสียยังพอผ่าซ่อมได้
ส่วนข้อเสียคือ
1. กินไฟ
2. เสียงกระหึ่ม
3. หนัก
4. ถ้าเป็นรุ่น 220 V/1Ph/50Hz ต้องมีตัวช่วยในการสตาร์ท (แคปสตาร์ทละมั้ง ??)
คราวนี้มาดูข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี
1. ประหยัดไฟกว่า
2. เงียบ
3. ในขนาดที่เท่ากันทำความเย็นได้ดีกว่า (ไม่เกิน 30000 btu)
3. เบา
5. ในราคาที่เท่ากันได้ btu eer ที่สูงกว่า
ส่วนข้อเสียก็
1. ความอึดน้อยกว่า
2. ความชำนาญของช่างอาจจะน้อยกว่า
3. ถ้าเกิน 30000 btu เมื่อไหร่ eer จะตกลงฮวบเลย
4. การเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งทำได้ไม่ไกลมาก (ก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่าประมาณเท่าไหร่ ??)
5. ซ่อมยาก ซื้อใหม่คุ้มกว่า
จากทั้งหมดนี้ผมจึงมัคำถามครับว่า
1. ทำไมตู้แช่แบบสแตนเลสถึงไม่นิยมใช้คอมเพรสเซอร์แบบ rotary ครับ ?
2. เพราะขดท่อน้ำยาที่ยาวในตู้แช่ ทำให้คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ทำงานได้ไม่เต็มที่ใช่มั้ยครั้บ ?
3. ความยาวที่เหมาะสมกับคอมเพรสเซอร์แต่ละแบบเป็นเท่าไหร่บ้างครับ มีวิธีคำนวณ หรือมาตรฐานอะไรรึป่าวครับ ?
4. แล้วถ้าเป็นคอมเพรสเซอร์แบบสกอล์ หล่ะครับ สามารถนำมาติดตั้งกับตู้แช่ แบบนี้ได้รึป่าวครับ
อาจจะยาวซักนิดแต่ก็ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาครับ