Turra Coo แม่วัวที่ทำให้ทั้งเมืองจราจล


รูปหล่อสำริด Turra Coo ใน Turriff



หนึ่งร้อยปีก่อน  ชุมชนเกษตรกรขนาดเล็กที่ชื่อว่า
Turriff ใน Aberdeenshire ประเทศ Scotland
ได้ก่อเรื่องราวที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาเลย
จนกลายเป็นจลาจลต่อต้านรัฐบาลที่แปลกประหลาดที่สุดในอังกฤษ
แม่วัว คือ ศูนย์กลางของเรื่องราวครั้งนี้ที่กลายเป็นข่าวดัง
จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วประเทศว่า Turra Coo

เรื่องราวของ Turra Coo  ที่โด่งดังที่สุดของ  เริ่มต้นในปี 1911
ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลได้เปิดตัวโครงการ National Insurance
โครงการใหม่นี้ทั้งคนงานและนายจ้างต้องมีส่วนร่วม
ในการสมทบทุนผลประโยชน์ชดเชยที่รัฐจะให้
เช่น การประกันการเจ็บป่วยและการว่างงาน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสวัสดิการให้กับพลเมือง
โดยบังคับใช้กับคนงานทุกคนที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 70 ปี
แม้ว่า National Insurance เป็นเรื่องที่ดี  แต่หลายคนต่างตั้งข้อสงสัย  
รวมทั้งเกษตรกรชาวสก็อตจำนวนมากยังไม่ค่อยเชื่อมั่นกับ
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากรัฐบาลสำหรับคนที่ต้องการรับความช่วยเหลือ

เกษตรกรบางคนรู้สึกว่าการสมทบเงินดังกล่าวให้รัฐบาลสูงเกินไป
เกษตรกรที่อยู่รอบ Turriff  หลายคนต่างรู้สึกสับสนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะเกษตรกรที่จะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากจากการจ้างแรงงานในไร่นา
ซึ่งพวกเกษตรกรต่างคิดว่าที่ฟาร์มก็มีอยู่และอย่างเดิมที่ให้กับคนงานก็ดีอยู่แล้ว
และพวกตนก็แทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์เรื่องนี้จากรัฐเลย





มีการประท้วงจัดตั้งขึ้นที่ตลาดเกษตร Johnston and Paterson Mart
โดยมี  Robert Paterson เจ้าของฟาร์ม Lendrum
เป็นแกนนำที่คัดค้านเรื่องการเก็บค่าเบี้ยประกันสังคมครั้งนี้
Robert Paterson เป็นเจ้าของฟาร์มท้องถิ่น
ซึ่งว่าจ้างคนงานจำนวนมากทำงานในฟาร์ม Lendrum
Robert Paterson ได้ปฏิเสธที่จะจ่ายค่าบัตรประกันสุขภาพของลูกจ้าง

นายอำเภอกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงเดินทางมาหาเขาทันที  
พร้อมกับแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดทางอาญา 20 กระทงตามกฎหมาย
โดยจะต้องจ่ายค่าปรับรวมเงินค้างชำระ 15 ปอนด์
Robert Paterson ยอมจ่ายค่าปรับ  แต่ปฏิเสธที่จะจ่ายเงินค้างชำระ

13 พฤศจิกายน 1913
George Keith นายอำเภอ Turriff จึงสั่งยึดทรัพย์สินในฟาร์ม
ของ Robert Paterson ที่มีมูลค่า 7 ปอนด์เพื่อชำระเงินค้างชำระ
แต่ทรัพย์สินหลายชิ้นขนย้ายออกจากฟาร์ม Lendrum ไม่ได้
เพราะชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการช่วยขนย้ายข้าวของ
ดังนั้น ทางการจึงได้แต่ยึดเอาทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้คือ
แม่วัวสีขาวลูกผสม Ayrshire-Shorthorn ชื่อว่า Coo





" มัน OK ยอมรับได้ ถ้าพวกเจ้าหน้าที่ยึดเอาเครื่องเรือน
ไถ/คราด อะไรก็ได้ที่ขายได้ออกจากฟาร์มแห่งนี้
แต่เรื่องราวจลาจลที่เกิดขึ้นที่นี่
เพราะพวกเจ้าหน้าที่อำเภอยึดแม่วัวสีขาวตัวเล็ก ๆ ไป
ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมส่วนหนึ่งของฝูงชน "
Allen Stephen จาก Turriff Heritage Society ให้สัมภาษณ์กับ BBC

วันที่ 9 ธันวาคม 1913
ที่ตลาดเกษตร Turriff  ทุกคนต่างปฏิเสธที่จะจัดการขายแม่วัว
และผู้ประมูลขายทอดตลาดในท้องถิ่นก็ไม่ยอมทำหน้าที่นี้ด้วย
ทำให้เจ้าหน้าที่อำเภอต้องนำผู้ประมูลขายทอดตลาดจากเมืองอื่นมาแทน
แล้วจัดให้มีการประมูลขายทอดตลาดแม่วัวสีขาว Coo ที่ใจกลางเมือง Turriff

ในวันที่มีการประมูลขายทอดตลาดแม่วัว Coo ในใจกลางเมือง
ชาวบ้านต่างตกแต่งแม่วัว Coo ด้วยริบบิ้น
แล้วเขียนข้างลำตัวว่า Lendrum to the Leeks
จากฟาร์ม Lendrum ถึง Leeks (Leeks คือ สัญลักษณ์ประจำชาติ Welsh)
เพราะ David Lloyd George ซึ่งเป็นชาว Welsh
คือ ผู้เป็นต้นคิดการเรียกเก็บเงิน National Insurance





จัตุรัสใจกลางเมือง Turriff ต่างคับคั่งไปด้วยผู้คนจำนวนมาก
คนงานในฟาร์มต่างหยุดงานครึ่งวัน
เพื่อต่างมาดูการประมูลขายทอดตลาดแม่วัว
หรืออาจจะมาขัดขวางการประมูลขายทอดตลาด
มีบรรยากาศความตึงเครียดอย่างเห็นได้ชัด
ฝูงชนกำลังตื่นเต้น แม่วัวก็กำลังตื่นเต้นเช่นกัน
และในที่ใกล้ ๆ กันนั้น ชาวบ้านบางคนยังจำได้ว่า มีเสียงหมาเห่า
มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า Robert Paterson ได้โผล่ตัวขึ้นมา
แล้วตะโกนว่า  Yoo Hoo  แล้วทำให้แม่วัว Coo ตกใจ
แม่วัว Coo จึงวิ่งเตลิดหลุดหายไปตามท้องถนน


จากนั้นการจลาจลก็เกิดขึ้น
ฝูงชนที่แข็งแรงบึกบึนกว่า 100 คนต่างขว้างปา
ผลไม้เน่า ไข่เน่า ผงเขม่าสีดำ ใส่เจ้าหน้าที่อำเภอ กับ คนทำหน้าที่ขายทอดตลาด
รวมทั้งชาวบ้านบางคนในตลาด Johnston and Paterson Mart ก็ยิงพลุด้วยเช่นกัน
สิ้นสุดเย็นวันนั้น คนงานในฟาร์มจำนวน 8 คนรวมทั้ง Robert Paterson ต่างถูกจับกุม
แล้วถูกนำตัวไปส่งฟ้องศาลที่  Aberdeen
ข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
แต่ทุกคนต่างได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา  
เพราะขาดประจักษ์พยานหลักฐาน


ในที่สุด แม่วัว Coo ที่หนีเตลิดไปได้
ถูกพบตัวอยู่ในโรงนาใกล้ ๆ กับตลาด
แล้วเธอก็ถูกนำตัวไปยังเมือง Aberdeen
เพื่อทำการประมูลขายทอดตลาด
แม่วัว Coo ถูก Alexander Craig ประมูลซื้อไปในราคา 7 ปอนด์
อย่างไม่มีปัญหาหรือการจลาจลแต่อย่างใด

แต่ Bryony Miller เด็กหญิงในหมู่บ้าน กับ ภริยาของ Robert Patersons
และ John Miller คนงานในฟาร์มต่างช่วยกันลงขัน
เพื่อซื้อแม่วัว Coo กลับจากเจ้าของคนใหม่ของเธอ





วันที่ 20 มกราคม 1914
มีการเฉลิมฉลองนำแม่วัว Coo คืนสู่เหย้า
กลับไปยังฟาร์ม  Lendrum ของ Robert Patersons
เป็นงานครั้งสำคัญที่ยิ่งใหญ่ในพื้นที่สาธารณะ
ชาวบ้านกว่า 3,000 คนต่างมาร่วมในขบวนพาเหรด
เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะผ่านใจกลางเมือง Turriff
มีการประดับประดาแม่วัว Coo ด้วยริบบิ้น มาลัยดอกไม้แห้ง
และเขียนข้างลำตัวแม่วัว Coo ว่า  
อิสระ !! ไม่คิดเลยว่า แกจะกลับมาหาฉัน
Free!! Divn't ye wish that ye were me.

พร้อมกับการแห่แหนบรรเลงเพลงและร่วมร้องเพลง
มาแล้ว ชัยชนะของวีรบุรุษของเรา
See the Conquering Hero Comes.


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
SEE, THE CONQU'RING HERO COMES!




แม่วัว Coo ตายในเวลา 6 ปีต่อมา
และถูกฝังอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกของ Robert Patersons ใน Lendrum
แต่เรื่องราว/ตำนานของเธอไม่มีใครลืมเลย

แม่วัว Coo กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมือง Turriff
ในการต่อต้านรัฐบาลเรื่องความอยุติธรรม
เงินค่าปรับ/เงินค้างชำระเบี้ยประกันสังคม
เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่ชาวเมืองต่างขายของที่ระลึก
ที่มีภาพของแม่วัว Coo พร้อมกับคำว่า  Lendrum to Leeks

ในปี 1913 คำว่า Turra Coo กลายเป็นวลีที่โด่งดัง
หมายถึงการต่อต้านความอยุติธรรมของรัฐบาล
ซึ่งมาจากเหตุการณ์ของ Robert Patersons

วันที่ 31 ตุลาคม 1971
มีการทำป้ายทางไปฟาร์ม Lendrum
ที่มีสัญลักษณ์ป้ายรูปเงาทีบหัวแม่วัว Coo

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2010
มีการสร้างรูปปั้นสำริด Turra Coo
โดย David Blyth, Charles Engebretsen และ Ginny Hutchinson
เพื่อตั้งในใจกลางเมือง Turriff ถนนสายหลักการค้าสองสาย  
หัวมุมถนนที่รู้จักกันดีในท้องถิ่นว่า  Coo Corner
รูปปั้นสำริด Turra Coo ถอดแบบมาจากแม่วัว Alese ที่ถูกสตัฟไว้
เพราะมีลักษณะใกล้เคียงกับภาพต้นฉบับ Turra Coo
ส่วนแม่วัวสตัฟ Alese ยังจัดแสดงอยู่ที่  
Aberdeenshire Farming Museum ใน Mintlaw

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2013
มีการเฉลิมฉลองการครบรอบวาระ 100 ปีในเมือง Turriff
พร้อมกับการตีความบอกเล่าเหตุการณ์ดราม่าครั้งนี้ใหม่




ในปี 2014  Turriff United F.C. ทีมสโมสรทีมฟุตบอล
ที่เตะอยู่ใน Highland League football Club
ได้ใช้สัญลักษณ์นำโชค Mascot เป็น Turra Coo
แม้ว่าจะไม่เหมือนมากนัก
เพราะ Mascot ตัวนี้มีสัญลักษณ์เพศชาย





เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2JD4xU5
http://bit.ly/2LuQFwB


หมายเหตุ

ต้องขออภัย หัวข้อกระทู้ จราจล พิมพ์ผิด
จริง ๆ จะต้องใช้คำว่า จลาจล
แต่แก้ไขไม่ได้แล้วเพราะเกิน 30 นาทีแล้ว
หลังจากตั้งกระทู้จะกลับไปแก้ไขไม่ได้





เรื่องเล่าไร้สาระ

แม่วัว Turra Coo  เทียบเคียงได้กับวาทกรรม
หากขาดโดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์
ก็เหมือนขาดสัญลักษณ์พิทักษ์ธรรม

ของนายผี (อัศนี  พลจันทร)
กวี/นักรบกองโจรพรรคคอมมิวนิสต์ไทย
ท่านไปเสียชีวิตที่ลาวก่อนนำอังคารกลับไทย
เพลงเดือนเพ็ญ คือ เพลงที่ท่านแต่งไว้
ตอนที่สู้รบอยู่ในป่าและคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เดือนเพ็ญ







นายอำเภอมีอำนาจยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
และจะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้
ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ตามมาตรา 12 ประมวลรัษฎากร  https://bit.ly/2NrowY3

นายอำเภอมีการใช้อำนาจนี้กันมากในช่วงหลังปี 2541
หลังจากที่ไทยเกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง
มีการไล่เช็คบิลผู้ขาย/ผู้ซื้อ  ที่ดิน/บ้านพร้อมที่ดิน
ทั้งในโครงการบ้านจัดสรรค์/ขายที่ดินเปล่า หรือนอกโครงการ
ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวคึกคักมากหลังปี 2535-2540
ช่วงนายกชาติชาย ชุณหะวัณ
มีเศรษฐีและยาจกเกิดขึ้นกันมากมายพอ ๆ กับหญ้าคาในทุ่งรกร้าง
มีผู้ที่เข้าข่ายต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะอัตรา 3.3% ตามกฎหมาย
เพราะมีการขายบ้านพร้อมที่ดินโดยถือครองต่ำกว่า 5 ปี
มีการขายที่ดินเปล่าโดยถือครองต่ำกว่า 5 ปี

รายที่เก็บเอกสารหลักฐานไว้ครบก็รอดตัวไป
รายที่ไม่มีเอกสารหลักฐานหรือไม่ได้ชำระก็รับกรรมไป
เพราะสำนักงานที่ดินบางแห่งไม่ได้เรียกเก็บไว้ก่อน
โดยหลงลืมหรือไม่ได้รับหนังสือสั่งการอย่างเป็นทางการจึงไม่ได้ทำ
รวมทั้งเป็นรายการที่ทางการเหวี่ยงแหทั่วประเทศเพื่อหาเงินเข้ารัฐ

ในกรณีหาคนขายไม่ได้เพราะย้ายถิ่นที่อยู่
สรรพากรบางแห่งก็จะมีหนังสือเชิญตัวคนซื้อมาให้ถ้อยคำ
แล้วให้ช่วยติดตามตัวคนขายมาให้ด้วย
พร้อมกับเรียกเก็บภาษีเงินได้เพิ่มเติมถ้าทำได้แบบ 2 In 1
คนซื้อบางรายก็ถูกขอให้ช่วยชำระหนี้แทนคนขาย
ในรายการภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมเบี้ยปรับ/ดอกเบี้ยที่เกินกำหนดชำระ
โดยสำนักงานบางแห่งก็จะเรียกเก็บจากคนซื้อเต็มอัตรา  
สำนักงานบางแห่งก็จะ Discount  ให้บางส่วน
ถ้าเงินน้อย ๆ  คนซื้อบางคนก็จ่ายให้เพื่อตัดความรำคาญไป
กอปรกับคนซื้อส่วนมากไม่อยากมีข้อพิพาทกับเจ้าหน้าที่สรรพากร

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่สรรพากรติดต่อคนขายได้
ก็จะส่งหมายเรียกตัวคนขายมาชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
โดยมีการคิดภาษี/เบี้ยปรับพร้อมทั้งอัตราดอกเบี้ยเกินกำหนดชำระ
คนขายบางรายถูกคิดยอดเงินรวมแล้ว
ถ้ามีจำนวนเงินมากเกินความสามารถชำระหนี้(ภาษี)ได้
ก็ต้องขอผ่อนจ่ายชำระหนี้ หรือขอทุเลาการชำระหนี้
คนขายบางรายก็ไม่มีเงินเหลืออยู่เลย
ก็ถูกนายอำเภอยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
ซึ่งเป็นเรื่องที่วุ่นวายโกลาหลมากในช่วงนั้น





แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่