คิดยังไงกับคำว่า ปากร้ายแต่ใจดี มันเป็นเหตุผลอันชอบธรรมที่จะหยิบมาอ้างเพื่อใช้คำพูดที่รุนแรงทำร้ายจิตใจคนอื่นได้ด้วยเหรอ

เห็นในละคร บางทีมักจะยัดเยียดให้ตัวละคร เป็นคนปากร้าย ขี้วีน แต่ลึกๆแล้วก็เป็นคนดี
ทำให้ผู้ดูละคร มโนไปว่า เขาเป็นคนปากร้ายแต่ใจดี ในทีวีก็ชอบยัดเยียดคำนี้เหลือเกิน
ที่ทำงานของดิฉัน มีป้าคนหนึ่ง เป็นคนเก่าคนแก่ เกษียนแล้วแต่ GM ก็ให้ทำงานเป็นผู้จัดการแผนกหนึ่ง
แกปากจัด พูดตรงไปตรงมา พูดแรง อาจถึงขั้นล้ำเส้นได้ ถ้าได้เข้าไปสนิท แต่ไม่มีใครถือสา
ทุกคนโดนเหมือนกันหมด ดิฉันก็โดนแต่ลับหลังนะคะ เพราะต่อหน้าดิฉันวางตัว สร้างระยะห่าง
ใครไปติดต่องานด่าไว้ก่อน สุดท้ายก็อนุมัติ ข้อดีคือ มีน้ำใจเลี้ยงลูกน้อง ขนมไม่เคยขาดตกบกพร่อง
สามารถนำปัญหาใหญ่ๆ ไปต่อรอง GM ได้ เช่น โบนัส หรือสวัสดิการของพนักงาน
ทุกคนทั้งบริษัท เลยไม่ถือสาแกเลย เวลาโดนด่า โดนแกวีนเป็นที่ระบายอารมณ์ ทุกคนก็จะบอก
ว่าปล่อยแกไปเถอะ แกปากร้ายแต่ใจดี เป็นแบบนี้มาจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนต้องโดนหมด

ดิฉัน ได้มีโอกาสพบป้าแกน้อยมาก แกเป็นผู้จัดการฝ่ายอาคาร เรื่องมันมีอยู่ว่าลูกน้องของดิฉัน
ที่เข้ามาใหม่โดนแกดุ ดุเรื่องงาน แต่คำพูดอาจรุนแรงเกินไป มีคำหยาบด้วย ทุกคนปลอบใจน้อง
ด้วยเหตุผลที่ว่า อย่าคิดอะไรมาก ป้าแกเป็นคนปากร้ายแต่ใจดี ดิฉันไม่อยากใช้เหตุผลนี้ปลอบใจเลย
มันฟังไม่ขึ้นค่ะ แต่องค์กรปล่อยให้เกิดวัฒนธรรมแบบนี้ จนเลยเถิดมาจนถึงปัจจุบัน
ดิฉันไปคุยกับผู้จัดการ HR แล้ว เขาก็ยิ้มแอบหัวเราะด้วย แล้วก็บอกว่าอย่าไปถือสาแกปากร้ายแต่ใจดี
การปล่อยวาง หรือใช้หลักการเหตุผลใดๆ ก็แล้วแต่ ดิฉันก็ไม่สามารถเข้าใจว่า มันถูกต้อง
ถึงแม้ว่า อีกวันรุ่งขึ้น ป้าแกจะปกติ แล้วเอากะหรี่ปั๊บมาแจกจ่าย ทุกแผนกในบริษัทก็ตาม

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
ก็แค่ข้ออ้างของคนไม่ค่อยคิดก่อนพูด
แล้วก็ชอบป้าย stereotype คนอื่น
ว่าปากหวานแต่ไม่จริงใจ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่