วันแรกนาขวัญเป็นพิธีกรรมแบบพราหมณ์ซึ่งมีมายาวนานนับพันปีปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎก ในเมืองไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมก็มีการนำพิธีกรรมนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยพิธีนี้มีส่วนของการเสี่ยงทายเพื่อพยากรณ์สถานการณ์การเพาะปลูกในปีนั้น คำทำนายมี 2 ส่วน อันแรกมีนานานคือการให้พระโคเลือกกินสิ่งต่างๆ ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า แล้วทำนายว่าสิ่งใดจะบริบูรณ์ กับอีกวิธีซึ่งพึ่งเกิดขึ้นไม่นานคือการเสี่ยงเลือกผืนผ้าที่มีความยาวแตกต่างกัน แล้วทำนายปริมาณน้ำฝนว่ามาก ปานกลางหรือน้อย
ข้อมูลการเลือกกินสิ่งของจากพระโคไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ทางสถิติได้ แต่ข้อมูลความยาวผ้าเป็นตัวเลขสามารถนำมาทดสอบทางสถิติได้ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาเทียบกับการเสี่ยงทาย ได้ผลดังตารางต่อไปนี้
ผลการทดสอบด้วยค่าสหสัมพันธ์ออกมาอยู่ที่ 0.37 สรุปได้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวผ้าที่เสี่ยงทายได้กับปริมาณฝนที่ตกจริง แต่เป็นความสัมพันธ์ในระดับอ่อนถึงปานกลาง
ซึ่งความสัมพันธ์ที่มีอยู่ทำให้สมควรตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป ซึ่งพบความน่าประหลาดใจอย่างยิ่ง คือ เมื่อผ้าที่เสี่ยงทายได้ 4 คืบ มันแสดงถึงภาวะภัยแล้งอย่างชัดเจนยิ่ง โดยปีที่เสี่ยงทายได้ผ้า 4 คืบคือ ปี 2546 ,2547 , 2548 และ 2558 เป็นปีที่มีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น โดยเป็นภัยแล้งรุนแรงเป็นลำดับ 3 , 1, 6 และ 2 ตามลำดับ
โอกาสของเสี่ยงทายผ้าในแต่ละปีอยู่ที่หนึ่งในสาม การเสี่ยงทายผ้า 4 คืบตรงกับภาวะน้ำน้อยทั้ง 4 ปี จึงมีโอกาสอยู่ที่ 1 ใน 81 เป็นความน่าจะเป็นที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย ส่วนปีที่เสี่ยงทายได้ผ้า 5 หรือ 6 คืบ ไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจน
คำถามสำหรับห้องหว้ากอ ทำไมการเสี่ยงทายผ้าจึงมีความสัมพันธ์ในระดับอ่อนถึงปานกลางกับปริมาณฝนที่ตกจริง ถ้าเป็นแบบ random ค่า r ควรเข้าใกล้ 0 มิใช่หรือ นี่แสดงถึงปัจจัยที่มองไม่เห็นใช่หรือไม่ โดยเฉพาะการเสี่ยงทายได้ผ้า 4 คืบบ่งบอกถึงภาวะภัยแล้งที่จะเกิดในอนาคตได้อย่างแม่นยำอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งความน่าจะเป็น 1/81 มันน้อยเกินกว่าจะบอกว่าฟลุ๊ค น่าประทับใจมาก
แต่สำหรับผู้ที่เชื่อถือเรื่องสิ่งลี้ลับ อย่าพึ่งได้ใจ เพราะข้อมูลต่อไปจะทำให้ท่านห่อเหี่ยวก็ได้ เพราะว่าการตีความผลการทำนายมันไม่ได้เป็นแบบตรงไปตรงมา แต่เป็นในทางตรงข้าม คือ ผ้ายาวน้ำน้อย ผ้าสั้นน้ำมาก ดังเอกสารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรูปต่อไป ดังนั้นผ้า 4 คืบคือน้ำมากไม่ใช่น้ำน้อย มันลบล้างความน่าประทับใจทางสถิติจนหมดสิ้น ทำให้การพยากรณ์สวนทางกับความเป็นจริง
คำถามสำหรับห้องศาสนาและห้องสิ่งลี้ลับ ทำไมหลักวิชาในการพยากรณ์มีอะไรผิดพลาด คำพยากรณ์จึงสลับกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หรือหลักวิชาดั้งเดิมไม่ได้ผิด แต่คนชั้นหลังแปลตำราโบราณผิดไปเอง หรือว่าปัจจัยที่มองไม่เห็นที่เราคาดหวังมันมีสถานะตรงข้ามกับที่เราเชื่อ มันเปลี่ยนขั้วเปลี่ยนข้างไปแล้ว อย่างเราได้ยินคำว่า ถิ่นกาขาว ที่อะไรต่อมิอะไรมันกลับตาลปัตรไปหมด ซึ่งมีความเป็นไปได้มากมาย
----------------------------------------------------------------------
เนื่องจากข้อมูลการวิเคราะห์ทางสถิติมีจำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ความคลาดเคลื่อนจึงอาจจะมีสูง ซึ่งถ้ามีการเก็บข้อมูลต่อไปอีกสัก 10 ปี ข้อสรุปก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นตามหลักวิชาทางสถิติ ซึ่งในปี 2561 นี้ พระยาแรกนาเสี่ยงทายได้ผ้านุ่ง 6 คืบ ซึ่งพยากรณ์ว่า "น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่" เรามาติดตามกันว่าจะเป็นจริงสมดังคำทำนายหรือไม่
การทำนายในวันแรกนาขวัญ แม่นยำเพียงใด
ข้อมูลการเลือกกินสิ่งของจากพระโคไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ทางสถิติได้ แต่ข้อมูลความยาวผ้าเป็นตัวเลขสามารถนำมาทดสอบทางสถิติได้ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาเทียบกับการเสี่ยงทาย ได้ผลดังตารางต่อไปนี้
ผลการทดสอบด้วยค่าสหสัมพันธ์ออกมาอยู่ที่ 0.37 สรุปได้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวผ้าที่เสี่ยงทายได้กับปริมาณฝนที่ตกจริง แต่เป็นความสัมพันธ์ในระดับอ่อนถึงปานกลาง
ซึ่งความสัมพันธ์ที่มีอยู่ทำให้สมควรตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป ซึ่งพบความน่าประหลาดใจอย่างยิ่ง คือ เมื่อผ้าที่เสี่ยงทายได้ 4 คืบ มันแสดงถึงภาวะภัยแล้งอย่างชัดเจนยิ่ง โดยปีที่เสี่ยงทายได้ผ้า 4 คืบคือ ปี 2546 ,2547 , 2548 และ 2558 เป็นปีที่มีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น โดยเป็นภัยแล้งรุนแรงเป็นลำดับ 3 , 1, 6 และ 2 ตามลำดับ
โอกาสของเสี่ยงทายผ้าในแต่ละปีอยู่ที่หนึ่งในสาม การเสี่ยงทายผ้า 4 คืบตรงกับภาวะน้ำน้อยทั้ง 4 ปี จึงมีโอกาสอยู่ที่ 1 ใน 81 เป็นความน่าจะเป็นที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย ส่วนปีที่เสี่ยงทายได้ผ้า 5 หรือ 6 คืบ ไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจน
คำถามสำหรับห้องหว้ากอ ทำไมการเสี่ยงทายผ้าจึงมีความสัมพันธ์ในระดับอ่อนถึงปานกลางกับปริมาณฝนที่ตกจริง ถ้าเป็นแบบ random ค่า r ควรเข้าใกล้ 0 มิใช่หรือ นี่แสดงถึงปัจจัยที่มองไม่เห็นใช่หรือไม่ โดยเฉพาะการเสี่ยงทายได้ผ้า 4 คืบบ่งบอกถึงภาวะภัยแล้งที่จะเกิดในอนาคตได้อย่างแม่นยำอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งความน่าจะเป็น 1/81 มันน้อยเกินกว่าจะบอกว่าฟลุ๊ค น่าประทับใจมาก
แต่สำหรับผู้ที่เชื่อถือเรื่องสิ่งลี้ลับ อย่าพึ่งได้ใจ เพราะข้อมูลต่อไปจะทำให้ท่านห่อเหี่ยวก็ได้ เพราะว่าการตีความผลการทำนายมันไม่ได้เป็นแบบตรงไปตรงมา แต่เป็นในทางตรงข้าม คือ ผ้ายาวน้ำน้อย ผ้าสั้นน้ำมาก ดังเอกสารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรูปต่อไป ดังนั้นผ้า 4 คืบคือน้ำมากไม่ใช่น้ำน้อย มันลบล้างความน่าประทับใจทางสถิติจนหมดสิ้น ทำให้การพยากรณ์สวนทางกับความเป็นจริง
คำถามสำหรับห้องศาสนาและห้องสิ่งลี้ลับ ทำไมหลักวิชาในการพยากรณ์มีอะไรผิดพลาด คำพยากรณ์จึงสลับกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หรือหลักวิชาดั้งเดิมไม่ได้ผิด แต่คนชั้นหลังแปลตำราโบราณผิดไปเอง หรือว่าปัจจัยที่มองไม่เห็นที่เราคาดหวังมันมีสถานะตรงข้ามกับที่เราเชื่อ มันเปลี่ยนขั้วเปลี่ยนข้างไปแล้ว อย่างเราได้ยินคำว่า ถิ่นกาขาว ที่อะไรต่อมิอะไรมันกลับตาลปัตรไปหมด ซึ่งมีความเป็นไปได้มากมาย
----------------------------------------------------------------------
เนื่องจากข้อมูลการวิเคราะห์ทางสถิติมีจำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ความคลาดเคลื่อนจึงอาจจะมีสูง ซึ่งถ้ามีการเก็บข้อมูลต่อไปอีกสัก 10 ปี ข้อสรุปก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นตามหลักวิชาทางสถิติ ซึ่งในปี 2561 นี้ พระยาแรกนาเสี่ยงทายได้ผ้านุ่ง 6 คืบ ซึ่งพยากรณ์ว่า "น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่" เรามาติดตามกันว่าจะเป็นจริงสมดังคำทำนายหรือไม่