เรื่องน่ารู้ของครีมกันแดด


ภาพจาก google

สวัสดีค่าาาาา..... นานาสวัสดี
วันนี้มีสาระดีๆเกี่ยวกับ ครีมกันแดด มาแบ่งปันค่า เนื่องจากปิดเทอมช่วงหน้าร้อนแล้วไปทำกิจกกรม outdoors บ่อยมาก จนคิดว่าเอาสาระมาแบ่งปันกันดีกว่า
หน้าร้อนที่ยุโรปนี่ร้อนน่าดูเลยนะคะ บางปีร้อนถึง 37-39 องศา โดยเฉพาะฝรั่งเศสโซน Côte d'Azur หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า French Riviera ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean coastline ) เช่นเมือง Cannes, Marseilles, Nice แบบนี้อะคะ แม้แต่สวิสเซอร์แลนด์เองก็ร้อนมากๆๆ เรานี่ใส่รองเท้าดำเป็นรอยรองเท้าเลยค่า

เอาหล่ะ เข้าเรื่องสาระของครีมกันแดด…

ภาพจาก google

ก่อนเข้าเรื่อง “กันแดดไม่กันดำนะจ้ะ แค่ป้องกันรังสีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง” นานาอุ๊ต๊ะ
จะกันดำคือใส่เสื้อผ้าคุมส่วนที่ไม่อยากดำ + กางร่มยูวีอีกชั้น

ก่อนอื่นเลยเนี่ยต้องบอกว่าแสงแดดประกอบไปด้วย Electromagnetic waves และแหล่งของรังสี ultraviolet ซึ่ง รังสี ultraviolet มีความยาวตคลื่นสั้นกว่าความยาวคลื่นของแสงที่เรามองเห็นแต่มีพลังงานมากกว่า
UVA UVB UVC ถูกแบ่งออกตามความยาวคลื่น โดย UVC จะมีความยาวคลื่นสั้นสุด (UVC < UVB < UVA)
-    UVC ไม่แทงทะลุถึงชั้นผิวโลก แต่ UVA, UVB แทงทะลุถึงพื้นผิวโลก ดังนั้นไอ้เจ้า UVA, UVB เนี่ยแหละตัวร้ายแก่ผิวหนังเรา
UVB ในปริมาณน้อยๆไม่มากสามารถช่วยในการสร้าง vitamin D ในการเสริมสร้างกระดูกของเรา (เอาสั้นๆแค่นี้นะคะ เพราะถ้าอธิบายละเอียดว่ายังไงต้องอธิบายเป็นแผนผังเลย ถ้าคนไม่ได้เรียนคณะแพทย์ คณะวิทยศาสตร์สาขาชีวะและที่เกี่ยวข้องมา อาจมึนกันได้ ฮ่าๆๆ)
-    ครีมกันแดดที่ไม่ได้ระบุว่ากันทั้ง UVA และ UVB ส่วนใหญ่จะกันได้แค่ UVB ไม่กัน UVA
-    UVB นั้นทะลุได้แค่ผิวหนังชั้นบน และทำให้เกิดอาการไหม้แดด (Burns)
เจ้าตัวร้ายกาจคือ UVA มันทะลุทะลวงได้ถึงชั้นผิวหนังชั้นล่าง ทำให้เกิดรอยย่นดูแก่กว่าวัย และเป็นตัววทำร้าย DNA

ภาพจาก google

-    ดังนั้นเราจึงตวรเลือกครีมกันแดดที่ higher broad spectrum คือกันได้ทั้ง UVA และ UVB
-    มีงานสำรวจออกมาว่าคนโดยส่วนใหญ่มักจะทาครีมกันแดดได้แค่ ¼ ของปริมาณที่ควรจะทาจริงๆ ซึ่ง American cancer society แนะนำว่าเราควรจะทาครีมกันแดดอย่างน้อย 1 once หรือ  1 แก้วชอต ทาไปทุกที่แขน-ขา-คอ-หน้า และที่สำคัญครีมกันแดดแบบขวดบีบง่ายต่อการบีบและเห็นว่าเราบีบในปริมาณที่มากพอไหม แต่การใช้ครีมกันแดดแบบ spray มันเห็นได้ยากกว่าพ่นในปริมาณที่มากพอรึยังเพื่อที่จะได้รับ full protection นอกจากนี้การใช้แบบ spray มีความเสี่ยงต่อสุขภาพการหายใจในการหายใจเอาส่วนประกอบในครีมกันแดดที่มากับละออง spray
***และควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดด 30 นาทีเพื่อให้มันดูดซึมก่อน อย่าทาตอนที่อยู่กลางแดดแล้วเพราะมันสายเกินแก้***
-    นอกจากนี้ควรทาครีมกันแดดซ้ำหลังจากอยู่กลางแดดเป็นเวลา 2 ชม หรือหลังจากเหงื่ออกหรือว่ายน้ำก็ควรทาซ้ำเพราะไม่มีครีมกันแดดชนิดไหนกันน้ำได้ถึงแม้เราจะเห็นเค้าโฆษณาว่า water resistant เพราะโดยส่วนใหญ่ water resistant หมายถึงมันจะมีประสิทธิภาพได้หลังจากโดนน้ำหรือเหงื่ออกได้แค่ 40-80 นาทีเท่านั้น
-    SPF (Sun Protection Factor) มันคือค่าบอกว่า เศษส่วนเท่าไหนของรังสี UVB แต่สามารถเข้าสู่ผิวเราได้ ตัวอย่างเช่น SPF 15 หมายความว่า 1/15 ของรังสี UVB สามารถเข้าสู่ผิวหนังเราได้ ดังนั้นจะเห็นว่ายิ่งถ้า SPF มาก มันจะสามารถป้องกันรังสี UVB ที่จะเข้าสู่ผิวหนังเราได้มากขึ้นเท่านั้น
-    โดยส่วนใหญ่ครีมกันแดดที่มี SPF 15 กันรังสี UVB ได้ 95% // SPF 30 กันรังสี UVB ได้ 97% // SPF 50 กันรังสี UVB ได้ 98%
-    ครีมกันแดดจะมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) ปกป้องผิวแบบ Physically ด้วยการสะท้อนรังสียูวี  ด้วยส่วนประกอบที่เป็น inorganic blocker เช่น Zinc oxide หรือ titanium dioxide
2) ปกป้องผิวแบบ Chemically โดยใช้ส่วนผสมที่เป็น carbon-based ในการดูดซึม UV photons และหายไปเป็นความร้อน ด้วยส่วนประกอบก็อย่างเช่น oxybenzone, butylparaben, octinoxate และ 4MBC
- ถ้าเป็นคนผิวแพ้ง่าย ให้มองหาครีมกันแดดที่เป็น Mineral-based เช่น zinc oxide, titanium dioxide ถึงแม้ว่าครีมกันแดดประเภทนี้จะเนื้อหนากว่า chemical-based แตต่ผิวแพ้ง่ายมีโอกาสแพ้ได้น้อยกว่า
***นอกจากนี้ครีมกันแดดแบบ Mineral-based มันดีกว่าสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่นถ้าเราจะลงว่ายน้ำทะเลแล้วเราทาครีมกันแดดแบบ chemical-based มันเป็นส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ส่งนผสมของพวก chemical-based เช่น oxybenzone, butylparaben, octinoxate และ 4MBC มันกระทบต่อปะการัง เกิดปรากฏการณืที่เรียกว่า coral bleaching (coral’s symbiotic algae ที่อยู่กับปะการังตาย พวก algae นี้เป็นตัวทำให้ปะการังมีสีสันสวยงาม ถ้ามันตายปะการังก็จะไม่มีสี เป็นสีขาวซีดๆ (bleached white) เรียก coral bleaching และ coral ง่ายต่อการติดโรคและตายในที่สุด)***
- PA หมายถึง Protection Grade รังสี UVA ดังนั้น PA ยิ่งมี + มากก็จะยิ่งช่วยปกป้องผิวเราจากรังสี UVA ได้เท่านั้นค่าา

ปล. ครั้งหน้าถ้ามีเวลาจะมาแนะนำว่าฤดูไหนเหมมาะแก่การมาเที่ยวสวิสเซอร์แลนด์นะคะ
แล้วก็ถ้าผู้อ่านท่านใดสนใจชอบเดิน trail เราก็เขียนเส้นทางเดิน trail แบบชิลๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสงบในการเที่ยวไร้ฝูงทัวร์ค่ะ ที่ลิ้งค์นี้นะคะ แล้วมันจะมีลิ้งค์อื่นๆให้กดไปเรื่อยๆเวลาเข้าไปอ่านหน้านั้นๆ
https://ppantip.com/topic/37784005
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่