พระสูตรนี้กล่าวถึงการละสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ต้องทำตามนี้ หากไม่ทำตามนี้ไม่มีทางละสังโยชน์ได้ ซึ่งวิธีการละสังโยชน์ตั้งแต่ต้นจนจบต้องใช้ฌานด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่เราจะเอาแก่น ก็ต้องกระเทาะเปลือกและกระพี้ออกก่อน ไม่สามารถคว้าแก่นได้ในทันที
พระสูตรนี้ค่อนข้างชัดนะครับ ว่าถึงแม้เราจะรู้ว่าอะไรคือแก่น แต่เราไม่สามารถคว้าแก่นได้โดยไม่ผ่านเปลือกและกระพี้ หรือเราไม่สามารถว่ายน้ำตัดกระแสไปได้ตรง ๆ หากไม่มีการสะสมกำลังก่อน ทรงใช้คำว่า "ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มัคคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะ มีได้.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้นก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมัคคปฏิปทาอันเป็นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้ เป็น ฐานะที่จะมีได้. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมัคคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอ ขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวาง กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อ ดับความเห็นว่า กายของตน จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้น เหมือนกัน. บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะ ว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูกรอานนท์ เมื่อธรรม อันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล. บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกัน.
รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ กุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕. ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์
อรูปฌาน
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศ ไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่ง มีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วย ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาติอันเป็นอมตะว่า นั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้น ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์.
อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วง วิญญานัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่. เธอพิจารณา เห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอ รั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล. ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระอานนท์ได้ทูลถามว่าในเมื่อต้องทำเหมือนกันหมด แต่ทำไมบางคนหลุดพ้นแบบเจโตวิมุติ บางคนหลุดพ้นแบบปัญญาวิมุติ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่าเพราะอินทรีย์ที่ต่างกัน ไม่ใช่วิธีปฏิบัติที่ต่างกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า. ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร ที่ ๔.
จึงเป็นเหตุผลที่ว่าอาฬารดาบสและอุทกดาบสทำไมจึงเป็นผู้สามารถบรรลุธรรมได้ก่อนผู้อื่น เพราะเปรียบเหมือนผู้มีกำลังมาก เมื่อพระพุทธองค์ทรงชี้ทางอันเป็นสัมมาทิฏฐิก็สามารถบรรลุธรรมได้ในทันที และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำไมเราได้ยินได้ฟังพระธรรมอยู่เนือง ๆ แต่ก็ไม่บรรลุธรรมสักที เพราะเป็นผู้ไม่มีกำลังหรือไม่มีฌานนั่นเอง ดังในพระสูตรนี้แจกแจงเอาไว้
พระสูตรนี้จะแปลเป็นอื่นได้หรือไม่ ขอทุกท่านโปรดพิจารณาครับ
วิธีเดียวที่จะละสังโยชน์ได้คือต้องทำตามขั้นตอนดังนี้
พระสูตรนี้ค่อนข้างชัดนะครับ ว่าถึงแม้เราจะรู้ว่าอะไรคือแก่น แต่เราไม่สามารถคว้าแก่นได้โดยไม่ผ่านเปลือกและกระพี้ หรือเราไม่สามารถว่ายน้ำตัดกระแสไปได้ตรง ๆ หากไม่มีการสะสมกำลังก่อน ทรงใช้คำว่า "ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระอานนท์ได้ทูลถามว่าในเมื่อต้องทำเหมือนกันหมด แต่ทำไมบางคนหลุดพ้นแบบเจโตวิมุติ บางคนหลุดพ้นแบบปัญญาวิมุติ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่าเพราะอินทรีย์ที่ต่างกัน ไม่ใช่วิธีปฏิบัติที่ต่างกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จึงเป็นเหตุผลที่ว่าอาฬารดาบสและอุทกดาบสทำไมจึงเป็นผู้สามารถบรรลุธรรมได้ก่อนผู้อื่น เพราะเปรียบเหมือนผู้มีกำลังมาก เมื่อพระพุทธองค์ทรงชี้ทางอันเป็นสัมมาทิฏฐิก็สามารถบรรลุธรรมได้ในทันที และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำไมเราได้ยินได้ฟังพระธรรมอยู่เนือง ๆ แต่ก็ไม่บรรลุธรรมสักที เพราะเป็นผู้ไม่มีกำลังหรือไม่มีฌานนั่นเอง ดังในพระสูตรนี้แจกแจงเอาไว้
พระสูตรนี้จะแปลเป็นอื่นได้หรือไม่ ขอทุกท่านโปรดพิจารณาครับ