[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตอนที่ 1 https://ppantip.com/topic/37728136
ตอนที่ 2 https://ppantip.com/topic/37751687
ตอนที่ 3 https://ppantip.com/topic/37774071
ตอนที่ 4 https://ppantip.com/topic/37797200
ตอนที่ 5 https://ppantip.com/topic/37819227
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สวัสดีค่ะ ตอนนี้เข้าโหมดการทำงานแล้วนะคะ ปูทางมาก่อนพอสมควร และจะมีแต่งานที่ต้องทำ อาจจะเป็นทางสายงาน
ที่บางคนก็เคยทำหรือรู้จักมาก่อน แล้วมาพูดคุยกันนะคะ ขอบคุณท่านที่ติดตามอ่านค่ะ ' พลอยแดง'
MIS คือคุณแจ็คชายหนุ่มที่มีรูปร่างผอมนิดหน่อย หน้าตาดี จึงรู้สึกเป็นมิตรยามพูดคุย เขามีห้องเล็กๆอยู่สุดแนวออฟฟิศ
ในส่วนที่ติดกับแผนกบัญชี ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้มาจัดการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้แล้ว
ยังให้ลูกน้องมาสอนการใช้ E mail ที่มี Domain เป็นของบริษัทแม่ที่อยู่ที่อเมริกา ให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ คือ
ค้นหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสั่งพิมพ์แบบที่เข้าถึงมาพริ้นท์ออกดูที่เราได้ จึงได้ชื่อที่มี @ .... .com พร้อมทั้ง pass word ส่วนตัว
ในช่วงรอให้ Mis ทำการย้ายข้อมูลจาก AS/400 มาที่ระบบ MRP II เป็น Part Identify ของชิ้นส่วนทุกชิ้นที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโรงงาน เมื่อย้ายมาแล้วก็พบปัญหาในเรื่องชื่อของแต่ละชิ้นส่วนนั้น ระบุ Specify ไม่ครบและเพียงพอสำหรับการสั่งซื้อ ด้วยอักษรเพราะขาด
ส่วนท้ายชื่อถูกตัดไปเมื่อครบ 20 digits ที่ Software MRP กำหนด ผู้ที่จะตั้งชื่อ Part Identify ได้ต้องมีความรู้ในชิ้นงานนั้น เพื่อระบุชื่อขนาด ความโตของระบบไฟหรือกำลัง และลักษณะเด่นของสีหรือยี่ห้อที่จำเป็น สำหรับชิ้นงานเป็นหมื่นชื่อที่ต้องตรวจสอบจึงเป็นงานที่
คุณสถิตและเราต้องคร่ำเคร่งเป็นเดือน เมื่อแก้ไขก็ต้องให้เพ็ญประภาเป็นผู้พิมพ์
แต่ในขณะที่กำลังโอนย้ายระบบอยู่ คุณวิจิตรที่มาเข้างานสายที่สุดในบริษัทคนเดียวก็ลาออก ได้ยินเพ็ญประภาบอกว่า เขาไม่พอใจที่รับซูซี่มาทำงานซ้ำซ้อนกับเขา เมื่อได้ฟังก็คิดว่ามันเป็นสิ่งที่เขามีสิทธิ์คิด และเป็นเรื่องของผู้บริหารจัดการ
เพื่อให้งานเดินหน้าอย่างรวดเร็ว การสร้างสูตรการผลิตที่มี ชื่อว่า Bill of Material หรือ Bom's ก็ต้องรีบทำ โดยยังใช้ชื่อเรียกแบบเดิม เพียงแต่ตัว Identify Code เป็นหมายเลขที่จำแนกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการสุ่มกลุ่มในการสร้างสูตรการผลิต ก็ต้องเริ่มด้วยสร้างโค้ดชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นก่อน แยกขนาดความโตของแต่ละรุ่น ถือเป็น Family of Structure
คือสูตรการผลิตของผลิตภัณฑ์ตัวนั้นที่อาจมีร้อยชิ้นส่วนประกอบกันอยู่ และแต่ละชิ้นส่วนสามารถแทนได้ด้วยชิ้นส่วนสำรองที่มียี่ห้ออื่นแต่ Spec เดียวกัน การ Replacement ทุกครั้งเป็นความระทึกใจ เพราะมันจะไปโชว์ในทุก Module ที่เกี่ยวกับสูตรการผลิตนี้
ซึ่งมีความลักลั่นช่วงคาบเวลาของเก่ากับใหม่ที่มาแทนที่กัน ความรอบคอบและรู้ล่วงหน้าของระบบนี้ ไม่แน่ใจว่า MIS ได้รอบรู้เกี่ยวกับการทำงานของ Software ตัวนี้แค่ไหน เห็นใช้การ Transaction ไปมาบ่อยมากจึงต้องคอยสังเกตเฝ้าระวังความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นทั้งระบบที่พ่วงไปทั้งโรงงาน
เพื่อแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบ จึงได้รายงานให้คุณสถิตได้รับรู้อย่างคร่าวๆ คุณสถิตกลับบอกว่า
คิดว่าซูซี่ 'เอาอยู่' ส่วนจะให้เขาทำอะไรก็บอกมาเลย เพราะเขาไม่รู้เรื่องระบบใหม่นี้ ดังนั้นจึงได้ให้คุณสถิตเขียนรายชื่อชิ้นส่วนของแต่ละกลุ่ม Part Kit แยกกลุ่มกัน ในหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้คำว่า ผูกเป็นยวงไว้ แล้วค่อยยกมาประกอบเข้าด้วยกันในขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งคุณสถิตเขียนเป็นรายการออกมา ได้ครบทุกรุ่นที่ผลิต เพราะรู้จักทุกชิ้นเห็นทุกภาพการประกอบ ในขณะที่ฝ่าย Autocad ก็เขียนภาพ ระเบิดชิ้นงาน Exploded assembly drawing ในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งผลพลอยได้จากภาพนี้คือเอาไปยื่นขอคืนภาษีผลิตภัณฑ์
ที่ส่งออกด้วย
การทำงานกับคุณสถิตเป็นไปด้วยดีเพราะเขาจบวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเดียวกับเจ้าของบริษัทเดิมนั่นเอง ซูซี่ได้แต่ใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับระบบ MRP และที่ใช้บ่อยมากคือ Retrival ข้อมูลกับ MIS
สำหรับเพ็ญประภาก็คงได้แต่คีย์ข้อมูล กว่าจะผูก Structure of Bom's ได้นี่ซูซี่ก็พยายามนึกว่าเขารู้น้อยกว่าเรา เขาไม่ได้เป็นช่าง ความเข้าใจมันก็ไม่เป็นดังที่คิด เคยนึกอยากได้เด็ก Technician ที่พิมพ์ดีดภาษาอังกฤษได้มาแทนเพ็ญประภาก็หลายหน ด้วยจากที่บริษัทเก่ามีเด็กสายช่างทำงานได้อย่างดีในจุดนี้ จะเอาพวกทำAutocad มาช่วยสักคนก็ดูว่าทุกคนไม่อยากมาทำงานที่ต้องป้อนข้อมูลให้ทันฝ่ายผลิตและทุกฝ่ายในโรงงานเพื่อความคล่องตัวของ
แผนกตนเอง เพราะแผนกวิศวกรรมนี่เป็นฐานข้อมูลของทั้งโรงงาน
ในเริ่มแรกที่ต้องออกใบ Memorandum ไปถึงทุกแผนกทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ต่อมาต้องทำ Weekly report ให้ Vice President & copy for Douglas and Daniel ...
ทุกเช้าที่เริ่มงาน คนของแผนกสโตร์หรือจัดการ Spare parts จะเข้ามาหาเป็นงานแรก เกี่ยวกับชื่อชิ้นงานที่ขอใช้ตัวทดแทนซึ่งเราต้องเซ็นอนุมัติหลังตรวจว่า Spec ถูกต้องสามารถใช้ทดแทนกันได้ในช่วงเวลาที่กำหนดชั่วคราว และต้องไปดำเนินในระบบให้ถูกต้อง
ส่วนเอกสารเพ็ญประภาต้องเก็บไว้เป็นข้อมูลสืบค้นย้อนหลังได้ ซึ่งบางตัวก็ต้องเดินไปถามคุณสถิตว่ามันใช้แทนกันได้ร้อยเปอร์เซ็นไหม
ซึ่งคำตอบคือ ฝ่ายจัดซื้อๆมาไม่ทันต่างหาก จึงวุ่นวายหาตัวใหม่มาแทน นั่นคือจะมีชิ้นส่วนหน้าตาประหลาดเพิ่มขึ้นมาทำให้การหยิบใช้สับสนว่าเป็นตัวไหนที่ ควรเป็น Original ทั้ง Warehouse และแผนกจัดซื้อต้องแม่นยำอย่างมาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องสั่งจากนอก
มีเวลาในการเดินทางที่ต้องคำนวนให้เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงนำเสนอระบบ Just in time ให้ร้านส่งนำมาปรับปรุงระบบการส่งในเวลาที่กำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเก็บเข้า Store & Stock เอาส่งในไลน์ผลิตเพื่อใช้ประกอบเลย จึงถือว่าเป็นการเพิ่มความคล่องตัวใน
การทำงานได้เป็นอย่างดี
การออกใบแจ้งสูตรการผลิตต้องมีรายละเอียดในส่วนที่ยังไม่พร้อมในชื่อเต็มของชิ้นส่วนนั้นๆ ก็ต้องเขียนชื่อใหม่ลงไปในใบแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ ก่อนที่เพ็ญประภาจะได้ตามคีย์ลงไปในฐานข้อมูลภายหลัง การออกเอกสารสูตรการผลิตก็ต้องตรวจทั้งคำพูดภาษาอังกฤษรหัสชิ้นงานและข้อมูลว่าถูกต้องTechnical Data ทุกอย่างออกจากแผนกวิศวกรรมที่เหมือนเป็นหัวใจของการผลิต
เรื่องข้อมูลทางแผนกวิศวกรรมเองยังไม่เรียบร้อย ทางแผนกตรวจสอบคุณภาพก็นำระบบ Barcode มาใช้ ต้องตั้งจุดScan Barcodeกลางโรงงานใกล้ไลน์การผลิต นั่นทำให้การคีย์ข้อมูลต้องแน่นอน จะเปลี่ยนไปมาไม่ได้ เพราะจะต้องนำไปเป็นรหัส Barcode ใช้ในครั้งแรกใช้กับกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ก่อน การตีตรา Barcode ที่กล่องจะทำเมื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ลงไปแล้ว จึงวิ่งผ่านเครื่องพิมพ์ชื่อรุ่น ขนาดและ Barcode ลงไป รัดด้วยสายรัดหีบห่อจึงแล้วเสร็จ
ใน LOT แรกของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ไปสิ้นสุดปลายทางที่บรรจุกล่อง ซูซี่จึงสนใจจะลงไปดูด้วยตา
ซึ่งปกติไม่ว่างไปไหน เพราะงานรัดตัว การเดินไปดูจึงแทบจะทำให้พนักงานในไลน์มองกันเป็นแถว ปกติคงไม่มีใครมาเดินสำรวจแบบนี้ และก็เผอิญเหลือเกินที่พนักงานควบคุมคุณภาพลาหยุด ด้วยสายตาที่เคยว่านายฝรั่งว่าเหมือนเหยี่ยวก็มาบังเกิดที่นี่ เพราะกล่องที่บรรจุผลิตภัณฑ์สำเร็จนั้นคนละรุ่นกับ Barcode ที่พิมพ์ข้างกล่อง ผิดพลาดแล้ว จึงต้องเดินไปสั่งหยุดเครื่องพ่น Barcode ทันที ถามหาคนคุมห้องนี้ บอกลา ก็ต้องไปตามผู้จัดการโรงงานมาด่วนเลย แต่เมื่อเห็นพนักงานเงยหน้ามองขึ้นไประเบียงออฟฟิศข้างบนจึงเห็นว่า Mike ยืนมองลงมาอยู่แล้ว คงสงสัยว่าเราลงมาเดินไปมาแถวนี้ทำไม เรื่องความผิดพลาดนี้ Mike ไล่ตามลำดับมาเลย เพราะ Mike
ๆคิดว่าถ้าซูซี่ไม่เห็นมันคงไปรอส่งไปต่างประเทศทั้ง LOTแล้ว
ไม่คิดว่ามันจะเป็นสิ่งที่ดีนัก เพราะ Mike มาเห็นความผิดพลาดในระบบครั้งนี้โดยซูซี่มาประกอบอยู่ในเรื่องราวด้วย
สายวันหนึ่งคุณนพพรได้เข้ามานั่งต่อหน้าที่โต๊ะ ด้วยไลน์การผลิตยังสับสนในชิ้นส่วนที่โชว์ในจอคอมพ์ที่มีหมายเลขไอดีกำกับ แต่ชื่อบอกไม่ครบชัดเจน จึงต้องทำความเข้าใจกันและจะมีแบบ Drawing ที่มีหมายเลขหน้าชื่อกำกับถ้าต้องการก็ให้บอกมาจะจัดการให้ และอยากจะให้คุณนพพรดูว่ากรอบชื่อ Drawing ที่มีอยู่เดิมมันไม่ครบ ตุ๊กที่เป็นหัวหน้า น่าจะทำให้ได้ดีกว่านี้ ช่องชื่อ
บริษัท ชื่อชิ้นงาน ช่องระบุวันเดือนปีที่เขียนและคนเขียน Autocad มันน่าจะปรับปรุง จึงได้เอาส่วนที่ออกแบบใหม่ดีขึ้นเอามาให้คุณนพพรดูว่าหน้าตาจะเป็นแบบนี้ในชื่อใหม่ของบริษัทซึ่งแบบจะไปโชว์ที่อเมริกาเมื่อเขาสั่งพิมพ์จากเมืองไทยได้เช่นกัน
จากนั้นอีกสองวันต่อมาเมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้จัดการฝ่ายบัญชีที่อายุน้อยกว่าและเริ่มสนิทสนมกัน เราถึงได้เข้าใจว่า
ทำไมคุณนพพรจึงนั่งฟังเงียบเรื่องแบบฟอร์ม Drawing ที่เราบอกไป เพราะเพื่อนแผนกบัญชีที่เพิ่งทำความรู้จักกันบอกว่า ตุ๊กกับคุณนพพรเป็นมากกว่าผู้จัดการโรงงานกับหัวหน้า Autocad...
นี่เป็นเหมือน BOMB จริงๆมิใช่ Bom's ที่ทำอยู่ทุกวัน!!
📌📍จบ📍📌
🔩🔧🍺💃เส้นทางนี้โรยด้วยนัตและสกรู 6 ตอน MRP II 💃🍺🔧🔩
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
MIS คือคุณแจ็คชายหนุ่มที่มีรูปร่างผอมนิดหน่อย หน้าตาดี จึงรู้สึกเป็นมิตรยามพูดคุย เขามีห้องเล็กๆอยู่สุดแนวออฟฟิศ
ในส่วนที่ติดกับแผนกบัญชี ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้มาจัดการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้แล้ว
ยังให้ลูกน้องมาสอนการใช้ E mail ที่มี Domain เป็นของบริษัทแม่ที่อยู่ที่อเมริกา ให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ คือ
ค้นหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสั่งพิมพ์แบบที่เข้าถึงมาพริ้นท์ออกดูที่เราได้ จึงได้ชื่อที่มี @ .... .com พร้อมทั้ง pass word ส่วนตัว
ในช่วงรอให้ Mis ทำการย้ายข้อมูลจาก AS/400 มาที่ระบบ MRP II เป็น Part Identify ของชิ้นส่วนทุกชิ้นที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโรงงาน เมื่อย้ายมาแล้วก็พบปัญหาในเรื่องชื่อของแต่ละชิ้นส่วนนั้น ระบุ Specify ไม่ครบและเพียงพอสำหรับการสั่งซื้อ ด้วยอักษรเพราะขาด
ส่วนท้ายชื่อถูกตัดไปเมื่อครบ 20 digits ที่ Software MRP กำหนด ผู้ที่จะตั้งชื่อ Part Identify ได้ต้องมีความรู้ในชิ้นงานนั้น เพื่อระบุชื่อขนาด ความโตของระบบไฟหรือกำลัง และลักษณะเด่นของสีหรือยี่ห้อที่จำเป็น สำหรับชิ้นงานเป็นหมื่นชื่อที่ต้องตรวจสอบจึงเป็นงานที่
คุณสถิตและเราต้องคร่ำเคร่งเป็นเดือน เมื่อแก้ไขก็ต้องให้เพ็ญประภาเป็นผู้พิมพ์
แต่ในขณะที่กำลังโอนย้ายระบบอยู่ คุณวิจิตรที่มาเข้างานสายที่สุดในบริษัทคนเดียวก็ลาออก ได้ยินเพ็ญประภาบอกว่า เขาไม่พอใจที่รับซูซี่มาทำงานซ้ำซ้อนกับเขา เมื่อได้ฟังก็คิดว่ามันเป็นสิ่งที่เขามีสิทธิ์คิด และเป็นเรื่องของผู้บริหารจัดการ
เพื่อให้งานเดินหน้าอย่างรวดเร็ว การสร้างสูตรการผลิตที่มี ชื่อว่า Bill of Material หรือ Bom's ก็ต้องรีบทำ โดยยังใช้ชื่อเรียกแบบเดิม เพียงแต่ตัว Identify Code เป็นหมายเลขที่จำแนกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการสุ่มกลุ่มในการสร้างสูตรการผลิต ก็ต้องเริ่มด้วยสร้างโค้ดชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นก่อน แยกขนาดความโตของแต่ละรุ่น ถือเป็น Family of Structure
คือสูตรการผลิตของผลิตภัณฑ์ตัวนั้นที่อาจมีร้อยชิ้นส่วนประกอบกันอยู่ และแต่ละชิ้นส่วนสามารถแทนได้ด้วยชิ้นส่วนสำรองที่มียี่ห้ออื่นแต่ Spec เดียวกัน การ Replacement ทุกครั้งเป็นความระทึกใจ เพราะมันจะไปโชว์ในทุก Module ที่เกี่ยวกับสูตรการผลิตนี้
ซึ่งมีความลักลั่นช่วงคาบเวลาของเก่ากับใหม่ที่มาแทนที่กัน ความรอบคอบและรู้ล่วงหน้าของระบบนี้ ไม่แน่ใจว่า MIS ได้รอบรู้เกี่ยวกับการทำงานของ Software ตัวนี้แค่ไหน เห็นใช้การ Transaction ไปมาบ่อยมากจึงต้องคอยสังเกตเฝ้าระวังความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นทั้งระบบที่พ่วงไปทั้งโรงงาน
เพื่อแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบ จึงได้รายงานให้คุณสถิตได้รับรู้อย่างคร่าวๆ คุณสถิตกลับบอกว่า
คิดว่าซูซี่ 'เอาอยู่' ส่วนจะให้เขาทำอะไรก็บอกมาเลย เพราะเขาไม่รู้เรื่องระบบใหม่นี้ ดังนั้นจึงได้ให้คุณสถิตเขียนรายชื่อชิ้นส่วนของแต่ละกลุ่ม Part Kit แยกกลุ่มกัน ในหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้คำว่า ผูกเป็นยวงไว้ แล้วค่อยยกมาประกอบเข้าด้วยกันในขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งคุณสถิตเขียนเป็นรายการออกมา ได้ครบทุกรุ่นที่ผลิต เพราะรู้จักทุกชิ้นเห็นทุกภาพการประกอบ ในขณะที่ฝ่าย Autocad ก็เขียนภาพ ระเบิดชิ้นงาน Exploded assembly drawing ในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งผลพลอยได้จากภาพนี้คือเอาไปยื่นขอคืนภาษีผลิตภัณฑ์
ที่ส่งออกด้วย
การทำงานกับคุณสถิตเป็นไปด้วยดีเพราะเขาจบวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเดียวกับเจ้าของบริษัทเดิมนั่นเอง ซูซี่ได้แต่ใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับระบบ MRP และที่ใช้บ่อยมากคือ Retrival ข้อมูลกับ MIS
สำหรับเพ็ญประภาก็คงได้แต่คีย์ข้อมูล กว่าจะผูก Structure of Bom's ได้นี่ซูซี่ก็พยายามนึกว่าเขารู้น้อยกว่าเรา เขาไม่ได้เป็นช่าง ความเข้าใจมันก็ไม่เป็นดังที่คิด เคยนึกอยากได้เด็ก Technician ที่พิมพ์ดีดภาษาอังกฤษได้มาแทนเพ็ญประภาก็หลายหน ด้วยจากที่บริษัทเก่ามีเด็กสายช่างทำงานได้อย่างดีในจุดนี้ จะเอาพวกทำAutocad มาช่วยสักคนก็ดูว่าทุกคนไม่อยากมาทำงานที่ต้องป้อนข้อมูลให้ทันฝ่ายผลิตและทุกฝ่ายในโรงงานเพื่อความคล่องตัวของ
แผนกตนเอง เพราะแผนกวิศวกรรมนี่เป็นฐานข้อมูลของทั้งโรงงาน
ในเริ่มแรกที่ต้องออกใบ Memorandum ไปถึงทุกแผนกทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ต่อมาต้องทำ Weekly report ให้ Vice President & copy for Douglas and Daniel ...
ทุกเช้าที่เริ่มงาน คนของแผนกสโตร์หรือจัดการ Spare parts จะเข้ามาหาเป็นงานแรก เกี่ยวกับชื่อชิ้นงานที่ขอใช้ตัวทดแทนซึ่งเราต้องเซ็นอนุมัติหลังตรวจว่า Spec ถูกต้องสามารถใช้ทดแทนกันได้ในช่วงเวลาที่กำหนดชั่วคราว และต้องไปดำเนินในระบบให้ถูกต้อง
ส่วนเอกสารเพ็ญประภาต้องเก็บไว้เป็นข้อมูลสืบค้นย้อนหลังได้ ซึ่งบางตัวก็ต้องเดินไปถามคุณสถิตว่ามันใช้แทนกันได้ร้อยเปอร์เซ็นไหม
ซึ่งคำตอบคือ ฝ่ายจัดซื้อๆมาไม่ทันต่างหาก จึงวุ่นวายหาตัวใหม่มาแทน นั่นคือจะมีชิ้นส่วนหน้าตาประหลาดเพิ่มขึ้นมาทำให้การหยิบใช้สับสนว่าเป็นตัวไหนที่ ควรเป็น Original ทั้ง Warehouse และแผนกจัดซื้อต้องแม่นยำอย่างมาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องสั่งจากนอก
มีเวลาในการเดินทางที่ต้องคำนวนให้เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงนำเสนอระบบ Just in time ให้ร้านส่งนำมาปรับปรุงระบบการส่งในเวลาที่กำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเก็บเข้า Store & Stock เอาส่งในไลน์ผลิตเพื่อใช้ประกอบเลย จึงถือว่าเป็นการเพิ่มความคล่องตัวใน
การทำงานได้เป็นอย่างดี
การออกใบแจ้งสูตรการผลิตต้องมีรายละเอียดในส่วนที่ยังไม่พร้อมในชื่อเต็มของชิ้นส่วนนั้นๆ ก็ต้องเขียนชื่อใหม่ลงไปในใบแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ ก่อนที่เพ็ญประภาจะได้ตามคีย์ลงไปในฐานข้อมูลภายหลัง การออกเอกสารสูตรการผลิตก็ต้องตรวจทั้งคำพูดภาษาอังกฤษรหัสชิ้นงานและข้อมูลว่าถูกต้องTechnical Data ทุกอย่างออกจากแผนกวิศวกรรมที่เหมือนเป็นหัวใจของการผลิต
เรื่องข้อมูลทางแผนกวิศวกรรมเองยังไม่เรียบร้อย ทางแผนกตรวจสอบคุณภาพก็นำระบบ Barcode มาใช้ ต้องตั้งจุดScan Barcodeกลางโรงงานใกล้ไลน์การผลิต นั่นทำให้การคีย์ข้อมูลต้องแน่นอน จะเปลี่ยนไปมาไม่ได้ เพราะจะต้องนำไปเป็นรหัส Barcode ใช้ในครั้งแรกใช้กับกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ก่อน การตีตรา Barcode ที่กล่องจะทำเมื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ลงไปแล้ว จึงวิ่งผ่านเครื่องพิมพ์ชื่อรุ่น ขนาดและ Barcode ลงไป รัดด้วยสายรัดหีบห่อจึงแล้วเสร็จ
ใน LOT แรกของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ไปสิ้นสุดปลายทางที่บรรจุกล่อง ซูซี่จึงสนใจจะลงไปดูด้วยตา
ซึ่งปกติไม่ว่างไปไหน เพราะงานรัดตัว การเดินไปดูจึงแทบจะทำให้พนักงานในไลน์มองกันเป็นแถว ปกติคงไม่มีใครมาเดินสำรวจแบบนี้ และก็เผอิญเหลือเกินที่พนักงานควบคุมคุณภาพลาหยุด ด้วยสายตาที่เคยว่านายฝรั่งว่าเหมือนเหยี่ยวก็มาบังเกิดที่นี่ เพราะกล่องที่บรรจุผลิตภัณฑ์สำเร็จนั้นคนละรุ่นกับ Barcode ที่พิมพ์ข้างกล่อง ผิดพลาดแล้ว จึงต้องเดินไปสั่งหยุดเครื่องพ่น Barcode ทันที ถามหาคนคุมห้องนี้ บอกลา ก็ต้องไปตามผู้จัดการโรงงานมาด่วนเลย แต่เมื่อเห็นพนักงานเงยหน้ามองขึ้นไประเบียงออฟฟิศข้างบนจึงเห็นว่า Mike ยืนมองลงมาอยู่แล้ว คงสงสัยว่าเราลงมาเดินไปมาแถวนี้ทำไม เรื่องความผิดพลาดนี้ Mike ไล่ตามลำดับมาเลย เพราะ Mike
ๆคิดว่าถ้าซูซี่ไม่เห็นมันคงไปรอส่งไปต่างประเทศทั้ง LOTแล้ว
ไม่คิดว่ามันจะเป็นสิ่งที่ดีนัก เพราะ Mike มาเห็นความผิดพลาดในระบบครั้งนี้โดยซูซี่มาประกอบอยู่ในเรื่องราวด้วย
สายวันหนึ่งคุณนพพรได้เข้ามานั่งต่อหน้าที่โต๊ะ ด้วยไลน์การผลิตยังสับสนในชิ้นส่วนที่โชว์ในจอคอมพ์ที่มีหมายเลขไอดีกำกับ แต่ชื่อบอกไม่ครบชัดเจน จึงต้องทำความเข้าใจกันและจะมีแบบ Drawing ที่มีหมายเลขหน้าชื่อกำกับถ้าต้องการก็ให้บอกมาจะจัดการให้ และอยากจะให้คุณนพพรดูว่ากรอบชื่อ Drawing ที่มีอยู่เดิมมันไม่ครบ ตุ๊กที่เป็นหัวหน้า น่าจะทำให้ได้ดีกว่านี้ ช่องชื่อ
บริษัท ชื่อชิ้นงาน ช่องระบุวันเดือนปีที่เขียนและคนเขียน Autocad มันน่าจะปรับปรุง จึงได้เอาส่วนที่ออกแบบใหม่ดีขึ้นเอามาให้คุณนพพรดูว่าหน้าตาจะเป็นแบบนี้ในชื่อใหม่ของบริษัทซึ่งแบบจะไปโชว์ที่อเมริกาเมื่อเขาสั่งพิมพ์จากเมืองไทยได้เช่นกัน
จากนั้นอีกสองวันต่อมาเมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้จัดการฝ่ายบัญชีที่อายุน้อยกว่าและเริ่มสนิทสนมกัน เราถึงได้เข้าใจว่า
ทำไมคุณนพพรจึงนั่งฟังเงียบเรื่องแบบฟอร์ม Drawing ที่เราบอกไป เพราะเพื่อนแผนกบัญชีที่เพิ่งทำความรู้จักกันบอกว่า ตุ๊กกับคุณนพพรเป็นมากกว่าผู้จัดการโรงงานกับหัวหน้า Autocad...
นี่เป็นเหมือน BOMB จริงๆมิใช่ Bom's ที่ทำอยู่ทุกวัน!!
📌📍จบ📍📌