พึ่งได้โอกาสมาเขียนแชร์ข้อมูลสำหรับเรื่องนี้ รวมถึงยืม Account สามีมาเขียน
เริ่มต้นจากการที่ลูกมีรูข้างหูมาแต่กำเนิด หรือที่เรียกว่า ear pit ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งหมอได้แจ้งแล้วว่าเป็นกระบวนการสร้างรูหูที่ไม่สมบูรณ์ในขณะตั้งครรภ์ โดยจะไม่มีอันตรายหากมีการรักษาความสะอาดที่ดี
ซึ่งเราเองก็ไม่ได้พบปัญหาในตัวเด็กแต่อย่างใด จนกระทั่ง เราส่งน้องไปเรียนว่ายน้ำตั้งแต่อายุ 6-7 เดือน จะเห็นได้ทั่วไปที่เริ่มมีการสอนเด็กตั้งแต่ 6 เดือน ว่ายน้ำและเริ่มดำน้ำในวัยนี้
เรามองว่า รร. สอนว่ายน้ำสำหรับเด็กเอง ก็มีครูสอนผู้ชำนาญ และตัวน้องเองก็ชอบเล่นน้ำ ไม่ได้กลัวน้ำ จึงลงเรียนมาได้สักพักจนถึงประมาณ 1 ขวบ
จนพบว่าน้องมีอาการบวมแดงบริเวณรูเล็กๆข้างหู หลังการว่ายน้ำ ซึ่งเริ่มมีการดำน้ำได้บ้างแล้วประมาณ 3 วินาที ซึ่งเราเดาว่าน่าจะเกิดจากการดำน้ำ จนมีแรงดันน้ำเข้าไปในรูเล็กๆ และน้ำน่าจะขังในรูจนเกิดอาการอักเสบบวมแดงขึ้น
หลังเกิดอาการเราได้พาไป รพ. ทันที ซึ่งแพทย์ได้แจ้งว่าเกิดอาการอักเสบ ภายในรูด้านใน ถ้าอาการบวมไม่ยุบลง หรือหัวหนองไม่โผล่ขึ้นมา จะกลายเป็นฝีทันที และต้องทำการผ่าฝีออก
จนระยะเวลาผ่านมา 3-4 วัน กินยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว อาการบวมไม่ลดลง และหัวหนองไม่เปิด และน้องเริ่มมีอาการปวดที่บริเวณแผล จึงได้ไปพบแพทย์ที่ รพ. เดิม แต่แพทย์ไม่สามารถผ่าได้เนื่องจากเป็นเด็กเล็ก ซึ่งแพทย์ได้แนะนำให้ไป รพ. เฉพาะทางสำหรับเด็ก
เราเองได้โทรไปสอบถาม รพ.เด็กเฉพาะทาง รวมถึง รร. แพทย์หลายๆที่ ต้องมีการรับคิวตรวจของเช้าวันถัดไปเช่นกัน สอบถาม รพ. เอกชน หลายที่ ค่าผ่าค่อนข้างสูงมาก และต้องมีการนัดแพทย์ล่วงหน้า รวมถึงอาจต้องดมยาสลบ
สุดท้ายเราจึงเลือกไป รพ. รามาธิบดี แบบพรีเมียม
แต่เนื่องด้วยเราไม่เคยไป สอบถามพนักงานจนเดินเข้าไปผิดแผนก ไปส่วนของ รพ. รามาธิบดีปกติ ได้รับคิวช่วงบ่าย ด้วยความโชคดีและด้วยความน่าสงสาร น่าเอ็นดูของน้อง พยาบาลหน้าเคาน์เตอร์อุ้มไปหาแพทย์ทันที เพราะอาการของน้องคือบวมมาก ฝีต้องได้รับการผ่าทันที แพทย์จึงเรียกให้ต่อคิวพบแพทย์ได้เลย
จากการตรวจของแพทย์ ได้ตัดสินใจทำการผ่าทันทีเลย เพราะการเข้าใจผิด ไปในส่วนรามาธิบดี ปกติ ทำให้หมดค่าใช้จ่ายแค่หลักพัน เพราะไม่ได้เปิดห้องผ่าตัด
หลังการผ่าทำการรักษาปกติ หากใครเคยเป็นฝีจะทราบ ต้องคว้านทำความสะอาดแผลต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดหนอง เด็ก 1 ขวบกับการคว้านล้างแผลโดยยัดผ้าก๊อซ เช้า-เย็น หลังๆขอหมอทำแค่ 1 ครั้งต่อวันเพราะแม่แทบใจสลาย
ตอนนัดพบแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตอนแผลหายดี แพทย์เองอยากให้น้องทำการผ่า ear pit ออก เนื่องจากด้านในเป็นโพรงใหญ่ และเคยเป็นฝีแล้ว อาจเกิดอาการขึ้นได้อีก
เราและสามีคิดทบทวนนานมาก และได้สอบถามคนใกล้ชิดที่เป็นแพทย์ ได้คำแนะนำว่า อยากให้น้องโตขึ้นมาอีกหน่อย เพราะการผ่าอาจต้องวางยาสลบ การวางยาสลบในเด็กเล็กอาจส่งผลให้เด็กฝันร้ายไปจนโต ซึ่งเราเคยได้ยินเรื่องนี้เหมือนกัน รวมไปถึงการผ่า ear pit ในเด็กเล็ก ตำแหน่งที่ผ่า และด้วยความที่เป็นเด็กเล็ก พื้นที่การผ่ามีน้อย เกรงอาจไปโดนเส้นประสาทที่อาจทำให้ปากเบี้ยว จึงแนะนำให้ผ่าตอนเด็กโตขึ้นมาแล้ว
บางคนก็บอกว่าผ่าตอนเด็กแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า เพราะความทรงจำ ความเจ็บปวดจะไม่ติดไปจนเป็นผู้ใหญ่
เรื่องทั้งหมดที่มาแชร์ เพราะตอนลูกเริ่มมีอาการอักเสบหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นเด็กเล็กด้วย
จึงอยากให้พ่อ-แม่ ที่ตั้งใจจะส่งลูกเล็กที่เป็น Ear pit เรียนว่ายน้ำ ว่าอาจมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ให้ระมัดระวังในเด็กเป็นพิเศษ เพราะตอนลูกต้องล้างแผล โดนคว้านยัดผ้าก๊อซทุกวัน สงสารลูกมาก ซึ่งตอนแพทย์เห็นที่ รพ. รามาธิบดี เอง แพทย์ก็ตกใจมากที่ให้น้องเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ 6-7 เดือน แต่ส่วนตัวเรามองว่ามันเป็นอุบัติเหตุเพราะน้องเองก็ชอบ และทำให้น้องแข็งแรง รวมไปถึงพัฒนาการในหลายๆด้านเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเดิน หรือการพบเพื่อนๆ
และถึงแม้จะไม่ได้ว่ายน้ำ แต่เป็น Ear pit ก็มีโอกาสเป็นฝีได้เช่นกันหากไม่รักษาความสะอาด
และในปัจจุบันเอง เราก็ยังคงให้น้องว่ายน้ำต่อนะคะ เรา Drop เรียนว่ายน้ำช่วงรักษาแผลจนหายสนิท แล้วกลับไปเรียนใหม่โดยหาวิธีป้องกันโดยเฉพาะตอนดำน้ำ ซึ่งเราได้นำพลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกันน้ำมาตัดเป็นวงกลมเล็กเพื่อปิดแผล และปิดด้วยเทปกาวชนิดพิเศษทับอีกทีอีกชั้น สำหรับป้องกันแรงดันน้ำตอนดำน้ำ จากหลังผ่าจนถึงปัจจุบันน้องเรียนไปแล้วมากกว่า 20 ครั้ง ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด
แต่เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะพาน้องไปผ่าตอนช่วงอายุเท่าไหร่ หากใครเป็นแพทย์ หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เป็น ear pit สามารถแนะนำได้นะคะ เรายินดีรับฟังทุกคามคิดเห็นค่ะ
และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ พยาบาลหน้าเคาน์เตอร์ ที่อุ้มไปให้แพทย์ดูอาการทันที และคุณหมอ รพ.รามาธิบดี ที่ช่วยเหลือตัดสินใจผ่าน้องทันที ในวันนั้น ต้องขอขอบคุณจริงๆค่ะ
ภัยเงียบกับโรค ear pit รูเล็กๆข้างหู ในเด็กอายุ 1 ปี
เริ่มต้นจากการที่ลูกมีรูข้างหูมาแต่กำเนิด หรือที่เรียกว่า ear pit ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งหมอได้แจ้งแล้วว่าเป็นกระบวนการสร้างรูหูที่ไม่สมบูรณ์ในขณะตั้งครรภ์ โดยจะไม่มีอันตรายหากมีการรักษาความสะอาดที่ดี
ซึ่งเราเองก็ไม่ได้พบปัญหาในตัวเด็กแต่อย่างใด จนกระทั่ง เราส่งน้องไปเรียนว่ายน้ำตั้งแต่อายุ 6-7 เดือน จะเห็นได้ทั่วไปที่เริ่มมีการสอนเด็กตั้งแต่ 6 เดือน ว่ายน้ำและเริ่มดำน้ำในวัยนี้
เรามองว่า รร. สอนว่ายน้ำสำหรับเด็กเอง ก็มีครูสอนผู้ชำนาญ และตัวน้องเองก็ชอบเล่นน้ำ ไม่ได้กลัวน้ำ จึงลงเรียนมาได้สักพักจนถึงประมาณ 1 ขวบ
จนพบว่าน้องมีอาการบวมแดงบริเวณรูเล็กๆข้างหู หลังการว่ายน้ำ ซึ่งเริ่มมีการดำน้ำได้บ้างแล้วประมาณ 3 วินาที ซึ่งเราเดาว่าน่าจะเกิดจากการดำน้ำ จนมีแรงดันน้ำเข้าไปในรูเล็กๆ และน้ำน่าจะขังในรูจนเกิดอาการอักเสบบวมแดงขึ้น
หลังเกิดอาการเราได้พาไป รพ. ทันที ซึ่งแพทย์ได้แจ้งว่าเกิดอาการอักเสบ ภายในรูด้านใน ถ้าอาการบวมไม่ยุบลง หรือหัวหนองไม่โผล่ขึ้นมา จะกลายเป็นฝีทันที และต้องทำการผ่าฝีออก
จนระยะเวลาผ่านมา 3-4 วัน กินยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว อาการบวมไม่ลดลง และหัวหนองไม่เปิด และน้องเริ่มมีอาการปวดที่บริเวณแผล จึงได้ไปพบแพทย์ที่ รพ. เดิม แต่แพทย์ไม่สามารถผ่าได้เนื่องจากเป็นเด็กเล็ก ซึ่งแพทย์ได้แนะนำให้ไป รพ. เฉพาะทางสำหรับเด็ก
เราเองได้โทรไปสอบถาม รพ.เด็กเฉพาะทาง รวมถึง รร. แพทย์หลายๆที่ ต้องมีการรับคิวตรวจของเช้าวันถัดไปเช่นกัน สอบถาม รพ. เอกชน หลายที่ ค่าผ่าค่อนข้างสูงมาก และต้องมีการนัดแพทย์ล่วงหน้า รวมถึงอาจต้องดมยาสลบ
สุดท้ายเราจึงเลือกไป รพ. รามาธิบดี แบบพรีเมียม
แต่เนื่องด้วยเราไม่เคยไป สอบถามพนักงานจนเดินเข้าไปผิดแผนก ไปส่วนของ รพ. รามาธิบดีปกติ ได้รับคิวช่วงบ่าย ด้วยความโชคดีและด้วยความน่าสงสาร น่าเอ็นดูของน้อง พยาบาลหน้าเคาน์เตอร์อุ้มไปหาแพทย์ทันที เพราะอาการของน้องคือบวมมาก ฝีต้องได้รับการผ่าทันที แพทย์จึงเรียกให้ต่อคิวพบแพทย์ได้เลย
จากการตรวจของแพทย์ ได้ตัดสินใจทำการผ่าทันทีเลย เพราะการเข้าใจผิด ไปในส่วนรามาธิบดี ปกติ ทำให้หมดค่าใช้จ่ายแค่หลักพัน เพราะไม่ได้เปิดห้องผ่าตัด
หลังการผ่าทำการรักษาปกติ หากใครเคยเป็นฝีจะทราบ ต้องคว้านทำความสะอาดแผลต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดหนอง เด็ก 1 ขวบกับการคว้านล้างแผลโดยยัดผ้าก๊อซ เช้า-เย็น หลังๆขอหมอทำแค่ 1 ครั้งต่อวันเพราะแม่แทบใจสลาย
ตอนนัดพบแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตอนแผลหายดี แพทย์เองอยากให้น้องทำการผ่า ear pit ออก เนื่องจากด้านในเป็นโพรงใหญ่ และเคยเป็นฝีแล้ว อาจเกิดอาการขึ้นได้อีก
เราและสามีคิดทบทวนนานมาก และได้สอบถามคนใกล้ชิดที่เป็นแพทย์ ได้คำแนะนำว่า อยากให้น้องโตขึ้นมาอีกหน่อย เพราะการผ่าอาจต้องวางยาสลบ การวางยาสลบในเด็กเล็กอาจส่งผลให้เด็กฝันร้ายไปจนโต ซึ่งเราเคยได้ยินเรื่องนี้เหมือนกัน รวมไปถึงการผ่า ear pit ในเด็กเล็ก ตำแหน่งที่ผ่า และด้วยความที่เป็นเด็กเล็ก พื้นที่การผ่ามีน้อย เกรงอาจไปโดนเส้นประสาทที่อาจทำให้ปากเบี้ยว จึงแนะนำให้ผ่าตอนเด็กโตขึ้นมาแล้ว
บางคนก็บอกว่าผ่าตอนเด็กแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า เพราะความทรงจำ ความเจ็บปวดจะไม่ติดไปจนเป็นผู้ใหญ่
เรื่องทั้งหมดที่มาแชร์ เพราะตอนลูกเริ่มมีอาการอักเสบหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นเด็กเล็กด้วย
จึงอยากให้พ่อ-แม่ ที่ตั้งใจจะส่งลูกเล็กที่เป็น Ear pit เรียนว่ายน้ำ ว่าอาจมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ให้ระมัดระวังในเด็กเป็นพิเศษ เพราะตอนลูกต้องล้างแผล โดนคว้านยัดผ้าก๊อซทุกวัน สงสารลูกมาก ซึ่งตอนแพทย์เห็นที่ รพ. รามาธิบดี เอง แพทย์ก็ตกใจมากที่ให้น้องเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ 6-7 เดือน แต่ส่วนตัวเรามองว่ามันเป็นอุบัติเหตุเพราะน้องเองก็ชอบ และทำให้น้องแข็งแรง รวมไปถึงพัฒนาการในหลายๆด้านเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเดิน หรือการพบเพื่อนๆ
และถึงแม้จะไม่ได้ว่ายน้ำ แต่เป็น Ear pit ก็มีโอกาสเป็นฝีได้เช่นกันหากไม่รักษาความสะอาด
และในปัจจุบันเอง เราก็ยังคงให้น้องว่ายน้ำต่อนะคะ เรา Drop เรียนว่ายน้ำช่วงรักษาแผลจนหายสนิท แล้วกลับไปเรียนใหม่โดยหาวิธีป้องกันโดยเฉพาะตอนดำน้ำ ซึ่งเราได้นำพลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกันน้ำมาตัดเป็นวงกลมเล็กเพื่อปิดแผล และปิดด้วยเทปกาวชนิดพิเศษทับอีกทีอีกชั้น สำหรับป้องกันแรงดันน้ำตอนดำน้ำ จากหลังผ่าจนถึงปัจจุบันน้องเรียนไปแล้วมากกว่า 20 ครั้ง ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด
แต่เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะพาน้องไปผ่าตอนช่วงอายุเท่าไหร่ หากใครเป็นแพทย์ หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เป็น ear pit สามารถแนะนำได้นะคะ เรายินดีรับฟังทุกคามคิดเห็นค่ะ
และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ พยาบาลหน้าเคาน์เตอร์ ที่อุ้มไปให้แพทย์ดูอาการทันที และคุณหมอ รพ.รามาธิบดี ที่ช่วยเหลือตัดสินใจผ่าน้องทันที ในวันนั้น ต้องขอขอบคุณจริงๆค่ะ