กองทัพออสเตรียที่มีคนหลากหลายเชื้อชาติมีปัญหาในการสั่งการในสนามรบไหมครับ แล้วออสเตรียไม่สามารถกลืนชนชาติอื่นได้ครับ

อ่านกระทู้ที่ชื่อ 19th ทำไมการทหารจักรวรรดิออสเตรียถึงดูอ่อนๆอย่างงั้นครับ? ของ ชินเก็น-Ou-CU ในความคิดเห็นที่ 6 ของ HotChoc  คัดลอกบางส่วน
อันนี้สำคัญคือกองทัพมีคนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งเยอรมัน โบฮีเมีย โครแอต ฮังการี อิตาลี โปแลนด์ ยูเครน วัลลูน แต่ละกลุ่มก็มีภาษาของตนเองมีขนบการรบของตนเอง (เช่นพวกฮังการีจะไม่ค่อยยอมเป็นทหารราบ โครแอตจะบ้าเลือดในการรบหน่อย พวกเยอรมันจะมีความรู้ความเข้าใจในการรบมากกว่าแต่จะทำอะไรช้านิดนึง) จะปฏิรูปกองทัพทีก็ทำได้ลำบากมาก และรูปแบบการปฏิรูปก็ไม่ได้ดีหรือโดดเด่นมากเท่าไหร่ (ไม่เหมือนของปรัสเซีย)

แบบสั่งไม่รู้เรื่อง หรือว่าไม่ยอมทำตามคำสั่งของแม่ทัพนายทัพที่เป็นออสเตรีย แล้วทำไมออสเตรียไม่กลืน หรือสามารถผนวกผสานรวมให้ชนชาติอื่นภายในจักรวรรดิออสเตรีย อย่าง เยอรมัน โบฮีเมีย โครแอต ฮังการี อิตาลี โปแลนด์ ยูเครน วัลลูน ได้ละครับ หรือทำการทำลายภาษาเพื่อให้ไม่มีปัญหาครับ หรือบังคับให้ใช้รูปแบบการรบของออสเตรียเองครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เพราะว่าจักรวรรดิออสเตรียตอนนั้น(ช่วงคศ.1500-1800) ไม่ได้คิดจะกลืนชาติจริงๆจังๆอยู่แล้วครับ  ออกแนวอาณาเขตที่ได้มาส่วนใหญ่มาจากการควบรวมจากการแต่งงาน  ข้อเสียของออสเตรียที่ต่างจากการรวมชาติเยอรมันคือหลายๆอาณาจักรในออสเตรียตอนนั้นมีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากออสเตรีย  ถ้าออสเตรียจะไปกลืนบังคับให้คนในนั้นพูดเขียนเยอรมันก็อาจเกิดการต่อต้านภายในได้ และออสเตรียไม่อยากเสียกำลังไปปราบปราม แค่อาณาจักรเหล่าวนั้นยอมรับอำนาจของจักรพรรดิฮับบรูกก็พอแล้ว  

ทำให้จักรวรรดิออสเตรียจึงเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่แบบหลวมๆมาโดยตลอด  พอเข้าช่วง 1800-1900 แนวคิดเสรีนิยม ภราดรภาพจากฝรั่งเศสเริ่มแผ่ขยายเข้ามา หลายๆอาณาจักรในจักรวรดิออสเตรียก็เริมคิดว่าเราจะอยู่ภายใต้ออสเตรียทำไม  จึงเกิดการคิดจะแบ่งแยกดินแดนออกมาจากจักรวรรดิออสเตรีย  ซึ่งทางจักรพรรดิฟราน โจเซฟ ของออสเตรียในตอนนั้นก็พยายามประคับประคองใช้ทั้งไม้แข็งและไม้อ่อนให้จักรวรรดิอยู่รอดมาได้ จนพอออสเตรียแพ้ในสงครามโลกครั้งที่1 จักรวรรดิออสเตรียล่อสลาย พวกรัฐบริวารของออสเตรียก็ถือโอกาสนี้แยกตัวออกมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่