"ขอขอบคุณเพจ Military tactical weapons(อาวุธยุทธวิธีทางทหาร) อย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/militarytacticalweapons/?hc_ref=ARRqCnGw1ZsjIEmIjK6c6WuRLeWkCizRra03Gzmg_JKP9xYX19Ya2p_D00ZoSsQ4NXU
BROWNING HI POWER ปืนในตำนาน ต้นกำเนิด 9 ลูกดก
(King of nine)
บริษัท : FN
ประเทศ : BELGIUM
กระสุน : 9 x 19 MM , .40S&W , 7.65 MM
บรรจุกระสุน : 13 นัด
ระบบปฏิบัติการ : SINGLE ACTION
ระบบการยิง : SEMI AUTO
ระยะหวังผล : 50 เมตร
น้ำหนัก : 0.8 Kg
จอห์น โมเสส เบรานิงก์ (John Moses Browning, 1855-1926) ได้รับการยกย่องให้เป็นยอดอัจฉริยะในวงการปืน ผลงานที่รู้จักกันดีที่สุดคือปืนพก 1911 ที่โคลท์ซื้อสิทธิบัตรไปผลิตขายให้กองทัพสหรัฐ นอกจากปืนอมตะนี้แล้ว เบรานิงก์ยังออกแบบปืนรูปแบบต่าง ๆ อีกมากมาย มีทั้งปืนพก ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติ ไรเฟิล ไปจนถึงปืนกลหนัก เริ่มจากออกแบบปืนแล้วขายสิทธิบัตรให้บริษัทใหญ่ในสหรัฐ ทั้งโคลท์ และวินเชสเตอร์ จนเริ่มรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ เบรานิงก์จึงหันไปหากินกับบริษัทในยุโรป โดยออกแบบปืนให้บริษัท FN (ย่อจาก Fabrique Nationale) ของเบลเยียมนำไปผลิต แล้วรับส่วนแบ่งจากยอดขาย ได้ผลตอบแทนสูงกว่าการขายสิทธิครั้งเดียว และยังได้ใช้ชื่อเป็นยี่ห้อปืนด้วย ผลงานที่โดดเด่นคือ ลูกซองกะโหลกเหลี่ยม “ออโต ไฟว์” (Auto Five) ที่ผลิตต่อเนื่องเกือบครบร้อยปี (1902-1998)
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต้นทศวรรษ 1920 บริษัท FN เสนองานออกแบบปืนพกให้เบรานิงก์ สำหรับเป็นปืนทหารตามข้อกำหนดของกองทัพฝรั่งเศส คือ การทำงานกึ่งอัตโนมัติ จุกระสุนอย่างน้อย 10 นัด หวังผลได้อย่างน้อยถึง 50 เมตร ตัวปืนหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม เบรานิงก์ออกแบบปืนนี้โดยต้องเลี่ยงไม่ให้ละเมิดสิทธิบัตรของปืน 1911 ที่โคลท์ซื้อขาดไปแล้ว ได้ปืนแบบใหม่ยื่นขอจดทะเบียนในปี 1923 ซึ่งกว่าจะได้รับรองสิทธิบัตรก็ล่วงถึงปี 1927 หลังจากเบรานิงก์เสียชีวิตไปแล้วสี่เดือน ผู้ที่ดำเนินการต่อคือ ดิวดอนเน เซอิฟ (Dieudonne Saive) วิศวกรของ FN ผู้ช่วยของเบรานิงก์ ที่เป็นผู้ออกแบบซองกระสุน “สองแถว” แต่แรก ซึ่งก็พอดีจังหวะที่สิทธิบัตรปืน 1911 หมดอายุลงในปี 1928 (จดทะเบียนเมื่อปี 1908) เซอิฟ จึงนำจุดเด่นของปืนที่เบรานิงก์ออกแบบไว้ทั้งสองกระบอกนี้มารวมกัน จนในที่สุดได้ปืน 9 มม. พาราฯ จุ 13 นัด ที่โลกรู้จักในชื่อ เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ เริ่มผลิตในปี 1934 มาถึงทุกวันนี้
ไฮเพาเวอร์ เป็นปืนเหล็กล้วน ผลิตต่อเนื่องมาเกือบแปดสิบปีโดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จุดเด่นคือความจุกระสุน 13 นัด ซึ่งในยุคนั้นปืนพกส่วนใหญ่จุเพียง 8-10 นัด ระบบการทำงานของไกเป็นซิงเกิลล้วน นกต้องง้างก่อนไกจึงจะทำงาน ไกปืนไฮเพาเวอร์ ได้ชื่อว่าแต่งให้หลุดคมได้ยาก เนื่องจากมีระบบตัดสะพานไกเมื่อปลดซองกระสุนเพิ่มเข้ามา ตัวปืนแข็งแรงทนทาน การทำงานไว้ใจได้ดี มีการสั่งซื้อเข้าประจำการในกองทัพต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 50 ประเทศ (บริษัทเบรานิงก์นับเองได้กว่าร้อย) นอกจากผลิตจากโรงงานที่เมือง เฮอร์สตาล (Herstal, Belgium) แล้ว ยังมีโรงงานในโปรตุเกส และสหรัฐด้วย โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตในแคนาดาเพื่อป้อนให้กองทัพเครือจักรภพอังกฤษ
ในเชิงพาณิชย์ ไฮเพาเวอร์ จัดว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ปัจจุบันเรียกว่า “มารค์ ทรี” (Mark III) โดยจุดที่ปรับปรุงจากเดิม มีเพียงห้ามไกสองด้าน ล็อกเข็มแทงชนวน และด้ามสังเคราะห์ที่ลดความหนาคอปืนลงเท่านั้น ปืนใหม่เป็นเหล็กรมดำทั้งกระบอก โดยมีรุ่นแต่งผิวสองสี เรียกว่า “แพร็คติคอล” (Practical) โครงชุบขาว ลำเลื่อนดำ ออกขายอยู่ระยะหนึ่ง และถ้าเป็นปืนเก่าสมัยสงคราม จะมีรุ่นศูนย์สะพานปรับได้ กับรุ่นที่ต่อด้ามเป็นพานท้ายประทับบ่า ที่นักสะสมปืนเสาะหากันมาก
โดยรวม เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ เป็นปืนต่อสู้ขนาดตัวมาตรฐาน ออกแบบสำหรับเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจโดยตรง ใช้เป็นปืนเฝ้าบ้านได้ดี วัสดุเป็นเหล็กล้วน ซึ่งปัจจุบันหาตัวเลือกได้ยาก จุดเด่นคือความทนทาน และการทำงานที่ไว้ใจได้ ระบบความปลอดภัยดี จะมีจุดด้อยเพียงจุดเดียวคือไกหนัก แต่งให้เบาได้ยาก.
ชิ้นส่วนและขั้นตอนการลั่นไก โดยย่อ
ชิ้นส่วนกลไก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลั่นไก ของบราวนิงค์ไฮ พาวเวอร์
1. ไกปืน (trigger) เป็นชิ้นส่วนที่สัมผัสกับนิ้วโดยตรง
2. trigger lever ซึ่งควบคุมการทำงานด้วย pin และ สปริงไก spring
ลักษณะเป็นเดือยแท่งขนาดเล็ก เมื่อยกตัวขึ้นพ้นจากโครงปืน
จะทำหน้าที่ผลักให้ sear lever ซึ่งอยู่ภายในสันสไลด์ของปืน ทำงานโดยการเคลื่อนไหวคล้ายไม้กระดานหก ทั้งนี้ บราวนิงค์ ไฮฯ ยังมี ระบบเซฟแม็กกาซีน (magazine safety) เป็นระบบหลักในการควบคุม การเหนี่ยวไกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหากไม่ใส่แม็กกาซีนแล้ว จะเหนี่ยวไกได้เพียงอย่างเดียว แต่ trigger lever จะไม่ทำงานเลย
3. sear lever รูปร่างเป็นแผ่นบาง ๆ กระดกขึ้นลงได้ คล้าย ๆ ไม้กระดานหก อยู่ภายในสันสไลด์ปืน
4. sear เมื่อปลาย sear lever ฝั่ง trigger lever กระดกขึ้น ซึ่งทางฝั่งของ sear ก็จะกระดกลง พร้อม ๆ กับทำหน้าที่กดให้ sear เผยอขึ้น
5. นกปืน (hammer) ทำหน้าที่ ฟาดลงบนเข็มแทงชนวน (firing pin) ซึ่งจะทำงานทันทีที่ sear เผยอขึ้น
6. สปริงหลักบริเวณ housing สันแนวหลังของด้ามปืน (hammer strut assembly with main spring) ทำหน้าที่ เป็นตัวรั้งให้นกปืนพร้อมที่จะฟาดลงมาที่เข็มแทงชนวน
ซี่งถ้าหากนับชิ้นส่วนกลไกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการลั่นไกของบราวนิงค์ ตั้งแต่ ระบบเซฟแม็กกาซีน ถึงเข็มแทงชนวนแล้ว จะมีถึง 16 ชิ้นหลัก ๆ ด้วยกันทีเดียว (รวมถึงสปริงต่าง ๆ ด้วย)
หรือขั้นตอนการทำงานถึง 7 ขั้นตอนด้วยกัน โดยยังไม่นับรวมเซฟแม็กกาซีน (ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด ไกเดินฟรี เมื่อได้กระสุนลั่นไปแล้ว)
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการลั่นไกของบราวนิงค์ไฮฯ พอจะแบ่งได้ดังนี้. 1. เหนี่ยวไกปืน
2. trigger lever ดันขึ้นพ้นโครงปืน
3. sear lever กระดกคล้ายไม้กระดานหก ทำหน้าที่กดให้ sear เผยอขึ้น
4. sear เผยอขึ้น เพื่อให้นกปืน ฟาดสับลง
5. นกปืน ฟาดลงบนเข็มแทงชนวน
6. ระหว่างขั้นตอนที่ 5. สปริงหลักบริเวณ housing ก็จะรั้งให้นกปืน ฟาดลงไปด้วย
7. เข็มแทงชนวนวิ่งไป กระทบจอกท้ายของกระสุนในรังเพลิง
ในภาพ...เป็นปืนพก บราวนิงค์ไฮฯ ที่ผลิตขึ้นจากโรงงานในเบลเยี่ยม
เมื่อกองทัพฝ่ายอักษะ บุกเข้ายึดครองครับ
บราวนิงค์ไฮฯ อาจเป็นปืนพกกระบอกแรกก็ได้...
ที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในสงครามเดียวกัน
แต่คนละฝ่าย...
ซึ่งในขณะนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตร..ได้ผลิตบราวนิงค์ไฮฯ ขึ้นมาเช่นกัน
ที่โรงงานในประเทศแคนาดาครับ...
บราวนิงค์ไฮฯ อาจจะมิใช่ปืนพก
ที่มีระบบกลไกเรียบง่ายและ อมตะ
ดังเช่น Colt Model 1911
แต่ด้วยรูปทรง และความประณีตของบราวนิงค์ไฮพาวเวอร์
ด้วยตำนานอันยาวนาน ที่มีมากกว่า 100 ปี
ด้วยการศึกษาที่จะเอาชนะ
ด้วยการปรับปรุงตนเองให่เข้ากับปืน....
ที่ขึ้นชื่อว่า...ใช้ยาก...ประการหนึ่ง....
ด้วยพลังงานแห่ง 9 มม. พาราเบลลั่ม
กระสุนที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก...
ปัจจัยหลายต่อหลายสิ่ง เหล่านี้แหละครับ
...คือ...เสน่ห์ของ...บราวนิงค์ ไฮพาวเวอร์
(อ้างอิงใน gunsandgames.com . Browning High Power.2009)
Credit:
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
http://www.dailynews.co.th
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=112614.0
http://www.gun.in.th/2012/index.php?topic=84938.0
http://www.weekendhobby.com/gun/webboard/Question.asp…
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=71015.0
http://www.hipowersandhandguns.com/…/gun/webb…/Question.asp…
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 192 BROWNING HI POWER ปืนในตำนาน ต้นกำเนิด 9 ลูกดก
https://www.facebook.com/militarytacticalweapons/?hc_ref=ARRqCnGw1ZsjIEmIjK6c6WuRLeWkCizRra03Gzmg_JKP9xYX19Ya2p_D00ZoSsQ4NXU
BROWNING HI POWER ปืนในตำนาน ต้นกำเนิด 9 ลูกดก
(King of nine)
บริษัท : FN
ประเทศ : BELGIUM
กระสุน : 9 x 19 MM , .40S&W , 7.65 MM
บรรจุกระสุน : 13 นัด
ระบบปฏิบัติการ : SINGLE ACTION
ระบบการยิง : SEMI AUTO
ระยะหวังผล : 50 เมตร
น้ำหนัก : 0.8 Kg
จอห์น โมเสส เบรานิงก์ (John Moses Browning, 1855-1926) ได้รับการยกย่องให้เป็นยอดอัจฉริยะในวงการปืน ผลงานที่รู้จักกันดีที่สุดคือปืนพก 1911 ที่โคลท์ซื้อสิทธิบัตรไปผลิตขายให้กองทัพสหรัฐ นอกจากปืนอมตะนี้แล้ว เบรานิงก์ยังออกแบบปืนรูปแบบต่าง ๆ อีกมากมาย มีทั้งปืนพก ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติ ไรเฟิล ไปจนถึงปืนกลหนัก เริ่มจากออกแบบปืนแล้วขายสิทธิบัตรให้บริษัทใหญ่ในสหรัฐ ทั้งโคลท์ และวินเชสเตอร์ จนเริ่มรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ เบรานิงก์จึงหันไปหากินกับบริษัทในยุโรป โดยออกแบบปืนให้บริษัท FN (ย่อจาก Fabrique Nationale) ของเบลเยียมนำไปผลิต แล้วรับส่วนแบ่งจากยอดขาย ได้ผลตอบแทนสูงกว่าการขายสิทธิครั้งเดียว และยังได้ใช้ชื่อเป็นยี่ห้อปืนด้วย ผลงานที่โดดเด่นคือ ลูกซองกะโหลกเหลี่ยม “ออโต ไฟว์” (Auto Five) ที่ผลิตต่อเนื่องเกือบครบร้อยปี (1902-1998)
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต้นทศวรรษ 1920 บริษัท FN เสนองานออกแบบปืนพกให้เบรานิงก์ สำหรับเป็นปืนทหารตามข้อกำหนดของกองทัพฝรั่งเศส คือ การทำงานกึ่งอัตโนมัติ จุกระสุนอย่างน้อย 10 นัด หวังผลได้อย่างน้อยถึง 50 เมตร ตัวปืนหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม เบรานิงก์ออกแบบปืนนี้โดยต้องเลี่ยงไม่ให้ละเมิดสิทธิบัตรของปืน 1911 ที่โคลท์ซื้อขาดไปแล้ว ได้ปืนแบบใหม่ยื่นขอจดทะเบียนในปี 1923 ซึ่งกว่าจะได้รับรองสิทธิบัตรก็ล่วงถึงปี 1927 หลังจากเบรานิงก์เสียชีวิตไปแล้วสี่เดือน ผู้ที่ดำเนินการต่อคือ ดิวดอนเน เซอิฟ (Dieudonne Saive) วิศวกรของ FN ผู้ช่วยของเบรานิงก์ ที่เป็นผู้ออกแบบซองกระสุน “สองแถว” แต่แรก ซึ่งก็พอดีจังหวะที่สิทธิบัตรปืน 1911 หมดอายุลงในปี 1928 (จดทะเบียนเมื่อปี 1908) เซอิฟ จึงนำจุดเด่นของปืนที่เบรานิงก์ออกแบบไว้ทั้งสองกระบอกนี้มารวมกัน จนในที่สุดได้ปืน 9 มม. พาราฯ จุ 13 นัด ที่โลกรู้จักในชื่อ เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ เริ่มผลิตในปี 1934 มาถึงทุกวันนี้
ไฮเพาเวอร์ เป็นปืนเหล็กล้วน ผลิตต่อเนื่องมาเกือบแปดสิบปีโดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จุดเด่นคือความจุกระสุน 13 นัด ซึ่งในยุคนั้นปืนพกส่วนใหญ่จุเพียง 8-10 นัด ระบบการทำงานของไกเป็นซิงเกิลล้วน นกต้องง้างก่อนไกจึงจะทำงาน ไกปืนไฮเพาเวอร์ ได้ชื่อว่าแต่งให้หลุดคมได้ยาก เนื่องจากมีระบบตัดสะพานไกเมื่อปลดซองกระสุนเพิ่มเข้ามา ตัวปืนแข็งแรงทนทาน การทำงานไว้ใจได้ดี มีการสั่งซื้อเข้าประจำการในกองทัพต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 50 ประเทศ (บริษัทเบรานิงก์นับเองได้กว่าร้อย) นอกจากผลิตจากโรงงานที่เมือง เฮอร์สตาล (Herstal, Belgium) แล้ว ยังมีโรงงานในโปรตุเกส และสหรัฐด้วย โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตในแคนาดาเพื่อป้อนให้กองทัพเครือจักรภพอังกฤษ
ในเชิงพาณิชย์ ไฮเพาเวอร์ จัดว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ปัจจุบันเรียกว่า “มารค์ ทรี” (Mark III) โดยจุดที่ปรับปรุงจากเดิม มีเพียงห้ามไกสองด้าน ล็อกเข็มแทงชนวน และด้ามสังเคราะห์ที่ลดความหนาคอปืนลงเท่านั้น ปืนใหม่เป็นเหล็กรมดำทั้งกระบอก โดยมีรุ่นแต่งผิวสองสี เรียกว่า “แพร็คติคอล” (Practical) โครงชุบขาว ลำเลื่อนดำ ออกขายอยู่ระยะหนึ่ง และถ้าเป็นปืนเก่าสมัยสงคราม จะมีรุ่นศูนย์สะพานปรับได้ กับรุ่นที่ต่อด้ามเป็นพานท้ายประทับบ่า ที่นักสะสมปืนเสาะหากันมาก
โดยรวม เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ เป็นปืนต่อสู้ขนาดตัวมาตรฐาน ออกแบบสำหรับเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจโดยตรง ใช้เป็นปืนเฝ้าบ้านได้ดี วัสดุเป็นเหล็กล้วน ซึ่งปัจจุบันหาตัวเลือกได้ยาก จุดเด่นคือความทนทาน และการทำงานที่ไว้ใจได้ ระบบความปลอดภัยดี จะมีจุดด้อยเพียงจุดเดียวคือไกหนัก แต่งให้เบาได้ยาก.
ชิ้นส่วนและขั้นตอนการลั่นไก โดยย่อ
ชิ้นส่วนกลไก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลั่นไก ของบราวนิงค์ไฮ พาวเวอร์
1. ไกปืน (trigger) เป็นชิ้นส่วนที่สัมผัสกับนิ้วโดยตรง
2. trigger lever ซึ่งควบคุมการทำงานด้วย pin และ สปริงไก spring
ลักษณะเป็นเดือยแท่งขนาดเล็ก เมื่อยกตัวขึ้นพ้นจากโครงปืน
จะทำหน้าที่ผลักให้ sear lever ซึ่งอยู่ภายในสันสไลด์ของปืน ทำงานโดยการเคลื่อนไหวคล้ายไม้กระดานหก ทั้งนี้ บราวนิงค์ ไฮฯ ยังมี ระบบเซฟแม็กกาซีน (magazine safety) เป็นระบบหลักในการควบคุม การเหนี่ยวไกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหากไม่ใส่แม็กกาซีนแล้ว จะเหนี่ยวไกได้เพียงอย่างเดียว แต่ trigger lever จะไม่ทำงานเลย
3. sear lever รูปร่างเป็นแผ่นบาง ๆ กระดกขึ้นลงได้ คล้าย ๆ ไม้กระดานหก อยู่ภายในสันสไลด์ปืน
4. sear เมื่อปลาย sear lever ฝั่ง trigger lever กระดกขึ้น ซึ่งทางฝั่งของ sear ก็จะกระดกลง พร้อม ๆ กับทำหน้าที่กดให้ sear เผยอขึ้น
5. นกปืน (hammer) ทำหน้าที่ ฟาดลงบนเข็มแทงชนวน (firing pin) ซึ่งจะทำงานทันทีที่ sear เผยอขึ้น
6. สปริงหลักบริเวณ housing สันแนวหลังของด้ามปืน (hammer strut assembly with main spring) ทำหน้าที่ เป็นตัวรั้งให้นกปืนพร้อมที่จะฟาดลงมาที่เข็มแทงชนวน
ซี่งถ้าหากนับชิ้นส่วนกลไกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการลั่นไกของบราวนิงค์ ตั้งแต่ ระบบเซฟแม็กกาซีน ถึงเข็มแทงชนวนแล้ว จะมีถึง 16 ชิ้นหลัก ๆ ด้วยกันทีเดียว (รวมถึงสปริงต่าง ๆ ด้วย)
หรือขั้นตอนการทำงานถึง 7 ขั้นตอนด้วยกัน โดยยังไม่นับรวมเซฟแม็กกาซีน (ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด ไกเดินฟรี เมื่อได้กระสุนลั่นไปแล้ว)
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการลั่นไกของบราวนิงค์ไฮฯ พอจะแบ่งได้ดังนี้. 1. เหนี่ยวไกปืน
2. trigger lever ดันขึ้นพ้นโครงปืน
3. sear lever กระดกคล้ายไม้กระดานหก ทำหน้าที่กดให้ sear เผยอขึ้น
4. sear เผยอขึ้น เพื่อให้นกปืน ฟาดสับลง
5. นกปืน ฟาดลงบนเข็มแทงชนวน
6. ระหว่างขั้นตอนที่ 5. สปริงหลักบริเวณ housing ก็จะรั้งให้นกปืน ฟาดลงไปด้วย
7. เข็มแทงชนวนวิ่งไป กระทบจอกท้ายของกระสุนในรังเพลิง
ในภาพ...เป็นปืนพก บราวนิงค์ไฮฯ ที่ผลิตขึ้นจากโรงงานในเบลเยี่ยม
เมื่อกองทัพฝ่ายอักษะ บุกเข้ายึดครองครับ
บราวนิงค์ไฮฯ อาจเป็นปืนพกกระบอกแรกก็ได้...
ที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในสงครามเดียวกัน
แต่คนละฝ่าย...
ซึ่งในขณะนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตร..ได้ผลิตบราวนิงค์ไฮฯ ขึ้นมาเช่นกัน
ที่โรงงานในประเทศแคนาดาครับ...
บราวนิงค์ไฮฯ อาจจะมิใช่ปืนพก
ที่มีระบบกลไกเรียบง่ายและ อมตะ
ดังเช่น Colt Model 1911
แต่ด้วยรูปทรง และความประณีตของบราวนิงค์ไฮพาวเวอร์
ด้วยตำนานอันยาวนาน ที่มีมากกว่า 100 ปี
ด้วยการศึกษาที่จะเอาชนะ
ด้วยการปรับปรุงตนเองให่เข้ากับปืน....
ที่ขึ้นชื่อว่า...ใช้ยาก...ประการหนึ่ง....
ด้วยพลังงานแห่ง 9 มม. พาราเบลลั่ม
กระสุนที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก...
ปัจจัยหลายต่อหลายสิ่ง เหล่านี้แหละครับ
...คือ...เสน่ห์ของ...บราวนิงค์ ไฮพาวเวอร์
(อ้างอิงใน gunsandgames.com . Browning High Power.2009)
Credit:
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
http://www.dailynews.co.th
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=112614.0
http://www.gun.in.th/2012/index.php?topic=84938.0
http://www.weekendhobby.com/gun/webboard/Question.asp…
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=71015.0
http://www.hipowersandhandguns.com/…/gun/webb…/Question.asp…