เครือข่ายสื่อต่อต้านทุจริต จี้ กสทช.เคลียร์หน้าเสื่อเหตุปล่อย AIS Play จอดำ สวนเจตนารมณ์รัฐบาล คสช.ทั้งที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ “มัสต์แคร์รี่” ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการบนโครงข่ายอื่นต้องแพร่รายการโทรทัศน์ทั่วไปให้สมาชิกได้ดู จี้บังคับใช้กฎเหล็กก่อนเป็นแค่เสือกระดาษ
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (สทช.) นำโดย นายณัฐพล โรจน์ถาวร ประธานเครือข่ายพร้อมสมาชิกได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) โดย มีผศ.ดร.ภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เป็นผู้รับหนังสือแทน กรณีบริษัทผู้ให้บริการแพร่รายการโทรทัศน์ผ่านแอพพลเคชั่น AIS Play ต้องยุติการแพร่รายการทีวีดิจิทัลที่ถ่ายทอดสดมฟกรรมฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย นับตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.เป็นต้นมา
นายณัฐพลกล่าวว่า จากข่าวกรณี บริษัท ทรูวิชั่น กรุ๊ป ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ บริษัทที่ให้บริการ AIS Play ระงับการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายผ่านโครงข่ายนับแต่วันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป เป็นผู้ดูแล ส่งผลให้สมาชิกผู้ใช้บริการกว่า 5 ล้านรายได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการรับฟังถ้อยแถลงของทรูวิชั่นส์ที่อ้างความจำเป็นที่ต้องให้ AIS Play ระงับการออกอากาศในทันที เพราะอาจถูก สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศหรือฟีฟ่าฟ้องร้องเอาได้จากการที่ AIS ดำเนินการแพร่ภาพซ้ำโดยไม่ได้รับความยินยอมและเห็นชอบจากบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลกในประเทศไทยจากฟีฟ่า
เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (สทช.) ในฐานะองค์กรภาคประชาชนที่ติดตามผลประโยชน์สาธารณะและตรวจสอบสอบความไม่ชอบมาพากลของหน่วยงานรัฐต่างๆ และได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกผู้ใช้บริการ AIS Play และ AIS Play Box ที่ถูกตัดสัญญาณแพร่ภาพฟรีทีวีภาคพื้น ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล คือสำนักงานกสทช. มีส่วนในการทำให้เกิดปัญหา จากการที่ไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีการเลือกปฏิบัติ
ทั้งนี้ เพราะการที่บริษัททรูวิชั่นส์อ้างว่า เป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในครั้งนี้จากฟีฟ่า จำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทจึงไม่อาจยินยอมให้บริษัท เอสบีเอ็น(SBN)จำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์บนโครงข่ายอื่นที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ นำรายการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ภาคพื้นที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ไปเผยแพร่ผ่านช่องทางของบริษัท แม้จะเป็นการดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป(Must carry)นั้น ถือเป็นการดำเนินการที่ขัดแย้งกับ หลักเกณฑ์ตามประกาศ กสทช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ "มัสต์ แครี่" อย่างเห็นได้ชัด
เพราะการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย เป็นความตั้งใจและเป็นเจตนารมย์ของ ฯพณฯท่าน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ที่ต้องการคืนความสุขแก่ประชาชนคนไทยให้ได้รับชมกีฬาของมวลมนุษยชาติในครั้งนี้ อย่างเต็มอิ่มทุก รัฐบาลจึงได้เชื้อเชิญบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจำนวน 9 บริษัทร่วมลงขันเป็นสปอนเซอร์หลักในการ เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายจากฟีฟ่าในครั้งนี้ วงเงินกว่า 1400 ล้านบาท โดยมอบให้ บริษัททรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด เป็นตัวแทนเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดมหกรรมฟุตบอลโลก2018 และดูแลการถ่ายทอดฟุตบอลโลกในครั้งนี้ให้เป็นไปด้วยความลุล่วง
ขณะที่ กสทช.ก็ขานรับนโยบายคืนความสุขของรัฐบาล โดยที่ประชุมคณะกรรมการกสทช.เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2561 ได้เห็นชอบช่องทางการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกอ2018 ตามที่ทรูวิขั่นส์นำเสนอ ทั้งยังได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์มัส แคร์รี่ ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ มีหน้าที่ต้องให้สมาชิกได้รับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปได้โดยต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัด ซึ่ง AIS Play ก็เป็น 1 ในผู้ให้บริการตามประกาศ กสทช.เช่นเดียวกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมอื่นๆ
หากจะพิจารณาการกระทำของทรูวิชั่นส์ที่ก่อนหน้าก็เคยดำเนินการแพร่รายการโทรทัศน์ที่เป็นทีวีดิจิทัลภาคพื้น ซึ่งมีรายการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชั่นส์ ลีก 2018 อันเป็นลิขสิทธิ์ ที่บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด(บีอีซี)ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีดิจิทัล HD ช่อง 33 ที่ได้รับสิทธิ์ในการแพร่ภาพแต่เพียงผู้เดียว ระหว่างวันที่ 15 พ.ค. -8 ก.ค.2561 แต่ก็ถูกบริษัททรูวิชั่นส์นำรายการถ่ายทอดทีวีภาคพื้นที่มีไปออกอากาศบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของตนเอง จนบริษัทบีอีซี มีหนังสือแจ้งให้ทรูวิชั่นส์ยุติและงดการออกอากาศรายการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชั่นส์ ลีก2018 มาแล้ว แต่บริษัทได้มีหนังสือตอบโต้ ยืนยันว่าสิ่งที่ดำเนินการไปนั้น เป็นการปฏิบัติตามประกาศกสทช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์มัสต์ แครี่ โดยที่สำนักงาน กสทช.เองก็มีหนังสือกลับยืนยันในทำนองเดียวกัน แล้วเหตุใดกรณีการแพร่รายการโทรทัศน์ภาคพื้นที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ผ่านโครงข่ายอื่น ๆ ภายใต้บริบทเดียวกันกับที่ทรูวิชั่นส์ให้บริการอยู่จึงถูกสั่งระงับจาก กสทช. ทั้งที่เป็นการดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ตามประกาศ “มัสต์ แคร์รี่”ของกสทช.โดยตรง
ด้วยเหตุนี้ สทช. องค์กรในภาคประชาชน จึงขอให้ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองงานด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ และประธานกสทช.ได้ตรวจสอบการดำเนินงานที่เป็นการเลือกปฏิบัติสองมาตรฐานของสำนักงาน กสทช.ต่อกรณีการบังคับให้เป็นไปตามประกาศ กสทช.ว่ามันส์แครี่ ที่ต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ตามมติ คณะกรรมการกสทช. ในคราวประชุมที่ 10/2561 เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2561 เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐบาล และบริษัทเอกชนทั้ง 9 รายที่ร่วมลงขันเพื่อคืนความสุขแก่ประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง
หลังจากนี้ทางสทช.คงจะพิจารณายื่นเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบพฤติการณ์การกระทำผิดของเจ้าหน้าที่รัฐใน กสทช.ต่อกรณีใช้อำนาจหน้าที่เลือกปฏิบัติต่อไป
ที่มา :
http://www.komchadluek.net/news/economic/332958#.Wzm-1Spa27M.lineme
เครือข่ายสื่อต้านทุจริตจี้ กสทช.เคลียร์ เหตุปล่อย AIS PLAY จอดำ
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (สทช.) นำโดย นายณัฐพล โรจน์ถาวร ประธานเครือข่ายพร้อมสมาชิกได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) โดย มีผศ.ดร.ภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เป็นผู้รับหนังสือแทน กรณีบริษัทผู้ให้บริการแพร่รายการโทรทัศน์ผ่านแอพพลเคชั่น AIS Play ต้องยุติการแพร่รายการทีวีดิจิทัลที่ถ่ายทอดสดมฟกรรมฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย นับตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.เป็นต้นมา
นายณัฐพลกล่าวว่า จากข่าวกรณี บริษัท ทรูวิชั่น กรุ๊ป ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ บริษัทที่ให้บริการ AIS Play ระงับการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายผ่านโครงข่ายนับแต่วันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป เป็นผู้ดูแล ส่งผลให้สมาชิกผู้ใช้บริการกว่า 5 ล้านรายได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการรับฟังถ้อยแถลงของทรูวิชั่นส์ที่อ้างความจำเป็นที่ต้องให้ AIS Play ระงับการออกอากาศในทันที เพราะอาจถูก สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศหรือฟีฟ่าฟ้องร้องเอาได้จากการที่ AIS ดำเนินการแพร่ภาพซ้ำโดยไม่ได้รับความยินยอมและเห็นชอบจากบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลกในประเทศไทยจากฟีฟ่า
เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (สทช.) ในฐานะองค์กรภาคประชาชนที่ติดตามผลประโยชน์สาธารณะและตรวจสอบสอบความไม่ชอบมาพากลของหน่วยงานรัฐต่างๆ และได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกผู้ใช้บริการ AIS Play และ AIS Play Box ที่ถูกตัดสัญญาณแพร่ภาพฟรีทีวีภาคพื้น ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล คือสำนักงานกสทช. มีส่วนในการทำให้เกิดปัญหา จากการที่ไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีการเลือกปฏิบัติ
ทั้งนี้ เพราะการที่บริษัททรูวิชั่นส์อ้างว่า เป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในครั้งนี้จากฟีฟ่า จำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทจึงไม่อาจยินยอมให้บริษัท เอสบีเอ็น(SBN)จำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์บนโครงข่ายอื่นที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ นำรายการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ภาคพื้นที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ไปเผยแพร่ผ่านช่องทางของบริษัท แม้จะเป็นการดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป(Must carry)นั้น ถือเป็นการดำเนินการที่ขัดแย้งกับ หลักเกณฑ์ตามประกาศ กสทช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ "มัสต์ แครี่" อย่างเห็นได้ชัด
เพราะการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย เป็นความตั้งใจและเป็นเจตนารมย์ของ ฯพณฯท่าน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ที่ต้องการคืนความสุขแก่ประชาชนคนไทยให้ได้รับชมกีฬาของมวลมนุษยชาติในครั้งนี้ อย่างเต็มอิ่มทุก รัฐบาลจึงได้เชื้อเชิญบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจำนวน 9 บริษัทร่วมลงขันเป็นสปอนเซอร์หลักในการ เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายจากฟีฟ่าในครั้งนี้ วงเงินกว่า 1400 ล้านบาท โดยมอบให้ บริษัททรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด เป็นตัวแทนเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดมหกรรมฟุตบอลโลก2018 และดูแลการถ่ายทอดฟุตบอลโลกในครั้งนี้ให้เป็นไปด้วยความลุล่วง
ขณะที่ กสทช.ก็ขานรับนโยบายคืนความสุขของรัฐบาล โดยที่ประชุมคณะกรรมการกสทช.เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2561 ได้เห็นชอบช่องทางการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกอ2018 ตามที่ทรูวิขั่นส์นำเสนอ ทั้งยังได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์มัส แคร์รี่ ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ มีหน้าที่ต้องให้สมาชิกได้รับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปได้โดยต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัด ซึ่ง AIS Play ก็เป็น 1 ในผู้ให้บริการตามประกาศ กสทช.เช่นเดียวกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมอื่นๆ
หากจะพิจารณาการกระทำของทรูวิชั่นส์ที่ก่อนหน้าก็เคยดำเนินการแพร่รายการโทรทัศน์ที่เป็นทีวีดิจิทัลภาคพื้น ซึ่งมีรายการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชั่นส์ ลีก 2018 อันเป็นลิขสิทธิ์ ที่บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด(บีอีซี)ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีดิจิทัล HD ช่อง 33 ที่ได้รับสิทธิ์ในการแพร่ภาพแต่เพียงผู้เดียว ระหว่างวันที่ 15 พ.ค. -8 ก.ค.2561 แต่ก็ถูกบริษัททรูวิชั่นส์นำรายการถ่ายทอดทีวีภาคพื้นที่มีไปออกอากาศบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของตนเอง จนบริษัทบีอีซี มีหนังสือแจ้งให้ทรูวิชั่นส์ยุติและงดการออกอากาศรายการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชั่นส์ ลีก2018 มาแล้ว แต่บริษัทได้มีหนังสือตอบโต้ ยืนยันว่าสิ่งที่ดำเนินการไปนั้น เป็นการปฏิบัติตามประกาศกสทช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์มัสต์ แครี่ โดยที่สำนักงาน กสทช.เองก็มีหนังสือกลับยืนยันในทำนองเดียวกัน แล้วเหตุใดกรณีการแพร่รายการโทรทัศน์ภาคพื้นที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ผ่านโครงข่ายอื่น ๆ ภายใต้บริบทเดียวกันกับที่ทรูวิชั่นส์ให้บริการอยู่จึงถูกสั่งระงับจาก กสทช. ทั้งที่เป็นการดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ตามประกาศ “มัสต์ แคร์รี่”ของกสทช.โดยตรง
ด้วยเหตุนี้ สทช. องค์กรในภาคประชาชน จึงขอให้ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองงานด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ และประธานกสทช.ได้ตรวจสอบการดำเนินงานที่เป็นการเลือกปฏิบัติสองมาตรฐานของสำนักงาน กสทช.ต่อกรณีการบังคับให้เป็นไปตามประกาศ กสทช.ว่ามันส์แครี่ ที่ต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ตามมติ คณะกรรมการกสทช. ในคราวประชุมที่ 10/2561 เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2561 เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐบาล และบริษัทเอกชนทั้ง 9 รายที่ร่วมลงขันเพื่อคืนความสุขแก่ประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง
หลังจากนี้ทางสทช.คงจะพิจารณายื่นเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบพฤติการณ์การกระทำผิดของเจ้าหน้าที่รัฐใน กสทช.ต่อกรณีใช้อำนาจหน้าที่เลือกปฏิบัติต่อไป
ที่มา : http://www.komchadluek.net/news/economic/332958#.Wzm-1Spa27M.lineme