ภิกษุทั้งหลาย! ปธานสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ
สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน (เพียรละ)
ภาวนาปธาน (เพียรบำ เพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้)
ภิกษุทั้งหลาย! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ปหานปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน
ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล ปธานสี่อย่าง
ความเพียร 4 ประเภท
สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ
สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน (เพียรละ)
ภาวนาปธาน (เพียรบำ เพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้)
ภิกษุทั้งหลาย! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ปหานปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ ความพอใจให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน
ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล ปธานสี่อย่าง