ผมเห็นด้วยกับคอลัมน์นี้บางประเด็นนะที่สะท้อนมาเกี่ยวกับเรื่องครูไทย เขียนโดย ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ที่มา
https://mgronline.com/daily/detail/9580000007751
เพิ่งผ่านพ้นวันเด็กและวันครูมา คงไม่มีใครเถียงว่าเด็กคืออนาคตของชาติ และนอกจากพ่อแม่แล้ว ครูก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งร่วมสร้างอนาคตและสร้างชาติ คงไม่มีงานใดสำคัญไปมากกว่างานของครูอีกแล้ว ในอดีตครูเป็นอาชีพที่เสียสละมาก ผมอ่านหนังสือ “แด่คุณครูด้วยคมแฝก” ของครูนิมิตร ภูมิถาวร “ครูบ้านนอก” ของครูคำหมาน คนได และ “ครูไหวใจร้าย” ของครูผกาวดี อุตตโมทย์ ด้วยความประทับใจ
ผมเองผ่านชีวิตการเป็นเด็กต่างจังหวัด ได้มีโอกาสเรียนหนังสือกับครูดีๆ มากมาย ครูเหล่านี้อาจจะไม่ได้จบสูงมาก บางคนจบแค่ ปม พม หรือ ปกศ สูง บางคนเป็นครูมูล ไม่ได้มีปริญญาโก้หรูอะไรเสียด้วยซ้ำ แต่ผมรู้สึกว่าครูของผมหลายคนภูมิความรู้แน่นมาก ค่านิยมของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ผม หรือก่อนหน้านั้น คนไทยต้องการให้คนเก่งเรียนหนังสือสูงๆ แล้วมาเป็นครู เด็กสอบได้ที่หนึ่งของจังหวัดจำนวนมากเลือกที่จะเป็นครู การเป็นครูในต่างจังหวัดนั้นได้รับการยกย่องนับถือ นักการเมืองอีสานสมัยก่อนนั้นมักจะมาจากการเป็นครูหรือทนายความที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ผมเข้ามาเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ยิ่งทำให้โลกของเด็กบ้านนอก ได้เจอของจริง ครูจริงๆ ครูที่สอนผมล้วนแล้วแต่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ส่วนใหญ่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครูสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์นั้นมักจะจบจากคณะวิทยาศาสตร์ ครูสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส สังคมศึกษา นั้นจบจากคณะอักษรศาสตร์ เช่นกัน บางท่านก็จบจากคณะครุศาสตร์ จุฬา เช่นกัน ครูของผมสมัยที่เรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานั้นจำนวนมาก โอนหรือย้ายมารับราชการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกันก็เยอะ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีวุฒิครูมาโดยตรง แต่ก็สอนหนังสือได้ดีมาก เต็มเปี่ยมด้วยความเป็นครูและความรู้ ผมถือว่าผมโชคดีมากที่ได้เรียนกับครูที่เก่งและมีความเป็นครูสูงทั้งสมัยเรียนอยู่ต่างจังหวัดและเมื่อเข้ามาเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กรุงเทพก็ตาม
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมพูดกับนักศึกษาว่าพวกคุณคนไหนเก่งๆ ให้กลับมาเป็นอาจารย์ จะช่วยหาที่เรียนต่อ หาทุนให้ไปเรียนต่อ ผมกลับได้รับคำตอบว่าถ้าคนไหนเก่งๆ ขนาดที่อาจารย์อยากได้ สอบ TOEFL ได้คะแนนดีๆ คณิตศาสตร์แข็งๆ เขาไม่มาเป็นครูจนๆ หรอก เขาไปทำอย่างอื่นที่มันได้สตางค์มากกว่านี้ดีกว่า งานสบายกว่า ไม่เหนื่อย ผมรู้หน้าชาไปชั่วครูเมื่อนักศึกษาตอบกลับมาเช่นนี้
ล่าสุดผมเห็นว่ามีการโพสต์ข้อความแพร่หลายบนอินเตอร์เน็ตถึงกรณีที่โรงเรียนอมาตยกุลรับสมัครครูแล้วพบว่าบัณฑิตเกียรตินิยมทางการศึกษา วิชาเอก ภาษาอังกฤษ ที่มาสมัครเป็นครูไม่สามารถแต่งประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆ ได้เลย เช่นเดียวกันกับบัณฑิตเกียรตินิยมทางการศึกษา วิชาเอกคณิตศาสตร์ไม่สามารถแก้โจทย์สมการตัวแปรเดียวง่ายๆ ได้
ผมลองสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนดังของรัฐหลายแห่งได้รับคำตอบที่น่าตกใจมากว่าไม่อยากไปเสียเวลาเรียนในห้องเรียน เพราะครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่เก่ง จบมาจากมหาวิทยาลัยเกรดสาม เกรดสี่ พวกที่คนสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้แล้วไปเรียนกัน ทำให้เข้าไปสอนในห้องเรียนแล้วน่าเบื่อ ซ้ำร้ายสอนผิด ครูคนสอนไม่เก่งเท่ากับนักเรียน (ที่เป็นนักเรียนมัธยมในโรงเรียนอันดับต้นๆ ของประเทศ) ผมเลยถามว่าแล้วพวกคุณไปเรียนกับใคร เขาบอกโรงเรียนเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยเก่งๆ กับติวเตอร์เก่งๆ มาสอน และนักเรียนก็ไปเสียเงินเรียนพิเศษกับติวเตอร์เหล่านั้น ซึ่งนิยมเรียกตัวเองว่าพี่ จบมาทางอักษรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศเป็นส่วนใหญ่ เด็กนักเรียนบอกผมว่าครูพวกนี้เก่ง เขาได้เข้าไปเรียนในที่ที่เราอยากเข้าไปเรียน เขาทำได้ และมีความรู้ที่จะสอนพวกเราแน่นกว่าครูในโรงเรียน
ผมฟังนักเรียนมัธยมปลายพูดแล้วได้แต่ถอนใจ ผมคิดว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ในสหรัฐอเมริกานั้นมหาวิทยาลัยชั้นนำก็นิยมใช้นักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งเป็นหัวกะทิของโลกมาสอนระดับปริญญาตรีด้วยซ้ำไป นักศึกษาปริญญาตรีหลายคนได้เรียนกับ professor เพียงไม่กี่วิชา เพราะ professor ส่วนใหญ่จะสอนระดับบัณฑิตศึกษา ทำงานวิจัย และนิเทศการสอนของนักศึกษาปริญญาเอกเมื่อมาสอนปริญญาตรี ข้อนี้แตกต่างจากมหาวิทยาลัยระดับล่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่ให้ professor มาสอนโดยตรง แต่กระนั้นเด็กก็ยังแย่งกันเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่ดี เพราะนักศึกษาปริญญาเอกเหล่านี้เป็นหัวกะทิของโลก จบไปก็ไปเป็นครูบาอาจารย์หรือทำงานดีๆ กัน การเรียนการสอนจึงไม่ได้ถึงกับย่ำแย่ ค่อนข้างดีด้วยซ้ำไป เพราะคนสอนเป็นคนเก่งมีความรู้และมีคุณภาพ
ความนิยมในการเป็นครูของนักเรียนที่เก่งๆ ในประเทศไทยไม่รู้ว่าหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ เพื่อนๆ ผมที่จบมาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีไม่ถึง 10% ที่ยังทำงานเป็นครู ไปทำอย่างอื่นกันหมด คะแนนสอบเข้าคณะวิชาทางการศึกษานั้นต่ำกว่าคณะอื่นๆ แทบทั้งนั้น นี่คือความจริงที่เราต้องยอมรับ แต่ที่แย่กว่าคือการที่เราจำกัดว่าคนจะมาเป็นครูสอนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ต้องสำเร็จการศึกษามาทางวิชาครูเท่านั้น คือต้องได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต ศึกษาศาสตร์บัณฑิต หรือการศึกษาบัณฑิต จึงจะไปสอบใบประกอบวิชาชีพครูได้ ในฐานะที่ผมเป็นผลผลิตของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจำนวนมากที่จบปริญญามาทางอักษรศาสตร์และ/หรือ วิทยาศาสตร์ ผมรู้สึกว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่จบมาทางวิชาครูโดยตรง ปัญหาคือขณะนี้ประเทศไทยเราได้คนโง่มาเรียนครูและมาเป็นครู คนที่มีอำนาจในการให้ใบประกอบวิชาชีพครูยังกีดกันคนที่ไม่ได้จบวิชาครูมาโดยตรงไม่ให้เข้ามาเป็นครู ผมไม่คิดว่าแนวคิดเช่นนี้จะเป็นประโยชน์กับเด็กไทยเลย หากเรียนวิชาครูมาแล้วสามารถสอนได้ดีมาก สอนแล้วเด็กเข้าใจจดจำได้หมดสิ้น แต่หากสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่ผิดเพราะครูผู้สอนมีความรู้ไม่แน่นไม่แม่นยำพอ นี่จะเป็นหายนะกับเด็กไทยเสียยิ่งกว่าครูที่สอนไม่เก่งเท่า เพราะไม่ได้เรียนวิชาครูมาโดยตรง (ข้อนี้คงมีคนเถียงหัวชนฝาเช่นกัน เพราะคนไม่ได้จบครูมาโดยตรง สอนหนังสือดีกว่าคนจบครูมาโดยตรง มีความเป็นครูมากกว่าก็มีเยอะแยะมากมาย และผมก็เคยพบมาด้วยตัวเองเช่นกัน)
ผมได้ทราบมาว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงเรื่องนี้มาก และทรงอยากให้ทางวิชาชีพครูเปิดใจให้กว้าง ให้คนเก่งๆ ที่ไม่ได้จบวิชาครูมาโดยตรงได้มีโอกาสสอบใบประกอบวิชาชีพครู ผมคิดว่าพระราชดำริเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการควรน้อมรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมไว้เป็นอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ก็แย่มากอยู่แล้ว ยังจะกีดกันไม่ให้คนมีคุณภาพเข้าไปสู่วิชาชีพ
ในทางกลับกันผมกลับคิดว่าการให้ใบประกอบวิชาชีพครูนั้น นอกจากจะสอบวิชาครูแล้วควรต้องสอบวิชาความรู้ในเนื้อหาที่จะสอนด้วย และการให้ใบประกอบวิชาชีพครูนั้นต้องให้เป็นวิชาๆ ไป ต้องสอบผ่านทั้งวิชาเนื้อหาและวิชาการสอนวิชาเนื้อหานั้นๆ เช่น สอบผ่านความรู้วิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งอย่างน้อยควรครอบคลุมเท่ากับคณิตศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เช่น แคลคูลัส 1 และแคลคูลัส 2 ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็สอนแคลคูลัสเช่นกัน หลังจากสอบผ่านวิชาเนื้อหาแล้ว จึงมาสอบวิชาการสอนวิชาเนื้อหานั้นๆ เช่น วิชาการสอนคณิตศาสตร์ และควรสอบสอนด้วย ก่อนจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ การได้ใบประกอบวิชาชีพนั้นควรเข้มงวดให้ได้คุณภาพ และควรเปิดกว้างว่าจบการศึกษาสาขาวิชาใดก็ได้หากสามารถสอบผ่านได้ก็ควรจะเป็นครูได้ ผมเองเมื่อไปฝึกงานที่ Educational Testing Service มีผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเรื่อง Teacher license and certification ได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นคนละเรื่องกับความสามารถในการสอนคณิตศาสตร์ เช่น ข้อสอบบอกให้ บวก ลบ คูณ หาร ง่าย แต่มีคำตอบที่ผิดๆ ของเด็กๆ มาให้ดู เกือบ 10 คำตอบ ครูที่ดีและเข้าใจวิธีการสอนคณิตศาสตร์ ต้องสามารถเข้าใจและอธิบายได้ว่าทำไมเด็กๆ จึงทำข้อสอบเหล่านั้นผิด เพราะมีกระบวนการขั้นตอนการคิดอย่างไรที่ผิด ผมเองถึงกับมึนไปพักใหญ่ ขบไม่ตกว่าทำไมเด็กจึงคิดคำตอบที่ผิดนั้นได้ แต่แน่นอนว่าถ้าหากความสามารถทางคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนมีไม่พอและคิดผิดเสียเอง ต่อให้สอนดีแค่ไหนก็จะสอนสิ่งผิดๆ ติดตัวเด็กไปยาวนานจนเป็นอันตราย
สิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจที่สุดคือผลการวิจัยโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ โดยมี อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ แห่ง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยพบว่ารายได้ของครูในโรงเรียนรัฐในปี 2554 ไม่ได้ด้อยไปกว่าอาชีพอื่นๆ หากดูรูปในรูปข้างล่างด้านขวามือ จะพบว่าเส้นรายได้เฉลี่ย (แกนตั้ง) ของครูตามช่วงอายุ (แกนนอน) ในปี 2554 ค่อนข้างใกล้เคียงกับอาชีพอื่นๆ ในขณะที่แผนภาพเดียวกันนี้ของปี 2546 ด้านซ้ายมือจะพบว่าครูมีรายได้เฉลี่ยด้อยกว่าอาชีพอื่นๆ ค่อนข้างชัดเจน
ในเมื่ออาชีพครูเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่ได้น้อยหน้ากว่าอาชีพอื่น คนเก่งๆ น่าจะสนใจมาเป็นครูกันเยอะ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจทำวิจัยกันต่อไปว่า นิสิตนักศึกษาที่เก่งๆ มีทัศนคติหรือภาพในความคิดอย่างไรกับอาชีพครู ซึ่งจะเป็นผู้สร้างชาติต่อไปในอนาคต แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาได้คนที่ไม่ค่อยฉลาดนักมาเป็นครู แล้วอนาคตของชาติจะอยู่ที่ตรงไหน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย คงต้องช่วยกันหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุดครับ
เมื่อเด็กไทยได้คนโง่มาเป็นครู อนาคตของหนูจะอยู่ที่ไหน?
เพิ่งผ่านพ้นวันเด็กและวันครูมา คงไม่มีใครเถียงว่าเด็กคืออนาคตของชาติ และนอกจากพ่อแม่แล้ว ครูก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งร่วมสร้างอนาคตและสร้างชาติ คงไม่มีงานใดสำคัญไปมากกว่างานของครูอีกแล้ว ในอดีตครูเป็นอาชีพที่เสียสละมาก ผมอ่านหนังสือ “แด่คุณครูด้วยคมแฝก” ของครูนิมิตร ภูมิถาวร “ครูบ้านนอก” ของครูคำหมาน คนได และ “ครูไหวใจร้าย” ของครูผกาวดี อุตตโมทย์ ด้วยความประทับใจ
ผมเองผ่านชีวิตการเป็นเด็กต่างจังหวัด ได้มีโอกาสเรียนหนังสือกับครูดีๆ มากมาย ครูเหล่านี้อาจจะไม่ได้จบสูงมาก บางคนจบแค่ ปม พม หรือ ปกศ สูง บางคนเป็นครูมูล ไม่ได้มีปริญญาโก้หรูอะไรเสียด้วยซ้ำ แต่ผมรู้สึกว่าครูของผมหลายคนภูมิความรู้แน่นมาก ค่านิยมของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ผม หรือก่อนหน้านั้น คนไทยต้องการให้คนเก่งเรียนหนังสือสูงๆ แล้วมาเป็นครู เด็กสอบได้ที่หนึ่งของจังหวัดจำนวนมากเลือกที่จะเป็นครู การเป็นครูในต่างจังหวัดนั้นได้รับการยกย่องนับถือ นักการเมืองอีสานสมัยก่อนนั้นมักจะมาจากการเป็นครูหรือทนายความที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ผมเข้ามาเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ยิ่งทำให้โลกของเด็กบ้านนอก ได้เจอของจริง ครูจริงๆ ครูที่สอนผมล้วนแล้วแต่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ส่วนใหญ่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครูสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์นั้นมักจะจบจากคณะวิทยาศาสตร์ ครูสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส สังคมศึกษา นั้นจบจากคณะอักษรศาสตร์ เช่นกัน บางท่านก็จบจากคณะครุศาสตร์ จุฬา เช่นกัน ครูของผมสมัยที่เรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานั้นจำนวนมาก โอนหรือย้ายมารับราชการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกันก็เยอะ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีวุฒิครูมาโดยตรง แต่ก็สอนหนังสือได้ดีมาก เต็มเปี่ยมด้วยความเป็นครูและความรู้ ผมถือว่าผมโชคดีมากที่ได้เรียนกับครูที่เก่งและมีความเป็นครูสูงทั้งสมัยเรียนอยู่ต่างจังหวัดและเมื่อเข้ามาเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กรุงเทพก็ตาม
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมพูดกับนักศึกษาว่าพวกคุณคนไหนเก่งๆ ให้กลับมาเป็นอาจารย์ จะช่วยหาที่เรียนต่อ หาทุนให้ไปเรียนต่อ ผมกลับได้รับคำตอบว่าถ้าคนไหนเก่งๆ ขนาดที่อาจารย์อยากได้ สอบ TOEFL ได้คะแนนดีๆ คณิตศาสตร์แข็งๆ เขาไม่มาเป็นครูจนๆ หรอก เขาไปทำอย่างอื่นที่มันได้สตางค์มากกว่านี้ดีกว่า งานสบายกว่า ไม่เหนื่อย ผมรู้หน้าชาไปชั่วครูเมื่อนักศึกษาตอบกลับมาเช่นนี้
ล่าสุดผมเห็นว่ามีการโพสต์ข้อความแพร่หลายบนอินเตอร์เน็ตถึงกรณีที่โรงเรียนอมาตยกุลรับสมัครครูแล้วพบว่าบัณฑิตเกียรตินิยมทางการศึกษา วิชาเอก ภาษาอังกฤษ ที่มาสมัครเป็นครูไม่สามารถแต่งประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆ ได้เลย เช่นเดียวกันกับบัณฑิตเกียรตินิยมทางการศึกษา วิชาเอกคณิตศาสตร์ไม่สามารถแก้โจทย์สมการตัวแปรเดียวง่ายๆ ได้
ผมลองสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนดังของรัฐหลายแห่งได้รับคำตอบที่น่าตกใจมากว่าไม่อยากไปเสียเวลาเรียนในห้องเรียน เพราะครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่เก่ง จบมาจากมหาวิทยาลัยเกรดสาม เกรดสี่ พวกที่คนสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้แล้วไปเรียนกัน ทำให้เข้าไปสอนในห้องเรียนแล้วน่าเบื่อ ซ้ำร้ายสอนผิด ครูคนสอนไม่เก่งเท่ากับนักเรียน (ที่เป็นนักเรียนมัธยมในโรงเรียนอันดับต้นๆ ของประเทศ) ผมเลยถามว่าแล้วพวกคุณไปเรียนกับใคร เขาบอกโรงเรียนเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยเก่งๆ กับติวเตอร์เก่งๆ มาสอน และนักเรียนก็ไปเสียเงินเรียนพิเศษกับติวเตอร์เหล่านั้น ซึ่งนิยมเรียกตัวเองว่าพี่ จบมาทางอักษรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศเป็นส่วนใหญ่ เด็กนักเรียนบอกผมว่าครูพวกนี้เก่ง เขาได้เข้าไปเรียนในที่ที่เราอยากเข้าไปเรียน เขาทำได้ และมีความรู้ที่จะสอนพวกเราแน่นกว่าครูในโรงเรียน
ผมฟังนักเรียนมัธยมปลายพูดแล้วได้แต่ถอนใจ ผมคิดว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ในสหรัฐอเมริกานั้นมหาวิทยาลัยชั้นนำก็นิยมใช้นักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งเป็นหัวกะทิของโลกมาสอนระดับปริญญาตรีด้วยซ้ำไป นักศึกษาปริญญาตรีหลายคนได้เรียนกับ professor เพียงไม่กี่วิชา เพราะ professor ส่วนใหญ่จะสอนระดับบัณฑิตศึกษา ทำงานวิจัย และนิเทศการสอนของนักศึกษาปริญญาเอกเมื่อมาสอนปริญญาตรี ข้อนี้แตกต่างจากมหาวิทยาลัยระดับล่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่ให้ professor มาสอนโดยตรง แต่กระนั้นเด็กก็ยังแย่งกันเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่ดี เพราะนักศึกษาปริญญาเอกเหล่านี้เป็นหัวกะทิของโลก จบไปก็ไปเป็นครูบาอาจารย์หรือทำงานดีๆ กัน การเรียนการสอนจึงไม่ได้ถึงกับย่ำแย่ ค่อนข้างดีด้วยซ้ำไป เพราะคนสอนเป็นคนเก่งมีความรู้และมีคุณภาพ
ความนิยมในการเป็นครูของนักเรียนที่เก่งๆ ในประเทศไทยไม่รู้ว่าหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ เพื่อนๆ ผมที่จบมาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีไม่ถึง 10% ที่ยังทำงานเป็นครู ไปทำอย่างอื่นกันหมด คะแนนสอบเข้าคณะวิชาทางการศึกษานั้นต่ำกว่าคณะอื่นๆ แทบทั้งนั้น นี่คือความจริงที่เราต้องยอมรับ แต่ที่แย่กว่าคือการที่เราจำกัดว่าคนจะมาเป็นครูสอนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ต้องสำเร็จการศึกษามาทางวิชาครูเท่านั้น คือต้องได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต ศึกษาศาสตร์บัณฑิต หรือการศึกษาบัณฑิต จึงจะไปสอบใบประกอบวิชาชีพครูได้ ในฐานะที่ผมเป็นผลผลิตของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจำนวนมากที่จบปริญญามาทางอักษรศาสตร์และ/หรือ วิทยาศาสตร์ ผมรู้สึกว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่จบมาทางวิชาครูโดยตรง ปัญหาคือขณะนี้ประเทศไทยเราได้คนโง่มาเรียนครูและมาเป็นครู คนที่มีอำนาจในการให้ใบประกอบวิชาชีพครูยังกีดกันคนที่ไม่ได้จบวิชาครูมาโดยตรงไม่ให้เข้ามาเป็นครู ผมไม่คิดว่าแนวคิดเช่นนี้จะเป็นประโยชน์กับเด็กไทยเลย หากเรียนวิชาครูมาแล้วสามารถสอนได้ดีมาก สอนแล้วเด็กเข้าใจจดจำได้หมดสิ้น แต่หากสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่ผิดเพราะครูผู้สอนมีความรู้ไม่แน่นไม่แม่นยำพอ นี่จะเป็นหายนะกับเด็กไทยเสียยิ่งกว่าครูที่สอนไม่เก่งเท่า เพราะไม่ได้เรียนวิชาครูมาโดยตรง (ข้อนี้คงมีคนเถียงหัวชนฝาเช่นกัน เพราะคนไม่ได้จบครูมาโดยตรง สอนหนังสือดีกว่าคนจบครูมาโดยตรง มีความเป็นครูมากกว่าก็มีเยอะแยะมากมาย และผมก็เคยพบมาด้วยตัวเองเช่นกัน)
ผมได้ทราบมาว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงเรื่องนี้มาก และทรงอยากให้ทางวิชาชีพครูเปิดใจให้กว้าง ให้คนเก่งๆ ที่ไม่ได้จบวิชาครูมาโดยตรงได้มีโอกาสสอบใบประกอบวิชาชีพครู ผมคิดว่าพระราชดำริเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการควรน้อมรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมไว้เป็นอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ก็แย่มากอยู่แล้ว ยังจะกีดกันไม่ให้คนมีคุณภาพเข้าไปสู่วิชาชีพ
ในทางกลับกันผมกลับคิดว่าการให้ใบประกอบวิชาชีพครูนั้น นอกจากจะสอบวิชาครูแล้วควรต้องสอบวิชาความรู้ในเนื้อหาที่จะสอนด้วย และการให้ใบประกอบวิชาชีพครูนั้นต้องให้เป็นวิชาๆ ไป ต้องสอบผ่านทั้งวิชาเนื้อหาและวิชาการสอนวิชาเนื้อหานั้นๆ เช่น สอบผ่านความรู้วิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งอย่างน้อยควรครอบคลุมเท่ากับคณิตศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เช่น แคลคูลัส 1 และแคลคูลัส 2 ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็สอนแคลคูลัสเช่นกัน หลังจากสอบผ่านวิชาเนื้อหาแล้ว จึงมาสอบวิชาการสอนวิชาเนื้อหานั้นๆ เช่น วิชาการสอนคณิตศาสตร์ และควรสอบสอนด้วย ก่อนจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ การได้ใบประกอบวิชาชีพนั้นควรเข้มงวดให้ได้คุณภาพ และควรเปิดกว้างว่าจบการศึกษาสาขาวิชาใดก็ได้หากสามารถสอบผ่านได้ก็ควรจะเป็นครูได้ ผมเองเมื่อไปฝึกงานที่ Educational Testing Service มีผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเรื่อง Teacher license and certification ได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นคนละเรื่องกับความสามารถในการสอนคณิตศาสตร์ เช่น ข้อสอบบอกให้ บวก ลบ คูณ หาร ง่าย แต่มีคำตอบที่ผิดๆ ของเด็กๆ มาให้ดู เกือบ 10 คำตอบ ครูที่ดีและเข้าใจวิธีการสอนคณิตศาสตร์ ต้องสามารถเข้าใจและอธิบายได้ว่าทำไมเด็กๆ จึงทำข้อสอบเหล่านั้นผิด เพราะมีกระบวนการขั้นตอนการคิดอย่างไรที่ผิด ผมเองถึงกับมึนไปพักใหญ่ ขบไม่ตกว่าทำไมเด็กจึงคิดคำตอบที่ผิดนั้นได้ แต่แน่นอนว่าถ้าหากความสามารถทางคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนมีไม่พอและคิดผิดเสียเอง ต่อให้สอนดีแค่ไหนก็จะสอนสิ่งผิดๆ ติดตัวเด็กไปยาวนานจนเป็นอันตราย
สิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจที่สุดคือผลการวิจัยโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ โดยมี อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ แห่ง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยพบว่ารายได้ของครูในโรงเรียนรัฐในปี 2554 ไม่ได้ด้อยไปกว่าอาชีพอื่นๆ หากดูรูปในรูปข้างล่างด้านขวามือ จะพบว่าเส้นรายได้เฉลี่ย (แกนตั้ง) ของครูตามช่วงอายุ (แกนนอน) ในปี 2554 ค่อนข้างใกล้เคียงกับอาชีพอื่นๆ ในขณะที่แผนภาพเดียวกันนี้ของปี 2546 ด้านซ้ายมือจะพบว่าครูมีรายได้เฉลี่ยด้อยกว่าอาชีพอื่นๆ ค่อนข้างชัดเจน
ในเมื่ออาชีพครูเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่ได้น้อยหน้ากว่าอาชีพอื่น คนเก่งๆ น่าจะสนใจมาเป็นครูกันเยอะ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจทำวิจัยกันต่อไปว่า นิสิตนักศึกษาที่เก่งๆ มีทัศนคติหรือภาพในความคิดอย่างไรกับอาชีพครู ซึ่งจะเป็นผู้สร้างชาติต่อไปในอนาคต แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาได้คนที่ไม่ค่อยฉลาดนักมาเป็นครู แล้วอนาคตของชาติจะอยู่ที่ตรงไหน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย คงต้องช่วยกันหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุดครับ