นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บีทีเอส เปิดเผยถึงการเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม ว่า จากที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดตัวบัตรแมงมุมแล้วแต่ยังใช้กับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสไม่ได้นั้น เนื่องจากเป็นแมงมุมเวอร์ชั่น 1 ซึ่งฟรม.จะปรับเป็น ระบบแมงมุม 4.0 ซึ่ง เทคโนโลยีบัตรแบบ EMV (Euro Master and Visa) Contactless Smart Card (Open Loop) ซึ่งจะมีการหารือกันผ่านคณะกรรมการตั๋วร่วม ซึ่งมีธนาคารกรุงไทย เป็นตัวกลาง ซึ่ง บีทีเอสยังมีคำถาม อีกหลายประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ทั้งเรื่องเทคนิค วิธีการ ต่างๆ เช่น การรายงานปริมาณผู้โดยสาร ในแต่ละวันต่อ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะผู้กำกับดูแลสัญญาสัมปทาน การจัดส่งรายได้ การจัดเก็บและอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ทั้งนี้ บีทีเอสยินดีเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม แต่เห็นว่า การปรับระบบปัจจุบันไปสู่แมงมุม เวอร์ชั่น 1 และปรับเป็นระบบ EMV ในอนาคตอีก อาจจะไม่ได้ประโยชน์จริง และยังมีต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับการปรับจากปัจจุบันไปสู่ บัตร EMV เลย ดังนั้นจึงขอเจรจารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆกับ กรุงไทยให้เรียบร้อยก่อน ส่วนการปรับปรุงหัวอ่านต่างๆนั้น จะใช้เวลาประมาณ 12 เดือน ซึ่งตามแผน EMV จะใช้ได้ประมาณ เดือนธ.ค. 2562 อยู่แล้ว
“เรามีข้อสงสัยที่ต้องถามเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนทั้งเรื่องเทคนิค และธุรกิจ ยืนยันยืนดีเข้าร่วม แต่ถ้าปรับตอนนี้ไปเป็นแมงมุมเวอร์ชั่น 1 ตามที่รฟม.ต้องการ คงไม่ได้ประโยชน์ อีกทั้ง ระบบของบีทีเอสแตกต่างจากรถไฟฟ้า MRT และแอร์พอร์ตลิงก์ ที่เป็นเครือข่ายที่ใกล้กับ แมงมุม จึงปรับได้ง่ายกว่า “นายสุรพงษ์กล่าว
ที่มา :
https://m.mgronline.com/business/detail/9610000063195
บีทีเอสแจงยื้อตั๋วร่วม รอเคลียร์เงื่อนไขธุรกิจ ลงตัวพร้อมอัพเกรด EMV”แมงมุม4.0”
ทั้งนี้ บีทีเอสยินดีเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม แต่เห็นว่า การปรับระบบปัจจุบันไปสู่แมงมุม เวอร์ชั่น 1 และปรับเป็นระบบ EMV ในอนาคตอีก อาจจะไม่ได้ประโยชน์จริง และยังมีต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับการปรับจากปัจจุบันไปสู่ บัตร EMV เลย ดังนั้นจึงขอเจรจารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆกับ กรุงไทยให้เรียบร้อยก่อน ส่วนการปรับปรุงหัวอ่านต่างๆนั้น จะใช้เวลาประมาณ 12 เดือน ซึ่งตามแผน EMV จะใช้ได้ประมาณ เดือนธ.ค. 2562 อยู่แล้ว
“เรามีข้อสงสัยที่ต้องถามเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนทั้งเรื่องเทคนิค และธุรกิจ ยืนยันยืนดีเข้าร่วม แต่ถ้าปรับตอนนี้ไปเป็นแมงมุมเวอร์ชั่น 1 ตามที่รฟม.ต้องการ คงไม่ได้ประโยชน์ อีกทั้ง ระบบของบีทีเอสแตกต่างจากรถไฟฟ้า MRT และแอร์พอร์ตลิงก์ ที่เป็นเครือข่ายที่ใกล้กับ แมงมุม จึงปรับได้ง่ายกว่า “นายสุรพงษ์กล่าว
ที่มา : https://m.mgronline.com/business/detail/9610000063195