ปะ เรามารวมตังกันไปเที่ยวอวกาศ

ไปเที่ยวอวกาศกันไหม เตรียมเงิน 1,800 ล้านบาทแล้วไปจองตั๋วกัน
"เดินทางไปกับเรา สิบวันหรรษาบนวงโคจรกับสถานีอวกาศนานาชาติ"

การเที่ยวอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เมื่อบริษัทแอกเซียมสเปซ ซึ่งเป็นบริษัทมีสำนักนักงานใหญ่อยู่ในฮูสตัน ประกาศแผนที่จะสร้างสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวเป็นแห่งแรก

แต่ใครจะไปก็ต้องกระเป๋าหนักสักหน่อย เพราะค่าทัวร์ของแอกเซียมสเปซสูงลิบลิ่วถึง 55 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,800 ล้านบาทไทย) รวมค่าที่พักในวงโคจร ค่าเดินทางไปกลับระหว่างโลกกับสถานีอวกาศ และค่าฝึกซ้อมการเป็นมนุษย์อวกาศเป็นเวลา 15 สัปดาห์

แอกเซียมสเปซไม่ใช่มือใหม่ในแวดวงอวกาศ ประธานกรรมการของบริษัทคือ ไมเคิล ซัฟเฟรดินี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารโครงการสถานีอวกาศที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซามาเป็นเวลาถึงสิบปี




สถานีอวกาศของแอกเซียมสเปซในช่วงเริ่มแรกจะเป็นมอดูลที่จะไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ คาดว่าขั้นตอนนี้จะพร้อมสำหรับลูกทัวร์ในปี 2565 และเมื่อถึงคราวที่สถานีอวกาศนานาชาติต้องปลดระวาง มอดูลของแอกเซียมสเปซจะแยกตัวออกมาเป็นอิสระ เป็นสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ ปล่อยให้สถานีอวกาศนานาชาติดำดิ่งใส่โลกไป

ภาพวาดในจินตนาการของศิลปินของสถานีอวกาศของแอกเซียมสเปซ หลังจากที่เป็นอิสระจากสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว (จาก Axiom Space)
  
ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดวันปลดระวางของสถานีอวกาศนานาชาติ งบดำเนินการปัจจุบันเพียงพอให้สถานีนี้คงอยู่ได้ไปจนถึงปี 2567 เป็นอย่างน้อย และเป็นไปได้ว่าจะได้รับการต่ออายุออกไปอีก

แน่นอนว่าสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวต้องมีการตกแต่งให้น่าอยู่ จะทำแบบรก ๆ เหมือนสถานีอวกาศนานาชาติไม่ได้ แอกเซียมสเปซปล่อยให้การออกแบบตกแต่งภายในอยู่ในความรับผิดชอบของ ฟิลิปส์ สตาร์ก สถาปนิกชื่อดังชาวฝรั่งเศส ดังนั้นหน้าตาของสถานีย่อมต่างไปจากส่วนอื่นของสถานีอวกาศนานาชาติ

การท่องเที่ยวอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตเคยมีนักท่องเที่ยวไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติมาแล้วเจ็ดคน หนึ่งในนั้นเดินทางไปถึงสองรอบ ในการเดินทางแต่ละครั้งนักท่องเที่ยวต้องควักเงินจ่ายประมาณ 20 - 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 700-1,400 ล้านบาทไทย)

แอกเซียมสเปซไม่ใช่บริษัทเดียวที่กำลังบุกตลาดเที่ยวอวกาศ โอไรอันสแปน ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีแผนจะสร้างโรงแรมหรูกลางอวกาศ มีกำหนดจะสร้างเสร็จในปี 2565 บิเกโลว์แอโรสเปซ บริษัทผู้พัฒนาที่พักอาศัยในอวกาศแบบยืดขยายได้ ก็ประกาศจะสู้ธุรกิจนี้เช่นเดียวกัน
"เดินทางไปกับเรา สิบวันหรรษาบนวงโคจรกับสถานีอวกาศนานาชาติ"

การเที่ยวอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เมื่อบริษัทแอกเซียมสเปซ ซึ่งเป็นบริษัทมีสำนักนักงานใหญ่อยู่ในฮูสตัน ประกาศแผนที่จะสร้างสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวเป็นแห่งแรก

แต่ใครจะไปก็ต้องกระเป๋าหนักสักหน่อย เพราะค่าทัวร์ของแอกเซียมสเปซสูงลิบลิ่วถึง 55 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,800 ล้านบาทไทย) รวมค่าที่พักในวงโคจร ค่าเดินทางไปกลับระหว่างโลกกับสถานีอวกาศ และค่าฝึกซ้อมการเป็นมนุษย์อวกาศเป็นเวลา 15 สัปดาห์

แอกเซียมสเปซไม่ใช่มือใหม่ในแวดวงอวกาศ ประธานกรรมการของบริษัทคือ ไมเคิล ซัฟเฟรดินี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารโครงการสถานีอวกาศที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซามาเป็นเวลาถึงสิบปี




สถานีอวกาศของแอกเซียมสเปซในช่วงเริ่มแรกจะเป็นมอดูลที่จะไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ คาดว่าขั้นตอนนี้จะพร้อมสำหรับลูกทัวร์ในปี 2565 และเมื่อถึงคราวที่สถานีอวกาศนานาชาติต้องปลดระวาง มอดูลของแอกเซียมสเปซจะแยกตัวออกมาเป็นอิสระ เป็นสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ ปล่อยให้สถานีอวกาศนานาชาติดำดิ่งใส่โลกไป

ภาพวาดในจินตนาการของศิลปินของสถานีอวกาศของแอกเซียมสเปซ หลังจากที่เป็นอิสระจากสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว (จาก Axiom Space)
  
ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดวันปลดระวางของสถานีอวกาศนานาชาติ งบดำเนินการปัจจุบันเพียงพอให้สถานีนี้คงอยู่ได้ไปจนถึงปี 2567 เป็นอย่างน้อย และเป็นไปได้ว่าจะได้รับการต่ออายุออกไปอีก

แน่นอนว่าสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวต้องมีการตกแต่งให้น่าอยู่ จะทำแบบรก ๆ เหมือนสถานีอวกาศนานาชาติไม่ได้ แอกเซียมสเปซปล่อยให้การออกแบบตกแต่งภายในอยู่ในความรับผิดชอบของ ฟิลิปส์ สตาร์ก สถาปนิกชื่อดังชาวฝรั่งเศส ดังนั้นหน้าตาของสถานีย่อมต่างไปจากส่วนอื่นของสถานีอวกาศนานาชาติ

การท่องเที่ยวอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตเคยมีนักท่องเที่ยวไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติมาแล้วเจ็ดคน หนึ่งในนั้นเดินทางไปถึงสองรอบ ในการเดินทางแต่ละครั้งนักท่องเที่ยวต้องควักเงินจ่ายประมาณ 20 - 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 700-1,400 ล้านบาทไทย)

แอกเซียมสเปซไม่ใช่บริษัทเดียวที่กำลังบุกตลาดเที่ยวอวกาศ โอไรอันสแปน ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีแผนจะสร้างโรงแรมหรูกลางอวกาศ มีกำหนดจะสร้างเสร็จในปี 2565 บิเกโลว์แอโรสเปซ บริษัทผู้พัฒนาที่พักอาศัยในอวกาศแบบยืดขยายได้ ก็ประกาศจะสู้ธุรกิจนี้เช่นเดียวกัน"เดินทางไปกับเรา สิบวันหรรษาบนวงโคจรกับสถานีอวกาศนานาชาติ"

การเที่ยวอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เมื่อบริษัทแอกเซียมสเปซ ซึ่งเป็นบริษัทมีสำนักนักงานใหญ่อยู่ในฮูสตัน ประกาศแผนที่จะสร้างสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวเป็นแห่งแรก

แต่ใครจะไปก็ต้องกระเป๋าหนักสักหน่อย เพราะค่าทัวร์ของแอกเซียมสเปซสูงลิบลิ่วถึง 55 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,800 ล้านบาทไทย) รวมค่าที่พักในวงโคจร ค่าเดินทางไปกลับระหว่างโลกกับสถานีอวกาศ และค่าฝึกซ้อมการเป็นมนุษย์อวกาศเป็นเวลา 15 สัปดาห์

แอกเซียมสเปซไม่ใช่มือใหม่ในแวดวงอวกาศ ประธานกรรมการของบริษัทคือ ไมเคิล ซัฟเฟรดินี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารโครงการสถานีอวกาศที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซามาเป็นเวลาถึงสิบปี




สถานีอวกาศของแอกเซียมสเปซในช่วงเริ่มแรกจะเป็นมอดูลที่จะไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ คาดว่าขั้นตอนนี้จะพร้อมสำหรับลูกทัวร์ในปี 2565 และเมื่อถึงคราวที่สถานีอวกาศนานาชาติต้องปลดระวาง มอดูลของแอกเซียมสเปซจะแยกตัวออกมาเป็นอิสระ เป็นสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ ปล่อยให้สถานีอวกาศนานาชาติดำดิ่งใส่โลกไป

ภาพวาดในจินตนาการของศิลปินของสถานีอวกาศของแอกเซียมสเปซ หลังจากที่เป็นอิสระจากสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว (จาก Axiom Space)
  
ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดวันปลดระวางของสถานีอวกาศนานาชาติ งบดำเนินการปัจจุบันเพียงพอให้สถานีนี้คงอยู่ได้ไปจนถึงปี 2567 เป็นอย่างน้อย และเป็นไปได้ว่าจะได้รับการต่ออายุออกไปอีก

แน่นอนว่าสถานีอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวต้องมีการตกแต่งให้น่าอยู่ จะทำแบบรก ๆ เหมือนสถานีอวกาศนานาชาติไม่ได้ แอกเซียมสเปซปล่อยให้การออกแบบตกแต่งภายในอยู่ในความรับผิดชอบของ ฟิลิปส์ สตาร์ก สถาปนิกชื่อดังชาวฝรั่งเศส ดังนั้นหน้าตาของสถานีย่อมต่างไปจากส่วนอื่นของสถานีอวกาศนานาชาติ

การท่องเที่ยวอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตเคยมีนักท่องเที่ยวไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติมาแล้วเจ็ดคน หนึ่งในนั้นเดินทางไปถึงสองรอบ ในการเดินทางแต่ละครั้งนักท่องเที่ยวต้องควักเงินจ่ายประมาณ 20 - 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 700-1,400 ล้านบาทไทย)

แอกเซียมสเปซไม่ใช่บริษัทเดียวที่กำลังบุกตลาดเที่ยวอวกาศ โอไรอันสแปน ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีแผนจะสร้างโรงแรมหรูกลางอวกาศ มีกำหนดจะสร้างเสร็จในปี 2565 บิเกโลว์แอโรสเปซ บริษัทผู้พัฒนาที่พักอาศัยในอวกาศแบบยืดขยายได้ ก็ประกาศจะสู้ธุรกิจนี้เช่นเดียวกัน
เครดิตมติชนออนไลน์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่