Restoring Life to the Aral Sea Dead Zone
เมือง Moynaq เคยเป็นท่าเรือประมงหลักของ Uzbekistan ใน Aral Sea
การสูญเสีย
Aral Sea ในเอเซียกลาง คือ หายนะทางระบบนิเวศ
มลพิษสารเคมีที่ตกค้างในท้องทะเลเดิมที่กลายเป็นทราย
นำมาสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ทารกถึงวัยชรา
จึงนำมาสู่โครงการที่มุ่งมั่นตั้งใจของชาวบ้าน
ในการปลูกต้นไม้นับล้านต้นที่ Karakalpak ใน Uzbekistan
Almas Tolvashev ชายชราวัย 78 ปี
กำลังเดินผ่านพื้นทรายไปยังเรือประมงลำเก่าแก่ที่ขึ้นสนิม
แต่เดิมมีประภาคารเตือนภัยในท้องทะเลมากกว่า 10 อาคาร
เป็นการบ่งบอกถึงความรุ่งโรจน์ธุรกิจประมงในทะเลอารัล
" ประวัติศาสตร์ชาวบ้าน Karakalpak เริ่มต้นที่ท้องทะเล
การจับปลาคือ เรื่องแรกที่พ่อสอนลูกชาย " อดีตชาวประมง
Moynaq คือ หัวใจของ
Karakalpakstan
เขตปกครองพิเศษภายใน
Uzbekistan
วันวานที่รุ่งโรจน์ในอดีต
ปลาที่ Uzbekistan 98% มาจากที่นี่
Almas Tolvashev อดีตชาวประมงวัย 78 ปีกับหลานสาว
" ผมคือ ไต้ก๋งเรือมุสลิมคนแรกใน Moynaq
และเรือของผมชื่อว่า Volga
ไต้ก๋งเรือมักจะเป็นคนเชื้อสายรัสเซีย
(ที่นับถือศาสนาคริสต์/ไม่มีศาสนา)
ที่นี่เคยมีเรือประมง 250 ลำ
ผมเคยจับปลาได้วันละ 600-700 กิโลกรัม
แต่ตอนนี้ไม่มีทะเลแล้ว " Almas Tolvashev
ในช่วงปลายปี 1960 พื้นที่ Aral Sea เริ่มหดหาย
ช่วงสหภาพโซเวียตรัสเซียได้ผันน้ำจากแม่น้ำหลัก 2 สาย ไปป้อนไร่ฝ้ายขนาดมหึมา
เพราะศูนย์กลางอำนาจมอสโคววางแผนผลิตฝ้ายให้ได้จำนวนมาก
ทำให้น้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลเหือดแห้งไปมาก
เพราะผลผลิตฝ้ายทั้งปริมาณและราคาที่พุ่งอย่างแรง
ทำให้ศูนย์กลางอำนาจที่ Kremlin ไม่ยอมรับรู้หรือใส่ใจกับปัญหานี้
แม้ว่าชาวบ้านจะปักไม้บนพื้นทะเลเดิมเพื่อบ่งชี้/พิสูจน์การหายไปของทะเล
แต่ก็ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐแต่อย่างใด
ท้องทะเล Moynaq ตอนนี้กลายเป็นสุสานเรือประมง
เมื่อปริมาตรของน้ำลดลง ความเค็มก็เพิ่มขึ้น
ทำให้ท้องทะเลยิ่งแย่ลงไปอย่างแรง
" ปริมาณปลาก็ลดลง ท้ายสุดเราก็จับได้แต่ปลาตาย
คนหนุ่มสาวต้องอพยพไปทำมาหากินในประเทศอื่น "
Aral Sea เหลือพื้นที่เพียง 10% จากเดิม
ผืนน้ำเดิมที่เคยมีขนาดเทียบเท่าประเทศ Ireland ก็หายไป
เท่านั้นยังไม่พอ วิถีชีวิตชาวบ้านยังได้รับผลกระทบไปด้วย
ไต้ก๋งเรือโบกมือไปมาเหนือศีรษะ
" มันไม่เหมือนเดิม อากาศก็แย่ เต็มไปด้วยฝุ่นในอากาศ "
หลายชีวิตตกอยู่ในอันตราย
ตอนที่ นายแพทย์ Yuldashbay Dosimov มาทำงานที่โรงพยาบาล Moynaq ครั้งแรก
ในช่วงปลายปี 1980 ชายฝั่งทะเลอยู่ห่างออกไปถึง 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) แล้ว
ท่านยังจำได้ถึงอาการเจ็บป่วยที่เป็นกันมากในพื้นที่นี้
" ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ วัณโรคและโรคไต เป็นกันมากในเขตพื้นที่นี้
จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เด็ก ๆ หลายคนตายด้วยอาการท้องร่วง "
เรื่องเลวร้ายนี้ ทางการสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ที่วางแผนผลิตและขยายอุตสาหกรรมฝ้ายใน Uzbekistan กับ Kazakhstan
ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนเลยว่า สารเคมีกำจัดวัชพืชและสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ปลูกฝ้าย
จะไหลลง/ปนเปื้อนสายน้ำที่อยู่ล้อมรอบแล้วจบลงที่ทะเลอารัล
ทะเลอารัล ลดลงเหลือเพียง 10% จากเดิม
น้ำดื่มที่ปนเปื้อนมลพิษ คือ สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ นานา
และเรื่องนี้ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อน้ำลดน้อยถอยลง
ทะเลยิ่งแห้งขึ้น สารเคมีพิษจากอุตสาหกรรมฝ้ายก็ยิ่งตกตะกอน
ยิ่งสะสมลงในท้องทะเลมากขึ้น ก่อนที่จะแห้งแล้งเหลือแต่ทราย
สายลมที่พัดผ่าน ยิ่งเป็นพายุทราย ยิ่งกระจายฝุ่นไปกว้างไกล
ยิ่งกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่กว้างไกลยิ่งขึ้น
ชาวบ้านต่างประสบกับปัญหาสุขภาพมากมาย
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาการเจริญเติบโตที่แคระแกรน
การแพร่กระจายของโรคปอดและโรคหัวใจ
ตลอดจนอัตราที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในชาวบ้านแถบนี้
จากรายงานสรุปผลการศึกษาในเอกสารชุดหนึ่ง
ได้ระบุว่า อ้ตราการเกิดโรคมะเร็งตับ
เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงปี 1981 ถึง 1991
รายงานสรุปผลการตรวจสอบอีกชุดหนึ่ง
พบว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1990
มีทารกแรกเกิดเสียชีวิต 60-110 รายจาก 1,000 ราย
สูงกว่าใน Uzbekistan (48 ราย/1,000 ราย)
และในรัสเซีย (24 ราย/1,000 ราย)
สารกำจัดวัชพืช/สารกำจัดศัตรูพืชจากเขตปลูกฝ้ายอุซเบกิสถาน สะสมบนท้องทะเลเดิม
มันกินเวลาเนิ่นนานหลาย 10 ปีทีเดียว
กว่าสาเหตุของโรคเหล่านี้ที่เคยเป็นความลับดำมืดจึงได้รับการเปิดเผย
หลังจากที่สหภาพโซเวียตรัสเซียล่มสลายแตกกระจายเป็นหลายประเทศ
เจ้าหน้าที่รัฐจึงยอมรับทราบถึงการหายไปของทะเลอารัล
หลังจากที่ Uzbekistan ได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศอิสระ
หลังจากที่ได้ข้อมูลสรุปชี้ชัดถึงปัญหาดังกล่าว
ทางการกับชาวบ้านจึงเริ่มทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
และนี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ นายแพทย์ Yuldashbay Dosimov หวังว่า
จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน Karakalpak ได้อย่างมาก
" พวกเขาต้องลดผลกระทบจากการแห้งแล้งของท้องทะเลเดิม
ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้คน และนั่นคือ เหตุผลที่ว่า
ทำไมพวกเขาจึงปลูกต้น
Saxaul "
ผืนป่าบนท้องทะเลเดิม
ระยะทางหลายกิโลเมตรจาก Moynaq
รถแทรกเตอร์ 2 คัน กำลังตะลุยข้ามขอบฟ้า
ด้วยการคราดดินเป็นแนวยาวลงไปในท้องทะเลเดิม
ที่กลายเป็นดินเค็มเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา
และเดิมจะอยู่ที่ใต้น้ำประมาณ 25 เมตร (80 ฟุต)
รัฐบาลหวังว่าต้นไม้ Saxaul หลายล้านต้น จะสามารถหยุดการแพร่กระจายมลพิษในชั้นบรรยากาศได้
ที่ด้านหลังของรถแทรกเตอร์แต่ละคัน
จะมีชายหนุ่มกำเมล็ดพืชหนึ่งกำมือ
แล้วค่อย ๆ หยอดเมล็ดพืชลงไปในรอยไถคราด
" ไม่ว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก
เรามีเวลา 2 สัปดาห์ในการปลูกให้ได้ 1 เฮกตาร์ (ราว 6 ไร่)
และอีกไม่นาน อากาศจะหนาวเย็นและมีฝนตก
แต่เราจะไม่ล้มเลิกงานนี้จนกว่าเราจะบรรลุเป้าหมายของพวกเรา " คนงานรายหนึ่ง
คนงานกำลังหย่อนเมล็ด Saxaul ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้พุ่ม
เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองในเขตพื้นที่ทะเลทรายเอเซียตอนกลาง
และตอนนี้กลายเป็นแนวรั้วป้องกันทะเลทราย
และช่วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน Uzbekistan ได้ส่วนหนึ่ง
" ต้น Saxaul ที่เติบโตเต็มที่แล้ว
สามารถปรับปรุงคุณภาพดินรอบ ๆ รากมันถึง 10 ตัน/ต้น"
Orazbay Allanazarov ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกต้นไม้
(ต้นไม้จะค่อย ๆ ดูดซึมเกลือ/มลพิษขึ้นมาตามรากลำต้นและใบ
แล้วค่อย ๆ ระบายออกทางใบและลำต้นทีละเล็กทีละน้อย
โดยระเหยขึ้นไปปะปนกับไอน้ำในอากาศ ก่อนสายลมจะพัดพาไปที่อื่น
เกลือจัดว่าเป็นปุ๋ยชาวบ้านในบางพื้นที่ แต่ต้องใส่ในปริมาณน้อย ๆ
เช่น สวนมะพร้าว สวนยางพาราคนจีนภาคใต้บางแห่ง)
ต้นไม้พวกนี้จะหยุดยั้งลม
ที่จะพัดพาทรายที่ปนเปื้อนมลพิษจากท้องทะเลเดิมที่แห้งแล้ง
แล้วแพร่กระจายไปบนชั้นบรรยากาศด้านบน
โดยมีโครงการจะปลูกต้นไม้นี้ให้เป็นป่าไม้
เพื่อให้ครอบคลุมท้องทะเลเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Orazbay Allanazarov เชื่อว่า ต้น Saxual จะสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตชาวบ้าน Karakalpak ใน Uzbekistan
" ณ ที่แห่งนี้ แค่ต้นไม้หนึ่งในสองต้น รอดชีวิตมาได้ ก็ถือว่าเป็นข่าวดี
เราเลือกต้น Saxaul เพราะพวกมันทั้งทนทั้งถึก
สามารถอยู่รอดได้ในดินที่แห้งแล้งและดินเค็ม
มันเป็นโครงการระยะยาว - แถวนี้ของต้น Saxauls ปลูกมา 5 ปีแล้ว "
ท่านไม่ได้ซ่อนความตื่นเต้นบนใบหน้า
ในขณะที่ชี้ไปยังแถวของพุ่มไม้สีเทาขาวที่สูงราว 2 เมตรครึ่ง
การปลูกต้น Saxaul บนท้องทะเลเดิมของ Aral Sea เป็นกระบวนการที่ยาวนานและเชื่องช้ามาก
ถ้ากระบวนการปลูกป่าที่ทำกันในแบบทุกวันนี้
คงต้องใช้เวลาถึง 150 ปีจึงจะสร้างผืนป่าบนพื้นที่นี้ได้
" เราทำงานกันอย่างช้ามาก
เราจำเป็นต้องเร่งการปลูกป่า
แต่เราจำเป็นต้องใช้เงินมาก
และความช่วยเหลือจากต่างชาติเช่นกัน " Orazbay Allanazarov
ทั้งไต้ก๋งเรือ Almas Tolvashev กับ Orazbay Allanazarov
ต่างยอมรับว่า Aral Sea คงไม่กล้บมาเหมือนเดิมอีกแน่
แต่อย่างน้อยในตอนนี้ ยังมีความหวังบางอย่างที่ชาวบ้าน Karakalpak
จะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
หลังจากวิถีชีวิตถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เพราะรัฐเผด็จการโซเวียตรัสเซียบังคับชาวบ้าน
ให้ทำการปลูกฝ้ายมากกว่าการทำประมง
เรียบเรียง/ที่มา
https://bbc.in/2ykGitf
How Soviet pollution destroyed the Aral Sea
Aral Sea ในปี 1989 (ซ้าย) ในปี 2014 (ขวา)
หมายเหตุ
ในตอนนี้ทั้งอุซเบกีสถาน/คาซัคสถาน
ต่างได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อเติมน้ำจืดลงในทะเลอารัล
แต่การกลับคืนสภาพเป็นทะเลเหมือนเดิมคงทำได้ยากมาก
เพราะพื้นที่เสียหายและแห้งแล้งไปมากแล้ว
เรื่องเล่าไร้สาระ
การแย่งชิงน้ำมีในหลายชาติ
จีนเป็นชาติที่หน้าด้านใจดำที่สุด
โดยปิดกั้นแม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน
ด้วยการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ
ทำให้มีผลกระทบลาว ไทย เขมร เวียตนาม และพม่า
ลาวจะปิดกั้นแม่น้ำที่ไหลลงไปเวียตนาม
ต้องให้เวียตนามยินยอมมิฉะนั้นเป็นเรื่องแน่
สหรัฐอเมริกาใช้น้ำในรัฐต่าง ๆ ของตน
จนแม่น้ำที่ไหลไปเม็กซิโกแทบไม่เหลือเลย
ยิวก็ทำตนเป็นอันธพาลกักเก็บน้ำจืดไว้
จนประเทศข้างเคียงแทบไม่มีน้ำใช้เลยในตอนนี้
ซูดานเคยคิดจะสร้างเขื่อนกักเก็บแม่น้ำไนล์
แต่อียิปต์ไม่ยอมพร้อมทำสงคราม เลยต้องยุติเรื่องนี้
ที่ภาคใต้ สถานที่ตั้งพระบรมธาตุ
ที่นครศรีธรรมราช วัดจะทิ้งพระ วัดพะโคะ วัดเจดีย์งามที่ระโนฎ
เดิมอยู่ใกล้กับทะเลมากกว่าทุกวันนี้
แต่ตอนนี้ชายหาดอยู่ไกลจากเดิมมาก
เพราะมีรายงานสำรวจชั้นดินบริเวณนี้
ก่อนที่จะมีการบูรณะพระบรมธาตุ
ที่แถบจะทิ้งพระ ระโนฎ(ตะโนด เขมร)
ต้นตาลโตนดมักปลูกเป็นแนวดินคันนา
เดิมมีคำเชิงดูถูกคนแถบนี้ว่า พวกบก
นัยว่า พวกบ้านนอกคอกนา อยู่ห่างไกลจากความเจริญ
เพราะอยู่ไกลจากนครศรีธรรมราชกับสงขลา
การเดินทางไปมาในสมัยก่อนต้องใช้เรือมากกว่าเดินเท้า
ส่วนทางทะเลในหน้ามรสุมก็เดินทางไม่ได้แล้ว
แต่จริง ๆ คือ พื้นดินงอกออกไปรุกล้ำทะเลมาก
จนกลายเป็นสภาพบนบกมากกว่าทะเล
ยังมีร่องรอยทางน้ำในทะเลน้อยที่ไหลออกทะเลด้านอ่าวไทย
ตรงแถวจังหวัดพัทลุงในแผนที่สมัยโบราณ
แต่บางคนว่าน่าจะเป็นช่วงน้ำท่วมมากกว่า
อนึ่ง แม้ว่าจะมีข้อเสนอแนะให้มีการขุดลอกทะเลสาบสงขลา
จะช่วยในการกักเก็บน้ำจืดและลดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่
เพราะตื้นเขินไปมากแล้วจากตะกอนดินที่ทับถม/การสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ
แต่ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องนี้ เพราะมีการคัดค้านกันมาก
จากชาวประมงพื้นบ้าน NGO และคนเลี้ยง
ควายน้ำ ในทะเลน้อย
ฟื้นคืนชีพท้องทะเลอารัลที่ตายแล้ว
Restoring Life to the Aral Sea Dead Zone
เมือง Moynaq เคยเป็นท่าเรือประมงหลักของ Uzbekistan ใน Aral Sea
การสูญเสีย Aral Sea ในเอเซียกลาง คือ หายนะทางระบบนิเวศ
มลพิษสารเคมีที่ตกค้างในท้องทะเลเดิมที่กลายเป็นทราย
นำมาสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ทารกถึงวัยชรา
จึงนำมาสู่โครงการที่มุ่งมั่นตั้งใจของชาวบ้าน
ในการปลูกต้นไม้นับล้านต้นที่ Karakalpak ใน Uzbekistan
Almas Tolvashev ชายชราวัย 78 ปี
กำลังเดินผ่านพื้นทรายไปยังเรือประมงลำเก่าแก่ที่ขึ้นสนิม
แต่เดิมมีประภาคารเตือนภัยในท้องทะเลมากกว่า 10 อาคาร
เป็นการบ่งบอกถึงความรุ่งโรจน์ธุรกิจประมงในทะเลอารัล
" ประวัติศาสตร์ชาวบ้าน Karakalpak เริ่มต้นที่ท้องทะเล
การจับปลาคือ เรื่องแรกที่พ่อสอนลูกชาย " อดีตชาวประมง
Moynaq คือ หัวใจของ Karakalpakstan
เขตปกครองพิเศษภายใน Uzbekistan
วันวานที่รุ่งโรจน์ในอดีต
ปลาที่ Uzbekistan 98% มาจากที่นี่
Almas Tolvashev อดีตชาวประมงวัย 78 ปีกับหลานสาว
" ผมคือ ไต้ก๋งเรือมุสลิมคนแรกใน Moynaq
และเรือของผมชื่อว่า Volga
ไต้ก๋งเรือมักจะเป็นคนเชื้อสายรัสเซีย
(ที่นับถือศาสนาคริสต์/ไม่มีศาสนา)
ที่นี่เคยมีเรือประมง 250 ลำ
ผมเคยจับปลาได้วันละ 600-700 กิโลกรัม
แต่ตอนนี้ไม่มีทะเลแล้ว " Almas Tolvashev
ในช่วงปลายปี 1960 พื้นที่ Aral Sea เริ่มหดหาย
ช่วงสหภาพโซเวียตรัสเซียได้ผันน้ำจากแม่น้ำหลัก 2 สาย ไปป้อนไร่ฝ้ายขนาดมหึมา
เพราะศูนย์กลางอำนาจมอสโคววางแผนผลิตฝ้ายให้ได้จำนวนมาก
ทำให้น้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลเหือดแห้งไปมาก
เพราะผลผลิตฝ้ายทั้งปริมาณและราคาที่พุ่งอย่างแรง
ทำให้ศูนย์กลางอำนาจที่ Kremlin ไม่ยอมรับรู้หรือใส่ใจกับปัญหานี้
แม้ว่าชาวบ้านจะปักไม้บนพื้นทะเลเดิมเพื่อบ่งชี้/พิสูจน์การหายไปของทะเล
แต่ก็ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐแต่อย่างใด
ท้องทะเล Moynaq ตอนนี้กลายเป็นสุสานเรือประมง
เมื่อปริมาตรของน้ำลดลง ความเค็มก็เพิ่มขึ้น
ทำให้ท้องทะเลยิ่งแย่ลงไปอย่างแรง
" ปริมาณปลาก็ลดลง ท้ายสุดเราก็จับได้แต่ปลาตาย
คนหนุ่มสาวต้องอพยพไปทำมาหากินในประเทศอื่น "
Aral Sea เหลือพื้นที่เพียง 10% จากเดิม
ผืนน้ำเดิมที่เคยมีขนาดเทียบเท่าประเทศ Ireland ก็หายไป
เท่านั้นยังไม่พอ วิถีชีวิตชาวบ้านยังได้รับผลกระทบไปด้วย
ไต้ก๋งเรือโบกมือไปมาเหนือศีรษะ
" มันไม่เหมือนเดิม อากาศก็แย่ เต็มไปด้วยฝุ่นในอากาศ "
หลายชีวิตตกอยู่ในอันตราย
ตอนที่ นายแพทย์ Yuldashbay Dosimov มาทำงานที่โรงพยาบาล Moynaq ครั้งแรก
ในช่วงปลายปี 1980 ชายฝั่งทะเลอยู่ห่างออกไปถึง 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) แล้ว
ท่านยังจำได้ถึงอาการเจ็บป่วยที่เป็นกันมากในพื้นที่นี้
" ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ วัณโรคและโรคไต เป็นกันมากในเขตพื้นที่นี้
จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เด็ก ๆ หลายคนตายด้วยอาการท้องร่วง "
เรื่องเลวร้ายนี้ ทางการสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ที่วางแผนผลิตและขยายอุตสาหกรรมฝ้ายใน Uzbekistan กับ Kazakhstan
ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนเลยว่า สารเคมีกำจัดวัชพืชและสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ปลูกฝ้าย
จะไหลลง/ปนเปื้อนสายน้ำที่อยู่ล้อมรอบแล้วจบลงที่ทะเลอารัล
ทะเลอารัล ลดลงเหลือเพียง 10% จากเดิม
น้ำดื่มที่ปนเปื้อนมลพิษ คือ สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ นานา
และเรื่องนี้ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อน้ำลดน้อยถอยลง
ทะเลยิ่งแห้งขึ้น สารเคมีพิษจากอุตสาหกรรมฝ้ายก็ยิ่งตกตะกอน
ยิ่งสะสมลงในท้องทะเลมากขึ้น ก่อนที่จะแห้งแล้งเหลือแต่ทราย
สายลมที่พัดผ่าน ยิ่งเป็นพายุทราย ยิ่งกระจายฝุ่นไปกว้างไกล
ยิ่งกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่กว้างไกลยิ่งขึ้น
ชาวบ้านต่างประสบกับปัญหาสุขภาพมากมาย
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาการเจริญเติบโตที่แคระแกรน
การแพร่กระจายของโรคปอดและโรคหัวใจ
ตลอดจนอัตราที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในชาวบ้านแถบนี้
จากรายงานสรุปผลการศึกษาในเอกสารชุดหนึ่ง
ได้ระบุว่า อ้ตราการเกิดโรคมะเร็งตับ
เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงปี 1981 ถึง 1991
รายงานสรุปผลการตรวจสอบอีกชุดหนึ่ง
พบว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1990
มีทารกแรกเกิดเสียชีวิต 60-110 รายจาก 1,000 ราย
สูงกว่าใน Uzbekistan (48 ราย/1,000 ราย)
และในรัสเซีย (24 ราย/1,000 ราย)
สารกำจัดวัชพืช/สารกำจัดศัตรูพืชจากเขตปลูกฝ้ายอุซเบกิสถาน สะสมบนท้องทะเลเดิม
มันกินเวลาเนิ่นนานหลาย 10 ปีทีเดียว
กว่าสาเหตุของโรคเหล่านี้ที่เคยเป็นความลับดำมืดจึงได้รับการเปิดเผย
หลังจากที่สหภาพโซเวียตรัสเซียล่มสลายแตกกระจายเป็นหลายประเทศ
เจ้าหน้าที่รัฐจึงยอมรับทราบถึงการหายไปของทะเลอารัล
หลังจากที่ Uzbekistan ได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศอิสระ
หลังจากที่ได้ข้อมูลสรุปชี้ชัดถึงปัญหาดังกล่าว
ทางการกับชาวบ้านจึงเริ่มทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
และนี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ นายแพทย์ Yuldashbay Dosimov หวังว่า
จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน Karakalpak ได้อย่างมาก
" พวกเขาต้องลดผลกระทบจากการแห้งแล้งของท้องทะเลเดิม
ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้คน และนั่นคือ เหตุผลที่ว่า
ทำไมพวกเขาจึงปลูกต้น Saxaul "
ผืนป่าบนท้องทะเลเดิม
ระยะทางหลายกิโลเมตรจาก Moynaq
รถแทรกเตอร์ 2 คัน กำลังตะลุยข้ามขอบฟ้า
ด้วยการคราดดินเป็นแนวยาวลงไปในท้องทะเลเดิม
ที่กลายเป็นดินเค็มเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา
และเดิมจะอยู่ที่ใต้น้ำประมาณ 25 เมตร (80 ฟุต)
รัฐบาลหวังว่าต้นไม้ Saxaul หลายล้านต้น จะสามารถหยุดการแพร่กระจายมลพิษในชั้นบรรยากาศได้
ที่ด้านหลังของรถแทรกเตอร์แต่ละคัน
จะมีชายหนุ่มกำเมล็ดพืชหนึ่งกำมือ
แล้วค่อย ๆ หยอดเมล็ดพืชลงไปในรอยไถคราด
" ไม่ว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก
เรามีเวลา 2 สัปดาห์ในการปลูกให้ได้ 1 เฮกตาร์ (ราว 6 ไร่)
และอีกไม่นาน อากาศจะหนาวเย็นและมีฝนตก
แต่เราจะไม่ล้มเลิกงานนี้จนกว่าเราจะบรรลุเป้าหมายของพวกเรา " คนงานรายหนึ่ง
คนงานกำลังหย่อนเมล็ด Saxaul ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้พุ่ม
เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองในเขตพื้นที่ทะเลทรายเอเซียตอนกลาง
และตอนนี้กลายเป็นแนวรั้วป้องกันทะเลทราย
และช่วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน Uzbekistan ได้ส่วนหนึ่ง
" ต้น Saxaul ที่เติบโตเต็มที่แล้ว
สามารถปรับปรุงคุณภาพดินรอบ ๆ รากมันถึง 10 ตัน/ต้น"
Orazbay Allanazarov ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกต้นไม้
(ต้นไม้จะค่อย ๆ ดูดซึมเกลือ/มลพิษขึ้นมาตามรากลำต้นและใบ
แล้วค่อย ๆ ระบายออกทางใบและลำต้นทีละเล็กทีละน้อย
โดยระเหยขึ้นไปปะปนกับไอน้ำในอากาศ ก่อนสายลมจะพัดพาไปที่อื่น
เกลือจัดว่าเป็นปุ๋ยชาวบ้านในบางพื้นที่ แต่ต้องใส่ในปริมาณน้อย ๆ
เช่น สวนมะพร้าว สวนยางพาราคนจีนภาคใต้บางแห่ง)
ต้นไม้พวกนี้จะหยุดยั้งลม
ที่จะพัดพาทรายที่ปนเปื้อนมลพิษจากท้องทะเลเดิมที่แห้งแล้ง
แล้วแพร่กระจายไปบนชั้นบรรยากาศด้านบน
โดยมีโครงการจะปลูกต้นไม้นี้ให้เป็นป่าไม้
เพื่อให้ครอบคลุมท้องทะเลเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Orazbay Allanazarov เชื่อว่า ต้น Saxual จะสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตชาวบ้าน Karakalpak ใน Uzbekistan
" ณ ที่แห่งนี้ แค่ต้นไม้หนึ่งในสองต้น รอดชีวิตมาได้ ก็ถือว่าเป็นข่าวดี
เราเลือกต้น Saxaul เพราะพวกมันทั้งทนทั้งถึก
สามารถอยู่รอดได้ในดินที่แห้งแล้งและดินเค็ม
มันเป็นโครงการระยะยาว - แถวนี้ของต้น Saxauls ปลูกมา 5 ปีแล้ว "
ท่านไม่ได้ซ่อนความตื่นเต้นบนใบหน้า
ในขณะที่ชี้ไปยังแถวของพุ่มไม้สีเทาขาวที่สูงราว 2 เมตรครึ่ง
การปลูกต้น Saxaul บนท้องทะเลเดิมของ Aral Sea เป็นกระบวนการที่ยาวนานและเชื่องช้ามาก
ถ้ากระบวนการปลูกป่าที่ทำกันในแบบทุกวันนี้
คงต้องใช้เวลาถึง 150 ปีจึงจะสร้างผืนป่าบนพื้นที่นี้ได้
" เราทำงานกันอย่างช้ามาก
เราจำเป็นต้องเร่งการปลูกป่า
แต่เราจำเป็นต้องใช้เงินมาก
และความช่วยเหลือจากต่างชาติเช่นกัน " Orazbay Allanazarov
ทั้งไต้ก๋งเรือ Almas Tolvashev กับ Orazbay Allanazarov
ต่างยอมรับว่า Aral Sea คงไม่กล้บมาเหมือนเดิมอีกแน่
แต่อย่างน้อยในตอนนี้ ยังมีความหวังบางอย่างที่ชาวบ้าน Karakalpak
จะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
หลังจากวิถีชีวิตถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เพราะรัฐเผด็จการโซเวียตรัสเซียบังคับชาวบ้าน
ให้ทำการปลูกฝ้ายมากกว่าการทำประมง
เรียบเรียง/ที่มา
https://bbc.in/2ykGitf
How Soviet pollution destroyed the Aral Sea
Aral Sea ในปี 1989 (ซ้าย) ในปี 2014 (ขวา)
หมายเหตุ
ในตอนนี้ทั้งอุซเบกีสถาน/คาซัคสถาน
ต่างได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อเติมน้ำจืดลงในทะเลอารัล
แต่การกลับคืนสภาพเป็นทะเลเหมือนเดิมคงทำได้ยากมาก
เพราะพื้นที่เสียหายและแห้งแล้งไปมากแล้ว
The Pulse Flow Reaches San Luis Rio Colorado
เรื่องเล่าไร้สาระ
การแย่งชิงน้ำมีในหลายชาติ
จีนเป็นชาติที่หน้าด้านใจดำที่สุด
โดยปิดกั้นแม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน
ด้วยการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ
ทำให้มีผลกระทบลาว ไทย เขมร เวียตนาม และพม่า
ลาวจะปิดกั้นแม่น้ำที่ไหลลงไปเวียตนาม
ต้องให้เวียตนามยินยอมมิฉะนั้นเป็นเรื่องแน่
สหรัฐอเมริกาใช้น้ำในรัฐต่าง ๆ ของตน
จนแม่น้ำที่ไหลไปเม็กซิโกแทบไม่เหลือเลย
ยิวก็ทำตนเป็นอันธพาลกักเก็บน้ำจืดไว้
จนประเทศข้างเคียงแทบไม่มีน้ำใช้เลยในตอนนี้
ซูดานเคยคิดจะสร้างเขื่อนกักเก็บแม่น้ำไนล์
แต่อียิปต์ไม่ยอมพร้อมทำสงคราม เลยต้องยุติเรื่องนี้
ที่ภาคใต้ สถานที่ตั้งพระบรมธาตุ
ที่นครศรีธรรมราช วัดจะทิ้งพระ วัดพะโคะ วัดเจดีย์งามที่ระโนฎ
เดิมอยู่ใกล้กับทะเลมากกว่าทุกวันนี้
แต่ตอนนี้ชายหาดอยู่ไกลจากเดิมมาก
เพราะมีรายงานสำรวจชั้นดินบริเวณนี้
ก่อนที่จะมีการบูรณะพระบรมธาตุ
ที่แถบจะทิ้งพระ ระโนฎ(ตะโนด เขมร)
ต้นตาลโตนดมักปลูกเป็นแนวดินคันนา
เดิมมีคำเชิงดูถูกคนแถบนี้ว่า พวกบก
นัยว่า พวกบ้านนอกคอกนา อยู่ห่างไกลจากความเจริญ
เพราะอยู่ไกลจากนครศรีธรรมราชกับสงขลา
การเดินทางไปมาในสมัยก่อนต้องใช้เรือมากกว่าเดินเท้า
ส่วนทางทะเลในหน้ามรสุมก็เดินทางไม่ได้แล้ว
แต่จริง ๆ คือ พื้นดินงอกออกไปรุกล้ำทะเลมาก
จนกลายเป็นสภาพบนบกมากกว่าทะเล
ยังมีร่องรอยทางน้ำในทะเลน้อยที่ไหลออกทะเลด้านอ่าวไทย
ตรงแถวจังหวัดพัทลุงในแผนที่สมัยโบราณ
แต่บางคนว่าน่าจะเป็นช่วงน้ำท่วมมากกว่า
อนึ่ง แม้ว่าจะมีข้อเสนอแนะให้มีการขุดลอกทะเลสาบสงขลา
จะช่วยในการกักเก็บน้ำจืดและลดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่
เพราะตื้นเขินไปมากแล้วจากตะกอนดินที่ทับถม/การสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ
แต่ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องนี้ เพราะมีการคัดค้านกันมาก
จากชาวประมงพื้นบ้าน NGO และคนเลี้ยง ควายน้ำ ในทะเลน้อย