ขณะนี้เป็นช่วงเวลาการพิจารณางบประมาณของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จขกท. จึงขอส่งผ่านความเห็นฝากถึง กมธ. เพื่อพิจารณา โดยจากการศึกษาตัวชี้วัดของสำนักงบประมาณ ที่ปรากฎในเอกสารประกอบ พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562 (เอกสารงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ฉบับที่ 3 เล่มที่ 2 หน้า 128 – 129) ตัวชี้วัดเป้าหมายการให้บริการหน่วยงานซึ่งกำหนด ไว้ว่า
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ: ส่วนราชการสามารถใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ98
ตัวชี้วัดนี้ไม่สอดคล้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (ผลผลิต+ผลลัพธ์)
โดยมีเหตุผล ดังนี้
1. เป็นตัวชี้วัดอยู่ในระดับของกระบวนการ (input – process -output- outcome) โดยการใช้จ่ายงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการไม่ได้แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ และไม่เป็นไปตามหลักการที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ตัวชี้วัดเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานเป็นระดับผลลัพธ์(อันได้แก่ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งก็คือประชาชนได้รับจากผลผลิตที่หน่วยงานจัดสร้างหรือให้บริการ) ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
2. ตัวชี้วัดเช่นนี้มีผลลบต่อระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์กล่าวคือ ถ้าต้องการให้บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัด การวิเคราะห์งบประมาณก็จะให้ความสำคัญของเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการมากกว่าที่จะให้ความสำคัญของการสร้างผลผลิต และผลลัพธ์ให้เป็นไปตามเป้าหมายการให้บริการของส่วนราชการ และในกรณีที่ส่วนราชการมีการใช้จ่ายงบประมาณต่ำก็อาจจะมีความพยายามกระตุ้นหรือเร่งรัดให้ส่วนราชการใช้จ่ายงบประมาณให้มากที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดโดยอาจไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยสมควรปรับปลี่ยนตัวชี้วัดนี้เป็น
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานไม่ต่ำกว่า ร้อยละ xx
โดยมีเหตุผล ดังนี้
1. เป็นตัวชี้วัดในระดับผลลัพธ์ (outcome) เป็นไปตามหลักการที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ตัวชี้วัดระดับเป้าหมายการให้บริการหน่วยงานเป็นตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (อันได้แก่ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งก็คือประชาชนได้รับจากผลผลิตที่หน่วยงานจัดสร้างหรือให้บริการ)ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
2. สำนักงบประมาณมีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์งบประมาณให้กับผลผลิต โครงการของส่วนราชการให้บรรลุตามเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงาน ความถูกต้อง แม่นยำในการวิเคราะห์ถือเป็นสมรรถนะหลัก (core competency) ของสำนักงบประมาณ ตัวชี้วัดนี้จึงเป็นการวัดผลงาน (Performance)ที่เหมาะสมและตัวชี้วัดนี้สอดคล้องและสนับสนุนระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์กล่าวคือถ้าต้องการให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณจะต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ความเสี่ยง ของผลผลิตและโครงการของส่วนราชการที่จะขอรับงบประมาณอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้ส่วนราชการได้รับงบประมาณไปแล้วจะต้องสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น หากยังคงใช้ตัวชี้วัดเดิมแนวโน้มของระบบงบประมาณจะกลายเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นการใช้จ่ายงบประมาณ แต่ในกรณีที่ใช้ตัวชี้วัดที่นำเสนอใหม่ ก็จะเป็นการผลักดันให้การวิเคราะห์งบประมาณต้องให้ความสำคัญของผลสัมฤทธิ์(ผลผลิต+ผลลัพธ์)ที่จะได้จากการใช้จ่ายงบประมาณอันเป็นการขับเคลื่อนระบบงบประมาณให้เข้าสู่อยู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง
จึงเรียนฝากข้อคิดเห็นถึง กมธ. เพื่อโปรดพิจารณา อนึ่ง ส่วนราชการใดที่ประสงค์จะวิเคราะห์หรือทบทวนตัวชี้วัดของหน่วยงาน จขกท. ยินดีที่จะดำเนินการวิเคราะห์และแจ้งผลให้ทราบเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
ข้อคิดเห็นฝากถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ: ส่วนราชการสามารถใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ98
ตัวชี้วัดนี้ไม่สอดคล้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (ผลผลิต+ผลลัพธ์)
โดยมีเหตุผล ดังนี้
1. เป็นตัวชี้วัดอยู่ในระดับของกระบวนการ (input – process -output- outcome) โดยการใช้จ่ายงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการไม่ได้แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ และไม่เป็นไปตามหลักการที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ตัวชี้วัดเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานเป็นระดับผลลัพธ์(อันได้แก่ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งก็คือประชาชนได้รับจากผลผลิตที่หน่วยงานจัดสร้างหรือให้บริการ) ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
2. ตัวชี้วัดเช่นนี้มีผลลบต่อระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์กล่าวคือ ถ้าต้องการให้บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัด การวิเคราะห์งบประมาณก็จะให้ความสำคัญของเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการมากกว่าที่จะให้ความสำคัญของการสร้างผลผลิต และผลลัพธ์ให้เป็นไปตามเป้าหมายการให้บริการของส่วนราชการ และในกรณีที่ส่วนราชการมีการใช้จ่ายงบประมาณต่ำก็อาจจะมีความพยายามกระตุ้นหรือเร่งรัดให้ส่วนราชการใช้จ่ายงบประมาณให้มากที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดโดยอาจไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยสมควรปรับปลี่ยนตัวชี้วัดนี้เป็น
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานไม่ต่ำกว่า ร้อยละ xx
โดยมีเหตุผล ดังนี้
1. เป็นตัวชี้วัดในระดับผลลัพธ์ (outcome) เป็นไปตามหลักการที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ตัวชี้วัดระดับเป้าหมายการให้บริการหน่วยงานเป็นตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (อันได้แก่ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งก็คือประชาชนได้รับจากผลผลิตที่หน่วยงานจัดสร้างหรือให้บริการ)ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
2. สำนักงบประมาณมีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์งบประมาณให้กับผลผลิต โครงการของส่วนราชการให้บรรลุตามเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงาน ความถูกต้อง แม่นยำในการวิเคราะห์ถือเป็นสมรรถนะหลัก (core competency) ของสำนักงบประมาณ ตัวชี้วัดนี้จึงเป็นการวัดผลงาน (Performance)ที่เหมาะสมและตัวชี้วัดนี้สอดคล้องและสนับสนุนระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์กล่าวคือถ้าต้องการให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณจะต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ความเสี่ยง ของผลผลิตและโครงการของส่วนราชการที่จะขอรับงบประมาณอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้ส่วนราชการได้รับงบประมาณไปแล้วจะต้องสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น หากยังคงใช้ตัวชี้วัดเดิมแนวโน้มของระบบงบประมาณจะกลายเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นการใช้จ่ายงบประมาณ แต่ในกรณีที่ใช้ตัวชี้วัดที่นำเสนอใหม่ ก็จะเป็นการผลักดันให้การวิเคราะห์งบประมาณต้องให้ความสำคัญของผลสัมฤทธิ์(ผลผลิต+ผลลัพธ์)ที่จะได้จากการใช้จ่ายงบประมาณอันเป็นการขับเคลื่อนระบบงบประมาณให้เข้าสู่อยู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง
จึงเรียนฝากข้อคิดเห็นถึง กมธ. เพื่อโปรดพิจารณา อนึ่ง ส่วนราชการใดที่ประสงค์จะวิเคราะห์หรือทบทวนตัวชี้วัดของหน่วยงาน จขกท. ยินดีที่จะดำเนินการวิเคราะห์และแจ้งผลให้ทราบเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป