[SPOIL] Hereditary เราลองมองในมุมต่าง

เราไปดู Hereditary มาซึ่งยอมรับว่ามีความหลอนขั้นสุดของจริง สุดท้ายเดินออกโรงมาพร้อมได้ยินเสียงวิจารณ์วิเคราห์ต่างๆนาๆ ทั้งเรื่องเจ้าเพมอนบ้างหล่ะ ขมวดปมว่าเป็นหนังดาดดื่นจบโง่ๆลงไม่ดีบ้างหล่ะ

       แต่เรากลับคิดและรู้สึกต่างไปอีกแบบ ถ้าเราจะบอกว่าเรื่องนี้ "จริงๆแล้วไม่มีผี" หล่ะ จะว่าเราจับแพะชนแกะมั่วๆก็ได้ แต่มันน่าคิดจริงๆ

       หนังตั้งใจสื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่ว่ากันจริงๆแล้วค่อนข้างอ่อนแอเลยหล่ะ ซึ่งสังเกตจากทุกฉากที่แอน เล่าระบายเรื่องราวปูมหลังให้ฟังในแต่ละฉาก ชีวิตแอนเจอมาหนักมาก ทั้งความสัมพันธ์กับแม่ตัวเอง พ่ออดอาหารจนตาย  เหตุการณ์การฆ่าตัวตายจากรุ่นแม่ ความรู้สึกผิดต่อปีเตอร์ผู้เป็นลูกชาย ซึ่งไม่ใช่ลูกของสตีฟคนพ่อ(ดูจากหน้าตาก็รู้) ซึ่งปีเตอร์เกิดจากการบังคับให้มีโดยผู้เป็นยาย เดาว่าเพื่อเอามาใช้ในพิธี แต่สุดท้ายแอนไม่ยอมให้ไปเลี้ยง(ซึ่งแอนอยากทำแท้งด้วย ณ ตอนนั้น) อาการนอนละเมอจนเกือบฆ่าลูกในอดีต(จากจิตใต้สำนึก?) และ อีกหลายๆประเด็นซึ่งเยอะมาก


       จนทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งที่แอนเห็นทั้งในครั้งแรกของเรื่องและเกือบๆทุกซีน หนังตั้งใจสื่อเป็นภาพในมุมมองของแอนแต่เพียงผู้เดียว คือเธอค่อนข้างจิตๆอยู่แล้ว ไม่ว่าจากเรื่องที่บอกไปก่อนหน้า ความสูญเสียที่พึ่งเกิด หรือความเครียดจากงาน ที่หนังตั้งใจสื่อในเชิงความกดดันต่อแอนอย่างชัดเจน

       ทั้งหมดส่งผลให้แอน "เห็น" โดยเริ่มจากแม่ตัวเองมายืนอยู่ในห้องart ซึ่งในซีนนั้น หลักฐานจากการที่แอนเดินไปเลื่อนโมเดลรูปแม่ตนยืนจ้องอยู่ มันสะท้อนให้เห็นถึงว่าลึกๆแอนมีความคิดอะไรแบบนี้อยู่แล้วก่อนหน้า บวกกับการที่แอนเจอจดหมายซึ่งยิ่งเป็นชนวนเชื้อให้เริ่มคิด-กังวล ถึงสิ่งเหล่านั้น

       จากการเห็นแม่ตนครั้งแรก อาการหายไปอยู่พักเล็กๆ จนต่อมาแอนพบการสูญเสียครั้งใหญ่คือชาร์ลีผู้เป็นลูกสาวซึ่งตายในสภาพที่เรียกได้ว่าโหดขั้นสุด จากฝีมือปีเตอร์ลูกชายซึ่งมีประเด็นต่อกันในเรื่องของความสัมพันธ์อยู่แล้วด้วย ซึ่งส่งผลให้เศร้าเสียใจแบบชิหายวายป่วงเลยแหล่ะ จุดนี้ทำให้เราคิดว่าจะไม่ให้บ้าได้ไงวะ และก็แอนกลับมาสัมผัสได้อีกครั้งหลังจากเข้าไปลองทำพิธีกรรมกับโจน ซึ่งเป็นเสียงเดาะลิ้นอันทรงพลังของชาร์ลี ที่ได้ยินหลังจากขับรถกลับจากพิธีกรรม ในซีนนั้นเราคิดว่า การไซโคของโจนในเรื่องของการกลับมาของหลุย(ซึ่งในหนังก็เฉลยตอนท้ายๆว่าใช่ นางตั้งใจ นางไซโคอยู่) เป็นผลให้เกิดการส่งต่อความเชื่อแบบนั้นสู่จิตสำนึกของแอน บวกกับอาการช็อคกับเรื่องก่อนหน้าและสิ่งที่เจอ  โดยที่แอนหยิบสิ่งที่ชาร์ลีทำเป็นประจำมาใส่ในหัวคือ อาการเดาะลิ้นนั่นเอง

       หลังจากนั้นทุกเหตุการณ์ที่เรียกว่าผีโผล่ ก็มีน้อยมากๆในพาร์ทแอนหรือไม่มีด้วยซ้ำ เรามองว่าจริงๆแล้วนางทำเองเห็นเอง ทั้งเรื่องรูปวาดในสมุด ซึ่งชัดมากตรงที่หนังตั้งใจให้เราเห็นลายเส้นชาร์ลีในซีนก่อนหน้าตอนสตีฟเปิดดูสมุด ถ้าเอามาเทียบแล้วมันคนละลายเส้นเลยแหล่ะ(หนังยังย้ำเรื่องฝีมือการวาดชาร์ลีด้วย ตอนที่เพื่อนสาวปีเตอร์พูดถึงรูปตัวเองที่ถูกวาด) อีกทั้งที่สิ่งที่แอนเห็นแต่ละเหตุการณ์ ทั้งเรื่องเห็นร่างชาร์ลี ตอนที่นางอธิบายกับสตีฟและปีเตอร์ฟัง ว่าเห็นร่างชาร์ลีมาก่อนตอนลองทรงร่างก่อนหน้า หรือสมุดที่วาดเอง “แอนเห็นคนเดียวทั้งหมด” ซึ่งในซีนนั้นตอนแอนบอกว่าเห็นร่าง หนังไม่ทำให้คนดูเห็นจริงๆด้วยซ้ำ ไม่มีพยานเห็นผีในรูปแบบที่หนังผีเรื่องอื่นๆทำเลย เอาจริงๆคือทุกตัวละครเลยแหล่ะ เวลาพบ จะพบอยู่คนเดียว (ซึ่งจริงๆทั้งเรื่องเห็นกันอยู่แค่แอนกับปีเตอร์)

       เรามองว่ามันไม่มีเหตุผลอะไรที่หนังต้องทำแบบนั้น มันดูจงใจมากๆ และเรื่องเทียนกับความสั่นของอากาศที่ปีเตอร์รู้สึกตอนพิธีร่างทรง  เรามองว่าเทียนนั้นโจนให้มาอย่างจงใจนะอย่าลืม ซึ่งนางเน้นด้วยว่าลากคนในบ้านมาทำด้วยซึ่งเน้นที่ปิเตอร์ (เดาว่าเพื่อให้เห็น) และอากาศเป็นปีเตอร์คนเดียวที่รู้สึก หนังมีซีนที่พ่อถามปีเตอร์ด้วย ว่ารู้สึกอะไรของลูก เพราะคนเป็นพ่อไม่รู้สึก (ส่วนเรื่องทำไมปีเตอร์ถึงรู้สึก ไว้ว่ากันอีกที) และการดัดเสียงของแม่ ซึ่งไม่ได้ใกล้เคียงชาร์ลีเลย หนังคงไม่มีเหตุผลให้ผีหนีน้ำที่สาดลงหน้าหรอก และมีอีกในเรื่องของลักษณะท่าทางที่ไม่เหมือนชาร์ลี ที่ร้องไห้และเรียกหาพี่ (หนังโปรยมาก่อนว่าชาร์ลีไม่เคยร้องไห้และพูดน้อย)
       
       จริงๆคือทั้งเรื่องเลยแหล่ะ ที่ให้เห็นว่าแอนเริ่มบ้าจริงๆจากความกดดันที่ถูกส่งต่อมาแบบกรรมพันธุ์ตามชื่อหนัง สังเกตจากโมเดล ที่นางทำตั้งแต่ฉากแรกจนฉากจบ หนังจงใจอย่างมากที่ให้แอนทำโมเดลแปลกๆทั้งเหตุการเฝ้ายายที่โรงพยาบาล โมเดลงานศพ อุบัติเหตุ ไปจนถึงห้องและเหตุการณ์ต่างๆภายในบ้าน ทั้งแม่ตัวเองมายืนจ้อง รวมฉากเปิดเรื่องและฉากปิดอย่างจงใจของหนังก็ด้วย ซึ่งทำให้เห็นถึงสิ่งที่แอนคิดเองในสมองและแสดงออกมาสู่โมเดล ซึ่งจะเปรียบเทียบจากโบรชัวร์งานแสดงของแอนได้เลยว่าแอนกำลังโมเดลนอกโจทย์อยู่ สังเกตจากฉากโชว์บ้านของหนังก็ได้ แรกๆจะเป็นมุมมองปกติ และจะเปลี่ยนเป็นมุมมองแบบโมเดลเรื่อยๆอย่างมีนัยยะ

       ต่อมาคือฉากไฟลุกขึ้นแขน เรามองจริงๆนะว่า ช่วงท้ายๆของหนังพาร์ทแอนเป็นอาการของคนจิตตกหรือบ้าไปแล้ว ไม่แปลกที่จะคิดเองเห็นเอง จริงๆหนังใบ้ๆให้จากการที่สตีฟซึ่งเป็นหมอ ได้ดูอาการเบื้องต้นว่านางเป็นบ้าและส่งเมลล์ไปหาเพื่อน และยิ่งในฉากท้าย มันเป็นมุมมองของแอน ที่เห็นร่างสตีฟไหม้ จากความเชื่อของนางว่าต้องทำลายสมุด เราจะรู้ได้จากการที่แอนหยิบทินเนอร์มาเตรียมไว้อย่างมีนัยยะ ซึ่งก่อนหน้าไม่เห็นนางต้องใช้กับสมุดหนิ นาง(เกือบ)ใช้แค่กับคน ประกอบกับสภาพศพที่ถูกเคลื่อน และมุมมองตอนนั้นที่ย่อมมองว่าตนไม่ได้ทำ

       ในส่วนของปีเตอร์ก็คล้ายๆแอน คือเริ่มทุกอย่างจากอาการช็อค คือนางฆ่าน้องตัวเอง(โดยอุบัติเหตุ) และฝังใจกับการกระทำของแม่เรื่องทินเนอร์ โดยความกดดันเชิงความสัมพันธ์ระหว่างแอนและปีเตอร์รุนแรงมากๆ และชัดสุดจากฉากโต๊ะอาหาร


       ในพาร์ทของปีเตอร์จากเพียงอาการหลอนเสียงเดาะลิ้นในช่วงแรก ความรู้สึกผิดที่กัดกินและฝังอยู่ข้างใน ทุกอย่างรุนแรงและเห็นชัดเป็นร่าง จากเหตการณ์ร่างทรงของแม่ ที่ทำให้เกิดอาการกลัวจนช็อค ซึ่งในซีนนั้น ใช้หลักการเดียวกันกับเหตุการจริงๆที่เกิดขึ้นก็ได้ เช่น ร่างทรงในไทย ที่จะมีลักษณะแบบนั้นเป๊ะ ดัดเสียง ลอกท่าทาง คนที่ช้ำใจที่สุดและตกอยู่ในสภาพภูมิคุ้มกันทางจิตต่ำจากการสูญเสีย ก็ย่อมหลงและเชื่อเป็นธรรมดาว่า ลูกกลับมา พ่อกลับมาจริงๆ  ซึ่งปีเตอร์เรามองจริงๆว่าเป็นกรณีนั้น ส่งผลต่อให้หลังจากนั้นปีเตอร์ก็ช็อคไปเลย ทั้งการเหม่อลอย และ "เริ่มเห็นผีชาร์ลีครั้งแรก"ทั้งๆที่ก่อนหน้าไม่เห็น ซึ่งซีนนั้นจริงๆคือลูกบอลและมือแม่แน่ๆ เพราะเป็นซีนหลังจากแม่ลุกมาดูสมุดกลางดึกและดูจากมือก็รู้ (จริงๆลึกๆเราแอบคิดว่ากัญชามีผล ไม่งั้นหนังจะใส่มาทำไม แต่ชั่งเหอะ5555)

       อยากให้ลองนึกภาพว่ายาย คือผู้ที่เจอเหตุการช็อคแบบปีเตอร์มาก่อนทุกรูปแบบ จากคำเล่าของแอนในกลุ่มบำบัด ซึ่งมันคล้ายหรือเหมือนกันกับสิ่งทีปีเตอร์และครอบครัวเจอมากๆ การที่เจอคนใกล้ตัวแขวนคอตาย เรื่องการเอาอีกคนมาใส่ในร่าง และสุดท้ายที่แอนเล่าว่ายายมีหลายบุคลิคในงานศพ ซึ่งตอนนั้นฟังดูเพี้ยนๆงงๆ แต่มาดูตอนจบ คือเห้ย นี่มันกลับมาลูปเดียวกับรุ่นยาย ซึ่งดูเป็นการส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น เป็นพันธุกรรมตามชื่อหนังจริงๆ(Hereditary) ซึ่งปีเตอร์สุญเสีย น้อง แม่ พ่อ อย่างบ้าคลั่ง และจบลงด้วยการเสียสติเข้าหาลัทธิ พร้อมกับโจนมาบอกว่าเธอคือชาร์ลี เราเดาว่าสุดท้ายปีเตอร์ก็จะมีบุคลิคแบบชาร์ลีด้วยจากการเดาะลิ้นในตอนทาย บุคลิคแบบปีเตอร์ และบุลลิคของเพมอนอีกตัว(ซึ่งคืออะไรไม่รู้)
    
        (ขอขมวดละ) เราไม่ได้มองว่าเพมอนมีจริง ทุกอย่างคือการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น แค่นั้น ยายเคยรับบทเป็นเพม่อนมาก่อน จากในอัลบั้มรูปการสวมมุงกุฏและโปรยเงินของคนในลัทธิ ซึ่งดูไม่มีอะไรเป็นอิทธิฤทธิ์แนวปีศาจๆหรือผีๆเป็นตัวเลย เพียงแค่ลัทธิหนึ่งๆ ดูจากปีเตอร์ตอนจบ ไม่ได้ดูเป็นอะไรนอกจากคนเสียสติที่ยังงงๆอยู่ และหลอนไปแล้ว เหมือนยังไม่ใช่ปีศาจอะไรเถือกนั้นด้วยซ้ำ ซึ่งฉากสุดท้ายที่ผีแม่ลอยๆ เรามองว่าเป็นภาพจากมุมมองๆของปีเตอร์ที่ช็อคปนกับพิธีจริงของคนในลัทธิ ไม่ใช่ของจริงทั้งหมด ในฉากที่ปีเตอร์ตื่นมาจากการนอนเจ็บจมูก มีแสงไฟสว่างมากจากข้างนอกโดยเป็นแสงไฟออโต้ที่ส่องเมื่อมีรถหรืออะไรมา(มีฉากที่อธิบายโชว์การทำงานของไฟตอนที่ปีเตอร์กลับบ้านพร้อมศพน้องในช่วงแรกไปแล้ว) ซึ่งแสดงถึงการมาของคนในลัทธิในรูปแบบคนจริงๆไม่ใช่ผี ซึ่งซีนนี้มองว่าหนังพยายามอธิบายปรากฏการคนล้อมๆเยอะๆที่เกิดขึ้น อีกทั้งเรื่องของหมาที่ไม่ได้เห่าหรือมันตายอันนี้ไม่แน่ใจ

        และสุดท้ายชาร์ลีผู้ที่ถูกยาย ที่มีสภาพจิตใจแบบคนที่ต้องเป็นเพมอนเลี้ยงมาแต่เด็ก  ซึ่งหากดูจากพฤติกรรมแปลกๆ การกล้าตัดหัวนก อาการเก็บตัว ไม่มีเพื่อน และหลักๆคือการเลี้ยงดูโดยยาย ไม่แปลกที่ชาร์ลี จะมองเห็นและรู้สึกอะไรแปลกๆ


       เราว่าการตีความหนังเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของมุมมอง ซึ่งไม่ผิดไม่ถูก เรารู้สึกว่าที่เราพูดอยู่ เรามองหนังในมุมมองของตัวละครพ่อ(สตีฟ) ซึ่งไม่เชื่อและไม่เจออะไรเลยในเรื่อง มองเป็นเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกแก้ และส่งๆต่อกันมากับอาการทางจิต (คือแทนตัวเองเป็นพ่อในหนังอ่ะ ความคิดความรู้สึกเดียวกันเลย) และ มีคนส่วนใหญ่ที่มองว่าเป็นหนังพิธีกรรมมนดำปีศาจเพมอน ตามมุมมองของตัวละครแม่ที่เชื่อมุมนี้อย่างสุดใจ จากหลักฐานและเหตการณ์ต่างๆที่ตนได้พบ

       ซึ่งเราไม่อินมุมของแม่เพราะ เนื้อเรื่องของหนังปูทางเชิงความสัมพันธ์อย่างละเอียด มานานมาก และไอ่เรื่องเพมอน มันมาแค่ตอนท้าย ถ้าเอามุมนั้นเราว่าดูแค่ตอน20นาทีสุดท้ายก็ได้ คือตอนเราดู อารมณ์เราในหนังคือตามคนพ่อเลยอ่ะ เป็นห่วง เศร้า กังวล ไม่เชื่อ และหงุดหงิดกับแม่ในช่วงหลังๆ

       ทั้งหมดเป็นเพียงมุมมองเล็กๆของเรา ซึ่งเราว่าหนังต้องมีเหตุผลในการออกแบบแต่ละซีน ถ้าเทียบกับหนังผีทุกๆเรื่อง เรื่องนี้ไม่มีซีนไหนที่เห็นผีเป็นเชิงประจักษ์เลย หรือแค่เห็นเป็นตัวๆ เห็นด้วยกันหลายๆคนก็ไม่มี ไม่มีแม้กระทั่งการพุ่งมือพุ่งหน้าของผีให้วิ่งหนี ความน่ากลัว ถูกบีบไปอยู่กับคนในครอบครัว ความเชื่อใจ และความสัมพันธ์ที่รู้สึกอ่อนแอ จนเรากลัวตัวละครจะทำอะไรแรงๆมากกว่ากลัวผีเสียอีก
       
       เราว่าการตีความแบบนี้ ไม่ได้เว่อร์เกินไปหรือไกลความจริงซักเท่าไหร่ ดูจากสภาพสังคมไทยที่เป็นมาซักพัก เราต่างส่งต่อความเชื่อ แรงกดดัน ความเครียด หรือนิสัยจากคำสั่งสอนผิดๆ จากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่รู้ตัว(หรือรู้ตัว) หรือถ้าไม่มองในมุมนั้น ให้เปรียบเทียบดิบๆก็จำข่าว ฆ่าบูชาพระอินได้มั้ยครับ นั้นแหล่ะ ไม่ได้ไกลหนังเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่