อัพเดต19/6/61 ผมรณรงค์ผ่านองค์กร change ด้วยครับ ฝากทุกท่านร่วมสละเวลาสนับสนุนด้วยคนรับ
https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%93-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A?recruiter=33452560&utm_source=share_petition&utm_medium=copylink&utm_campaign=share_petition
ผมเข้าใจคนไทยหากมีอะไรเกิน 3 บรรทัดก็จะไม่อยากอ่านและไม่สนใจแต่ที่ผมโพสต์แบบนี้ผมหวังดีครับ
ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้และไม่ตระหนักถึงสิทธิของตัวเองกับ #กองทุนประกันสังคม เมื่อยามเกษียณ
**การเก็บเงินเข้ากองทุนเพิ่มเป็น 1000 บาทหรือเก็บตามอัตราเงินเดือนอันนี้เป็นการแก้ปัญหาให้ใครเพื่อใครใครได้รับผลประโยชน์กันแน่ ก่อนจะสนใจเรื่องนี้ อยากให้ลองคิดตามเรื่องบำเหน็จบำนาญก่อนนะครับ...
อย่างเราทำงานกันมาเกิน 179 เดือนซึ่งนำส่งเงินเข้ากองทุนไปแล้วไม่มีทางได้บำเหน็จเลยเพราะประกันสังคมมาเปลี่ยนเงื่อนไขทีหลังและกว่าผู้ประกันตนจะได้รับรู้ ว่าต้องรีบทำเรื่องขอรับบำเหน็จก่อนส่งเงินเข้ากองทุนครบหรือแตะที่ 180 งวด เวลาก็ล่วงเลยไปจนทุกคนไร้สิทธิบำเหน็จถ้วนทั่ว และการที่จะได้รับบำเหน็จนั้นคุณจะต้องอยู่ในเงื่อนไขอายุ 55 ปีขึ้นไปและต้องออกจากระบบกองทุนประกันสังคมอีกด้วย
** ลองคิดกรณีตัวอย่าง,
กรณีแรกหากเราทำงานแล้วส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม แตะที่ 179 งวดตั้งแต่อายุ40 ปี(เริ่มส่งตั้งแต่อายุประมาณ 25ปี) แล้วทำเรื่องขอบำเหน็จรอไว้โดยออกจากระบบมาทำเรื่อง(สมมติ) แล้วกว่าจะอายุ 55 ปีเพื่อจะได้รับบำเหน็จตามเงื่อนไข แล้ว15 ปีที่เหลือก่อนอายุ 55 ชีวิตจะไปอยู่ตรงไหน สุดท้ายหากเราไม่มีกองทุนอื่นหรือทำงานในบริษัทที่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดๆ เราๆท่านๆก็ต้องกลับเข้ามาในระบบ, เพราะต้องทำงานและนำส่งเงินเข้าระบบประกันสังคมตามกฏหมายต่ออยู่ดี และนั่งไงจะกลายเป็นการนำส่งเงินแตะที่180งวด(เงื่อนไขเขาจะนับงวดการนำส่งเงินเข้ากองทุนต่อจากเดิม) ซึ่งจะค้านกับเกณฑ์การรับบำเหน็จ (ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ถึง 180งวดได้รับเป็นบำเหน็จและต้องออกจากระบบประกันสังคม) สรุปบำเหน็จนี้ แทบไม่ค่อยมีใครได้รับ เว้นแต่...
กรณีสอง หากเราเริ่มส่งเงินเข้ากองทุนที่อายุ 40 ปีเมื่อ พศ 2541 (เริ่มมีกองทุนประกันสังคม) เราก็มีโอกาสที่จะได้บำเหน็จแน่นอนหากออกจากระบบประกันสังคม หรือเกษียณอายุที่ 55 ปี โดยไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีแรก เพราะไม่ครบ 179 งวดนำส่งแน่นอน กรณีนี้ยินดีด้วยเพราะมีเงินก้อนหลักแสนได้มาเป็นทุน หลังเกษียณก็บริหารชีวิตต่อได้ว่าจะกลับเข้าระบบประกันตนเองตามมาตรา 39 โดยจ่าย 432 บาทเข้ากองทุนเพื่อให้ได้สิทธิ์รักษาพยาบาลก็ย่อมทำได้ เพราะมีเงินก้อนๆนี้มาช่วยเพิ่มในชีวิต
เรื่องรับบำนาญ (มีการเอาเปรียบผู้ประกันตนแน่นอน) ประกันสังคมออกระเบียบมาแบบนี้ไม่แฟร์เลย
จากกรณีที่1 กลายเป็นว่าโดนบังคับให้รับเป็นบำนาญ แล้วการรับบำนาญนั่นหมายถึงคุณหมดสิทธิ์ทุกอย่างของผู้ประกันตนแล้วนะ หากเจ็บป่วยอะไรจะต้องควักตังค์จ่ายเองรักษาตัวเองลำพังบำนาญเดือนละ 4500 , 5000 , ... ซึ่งไม่เกิน 7000 บาท จะพอรักษาตัวเองไหมหากเป็นอะไรขึ้นมายามชรา ดังนั้นสุดท้ายเราๆท่านๆก็คงเลือกไม่รับบำนาญถูกไหมเพื่อจะได้มีสิทธิรักษาตัวเอง เป็นผู้ประกันตนเองในมาตรา 39ซ้ำยังต้องควักจ่ายเงินอีก 432 บาทให้กองทุนประกันสังคมจนกว่าเราจะตายไป (ตรงนี้ล่ะที่เอาเปรียบ เงินก้อนที่เราส่งเข้ากองทุนไม่มาช่วยเราตรงนี้ในขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ได้เลยหรือ เอามาหักจ่ายแทนเราในกรณีมาตรา39 ไปเรื่อยๆจนหมดก็ยังได้ หากหักแล้วไม่หมดมีเงินบำเหน็จเหลือเท่าไร ก็จะเป็นมรดกส่งต่อให้ทายาทต่อไปก็ยังดี ถามว่า ...
เงินเก็บที่เราส่งเข้ากองทุนประกันสังคมมาทั้งชีวิตที่เป็นก้อนทั้งหมดก้อนใหญ่ๆที่ทำเป็นรีพอร์ทส่งมาให้ผู้ประกันตนในช่วงนี้น่ะ เงินในส่วนที่เราต้องส่งทุกเดือนตั้งแต่เริ่มทำงาน +ส่วนที่นายจ้างสมทบให้อีกเท่านึงนั่นน่ะ(หากเราไม่มีสิทธิ์ได้บำเหน็จแล้ว) เงินก้อนนั้นของเราไปอยู่ไหน
ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จริงๆ ก็คงมีแต่ประกันสังคมนั่นแหละ หากเราไม่คุยให้ทายาทหรือคนใกล้ตัวได้รู้สิทธิ์ของเราตรงนี้ก็จะไม่มีใครไปเรียกร้องมรดกส่วนนี้ของเรา
การทำความเข้าใจกับคนใกล้ตัวหรือคนที่ยังอยู่ในระบบประกันสังคมเข้าใจตั้งแต่ตอนนี้จะดีมาก จะได้กลายเป็นพลังเคลื่อนไหวให้สำนักงานประกันสังคมได้ทบทวนและเลิกเอาเปรียบผู้ประกันตน
***สปส.ต้องปลดล็อคหรือแก้ไขเรื่อง "หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180งวดขึ้นไป ผู้ประกันตนจะต้องเลือกเป็นบำนาญเท่านั้น"
ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกด้วยตัวเอง และหากเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ หลังเกษียณ ผู้ประกันไม่ต้องออกจากระบบไปก็สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลด้วยการจ่ายเงินเข้ากองทุน 432 บาทหรืออัตราที่เหมาะสม***
นั่นถึงจะแฟร์ อย่าเอาเงื่อนไขนี้มาจำกัดสิทธิ์ผู้ประกันตนแบบนี้
(อยากให้ทุกท่านที่อ่านเห็นด้วยกับผมในเรื่องนี้ หากจะช่วยแชร์ไปเพื่อพูดคุยหาข้อมูลหรือทำให้เป็นประเด็นทางสังคม เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบคนหมู่มากครับ อยากให้มีการแก้ไขปัญหาหรือปลดล็อคบางสิ่งบางอย่างที่เอารัดเอาเปรียบผู้ประกันตนอย่างจริงจัง)
ให้เขามีสิทธิ์เลือกจริงๆ ว่าหลังเกษียณ ไม่ว่าจะอายุ 55ปีหรือยังทำงานถึง60ปีค่อยเกษียณก็ตาม เขาต้องมีสิทธิ์จะเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญด้วยตัวเองเช่นเดียวกับข้าราชการ (ข้าราชการหลายหน่วยงาน มีสิทธิ์รักษาพยาบาล แม้ยามเกษียณไปแล้วโดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันตนเองมาตรา39 และมีสิทธิ์เลือกรับ #บำเหน็จ หรือ #บำนาญ ด้วยตัวเองเมื่อยามเกษียณ)
ส่วนลิงค์นี้ เป็นลิงค์จากสมาขิกท่านอื่นในพันธุ์ทิพย์ ซึ่งอธิบายได้ดีกว่าผมมาก
https://m.ppantip.com/topic/32327642?
หวังว่าจะเข้าใจประเด็นในสิ่งที่ผมพยายามอธิบายครับ
หากมีข้อความอะไรหรือการความเข้าใจผิดพลาดในการเขียนกระทู้ ผมขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้
อนึ่งหากเราสามารถร่วมกัน เสนอแก้กฏหมายตามสิทธิ์ขั้พื้นฐาน
👉
https://ilaw.or.th/node/4493
สำหรับผู้ประกันตน ใครคิดว่าควรแก้ไขสิทธิ์การรับบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณ เชิญทางนี้ครับ
https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%93-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A?recruiter=33452560&utm_source=share_petition&utm_medium=copylink&utm_campaign=share_petition
ผมเข้าใจคนไทยหากมีอะไรเกิน 3 บรรทัดก็จะไม่อยากอ่านและไม่สนใจแต่ที่ผมโพสต์แบบนี้ผมหวังดีครับ
ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้และไม่ตระหนักถึงสิทธิของตัวเองกับ #กองทุนประกันสังคม เมื่อยามเกษียณ
**การเก็บเงินเข้ากองทุนเพิ่มเป็น 1000 บาทหรือเก็บตามอัตราเงินเดือนอันนี้เป็นการแก้ปัญหาให้ใครเพื่อใครใครได้รับผลประโยชน์กันแน่ ก่อนจะสนใจเรื่องนี้ อยากให้ลองคิดตามเรื่องบำเหน็จบำนาญก่อนนะครับ...
อย่างเราทำงานกันมาเกิน 179 เดือนซึ่งนำส่งเงินเข้ากองทุนไปแล้วไม่มีทางได้บำเหน็จเลยเพราะประกันสังคมมาเปลี่ยนเงื่อนไขทีหลังและกว่าผู้ประกันตนจะได้รับรู้ ว่าต้องรีบทำเรื่องขอรับบำเหน็จก่อนส่งเงินเข้ากองทุนครบหรือแตะที่ 180 งวด เวลาก็ล่วงเลยไปจนทุกคนไร้สิทธิบำเหน็จถ้วนทั่ว และการที่จะได้รับบำเหน็จนั้นคุณจะต้องอยู่ในเงื่อนไขอายุ 55 ปีขึ้นไปและต้องออกจากระบบกองทุนประกันสังคมอีกด้วย
** ลองคิดกรณีตัวอย่าง,
กรณีแรกหากเราทำงานแล้วส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม แตะที่ 179 งวดตั้งแต่อายุ40 ปี(เริ่มส่งตั้งแต่อายุประมาณ 25ปี) แล้วทำเรื่องขอบำเหน็จรอไว้โดยออกจากระบบมาทำเรื่อง(สมมติ) แล้วกว่าจะอายุ 55 ปีเพื่อจะได้รับบำเหน็จตามเงื่อนไข แล้ว15 ปีที่เหลือก่อนอายุ 55 ชีวิตจะไปอยู่ตรงไหน สุดท้ายหากเราไม่มีกองทุนอื่นหรือทำงานในบริษัทที่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดๆ เราๆท่านๆก็ต้องกลับเข้ามาในระบบ, เพราะต้องทำงานและนำส่งเงินเข้าระบบประกันสังคมตามกฏหมายต่ออยู่ดี และนั่งไงจะกลายเป็นการนำส่งเงินแตะที่180งวด(เงื่อนไขเขาจะนับงวดการนำส่งเงินเข้ากองทุนต่อจากเดิม) ซึ่งจะค้านกับเกณฑ์การรับบำเหน็จ (ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ถึง 180งวดได้รับเป็นบำเหน็จและต้องออกจากระบบประกันสังคม) สรุปบำเหน็จนี้ แทบไม่ค่อยมีใครได้รับ เว้นแต่...
กรณีสอง หากเราเริ่มส่งเงินเข้ากองทุนที่อายุ 40 ปีเมื่อ พศ 2541 (เริ่มมีกองทุนประกันสังคม) เราก็มีโอกาสที่จะได้บำเหน็จแน่นอนหากออกจากระบบประกันสังคม หรือเกษียณอายุที่ 55 ปี โดยไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีแรก เพราะไม่ครบ 179 งวดนำส่งแน่นอน กรณีนี้ยินดีด้วยเพราะมีเงินก้อนหลักแสนได้มาเป็นทุน หลังเกษียณก็บริหารชีวิตต่อได้ว่าจะกลับเข้าระบบประกันตนเองตามมาตรา 39 โดยจ่าย 432 บาทเข้ากองทุนเพื่อให้ได้สิทธิ์รักษาพยาบาลก็ย่อมทำได้ เพราะมีเงินก้อนๆนี้มาช่วยเพิ่มในชีวิต
เรื่องรับบำนาญ (มีการเอาเปรียบผู้ประกันตนแน่นอน) ประกันสังคมออกระเบียบมาแบบนี้ไม่แฟร์เลย
จากกรณีที่1 กลายเป็นว่าโดนบังคับให้รับเป็นบำนาญ แล้วการรับบำนาญนั่นหมายถึงคุณหมดสิทธิ์ทุกอย่างของผู้ประกันตนแล้วนะ หากเจ็บป่วยอะไรจะต้องควักตังค์จ่ายเองรักษาตัวเองลำพังบำนาญเดือนละ 4500 , 5000 , ... ซึ่งไม่เกิน 7000 บาท จะพอรักษาตัวเองไหมหากเป็นอะไรขึ้นมายามชรา ดังนั้นสุดท้ายเราๆท่านๆก็คงเลือกไม่รับบำนาญถูกไหมเพื่อจะได้มีสิทธิรักษาตัวเอง เป็นผู้ประกันตนเองในมาตรา 39ซ้ำยังต้องควักจ่ายเงินอีก 432 บาทให้กองทุนประกันสังคมจนกว่าเราจะตายไป (ตรงนี้ล่ะที่เอาเปรียบ เงินก้อนที่เราส่งเข้ากองทุนไม่มาช่วยเราตรงนี้ในขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ได้เลยหรือ เอามาหักจ่ายแทนเราในกรณีมาตรา39 ไปเรื่อยๆจนหมดก็ยังได้ หากหักแล้วไม่หมดมีเงินบำเหน็จเหลือเท่าไร ก็จะเป็นมรดกส่งต่อให้ทายาทต่อไปก็ยังดี ถามว่า ...
เงินเก็บที่เราส่งเข้ากองทุนประกันสังคมมาทั้งชีวิตที่เป็นก้อนทั้งหมดก้อนใหญ่ๆที่ทำเป็นรีพอร์ทส่งมาให้ผู้ประกันตนในช่วงนี้น่ะ เงินในส่วนที่เราต้องส่งทุกเดือนตั้งแต่เริ่มทำงาน +ส่วนที่นายจ้างสมทบให้อีกเท่านึงนั่นน่ะ(หากเราไม่มีสิทธิ์ได้บำเหน็จแล้ว) เงินก้อนนั้นของเราไปอยู่ไหน
ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จริงๆ ก็คงมีแต่ประกันสังคมนั่นแหละ หากเราไม่คุยให้ทายาทหรือคนใกล้ตัวได้รู้สิทธิ์ของเราตรงนี้ก็จะไม่มีใครไปเรียกร้องมรดกส่วนนี้ของเรา
การทำความเข้าใจกับคนใกล้ตัวหรือคนที่ยังอยู่ในระบบประกันสังคมเข้าใจตั้งแต่ตอนนี้จะดีมาก จะได้กลายเป็นพลังเคลื่อนไหวให้สำนักงานประกันสังคมได้ทบทวนและเลิกเอาเปรียบผู้ประกันตน
***สปส.ต้องปลดล็อคหรือแก้ไขเรื่อง "หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180งวดขึ้นไป ผู้ประกันตนจะต้องเลือกเป็นบำนาญเท่านั้น"
ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกด้วยตัวเอง และหากเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ หลังเกษียณ ผู้ประกันไม่ต้องออกจากระบบไปก็สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลด้วยการจ่ายเงินเข้ากองทุน 432 บาทหรืออัตราที่เหมาะสม***
นั่นถึงจะแฟร์ อย่าเอาเงื่อนไขนี้มาจำกัดสิทธิ์ผู้ประกันตนแบบนี้
(อยากให้ทุกท่านที่อ่านเห็นด้วยกับผมในเรื่องนี้ หากจะช่วยแชร์ไปเพื่อพูดคุยหาข้อมูลหรือทำให้เป็นประเด็นทางสังคม เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบคนหมู่มากครับ อยากให้มีการแก้ไขปัญหาหรือปลดล็อคบางสิ่งบางอย่างที่เอารัดเอาเปรียบผู้ประกันตนอย่างจริงจัง)
ให้เขามีสิทธิ์เลือกจริงๆ ว่าหลังเกษียณ ไม่ว่าจะอายุ 55ปีหรือยังทำงานถึง60ปีค่อยเกษียณก็ตาม เขาต้องมีสิทธิ์จะเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญด้วยตัวเองเช่นเดียวกับข้าราชการ (ข้าราชการหลายหน่วยงาน มีสิทธิ์รักษาพยาบาล แม้ยามเกษียณไปแล้วโดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันตนเองมาตรา39 และมีสิทธิ์เลือกรับ #บำเหน็จ หรือ #บำนาญ ด้วยตัวเองเมื่อยามเกษียณ)
ส่วนลิงค์นี้ เป็นลิงค์จากสมาขิกท่านอื่นในพันธุ์ทิพย์ ซึ่งอธิบายได้ดีกว่าผมมาก
https://m.ppantip.com/topic/32327642?
หวังว่าจะเข้าใจประเด็นในสิ่งที่ผมพยายามอธิบายครับ
หากมีข้อความอะไรหรือการความเข้าใจผิดพลาดในการเขียนกระทู้ ผมขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้
อนึ่งหากเราสามารถร่วมกัน เสนอแก้กฏหมายตามสิทธิ์ขั้พื้นฐาน
👉 https://ilaw.or.th/node/4493