ข่าวนี้อาจเป็นคำตอบได้นะครับ
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000058589
ยุติธรรมชี้ “แชตขอยืมเงิน” เท่ากับทำสัญญากู้ยืม แนะแคปหน้าจอแชต-เก็บอี-สลิปไว้
เผยแพร่: 13 มิ.ย. 2561 08:34: ปรับปรุง: 13 มิ.ย. 2561 08:50: โดย: MGR Online
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ชี้ แชตขอยืมเงินเท่ากับการทำสัญญากู้ยืมเงิน แนะถ้าจะฟ้องให้แคปหลักฐานข้อความสนทนา หลักฐานบัญชีผู้กู้ และหลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ แอปพลิเคชัน
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำอินโฟกราฟิก หัวข้อ “แชตขอยืมเงินเท่ากับการทำสัญญากู้ยืมเงิน” ระบุว่า ปัญหาการให้กู้ยืมเงิน แต่ผู้ยืมไม่นำเงินมาคืน และเมื่อแจ้งความดำเนินคดีก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือสัญญากู้ยืมเงินที่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม มีเพียงแต่การพูดคุยสนทนาตกลงกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น
ในกรณีเช่นนี้ ตามมาตรา 7, 8, 9 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และคำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน
โดยให้รวบรวมหลักฐานดังนี้ 1. หลักฐานข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่านแชต หรือกล่องข้อความออนไลน์ 2. หลักฐานบัญชีของผู้กู้ยืมเงิน 3. หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ แอปพลิเคชันของธนาคาร ทั้งนี้ หากชื่อบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ กับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารไม่ตรงกัน ควรให้ผู้ขอกู้ยืมเงินยืนยัน และอธิบายว่าบัญชีธนาคารเป็นของใคร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน
ก็ถือเป็นความรู้สำหรับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นะครับ ว่าแต่มีใครชอบยืมหรือโดนยืมทางหลังไมค์บ้างครับ แชร์ประสบการณ์กันได้นะ ^^
หลังไมค์ยืมตังค์ถือเป็นสัญญากู้ยืมไหม?
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000058589
ยุติธรรมชี้ “แชตขอยืมเงิน” เท่ากับทำสัญญากู้ยืม แนะแคปหน้าจอแชต-เก็บอี-สลิปไว้
เผยแพร่: 13 มิ.ย. 2561 08:34: ปรับปรุง: 13 มิ.ย. 2561 08:50: โดย: MGR Online
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ชี้ แชตขอยืมเงินเท่ากับการทำสัญญากู้ยืมเงิน แนะถ้าจะฟ้องให้แคปหลักฐานข้อความสนทนา หลักฐานบัญชีผู้กู้ และหลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ แอปพลิเคชัน
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำอินโฟกราฟิก หัวข้อ “แชตขอยืมเงินเท่ากับการทำสัญญากู้ยืมเงิน” ระบุว่า ปัญหาการให้กู้ยืมเงิน แต่ผู้ยืมไม่นำเงินมาคืน และเมื่อแจ้งความดำเนินคดีก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือสัญญากู้ยืมเงินที่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม มีเพียงแต่การพูดคุยสนทนาตกลงกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น
ในกรณีเช่นนี้ ตามมาตรา 7, 8, 9 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และคำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน
โดยให้รวบรวมหลักฐานดังนี้ 1. หลักฐานข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่านแชต หรือกล่องข้อความออนไลน์ 2. หลักฐานบัญชีของผู้กู้ยืมเงิน 3. หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ แอปพลิเคชันของธนาคาร ทั้งนี้ หากชื่อบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ กับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารไม่ตรงกัน ควรให้ผู้ขอกู้ยืมเงินยืนยัน และอธิบายว่าบัญชีธนาคารเป็นของใคร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน
ก็ถือเป็นความรู้สำหรับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นะครับ ว่าแต่มีใครชอบยืมหรือโดนยืมทางหลังไมค์บ้างครับ แชร์ประสบการณ์กันได้นะ ^^