JJNY : โปร่งใสดี๊ดี..ซี้จุกสูญ ชาวหนองบัวลำภูถามความโปร่งใสปุ๋ยโครงการรัฐ/ปปง.ยึดทรัพย์ 'พุฒิพัฒน์' อดีตปลัดพม.กับพวกฯ

กระทู้คำถาม
ชาวหนองบัวลำภูถามความโปร่งใสปุ๋ยโครงการรัฐ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_995972

วันที่ 13 มิถุรายน ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของชาวบ้าน ตามโครงการ 9101 ที่ หมู่ที่ 5 บ้านนาคำไฮน้อย ต.นาคำไฮ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ยังเหลืออยู่จำนวนมาก และขายแล้วก็ไม่รู้ว่าเงินไปไหน จึงได้เดินทางไปยังสถานที่โรงเก็บปุ๋ยอินทรีย์ภายในบริเวณวัดศรีรัตนตรัย หมู่บ้านนาคำไฮน้อย พบกองกระสอบปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมาก มีสภาพกระสอบขาด เปื่อยผุพังเสื่อมหมดสภาพ กองทับถมกันในโรงเก็บ ได้รับการบอกเล่าจากชาวบ้านว่า หมู่บ้านได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของทางราชการมา 500,000 บาท เป็นค่าวัสดุในการผลิตปุ๋ย 300,000 บาท เหลือนั้นเป็นค่าแรงของชาวบ้าน 200,000 บาท ผลิตปุ๋ยได้ 100 ตัน บรรจุในกระสอบปุ๋ยน้ำหนัก 45-50 กิโลกรัม ขายไปแล้ว 75 ตัน แต่ไม่รู้ว่าเงินอยู่ไหน ได้เท่าไร ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่มาทำงานแบกขนปุ๋ยขึ้นรถก็ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ไม่มีการชี้แจงให้ชาวบ้านคณะกรรมการคนอื่นได้รับรู้

นายจิรคุณ ทิพย์เนตร ผู้ใหญ่บ้านนาคำไฮน้อย ได้มาพบและชี้แจงกับชาวบ้านว่า เงินจากการขายปุ๋ยไปนั้นส่วนหนึ่งยังเก็บไม่ได้ บางคนยังไม่ได้จ่าย แต่จะพยายามติดตามเก็บ การทำงานมีการแต่งตั้งกรรมการหลายฝ่าย ทำหน้าที่ ชาวบ้านที่นำปุ๋ยไปใส่บางคนก็บอกว่าดี ต้นพืชที่ใส่ไปนั้นเจริญเติบโตดี และก็มีชาวบ้านบางคนบอกว่า ปุ๋ยที่เหลือให้แจกให้ชาวบ้านไป บางคนบอกว่ามันทำไม่ได้ จึงเกิดความวุ่นวาย ตอนนี้ปุ๋ยที่ขายยังไม่ได้ มีของหมู่ 5 และหมู่ 10

นายสมควร แสนศักดิ์ดา กรรมการหมู่บ้าน กล่าวว่า ช่วงแรกขายปุ๋ยไปราคาตันละ 2,000 บาท แต่คิดว่าตอนนี้จะปรับลดราคาลงให้เกษตรกรได้นำเอาปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้จะเป็นการช่วยลดสารเคมีลงได้ ขายในราคา ตันละ 1,000 บาท ส่วนกระสอบขาย 25 บาท คาดว่าในช่วงฤดูการทำนานี้น่าจะหมด




ปปง.ยึดทรัพย์ 'พุฒิพัฒน์' อดีตปลัดพม.กับพวก เกือบ 100 ล้าน ทุจริตโกงเงินคนไร้ที่พึ่ง
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_995942

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการปปง.เปิดเผยถึงมติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ตามที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง. ตรวจสอบ ธุรกรรมและทรัพย์สินของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์ทุจริตการยักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้ ซึงมีความเกี่ยวข้องกับ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ปปง. ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกแล้วพบว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ 3 ราย ได้แก่ นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายณรงค์ คงคา อดีตรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายธีรพงษ์ ศรีสุคนธ์ อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีพฤติการณ์ทุจริตการยักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้

โดยพฤติการณ์ของกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีลักษณะ การทำงานเป็นขบวนการผ่านทางการจัดสรรเงินงบประมาณลงไปยังศูนย์และหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดทั่วทุกภาค และมี การจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายเงินงบประมาณอันเป็นเท็จ โดยนำเงินที่ได้จากการทุจริตเบิกจ่ายส่งกลับคืนไปยังผู้บริหาร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในขณะนั้น และแปลงเงินไปเป็นทรัพย์สินในรูปแบบอื่นให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เช่น ที่ดิน ห้องชุด รถยนต์หรู เงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร และหลักทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจากการสืบสวนข้อมูลทางการเงินและ ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องพบว่า มีการได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานตาม กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นจำนวนมาก

คณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ยึดและอายัดทรัพย์สินที่ เกี่ยวกับการกระทำความผิดของนายพุฒิพัฒน์ นายณรงค์ และนายธีรพงษ์ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว ประมาณ 12 ราย เช่น ที่ดิน ห้องชุด รถยนต์หรู เงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร และหลักทรัพย์ต่างๆ รวม 41 รายการ มูลค่าประมาณ 88 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มคนดังกล่าวมีพฤติการณ์กระทำความผิดทางอาญาฐานฟอกเงิน ซึ่งปปง. จะได้ดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา ความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ขอแจ้งเตือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการทุจริตในหน้าที่ว่า นอกจากจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว หากใครมีพฤติการณ์ในการรับหรือโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการทุจริตก็อาจต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงิน ซึ่งมีโทษ จำคุก 10 ปีต่อการโอนหรือรับโอน 1 ครั้ง กล่าวโดยสรุปแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต นอกจากจะถูกยึดหรืออายัด ทรัพย์สินแล้ว ตัวผู้กระทาความผิดเอง ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือนอมินี ที่รับโอนทรัพย์สินจากผู้กระทาความผิดทุกคนก็ยัง อาจต้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานฟอกเงินด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่