คราวนี้ ผมขอพูดถึงมหาสงครามเหนือหรือ "Great Northern War" อันเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่าง จักรวรรดิสวีเดน และ จักรวรรดิรัสเซีย เป็นหัวหอกใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายในสงคราม สงครามนั้นกินบริเวณกว้างในแถบตอนกลางและตอนเหนือของยุโรป
แผนที่แสดงอาณาเขตของทั้ง 2 ฝ่ายในปี ค.ศ. 1710
สีแดง - สวีเดนและพันธมิตร
สีน้ำเงิน - รัสเซียและพันธมิตร
หลังจากสนธิสัญญา Westphalia ถูกลงนามในปี ค.ศ.1648 ก็ขยายอาณาเขตของตนจนกว้างขวางซึ่งมีทั้งรัฐ Pomerania ทางตอนเหนือของเยอรมัน เมือง Riga ในลัตเวีย , เอสโตเนีย และทางตอนเหนือของรัสเซียในปัจจุบัน แม้แต่กรุง St.Peterburg ก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสวีเดน (สมัยก่อนไม่มีเมืองนี้) นอกจากจะมีอิทธิพลที่กว้างขวางแล้ว สวีเดนยังมีกองทัพที่แข็งแกร่งและมีระเบียบวินัยที่สุดในยุโรปกว่าได้ โดยการจัดระบบกองทัพแบบใหม่และการพัฒนาแนวคิดการรบอย่างต่อเนื่อง ทำให้สวีเดนถูกมองว่าเป็น "สิงห์แห่งภาคเหนือ" กลายเป็นที่น่าหวั่นเกรงไปทั่วในแถบยุโรปภาคเหนือ
เมื่อถึง ปี ค.ศ.1697 เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 11 แห่ง สวีเดน สิ้นพระชนม์ ทิ้งบัลลังก์ให้ลูกวัยเพียง 14 ปี ชาร์ลที่ 12 ขึ้นครองบัลลังก์ เหล่ารัฐต่างๆในยุโรปเห็นเป็นโอกาสดีที่จะโจมตีสวีเดน ทั้ง รัสเซีย ,สหพันธรัฐ โปร์แลนด์ - ลิธัวเนีย , แซกโซนี่ และ เดนมาร์กต่างประกาสสงครามกับสวีเดนในปี ค.ศ.1700 บังเกิดเป็นอภิมหาสงครามเหนือ แต่เหล่าพันธมิตรก็พบว่าตัวเองคิดผิดเมื่อกษัตริย์อันเยาว์วัยของสวีเดนนั้นไม่ได้ไร้น้ำยาอย่างที่คิด พระเจ้าชาร์ลที่ 12 นำทัพ Carolean รบชนะกองทัพพันธมิตรได้แทบทุกครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นกองทัพสวีเดนมีน้อยกว่ามาก แต่ด้วยความสามารถในการบัญชาการของพระองค์ พร้อมด้วยกองทัพอันมีประสิทธิภาพและความศรัทธาอย่างแรงกล้าในศาสนาทำให้พวกเขามีชัยไปได้ทุกครั้ง การรบครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพระองค์คือการรบที่ Narva เมื่อปี ค.ศ.1700 เมื่องกองทัพสวีเดนที่มีแค่ 10,500 นาย เอาชนะกองทัพรัสเซียที่มีกว่า 40,000 นายได้อย่างเด็ดขาด ทำเอาพระเจ้าซาร์ปีเตอร์แห่งรัสเซียกเข็ดขยาดไปอีกนาน
พระเจ้าชาร์ลที่ 12 แห่ง สวีเดน ยุวกษัตริย์ชาตินักรบ
แต่พระเจ้าชาร์ล นั้นมีศึกอีกหลายทั้งโปร์แลนด์และเดนมาร์ก ทำให้พระองค์ไม่สามารถติดตามเข้าไปในแดนรัสเซียและคว้าชัยชนะอย่างเด็ดขาดมาได้ กระนั้นหลังจากการยุทธที่ Narva ยังมีการยุทธอีกแห่งหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของสวีเดนเหนือพันธมิตร รัสเซีย - แซกซอน อีกครั้งในแดน โปร์แลนด์นั้นคือการยุทธแห่ง Fraustadt
ก่อนจะกล่าวถึงการยุทธที่ Fraustadt ผมก็ขอเท้าความไปถึงความขัดแย้งในโปร์แลนด์อันจะเป็นมูลเหตุของการยุทธที่กำลังจะเกิดขึ้น เนื่องด้วยกษัตริย์ของ เครือจักรภพ โปแลนด์ - ลิธัวเนีย นั้น มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นเหล่าผู้ครองแคว้นต่างๆในโปแลนด์จึงได้มีสิทธิเป็นกษัตริย์ (และระบบนี้นำมาซึ่งความ
ของโปแลนด์ในเวลาต่อมา)
หลังจากพระเจ้า John III Sobieski สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1697 (กษัตริย์ผู้นี่คือผู้นำกองทัพม้า Winged Hussar ถล่มกองทัพเติร์กจนเละที่ เวียนนา) ก็ได้มีการเลือกตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกก็คือ พระเจ้า Augustus II ผู้แข็งแกร่ง (ว่ากันว่าเขาหักกีบม้าได้ด้วยมือเปล่า!!) โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัสเซีย - ออสเตรีย รวมถึงนายธนาคารที่เป็นแหล่งเงินทุนของเขา นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่ง Saxony อีกด้วย (เป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire นั้นหมายความว่าเขามีโอกาสที่จะได้เป็น จักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ เช่นกัน) พระเจ้า Augustus II พยายามดำเนิน นโยบายหลายอย่าง ทั้งทำสงครามศักสิทธิ์กับ ออตโตมันเติร์ก นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ รัสเซีย และ เดนมาร์ก รุมกันถลุง สวีเดน ใน มหาสงครามเหนือ แน่นอนว่าใจ Augustus คงต้องการหวังดินแดนเพิ่มจากสงครามในครั้งนี้ และคงคิดว่า สวีเดน คงจะเชือดได้ง่ายๆเพราะต้องรับมือกับศึกหลายด้านขนาดนี้
พระเจ้า Augustus II "ผู้แข็งแกร่ง" สาเหตุที่เขาได้ฉายานี้ เพราะ เขาเคยหักกีบม้าด้วยมือเปล่า และใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวในการจับปลายสลิงที่ใช้สำหรับ การโยนจิ้งจอก (เป็นกาลเล่นสำหรับคนสมัยนั้น สุนัขจิ้งจอกมันคงสนุกด้วยหรอก ถูกโยนไปโยนมา 555) ในขณะที่โดยปกติต้องใช้ผู้ชายถึง 2 คนในการจับปลายสลิง
แต่เขาคิดผิด!! เมื่อกองทัพ Carolean อันแข็งแกร่งของพระเจ้าชาร์ลที่ 12 บดขยี้กองทัพรัสเซียจนยับเยินที่ Narva ในปี ค.ศ.1700 พระเจ้าชาร์ลที่ 12 ยกทัพลงใต้มาจัดการกับโปแลนด์ต่อทันที พระเจ้า Augustus พ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งกรุง วอซอร์ ถูกยึดในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1702 ในตอนนี้ พระเจ้า Augustus II ต้องการสงบศึก แต่พระเจ้าชาร์ลที่ 12 กลับไม่คิดเช่นนั้น เขาคิดว่าการทำสนธิสัญญาสงบศึกเป็นเพียงการพักรบเท่านั้นต้องการจะตัดแนวด้านนี้ทิ้งไปอย่างถาวร ดังนั้นเขาจึงหนุนหลัง Stanisław Leszczyński ชนชั้นสูงโปแลนด์อีกคนให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน พระเจ้า Augustus II แทน!! แต่มีรึพระเจ้า Augustus II จะยอม!! จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในโปแลนด์ขึ้น ยังไงซะกองทัพโปแลนด์กว่า 75% ยังอยู่ภายใต้การบัญชาการของเขานอกจากนี้ยังมีกองทัพของ Saxony และพันธมิตรอย่าง รัสเซียมาช่วยอีกทัพ ทำให้เขายังเหลือกองทัพที่จะรบต่อ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พระเจ้า Stanislaw ได้สวมมงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ของโปแลนด์อย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1705 นอกจากนี้เขายังได้ทำสนธิสัญญาวอซอร์กับ พระเจ้า Stanislaw ในปีวันที่ 28 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ว่าด้วยการเป็นพันธมิตรกันระหว่าง สวีเดน - โปแลนด์!!! เรียกได้เลยว่าข้ามหัวกันเลยทีเดียว
ต้นปี ค.ศ. 1706 พระเจ้า Augustus วางแผนว่าจะล่อกองทัพของพระเจ้าชาร์ลที่ 12 ออกมาจากวอซอร์และทำลายเสียด้วยการโจมตีจาก 2 ทิศทางพร้อมกันนั้นคือ กองทัพของเขาและกองทัพรัสเซีย จากเมือง Grodno จำนวนทั้งสิ้น 41,000 นายจะเคลื่อนลงใต้มาที่ วอซอร์.. ส่วนกองทัพของนายพลชาว Saxony ของเขา Johann Matthias von der Schulenburg เคลื่อนมาจากตะวันตกรุดหน้าเข้าสู่วอซอร์ ด้วยกำลังพลทั้งสิ้น 20,000 นาย รวมกำลังพลทั้งสิ้นฝั่งพันธมิตร โปแลนด์ - รัสเซีย - Saxony จะมีทหารประมาณ 61,000 นาย ในขณะที่พระเจ้าชาร์ลที่ 12 มีทหารใน โปแลนด์ทั้งสิ้น 43,400 นาย (เป็นกองทัพโปแลนด์ 10,000 นาย) พระเจ้าชาร์ลที่ 12 รีบเคลื่อนทัพจำนวน 34,000 นายไปปิดล้อมเมือง Grodno ทันที!! เพื่อให้กองทัพที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งพันธมิตรเคลื่อนลงมาสมทบกับอีกกองทัพได้ ในขณะเดียวกันเขาทิ้งวอซอร์ไว้ให้นายพลของเขา Carl Gustaf Rehnskiöld ผู้ช่ำชองในกลยุทธ์พร้อมด้วยกองทัพ Swedish Carolean 9,400 นาย อย่างไรก็ตาม กองทัพผสม Saxony - รัสเซีย จำนวน 20,000 นาย นำโดย นายพล Schulenburg ก็เคลื่อนเข้ามาใกล้ วอซอร์ เต็มที เมื่อเขาทราบว่ากองทัพสวีเดนใน วอซอร์นั้นมีเพียง 9,400 นาย เขาตัดสินใจโจมตี วอซอร์โดยทันที!! และนั้นคือจุดเริ่มต้นของการยุทธแห่ง Fraustadt
ในตอนแรกนั้นกองทัพ Carolean ภายใต้การนำของนายพล Rehnsköld นั้นตั้งอยู่ที่เมือง Schlawa ทางตะวันตกของโปแลนด์แต่เมื่อพบว่ากองทัพ Saxon – รัสเซียกำลังมุ่งตรงมาเขาก็ถอยไปทางตะวันออกที่เมือง Fraustadt ฝั่งนายพล Schulenburg จึงย่ามใจคิดว่า สวีเดนไม่กล้าจะสู้ซึ่งๆหน้าเลยถอยหนีจึงติดตามไปยังเมือง Fraustadt แต่หารู้ว่าไหมว่าการเคลื่อนพลไปยังตำบลที่ศัตรูเลือกให้นั้นเป็นเรื่องที่ผิดหลักการยุทธอย่างรุนแรง ทางนายพล Rehnsköld ได้เตรียมแผนการของเขาไว้แล้ว ทางนายพล Rehnsköld ถึงกับกล่าวไว้ว่า “ผมตัดสินใจถอยไปที่ Fraustadt เพื่อล่อให้ข้าศึกตามมาในชัยภูมิที่ผมได้เปรียบ และเพื่อหลอกเขาว่าเราถอยอย่างเต็มรูปแบบ”
"Great Northern War" : Battle of Fraustadt ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเหล่า Carolean
สีแดง - สวีเดนและพันธมิตร
สีน้ำเงิน - รัสเซียและพันธมิตร
หลังจากสนธิสัญญา Westphalia ถูกลงนามในปี ค.ศ.1648 ก็ขยายอาณาเขตของตนจนกว้างขวางซึ่งมีทั้งรัฐ Pomerania ทางตอนเหนือของเยอรมัน เมือง Riga ในลัตเวีย , เอสโตเนีย และทางตอนเหนือของรัสเซียในปัจจุบัน แม้แต่กรุง St.Peterburg ก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสวีเดน (สมัยก่อนไม่มีเมืองนี้) นอกจากจะมีอิทธิพลที่กว้างขวางแล้ว สวีเดนยังมีกองทัพที่แข็งแกร่งและมีระเบียบวินัยที่สุดในยุโรปกว่าได้ โดยการจัดระบบกองทัพแบบใหม่และการพัฒนาแนวคิดการรบอย่างต่อเนื่อง ทำให้สวีเดนถูกมองว่าเป็น "สิงห์แห่งภาคเหนือ" กลายเป็นที่น่าหวั่นเกรงไปทั่วในแถบยุโรปภาคเหนือ
เมื่อถึง ปี ค.ศ.1697 เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 11 แห่ง สวีเดน สิ้นพระชนม์ ทิ้งบัลลังก์ให้ลูกวัยเพียง 14 ปี ชาร์ลที่ 12 ขึ้นครองบัลลังก์ เหล่ารัฐต่างๆในยุโรปเห็นเป็นโอกาสดีที่จะโจมตีสวีเดน ทั้ง รัสเซีย ,สหพันธรัฐ โปร์แลนด์ - ลิธัวเนีย , แซกโซนี่ และ เดนมาร์กต่างประกาสสงครามกับสวีเดนในปี ค.ศ.1700 บังเกิดเป็นอภิมหาสงครามเหนือ แต่เหล่าพันธมิตรก็พบว่าตัวเองคิดผิดเมื่อกษัตริย์อันเยาว์วัยของสวีเดนนั้นไม่ได้ไร้น้ำยาอย่างที่คิด พระเจ้าชาร์ลที่ 12 นำทัพ Carolean รบชนะกองทัพพันธมิตรได้แทบทุกครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นกองทัพสวีเดนมีน้อยกว่ามาก แต่ด้วยความสามารถในการบัญชาการของพระองค์ พร้อมด้วยกองทัพอันมีประสิทธิภาพและความศรัทธาอย่างแรงกล้าในศาสนาทำให้พวกเขามีชัยไปได้ทุกครั้ง การรบครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพระองค์คือการรบที่ Narva เมื่อปี ค.ศ.1700 เมื่องกองทัพสวีเดนที่มีแค่ 10,500 นาย เอาชนะกองทัพรัสเซียที่มีกว่า 40,000 นายได้อย่างเด็ดขาด ทำเอาพระเจ้าซาร์ปีเตอร์แห่งรัสเซียกเข็ดขยาดไปอีกนาน
แต่พระเจ้าชาร์ล นั้นมีศึกอีกหลายทั้งโปร์แลนด์และเดนมาร์ก ทำให้พระองค์ไม่สามารถติดตามเข้าไปในแดนรัสเซียและคว้าชัยชนะอย่างเด็ดขาดมาได้ กระนั้นหลังจากการยุทธที่ Narva ยังมีการยุทธอีกแห่งหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของสวีเดนเหนือพันธมิตร รัสเซีย - แซกซอน อีกครั้งในแดน โปร์แลนด์นั้นคือการยุทธแห่ง Fraustadt
ก่อนจะกล่าวถึงการยุทธที่ Fraustadt ผมก็ขอเท้าความไปถึงความขัดแย้งในโปร์แลนด์อันจะเป็นมูลเหตุของการยุทธที่กำลังจะเกิดขึ้น เนื่องด้วยกษัตริย์ของ เครือจักรภพ โปแลนด์ - ลิธัวเนีย นั้น มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นเหล่าผู้ครองแคว้นต่างๆในโปแลนด์จึงได้มีสิทธิเป็นกษัตริย์ (และระบบนี้นำมาซึ่งความของโปแลนด์ในเวลาต่อมา)
หลังจากพระเจ้า John III Sobieski สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1697 (กษัตริย์ผู้นี่คือผู้นำกองทัพม้า Winged Hussar ถล่มกองทัพเติร์กจนเละที่ เวียนนา) ก็ได้มีการเลือกตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกก็คือ พระเจ้า Augustus II ผู้แข็งแกร่ง (ว่ากันว่าเขาหักกีบม้าได้ด้วยมือเปล่า!!) โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัสเซีย - ออสเตรีย รวมถึงนายธนาคารที่เป็นแหล่งเงินทุนของเขา นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่ง Saxony อีกด้วย (เป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire นั้นหมายความว่าเขามีโอกาสที่จะได้เป็น จักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ เช่นกัน) พระเจ้า Augustus II พยายามดำเนิน นโยบายหลายอย่าง ทั้งทำสงครามศักสิทธิ์กับ ออตโตมันเติร์ก นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ รัสเซีย และ เดนมาร์ก รุมกันถลุง สวีเดน ใน มหาสงครามเหนือ แน่นอนว่าใจ Augustus คงต้องการหวังดินแดนเพิ่มจากสงครามในครั้งนี้ และคงคิดว่า สวีเดน คงจะเชือดได้ง่ายๆเพราะต้องรับมือกับศึกหลายด้านขนาดนี้
แต่เขาคิดผิด!! เมื่อกองทัพ Carolean อันแข็งแกร่งของพระเจ้าชาร์ลที่ 12 บดขยี้กองทัพรัสเซียจนยับเยินที่ Narva ในปี ค.ศ.1700 พระเจ้าชาร์ลที่ 12 ยกทัพลงใต้มาจัดการกับโปแลนด์ต่อทันที พระเจ้า Augustus พ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งกรุง วอซอร์ ถูกยึดในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1702 ในตอนนี้ พระเจ้า Augustus II ต้องการสงบศึก แต่พระเจ้าชาร์ลที่ 12 กลับไม่คิดเช่นนั้น เขาคิดว่าการทำสนธิสัญญาสงบศึกเป็นเพียงการพักรบเท่านั้นต้องการจะตัดแนวด้านนี้ทิ้งไปอย่างถาวร ดังนั้นเขาจึงหนุนหลัง Stanisław Leszczyński ชนชั้นสูงโปแลนด์อีกคนให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน พระเจ้า Augustus II แทน!! แต่มีรึพระเจ้า Augustus II จะยอม!! จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในโปแลนด์ขึ้น ยังไงซะกองทัพโปแลนด์กว่า 75% ยังอยู่ภายใต้การบัญชาการของเขานอกจากนี้ยังมีกองทัพของ Saxony และพันธมิตรอย่าง รัสเซียมาช่วยอีกทัพ ทำให้เขายังเหลือกองทัพที่จะรบต่อ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พระเจ้า Stanislaw ได้สวมมงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ของโปแลนด์อย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1705 นอกจากนี้เขายังได้ทำสนธิสัญญาวอซอร์กับ พระเจ้า Stanislaw ในปีวันที่ 28 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ว่าด้วยการเป็นพันธมิตรกันระหว่าง สวีเดน - โปแลนด์!!! เรียกได้เลยว่าข้ามหัวกันเลยทีเดียว
ต้นปี ค.ศ. 1706 พระเจ้า Augustus วางแผนว่าจะล่อกองทัพของพระเจ้าชาร์ลที่ 12 ออกมาจากวอซอร์และทำลายเสียด้วยการโจมตีจาก 2 ทิศทางพร้อมกันนั้นคือ กองทัพของเขาและกองทัพรัสเซีย จากเมือง Grodno จำนวนทั้งสิ้น 41,000 นายจะเคลื่อนลงใต้มาที่ วอซอร์.. ส่วนกองทัพของนายพลชาว Saxony ของเขา Johann Matthias von der Schulenburg เคลื่อนมาจากตะวันตกรุดหน้าเข้าสู่วอซอร์ ด้วยกำลังพลทั้งสิ้น 20,000 นาย รวมกำลังพลทั้งสิ้นฝั่งพันธมิตร โปแลนด์ - รัสเซีย - Saxony จะมีทหารประมาณ 61,000 นาย ในขณะที่พระเจ้าชาร์ลที่ 12 มีทหารใน โปแลนด์ทั้งสิ้น 43,400 นาย (เป็นกองทัพโปแลนด์ 10,000 นาย) พระเจ้าชาร์ลที่ 12 รีบเคลื่อนทัพจำนวน 34,000 นายไปปิดล้อมเมือง Grodno ทันที!! เพื่อให้กองทัพที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งพันธมิตรเคลื่อนลงมาสมทบกับอีกกองทัพได้ ในขณะเดียวกันเขาทิ้งวอซอร์ไว้ให้นายพลของเขา Carl Gustaf Rehnskiöld ผู้ช่ำชองในกลยุทธ์พร้อมด้วยกองทัพ Swedish Carolean 9,400 นาย อย่างไรก็ตาม กองทัพผสม Saxony - รัสเซีย จำนวน 20,000 นาย นำโดย นายพล Schulenburg ก็เคลื่อนเข้ามาใกล้ วอซอร์ เต็มที เมื่อเขาทราบว่ากองทัพสวีเดนใน วอซอร์นั้นมีเพียง 9,400 นาย เขาตัดสินใจโจมตี วอซอร์โดยทันที!! และนั้นคือจุดเริ่มต้นของการยุทธแห่ง Fraustadt
ในตอนแรกนั้นกองทัพ Carolean ภายใต้การนำของนายพล Rehnsköld นั้นตั้งอยู่ที่เมือง Schlawa ทางตะวันตกของโปแลนด์แต่เมื่อพบว่ากองทัพ Saxon – รัสเซียกำลังมุ่งตรงมาเขาก็ถอยไปทางตะวันออกที่เมือง Fraustadt ฝั่งนายพล Schulenburg จึงย่ามใจคิดว่า สวีเดนไม่กล้าจะสู้ซึ่งๆหน้าเลยถอยหนีจึงติดตามไปยังเมือง Fraustadt แต่หารู้ว่าไหมว่าการเคลื่อนพลไปยังตำบลที่ศัตรูเลือกให้นั้นเป็นเรื่องที่ผิดหลักการยุทธอย่างรุนแรง ทางนายพล Rehnsköld ได้เตรียมแผนการของเขาไว้แล้ว ทางนายพล Rehnsköld ถึงกับกล่าวไว้ว่า “ผมตัดสินใจถอยไปที่ Fraustadt เพื่อล่อให้ข้าศึกตามมาในชัยภูมิที่ผมได้เปรียบ และเพื่อหลอกเขาว่าเราถอยอย่างเต็มรูปแบบ”