:: สรุป :: การแถลงข่าวของ NASA เมื่อคืนนี้ เรื่องการค้นพบบนดาวอังคาร

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ อมยิ้ม17  วันนี้ผม Partita (ในสมาชิกชั่วคราว)  ขอเสนอการสรุปข่าวที่ NASA ได้แถลงไปเมื่อคืนนี้ครับ
ข้อมูลที่ทาง NASA แถลง  ก็คือการค้นพบ Organic material (สารอินทรีย์) ในชั้นหินตะกอนที่ขุดเจาะโดย Curiosity rover

หุ่นยนต์สำรวจ Curiosity rover ได้ตรวจพบหลักฐานสำคัญซึ่งได้ถูกเก็บรักษาใว้ในหินบนพื้นผิวดาวอังคาร
ซึ่งหลักฐานนี้  ได่บ่งชี้ว่าอาจมีสภาพที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตในอดีต  และหลักฐานใหม่นี้ ยังเกี่ยวข้องกับภารกิจ
การหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารในปัจจุบันด้วย  ถึงแม้ว่าการค้นพบในครั้งนี้ ยังมิใช่การค้นพบสิ่งมีชีวิตก็ตาม

การค้นพบในครั้งนี้  มันคือ Organic molecule  ที่ปรากฏในชั้นของหินตะกอนที่มีอายุเก่าแก่ถึง 3,000 ล้านปี
โดยเป็นชั้นหินความลึกใกล้พื้นผิวดาวนี่เอง  และยังตรวจพบแก้สมีเทนในชั้นบรรยากาศด้วย  ซึ่งแก้สมีเทน นี้  มีปริมาณ
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร   Organic molecule ที่ตรวจพบนี้  ประกอบด้วย Carbon - Hydrogen  
และอาจมี Oxygen Nitrogen ปนอยู่ด้วย  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต  แต่โมเลกุลพวกนี้  ก็อาจเกิดจากกระบวนการเคมี
ที่ไม่เกี่ยวกับชีววิทยา และอาจไม่ได้บ่งชี้ถึงร่องรอยสิ่งมีชีวิตก็ได้

ทางทีมงานสำรวจได้กล่าวว่า  การค้นพบในครั้งนี้  เป็นสัญญาณบอกพวกเราว่าให้เดินหน้าค้นหาหลักฐานของการมีชีวิตต่อไป
และถือว่า Curiosity rover ได้ค้นพบร่องรอยของชีวิตอันเก่าแก่  และเป็นสภาพแวดล้อม - สภาพทางเคมี ของการเคยมีสิ่งมีชีวิต

ถึงแม้ว่าพื้นผิวดาวอังคารในทุกวันนี้จะมีสภาพที่ไม่เอื้อต่อชีวิต  แต่หลักฐานนี้ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า
ในอดีต  สภาพภูมิอากาศของดาวอังคารอาจมีน้ำในรูปของเหลว  และบริเวณ Gale crater ที่เรากำลังสำรวจอยู่นี้
อาจมีสภาพเป็นทะเลสาบ  และเป็นแหล่งรวมสำคัญขององค์ประกอบชีวิต คือเป็นทั้งจิ๊กซอว์ของการกำเนิดชีวิต
และ เป็นวัตถุดิบที่เป็นแหล่งพลังงานของการกำเนิดชีวิตด้วย

ทีมงานได้กล่าวอีกว่า พื้นผิวดาวอังคารถูกรังสีจากอวกาศโดยตรง  รังสีเหล่านั้นได้ break down
สาร organic เหล่านี้  และการค้นพบสาร organic โบราณพวกนี้ในความลึกของการเจาะของ Rover
เพียง 5 เซนติเมตร จากผิวดินดาวอังคาร เป็นสิ่งบ่งชี้ว่านั่นคือการทับถมของสสารเมื่อสมัยที่ดาวอังคาร
ยังมีสภาพเอื้อชีวิต  ซึ่งนี่เป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับเราในการทำโครงการสำรวจในอนาคต  ที่เราจะ เจาะ ลงไปให้ลึกกว่าเดิม

กรรมวิธีในการตรวจสอบสาร organic ดังกล่าว  Curiosity rover ได้ทำการขุดเจาะลงไปที่หินตะกอนบริเวณ Gale crater
หินตะกอนเหล่านี้ form ตัวขึ้นเมื่อพันล้านปีที่แล้วจากการไหลสะสมของโคลนลงไปที่ก้นทะเลสาบโบราณ  ตัวอย่างของหิน
ถูกตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Sample Analysis at Mars (SAM) ของ Rover โดยการป้อนความร้อน 500 องศา C ใส่ sample เหล่านั้น
จน organic molecule แยกตัวออกมาจาก smaple หินเหล่านั้น

ผลการตรวจสอบ  พบว่ามีปริมาณ organic Carbon อยู่ 10 PPM ++  ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณที่เคยตรวจสอบได้จาก อุกกาบาต
ที่มาจากดาวอังคาร  นอกจากนี้ยังตรวจพบโมเลกุลของ Thiophenes  Benzene  Toluene  และพวก carbon chains ขนาดเล็ก
เช่น  Propane  Butene


เรื่องต่อไปคือ การตรวจพบแก้สมีเทนในชั้นบรรยากาศ  ข้อมูลนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมมานาน 3 ปีดาวอังคาร (6 ปีโลก)
ความแปรปรวนของปริมาณแก้สมีเทน นี้  ได้ตรวจพบโดยเครื่องมือ Sample Analysis at Mars (SAM)  ทางทีมสำรวจคาดว่า
ชั้นหินที่มี น้ำ เจือปนอยู่ (เช่น ชั้นแร่ Olivine) จะเป็นแหล่งกำเนิดแก้สมีเทน  แต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องการกำเนิดชีวิตได้  
ที่ผ่านมา  แก้สมีเทนเคยถูกตรวจพบบนดาวอังคารมาแล้ว  แต่ในครั้งนี้เป็นการตรวจพบที่บริเวณ Gale crater และมีการเปลี่ยนแปลง
ของปริมาณตามฤดูกาลด้วย โดยจะ peak ในฤดูร้อน  และ ลดลงในฤดูหนาว  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทางทีมสำรวจได้พบการแปรปรวนของปริมาณแก้ส


เพิ่มเติมเรื่อง Gale crater ..... Gale crater คือ หลุมอุกกาบาตขนาดมหึมา  มีความกว้างประมาณ 160 กิโลเมตร
และ มียอดนูนขึ้นมาตามโครงสร้างของหลุมอุกกาบาต  โดยนูนสูงขึ้นมาถึง 5.5 กิโลเมตร  ซึ่ง Curiosity rover
ได้ไปสำรวจที่นี่มานานแล้ว  ที่นี่คือเป้าหมายในการสำรวจของทีมงาน  เนื่องจากหลุมอุกกาบาตแห่งนี้เก่าแก่มาก
และ คาดว่า อาจเคยมีลักษณะของทะเลสาบขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ครับ


สภาพภูมิประเทศทั่วไปภายใน Gale crater


แผนที่ความสูงของ Gale crater  ในวงรีนั้นคือบริเวณ Landing ของ Curiosity rover
และ Curiosity ก็วนเวียนสำรวจอยู่ภายในนี้มา 6 ปีแล้ว


จบแล้ว .... เนื้อหา แปล/เรียบเรียงจาก
https://www.nasa.gov/press-release/nasa-finds-ancient-organic-material-mysterious-methane-on-mars
สวัสดีครับ อมยิ้ม17
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่