สวัสดีฮะ
จากการที่ได้ติดตามอ่านกระทู้ในห้องสินทรมานาน....
มีคำถามหนึ่งที่นักลงทุนมักสงสัยคือ
"พี่กองที่ซื้อสุทธิทุกวันเงินหมดหรือยัง?"
ส่วนตัวก็ตอบได้เลยว่า "ไม่ทราบฮะ"
ก็เลยลองหาข้อมูลดูว่า นักลงทุนประเภทสถาบัน หรือที่เราเรียกว่า
"พี่กอง" มีทรัพย์สินหรือหน้าตักกันเท่าไหร่บ้าง?
ก่อนอื่นเลยต้องรู้ว่าที่เค้านิยามว่า นักลงทุนสถาบันประกอบด้วยใครบ้าง?
ก็ได้คำตอบจากประกาศ กลต. ฉบับที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกำหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่
ว่า นักลงทุนสถาบันประกอบด้วย (ยาวมาก ซ่อนไว้ใน Spoil นะฮะ
)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารพาณิชย์
(3) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) บริษัทเงินทุน
(5) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(6) บริษัทหลักทรัพย์
(7) บริษัทประกันวินาศภัย
(8) บริษัทประกันชีวิต
(9) กองทุนรวม
(10) กองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (9) หรือ (11) ถึง (25)
(11) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(13) กองทุนประกันสังคม
(14) กองทุนการออมแห่งชาติ
(15) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(16) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(17) ผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้า
เกษตรล่วงหน้า
(18) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(19) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(20) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(21) นิติบุคคลประเภทบรรษัท
(22) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (21) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 75
ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(23) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (22)
(24) ผู้จัดการกองทุน หรือผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(25) ผู้ลงทุนอื่นใดตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
ในจำนวน25ประเภทนี้มีหลายประเภทที่เราไม่สามารถหาข้อมูลขนาดกองทุนได้จากข้อมูลสาธารณะ แต่ก็มีหลายประเภทที่สามารถหาข้อมูลได้ไม่ยาก ก็เลยนำฝากกันฮะ
1. ข้อ (9)
กองทุนรวม ซึ่งก็คือกองทุนที่เปิดซื้อขายกันตาม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมต่างๆ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่รู้จัก กองทุนที่เปิดก็มีทั้งแบบ หุ้น(ตราสารทุน) ตราสารหนี้ อสังหา ฯลฯ โดยตลาดกองทุนรวมมีมูลค่าทั้งหมด 5.05 ล้านล้านบาท แต่เฉพาะที่ลงทุนในหุ้นในประเทศตอนนี้มีมูลค่า
271,697 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 1 2561 (ข้อมูลจาก Morningstar)
2. ข้อ (11)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนที่พนักงานของบริษัทเอกชนสะสมเพื่อการเกษียณหรือได้รับเมื่อออกจากงาน โดยข้อมูลจาก Thaipvd.com ขนาดของกองทุนมีมูลค่า
1.08 ล้านล้านบาท โดยลงทุนในหุ้น 18.5% คิดเป็นเงิน ประมาณ
200,000 ล้านบาท
3. ข้อ (12)
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จากข้อมูลจากเว็ปของ กบข. ณ วันที่ 25 พค. 2561 มีมูลค่าทรัพย์สินไม่รวมเงินสำรอง
393,350 ล้านบาท แต่ถ้ารวมเงินสำรองจะมีทรัพย์สินถึง
863,690 ล้านบาท
หมายความว่าเงินสำรองของ กบข.มีถึงประมาณ
470,000 ล้านบาททีเดียว
4. ข้อ (13)
กองทุนประกันสังคม จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 กองทุนประกันสังคมมีมูลค่า
1.76 ล้านล้านบาท
โดยลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 78% และหลักทรัพย์เสี่ยง 22% (ไม่ทราบว่าเค้าแบ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงกับหลักทรัพย์เสี่ยงอย่างไร
)
5. (ไม่ทราบว่าอยุ่ในข้อไหน น่าจะอยู่ในข้อ (9) แต่แยกออกมา)
LTF และ RMFโดยในปัจจุบัน ข้อมูลจาก Morningstar บอกว่า LTF มีมูลค่า
381,682 ล้านบาท และ RMF มีมูลค่า
255,791 ล้านบาท
6. (ไม่ทราบอยู่ในข้อไหน)
กองทุนวายุภักษ์ โดยข้อมูลจาก MFC ที่เป็นผู้จัดการกองทุนแจ้งว่ามีมูลค่า
388,876 ล้านบาท
ส่วนนักลงทุนสถาบันข้ออื่นๆ ยังหาไม่เจอหรือข้อมูลไม่เป็นสาธารณะ หากใครทราบสามารถเพิ่มเติมได้ฮะ
จะเห็นได้ว่าหากรวมมูลค่ากองทุนทั้งหมดในนี้ยกเว้น กบข. จะมีมูลค่าถึง 3.25 ล้านล้านบาท และหากรวมกบข. (ซึ่งไม่ทราบว่าลงทุนในหุ้นเท่าไหร่) ไปด้วยจะมีมูลค่าถึง 4.12 ล้านล้านบาททีเดียว
นี่ยังไม่รวมนักลงทุนประเภทสถาบันอื่นๆ เช่น ธนาคาร, ประกัน ฯลฯ ซึ่งไม่น่าจะเป็นจำนวนเงินที่น้อยเลย
ส่วนตัวมีความเห็นดังนี้
1.) นักลงทุนประเภทสถาบันมีความแข็งแกร่งกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายการออม และการขยายตัวของเศรษฐกิจทำให้เงินกองทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกปี
2.) เงินที่เข้ามาในรูปนักลงทุนประเภทสถาบัน จะมากขึ้นๆ เรื่อยๆ คิดเพียงแค่ปีละ 3%-5% ก็เป็นมูลค่าถึง 150,000 - 200,000 ล้านแล้ว ดังนั้นเชื่อว่าหากพื้นฐานของประเทศดี บริษัทต่างๆ มีผลประกอบการดี ราคาหุ้นไม่ควรจะถูกกดให้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะเงินของสถาบันต้องลงทุนตามเม็ดเงินที่เข้ามาอยู่แล้ว
3.) นักลงทุนต่างชาติที่ขายออกทุกวันนี้ จะถูกลดบทบาทลงไม่เป็นผู้ชี้นำตลาดได้เหมือนเมื่อก่อน ถ้าเป็นสมัย 10 ปีที่แล้วต่างชาติขายทุกวันแบบนี้ตลาดน่าจะลงได้ 20%-30%
อย่างไรก็ตามกองทุนต่างๆ ไม่ใช่มูลนิธิ แต่เป็นองค์กรแสวงหากำไร กองทุนไม่มีหน้าที่มาพยุงหุ้น (ถ้าไม่มีคำสั่งลับต่างๆ
) กองทุนสามารถเปลี่ยนไปลงทุนอย่างอื่นได้หากตลาดหุ้นไม่เหมาะกับการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนรายย่อยอย่างเรา ยังพึงต้องลงทุนด้วยความรู้ ความระมัดระวัง ศึกษาข้อมูลของบริษัทที่จะลงทุนเป็นอย่างดี ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในบริษัทนั้นๆ
ขอให้ทุกท่านได้ผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนฮะ.....
เอามาฝาก....หน้าตักพี่กอง
จากการที่ได้ติดตามอ่านกระทู้ในห้องสินทรมานาน....
มีคำถามหนึ่งที่นักลงทุนมักสงสัยคือ "พี่กองที่ซื้อสุทธิทุกวันเงินหมดหรือยัง?"
ส่วนตัวก็ตอบได้เลยว่า "ไม่ทราบฮะ"
ก็เลยลองหาข้อมูลดูว่า นักลงทุนประเภทสถาบัน หรือที่เราเรียกว่า "พี่กอง" มีทรัพย์สินหรือหน้าตักกันเท่าไหร่บ้าง?
ก่อนอื่นเลยต้องรู้ว่าที่เค้านิยามว่า นักลงทุนสถาบันประกอบด้วยใครบ้าง?
ก็ได้คำตอบจากประกาศ กลต. ฉบับที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกำหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่
ว่า นักลงทุนสถาบันประกอบด้วย (ยาวมาก ซ่อนไว้ใน Spoil นะฮะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในจำนวน25ประเภทนี้มีหลายประเภทที่เราไม่สามารถหาข้อมูลขนาดกองทุนได้จากข้อมูลสาธารณะ แต่ก็มีหลายประเภทที่สามารถหาข้อมูลได้ไม่ยาก ก็เลยนำฝากกันฮะ
1. ข้อ (9) กองทุนรวม ซึ่งก็คือกองทุนที่เปิดซื้อขายกันตาม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมต่างๆ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่รู้จัก กองทุนที่เปิดก็มีทั้งแบบ หุ้น(ตราสารทุน) ตราสารหนี้ อสังหา ฯลฯ โดยตลาดกองทุนรวมมีมูลค่าทั้งหมด 5.05 ล้านล้านบาท แต่เฉพาะที่ลงทุนในหุ้นในประเทศตอนนี้มีมูลค่า 271,697 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 1 2561 (ข้อมูลจาก Morningstar)
2. ข้อ (11) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนที่พนักงานของบริษัทเอกชนสะสมเพื่อการเกษียณหรือได้รับเมื่อออกจากงาน โดยข้อมูลจาก Thaipvd.com ขนาดของกองทุนมีมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท โดยลงทุนในหุ้น 18.5% คิดเป็นเงิน ประมาณ 200,000 ล้านบาท
3. ข้อ (12) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จากข้อมูลจากเว็ปของ กบข. ณ วันที่ 25 พค. 2561 มีมูลค่าทรัพย์สินไม่รวมเงินสำรอง 393,350 ล้านบาท แต่ถ้ารวมเงินสำรองจะมีทรัพย์สินถึง 863,690 ล้านบาท หมายความว่าเงินสำรองของ กบข.มีถึงประมาณ 470,000 ล้านบาททีเดียว
4. ข้อ (13) กองทุนประกันสังคม จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 กองทุนประกันสังคมมีมูลค่า 1.76 ล้านล้านบาท โดยลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 78% และหลักทรัพย์เสี่ยง 22% (ไม่ทราบว่าเค้าแบ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงกับหลักทรัพย์เสี่ยงอย่างไร)
5. (ไม่ทราบว่าอยุ่ในข้อไหน น่าจะอยู่ในข้อ (9) แต่แยกออกมา) LTF และ RMFโดยในปัจจุบัน ข้อมูลจาก Morningstar บอกว่า LTF มีมูลค่า 381,682 ล้านบาท และ RMF มีมูลค่า 255,791 ล้านบาท
6. (ไม่ทราบอยู่ในข้อไหน) กองทุนวายุภักษ์ โดยข้อมูลจาก MFC ที่เป็นผู้จัดการกองทุนแจ้งว่ามีมูลค่า 388,876 ล้านบาท
ส่วนนักลงทุนสถาบันข้ออื่นๆ ยังหาไม่เจอหรือข้อมูลไม่เป็นสาธารณะ หากใครทราบสามารถเพิ่มเติมได้ฮะ
จะเห็นได้ว่าหากรวมมูลค่ากองทุนทั้งหมดในนี้ยกเว้น กบข. จะมีมูลค่าถึง 3.25 ล้านล้านบาท และหากรวมกบข. (ซึ่งไม่ทราบว่าลงทุนในหุ้นเท่าไหร่) ไปด้วยจะมีมูลค่าถึง 4.12 ล้านล้านบาททีเดียว นี่ยังไม่รวมนักลงทุนประเภทสถาบันอื่นๆ เช่น ธนาคาร, ประกัน ฯลฯ ซึ่งไม่น่าจะเป็นจำนวนเงินที่น้อยเลย
ส่วนตัวมีความเห็นดังนี้
1.) นักลงทุนประเภทสถาบันมีความแข็งแกร่งกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายการออม และการขยายตัวของเศรษฐกิจทำให้เงินกองทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกปี
2.) เงินที่เข้ามาในรูปนักลงทุนประเภทสถาบัน จะมากขึ้นๆ เรื่อยๆ คิดเพียงแค่ปีละ 3%-5% ก็เป็นมูลค่าถึง 150,000 - 200,000 ล้านแล้ว ดังนั้นเชื่อว่าหากพื้นฐานของประเทศดี บริษัทต่างๆ มีผลประกอบการดี ราคาหุ้นไม่ควรจะถูกกดให้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะเงินของสถาบันต้องลงทุนตามเม็ดเงินที่เข้ามาอยู่แล้ว
3.) นักลงทุนต่างชาติที่ขายออกทุกวันนี้ จะถูกลดบทบาทลงไม่เป็นผู้ชี้นำตลาดได้เหมือนเมื่อก่อน ถ้าเป็นสมัย 10 ปีที่แล้วต่างชาติขายทุกวันแบบนี้ตลาดน่าจะลงได้ 20%-30%
อย่างไรก็ตามกองทุนต่างๆ ไม่ใช่มูลนิธิ แต่เป็นองค์กรแสวงหากำไร กองทุนไม่มีหน้าที่มาพยุงหุ้น (ถ้าไม่มีคำสั่งลับต่างๆ ) กองทุนสามารถเปลี่ยนไปลงทุนอย่างอื่นได้หากตลาดหุ้นไม่เหมาะกับการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนรายย่อยอย่างเรา ยังพึงต้องลงทุนด้วยความรู้ ความระมัดระวัง ศึกษาข้อมูลของบริษัทที่จะลงทุนเป็นอย่างดี ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในบริษัทนั้นๆ
ขอให้ทุกท่านได้ผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนฮะ.....