ในช่วงหลังทางเพจผมมักมีคนเข้ามาสอบถามว่าอยากให้แนะนำหนังสืบสวน หนังจิตวิทยาที่ไม่เก่ามากและหาดูได้ไม่ยาก ซึ่งประจวบเหมาะที่ช่วงนี้ผมยังขาดไอเดียใหม่ๆในการสร้างสรรค์ลิสต์หนัง เลยจัดอันดับหนังสืบสวนปี 2017 เข้ามาทดแทนไปก่อน โดยเกือบทุกเรื่องเข้าฉายในไทยและหลายๆเรื่องก็มีแผ่นลิขสิทธิ์วางขายแล้ว และบางส่วนก็มีให้ดูใน Netflix เรียกได้ว่าแทบทุกเรื่องหาดูไม่ยากและสนุกทุกเรื่องครับ
หนังสืบสวน (Suspense Film) คือหนังที่กระตุ้นให้คนดูเกิดความจดจ่อ อยากรู้อยากเห็น โดยจะมีการปกปิดเงื่อนงำ ความลับ และข้อสงสัยต่างๆ และมักสร้างสิ่งกระตุ้นคนดูจากการใช้ดนตรีประกอบ, การใช้มุมกล้อง, การใช้เเสงเงา, เเละการทำจุดหักเหของพล็อตเรื่องซึ่งเป็นองค์ประกอบที่หนังสืบสวนส่วนใหญ่มักใช้กันอยู่บ่อยครั้ง
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. Happy Death Day (2017)
หนังสยองขวัญวัยรุ่นที่ใช้ตัวเอกเป็นเพศหญิงมักจะเซ็ทตัวละครตามหนังแนว chick flicks ที่จะออกแนวสาวบิทช์ มีความมั่นใจสูง และดูป๊อปในหมู่ผู้ชาย ก่อนจะถูกไล่ฆ่าโดยฆาตกรโรคจิตที่มีปมความแค้นบางอย่างกับเธอ ซึ่งรายละเอียดแค่นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ Happy Death Day หากแต่เป็นไอเดียการวนลูป ที่เมื่อตัวเอกถูกฆ่าเวลาจะวนกลับมาเป็นช่วงรุ่งเช้าที่เธอตื่นนอน ซึ่งดูเหมือนว่าเงื่อนไขการหยุดลูปเวลานี้คือการสืบหาตัวตนแท้จริงของฆาตกรและหยุดมัน นอกเหนือจากวนลูปเพื่อสืบหาฆาตกร หนังก็ต้องการให้ตัวละครได้ทบทวนชีวิตตัวเองซึ่งเป็นเมสเสจที่คล้ายคลึงกับ Before I Fall ที่เข้าฉายก่อนหน้าได้ไม่นาน โดยทุกๆลูปจะเห็นพัฒนาการ เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบวกบางอย่าง ทั้งทางความคิดและการกระทำที่แสดงออกต่อคนรอบตัว
9. Murder on the Orient Express (2017)
ตัวของ Agatha Christie นับเป็นผู้บุกเบิกและสร้างแบบแผนที่ดีของกลุ่มงานเขียนแนวสืบสวน และส่งต่อแรงบันดาลใจไปสู่ผลงานของนักเขียนชื่อดังหลายท่านอย่าง Yokomizo Seishi หรือจะเป็น Gosho Aoyama และบ่อยครั้งที่นิยายของเธอจะถูกนำไปสร้างเป็นหนังอย่างในปี 2017 ก็มี Murder on the Orient Express ในฉบับของ Kenneth Branagh ความพิเศษของเรื่องนี้เป็นการนำพล็อตฆาตกรรมบนรถไฟที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก มาผสมกับสูตรห้องปิดตาย จนเกิดเป็นพล็อตหนัง whodunit ที่ลึกลับและซับซ้อน โดยหลายส่วนถูกปรุงแต่งให้แตกต่างจากฉบับ 1974 แต่จุดสำคัญเลยก็คือการปูพื้นเพื่อเพิ่มมิติให้กับทุกตัวละคร ทั้งยังใช้การเล่าผ่านบุคคลที่ 1 ที่ความคิดความอ่านและข้อมูลต่างๆจะรับรู้ไปพร้อมๆกับตัวละคร เสมือนว่าคนดูสวมตัวตนเป็นนักสืบปัวโรต์
8. The Chase (2017)
คดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ณ ตึกห้องเช่า โดยชายแก่ผู้เป็นเจ้าของตึกได้กลายเป็นแกนหลักในการสืบหาเบื้องหลังความจริง นับหนังสืบสวนเกาหลีประเภทที่ใช้โทนธรรมชาติ มีความขบขันและบรรยากาศที่ดูผ่อนคลาย โดยไม่ได้ขึงอารมณ์ตึงเครียดและความกดดันอยู่ตลอดทั้งเรื่องเหมือนอย่างพวก I Saw the Devil และ Montage ซึ่งชัดเจนว่าข้อเสียของมันอาจทำให้คนดูไม่รู้สึกอินไปกับคดีหรือสถานการณ์น่ากลัวที่เกิดขึ้นอย่างเท่าที่ควร แต่ดีที่ว่า The Chase มีการเขียนบทวางปมฆาตกรรมได้ซับซ้อนชวนน่าติดตาม ทั้งยังนำมุกพื้นฐานของหนังสืบสวนที่มีตัวละครเป็นโรคจิตเภทมาปรับใช้กับการหักมุมได้อย่างน่าเชื่อถือ
7. All the Money in the World (2017)
ปัจจุบันอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างการลักพาตัวเรียกค่าไถ่ กลายเป็นปัญหาใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคม จึงเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังหลายเรื่องมักหยิบพล็อตดังกล่าวไปสร้างเป็นหนังเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับสังคม ซึ่งหนังเรื่องนี้ของ Ridley Scott ก็เช่นเดียวกัน โดยสร้างจากเรื่องจริงของ J. Paul Getty บุรุษผู้รวยที่สุดในโลกในช่วงเวลาหนึ่ง ที่หลานของเขาถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ แต่เขากลับปฏิเสธที่จะจ่ายเงินตามความต้องการของโจร และเลือกที่จะใช้การเจรจาเพื่อนำตัวหลานกลับมา ซึ่งแน่นอนว่าโทนหนังจะถูกปกคลุมด้วยความตึงเครียด ความกดจากตัวละครจากสถานการณ์ที่ต่างฝ่ายต้องพยายามช่วงชิงความได้เปรียบ ห้ำหั่นด้วยมุมมองเชิงจิตวิทยา ในการหาจุดด้อยของอีกฝ่ายเพื่อใช้ประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง
6. The Third Murder (2017)
หนังสืบสวนว่าความชั้นศาลลักษณะเดียวกับ Primal Fear, The Life of David Gale และTrue Story ที่ผู้ต้องหาจะถูกตั้งข้อสงสัยถึงเบื้องหลังความจริงว่าสรุปแล้วเขาเป็นผู้กระทำความผิดจริงๆหรือไม่ โดยหนังจะพาคนดูเข้าไปสำรวจความจริงทั้งหมดพร้อมกับตัวนักสืบของเรื่องที่ส่วนใหญ่มักเป็นทนายแก้ต่างให้ฝั่งผู้ต้องหา ซึ่งจุดเด่นของหนังแนวนี้คือการสร้างสภาวะก่ำกึ่ง เพื่อให้คนดูไขว้เขวว่าสิ่งไหนคือเรื่องจริงหรือภาพลวง และหนังเรื่องนี้สอบผ่านในจุดนี้มาก โดยตลอดทั้งเรื่องถูกปกคลุมด้วยความอึดอัด ความสับสน เพราะยิ่งหนังลงลึกไปมากเท่าไหร่ มีคำให้การจากหลายตัวละคร แต่ข้อมูลกลับไม่สอดคล้องหรือเชื่อมโยงกันในแบบที่ควรจะเป็น โดยพล็อตว่าด้วยชายวัยกลางคนถูกตั้งข้อหาในคดีฆ่าชิงทรัพย์และมีทนายมือดีพยายามแก้ต่างลดหย่อนโทษจากประหารชีวิตเหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต
5. You Were Never Really Here (2017)
หากเคยดู We Need to Talk About Kevin คงเข้าใจว่าหัวใจสำคัญคือการมุ่งเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวละคร ปมเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ภายใต้การกระทำอันน่ากลัว ซึ่งผลงานเรื่องใหม่ของ Lynne Ramsay ก็เป็นรูปแบบเดียวกัน กับเรื่องราวของอดีตทหารผ่านศึกที่ถูกว่าจ้างให้ไปสืบหาและช่วยเหลือตัวเด็กสาวคนหนึ่งที่ถูกจับไว้ในซ่อง ก่อนเขาจะถูกตามล่าโดยกลุ่มคนปริศนา ซึ่งตัวพล็อตเกี่ยวกับภารกิจของตัวเอกดูค่อนข้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน แต่สิ่งที่ดูเข้าใจยากและหนังต้องการค้นหาคำตอบไปพร้อมๆกับคนดูแท้จริงคือ ปมเบื้องหลังของตัวเอก ที่อาจเคยผ่านเรื่องเลวร้ายมามากมาย จนก่อเกิดตัวตนที่ภายนอกดูหนักแน่น รุนแรง แต่ภายในกลับเปราะบาง เก็บงำความเศร้าโศกเอาไว้ ซึ่ง Joaquin Phoenix ก็แสดงเป็นตัวละครดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์แบบ
4. Forgotten (2017)
หนังสืบสวนฟิล์มนัวร์ที่ใช้การเล่าเรื่องผ่านมุมมองตัวเอกที่มีปัญหาทางจิต เป็นคนขี้ระแวง ใช้ชีวิตแปลกแยก ก่อนเข้าไปพัวพันกับเรื่องอันตราย พร้อมจังหวะเหวี่ยงบทบาทของตัวเอกที่เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายจนคนดูเกิดความสับสน อีกทั้งส่วนของงานภาพ ดนตรีประกอบมีความคลาสสิกที่น่าหลงใหล เรียกได้ว่าถ้านับเฉพาะครึ่งแรกของหนังหาก Alfred Hitchcock ยังมีชีวิตอยู่ หลายคนอาจเข้าใจผิดก็เป็นได้ว่านี่คือหนังของเขา ส่วนครึ่งหลังมีการคลายปมทั้งหมดด้วยโทนเมโลดราม่าสไตล์หนังเกาหลีที่เต็มไปด้วยความหดหู่ ความเศร้าโศก โดยพล็อตว่าด้วยครอบครัวอันแสนอบอุ่นที่อยู่ๆพี่ชายก็ถูกลักพาตัวและถูกปล่อยตัวกลับมาหลังผ่านไป 19 วัน ทว่าความทรงจำของพี่ชายได้หายสาบสูญไป ทั้งยังแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ผิดแปลกมากมาย จนตัวน้องชายต้องสืบหาความจริงที่เกิดขึ้น
3. A Day (2017)
การต่อยอดในอีกระดับขั้นของหนังวนลูปที่ทำได้อย่างสดใหม่และไปได้สุดทาง จากพล็อตหลักที่ว่าด้วยพระเอกซึ่งเป็นหมอที่พยายามหยุดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่คร่าชีวิตลูกสาว เริ่มต้นคนดูจะถูกเซ็ทความคิดแบบเดียวกับพระเอกว่าถ้าช่วยชีวิตลูกสาวไว้ได้ก็สามารถหลุดจากลูปได้ แต่ทุกอย่างไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะตัวบทจะมีการใส่เส้นเรื่องของตัวละครอื่นเข้ามา มีมากกว่า 1 ตัวละครที่ติดอยู่ในลูปเดียวกับพระเอก และตัวละครเหล่านั้นก็ถูกใส่มิติ น้ำหนักของการกระทำถูกรองรับด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือ กลายเป็นว่าแท้จริงแล้วอาจไม่มีใครซึ่งเป็นตัวร้ายหรือพระเอก เพราะผลการกระทำครั้งอดีตของแต่ละคนถูกส่งต่อกันเป็นลูกโซ่ทำให้ตัวละครเหล่านี้ติดอยู่ในลูปและต้องหาทางหยุดมันร่วมกัน
2. Wind River (2017)
การเล่าเรื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อพาคนดูไปเผชิญกับไคลแม็กซ์ของหนัง เป็นโจทย์ง่ายๆที่ทำให้สมบูรณ์แบบได้ยาก เมื่อปัจจุบันหนังสืบสวนส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยลวดลายในการเล่า มีการซิกแซกไปมา ใส่ข้อมูลจริงเท็จปะปนเพื่อสร้างความสับสนอย่างพวก Gone Girl และ The Wailing แต่สำหรับ Wind River จะเป็นรูปแบบที่หนังค่อยๆเล่าและป้อนความจริงไปเรื่อยๆ ผู้กำกับจำเป็นต้องแม่นยำในจังหวะการป้อนข้อมูลเพื่อให้คนดูอยากติดตามเรื่องราวจนความจริงทั้งหมดถูกเปิดเผย ทว่าการป้อนข้อมูลอย่างซื่อตรงอาจมีผลทำให้คนดูปะติดปะต่อ รู้เรื่องราวทั้งหมดก่อนจุดเฉลย และโจทย์สำคัญคือจะนำเสนอไคลแม็กซ์หรือเปิดเผยปมความลับยังไงให้น่าสนใจและเกิดอิมแพ็คท์ต่อคนดูได้มากที่สุด ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำมันได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกประการ กับพล็อตที่ว่าด้วยเอฟบีไอสาวมือใหม่กับพรานมือฉมังที่ต้องร่วมมือสืบหาความจริงเกี่ยวกับการตายปริศนาของวัยรุ่นสาว
1. Blade Runner 2049 (2017)
ยังคงไว้ซึ่งหัวใจสำคัญของ Blade Runner ภาคแรกทั้งตัวบทที่ลึกซึ้ง คมคาย กับการตั้งคำถามความเป็นมนุษย์ทั้งในแง่มุมทางกายภาพและจิตวิญญาณ ทั้งยังเสริมประเด็นความรักเพื่ออธิบายสถานภาพความเป็นมนุษย์ได้กว้างไกลขึ้นอีกระดับหนึ่ง ตลอดจนงานภาพ เทคนิควิชวลเอฟเฟคที่ถูกพัฒนาได้ยอดเยี่ยมตามยุคสมัย และที่สำคัญคือปมหลักของภาค 2049 กับการไขปริศนาที่อาจนำไปสู่กุญแจแห่งความหายนะของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งเต็มไปด้วยคำถามและปมซ่อนเร้นของตัวละครมากมาย โดยทาง Denis Villeneuve ที่ดูช่ำชองกับหนังลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว ก็เล่าด้วยจังหวะนิ่งๆ ค่อยๆคลายปม สร้างบรรยากาศบีบคั้นด้วยความไม่รู้ ก่อนจะเปิดเผยปมซ่อนเร้นได้อย่างทรงพลัง
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังสืบสวนยอดเยี่ยมแห่งปี 2017 ที่คุณไม่ควรพลาด
ในช่วงหลังทางเพจผมมักมีคนเข้ามาสอบถามว่าอยากให้แนะนำหนังสืบสวน หนังจิตวิทยาที่ไม่เก่ามากและหาดูได้ไม่ยาก ซึ่งประจวบเหมาะที่ช่วงนี้ผมยังขาดไอเดียใหม่ๆในการสร้างสรรค์ลิสต์หนัง เลยจัดอันดับหนังสืบสวนปี 2017 เข้ามาทดแทนไปก่อน โดยเกือบทุกเรื่องเข้าฉายในไทยและหลายๆเรื่องก็มีแผ่นลิขสิทธิ์วางขายแล้ว และบางส่วนก็มีให้ดูใน Netflix เรียกได้ว่าแทบทุกเรื่องหาดูไม่ยากและสนุกทุกเรื่องครับ
หนังสืบสวน (Suspense Film) คือหนังที่กระตุ้นให้คนดูเกิดความจดจ่อ อยากรู้อยากเห็น โดยจะมีการปกปิดเงื่อนงำ ความลับ และข้อสงสัยต่างๆ และมักสร้างสิ่งกระตุ้นคนดูจากการใช้ดนตรีประกอบ, การใช้มุมกล้อง, การใช้เเสงเงา, เเละการทำจุดหักเหของพล็อตเรื่องซึ่งเป็นองค์ประกอบที่หนังสืบสวนส่วนใหญ่มักใช้กันอยู่บ่อยครั้ง
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. Happy Death Day (2017)
หนังสยองขวัญวัยรุ่นที่ใช้ตัวเอกเป็นเพศหญิงมักจะเซ็ทตัวละครตามหนังแนว chick flicks ที่จะออกแนวสาวบิทช์ มีความมั่นใจสูง และดูป๊อปในหมู่ผู้ชาย ก่อนจะถูกไล่ฆ่าโดยฆาตกรโรคจิตที่มีปมความแค้นบางอย่างกับเธอ ซึ่งรายละเอียดแค่นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ Happy Death Day หากแต่เป็นไอเดียการวนลูป ที่เมื่อตัวเอกถูกฆ่าเวลาจะวนกลับมาเป็นช่วงรุ่งเช้าที่เธอตื่นนอน ซึ่งดูเหมือนว่าเงื่อนไขการหยุดลูปเวลานี้คือการสืบหาตัวตนแท้จริงของฆาตกรและหยุดมัน นอกเหนือจากวนลูปเพื่อสืบหาฆาตกร หนังก็ต้องการให้ตัวละครได้ทบทวนชีวิตตัวเองซึ่งเป็นเมสเสจที่คล้ายคลึงกับ Before I Fall ที่เข้าฉายก่อนหน้าได้ไม่นาน โดยทุกๆลูปจะเห็นพัฒนาการ เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบวกบางอย่าง ทั้งทางความคิดและการกระทำที่แสดงออกต่อคนรอบตัว
9. Murder on the Orient Express (2017)
ตัวของ Agatha Christie นับเป็นผู้บุกเบิกและสร้างแบบแผนที่ดีของกลุ่มงานเขียนแนวสืบสวน และส่งต่อแรงบันดาลใจไปสู่ผลงานของนักเขียนชื่อดังหลายท่านอย่าง Yokomizo Seishi หรือจะเป็น Gosho Aoyama และบ่อยครั้งที่นิยายของเธอจะถูกนำไปสร้างเป็นหนังอย่างในปี 2017 ก็มี Murder on the Orient Express ในฉบับของ Kenneth Branagh ความพิเศษของเรื่องนี้เป็นการนำพล็อตฆาตกรรมบนรถไฟที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก มาผสมกับสูตรห้องปิดตาย จนเกิดเป็นพล็อตหนัง whodunit ที่ลึกลับและซับซ้อน โดยหลายส่วนถูกปรุงแต่งให้แตกต่างจากฉบับ 1974 แต่จุดสำคัญเลยก็คือการปูพื้นเพื่อเพิ่มมิติให้กับทุกตัวละคร ทั้งยังใช้การเล่าผ่านบุคคลที่ 1 ที่ความคิดความอ่านและข้อมูลต่างๆจะรับรู้ไปพร้อมๆกับตัวละคร เสมือนว่าคนดูสวมตัวตนเป็นนักสืบปัวโรต์
8. The Chase (2017)
คดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ณ ตึกห้องเช่า โดยชายแก่ผู้เป็นเจ้าของตึกได้กลายเป็นแกนหลักในการสืบหาเบื้องหลังความจริง นับหนังสืบสวนเกาหลีประเภทที่ใช้โทนธรรมชาติ มีความขบขันและบรรยากาศที่ดูผ่อนคลาย โดยไม่ได้ขึงอารมณ์ตึงเครียดและความกดดันอยู่ตลอดทั้งเรื่องเหมือนอย่างพวก I Saw the Devil และ Montage ซึ่งชัดเจนว่าข้อเสียของมันอาจทำให้คนดูไม่รู้สึกอินไปกับคดีหรือสถานการณ์น่ากลัวที่เกิดขึ้นอย่างเท่าที่ควร แต่ดีที่ว่า The Chase มีการเขียนบทวางปมฆาตกรรมได้ซับซ้อนชวนน่าติดตาม ทั้งยังนำมุกพื้นฐานของหนังสืบสวนที่มีตัวละครเป็นโรคจิตเภทมาปรับใช้กับการหักมุมได้อย่างน่าเชื่อถือ
7. All the Money in the World (2017)
ปัจจุบันอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างการลักพาตัวเรียกค่าไถ่ กลายเป็นปัญหาใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคม จึงเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังหลายเรื่องมักหยิบพล็อตดังกล่าวไปสร้างเป็นหนังเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับสังคม ซึ่งหนังเรื่องนี้ของ Ridley Scott ก็เช่นเดียวกัน โดยสร้างจากเรื่องจริงของ J. Paul Getty บุรุษผู้รวยที่สุดในโลกในช่วงเวลาหนึ่ง ที่หลานของเขาถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ แต่เขากลับปฏิเสธที่จะจ่ายเงินตามความต้องการของโจร และเลือกที่จะใช้การเจรจาเพื่อนำตัวหลานกลับมา ซึ่งแน่นอนว่าโทนหนังจะถูกปกคลุมด้วยความตึงเครียด ความกดจากตัวละครจากสถานการณ์ที่ต่างฝ่ายต้องพยายามช่วงชิงความได้เปรียบ ห้ำหั่นด้วยมุมมองเชิงจิตวิทยา ในการหาจุดด้อยของอีกฝ่ายเพื่อใช้ประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง
6. The Third Murder (2017)
หนังสืบสวนว่าความชั้นศาลลักษณะเดียวกับ Primal Fear, The Life of David Gale และTrue Story ที่ผู้ต้องหาจะถูกตั้งข้อสงสัยถึงเบื้องหลังความจริงว่าสรุปแล้วเขาเป็นผู้กระทำความผิดจริงๆหรือไม่ โดยหนังจะพาคนดูเข้าไปสำรวจความจริงทั้งหมดพร้อมกับตัวนักสืบของเรื่องที่ส่วนใหญ่มักเป็นทนายแก้ต่างให้ฝั่งผู้ต้องหา ซึ่งจุดเด่นของหนังแนวนี้คือการสร้างสภาวะก่ำกึ่ง เพื่อให้คนดูไขว้เขวว่าสิ่งไหนคือเรื่องจริงหรือภาพลวง และหนังเรื่องนี้สอบผ่านในจุดนี้มาก โดยตลอดทั้งเรื่องถูกปกคลุมด้วยความอึดอัด ความสับสน เพราะยิ่งหนังลงลึกไปมากเท่าไหร่ มีคำให้การจากหลายตัวละคร แต่ข้อมูลกลับไม่สอดคล้องหรือเชื่อมโยงกันในแบบที่ควรจะเป็น โดยพล็อตว่าด้วยชายวัยกลางคนถูกตั้งข้อหาในคดีฆ่าชิงทรัพย์และมีทนายมือดีพยายามแก้ต่างลดหย่อนโทษจากประหารชีวิตเหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต
5. You Were Never Really Here (2017)
หากเคยดู We Need to Talk About Kevin คงเข้าใจว่าหัวใจสำคัญคือการมุ่งเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวละคร ปมเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ภายใต้การกระทำอันน่ากลัว ซึ่งผลงานเรื่องใหม่ของ Lynne Ramsay ก็เป็นรูปแบบเดียวกัน กับเรื่องราวของอดีตทหารผ่านศึกที่ถูกว่าจ้างให้ไปสืบหาและช่วยเหลือตัวเด็กสาวคนหนึ่งที่ถูกจับไว้ในซ่อง ก่อนเขาจะถูกตามล่าโดยกลุ่มคนปริศนา ซึ่งตัวพล็อตเกี่ยวกับภารกิจของตัวเอกดูค่อนข้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน แต่สิ่งที่ดูเข้าใจยากและหนังต้องการค้นหาคำตอบไปพร้อมๆกับคนดูแท้จริงคือ ปมเบื้องหลังของตัวเอก ที่อาจเคยผ่านเรื่องเลวร้ายมามากมาย จนก่อเกิดตัวตนที่ภายนอกดูหนักแน่น รุนแรง แต่ภายในกลับเปราะบาง เก็บงำความเศร้าโศกเอาไว้ ซึ่ง Joaquin Phoenix ก็แสดงเป็นตัวละครดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์แบบ
4. Forgotten (2017)
หนังสืบสวนฟิล์มนัวร์ที่ใช้การเล่าเรื่องผ่านมุมมองตัวเอกที่มีปัญหาทางจิต เป็นคนขี้ระแวง ใช้ชีวิตแปลกแยก ก่อนเข้าไปพัวพันกับเรื่องอันตราย พร้อมจังหวะเหวี่ยงบทบาทของตัวเอกที่เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายจนคนดูเกิดความสับสน อีกทั้งส่วนของงานภาพ ดนตรีประกอบมีความคลาสสิกที่น่าหลงใหล เรียกได้ว่าถ้านับเฉพาะครึ่งแรกของหนังหาก Alfred Hitchcock ยังมีชีวิตอยู่ หลายคนอาจเข้าใจผิดก็เป็นได้ว่านี่คือหนังของเขา ส่วนครึ่งหลังมีการคลายปมทั้งหมดด้วยโทนเมโลดราม่าสไตล์หนังเกาหลีที่เต็มไปด้วยความหดหู่ ความเศร้าโศก โดยพล็อตว่าด้วยครอบครัวอันแสนอบอุ่นที่อยู่ๆพี่ชายก็ถูกลักพาตัวและถูกปล่อยตัวกลับมาหลังผ่านไป 19 วัน ทว่าความทรงจำของพี่ชายได้หายสาบสูญไป ทั้งยังแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ผิดแปลกมากมาย จนตัวน้องชายต้องสืบหาความจริงที่เกิดขึ้น
3. A Day (2017)
การต่อยอดในอีกระดับขั้นของหนังวนลูปที่ทำได้อย่างสดใหม่และไปได้สุดทาง จากพล็อตหลักที่ว่าด้วยพระเอกซึ่งเป็นหมอที่พยายามหยุดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่คร่าชีวิตลูกสาว เริ่มต้นคนดูจะถูกเซ็ทความคิดแบบเดียวกับพระเอกว่าถ้าช่วยชีวิตลูกสาวไว้ได้ก็สามารถหลุดจากลูปได้ แต่ทุกอย่างไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะตัวบทจะมีการใส่เส้นเรื่องของตัวละครอื่นเข้ามา มีมากกว่า 1 ตัวละครที่ติดอยู่ในลูปเดียวกับพระเอก และตัวละครเหล่านั้นก็ถูกใส่มิติ น้ำหนักของการกระทำถูกรองรับด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือ กลายเป็นว่าแท้จริงแล้วอาจไม่มีใครซึ่งเป็นตัวร้ายหรือพระเอก เพราะผลการกระทำครั้งอดีตของแต่ละคนถูกส่งต่อกันเป็นลูกโซ่ทำให้ตัวละครเหล่านี้ติดอยู่ในลูปและต้องหาทางหยุดมันร่วมกัน
2. Wind River (2017)
การเล่าเรื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อพาคนดูไปเผชิญกับไคลแม็กซ์ของหนัง เป็นโจทย์ง่ายๆที่ทำให้สมบูรณ์แบบได้ยาก เมื่อปัจจุบันหนังสืบสวนส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยลวดลายในการเล่า มีการซิกแซกไปมา ใส่ข้อมูลจริงเท็จปะปนเพื่อสร้างความสับสนอย่างพวก Gone Girl และ The Wailing แต่สำหรับ Wind River จะเป็นรูปแบบที่หนังค่อยๆเล่าและป้อนความจริงไปเรื่อยๆ ผู้กำกับจำเป็นต้องแม่นยำในจังหวะการป้อนข้อมูลเพื่อให้คนดูอยากติดตามเรื่องราวจนความจริงทั้งหมดถูกเปิดเผย ทว่าการป้อนข้อมูลอย่างซื่อตรงอาจมีผลทำให้คนดูปะติดปะต่อ รู้เรื่องราวทั้งหมดก่อนจุดเฉลย และโจทย์สำคัญคือจะนำเสนอไคลแม็กซ์หรือเปิดเผยปมความลับยังไงให้น่าสนใจและเกิดอิมแพ็คท์ต่อคนดูได้มากที่สุด ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำมันได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกประการ กับพล็อตที่ว่าด้วยเอฟบีไอสาวมือใหม่กับพรานมือฉมังที่ต้องร่วมมือสืบหาความจริงเกี่ยวกับการตายปริศนาของวัยรุ่นสาว
1. Blade Runner 2049 (2017)
ยังคงไว้ซึ่งหัวใจสำคัญของ Blade Runner ภาคแรกทั้งตัวบทที่ลึกซึ้ง คมคาย กับการตั้งคำถามความเป็นมนุษย์ทั้งในแง่มุมทางกายภาพและจิตวิญญาณ ทั้งยังเสริมประเด็นความรักเพื่ออธิบายสถานภาพความเป็นมนุษย์ได้กว้างไกลขึ้นอีกระดับหนึ่ง ตลอดจนงานภาพ เทคนิควิชวลเอฟเฟคที่ถูกพัฒนาได้ยอดเยี่ยมตามยุคสมัย และที่สำคัญคือปมหลักของภาค 2049 กับการไขปริศนาที่อาจนำไปสู่กุญแจแห่งความหายนะของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งเต็มไปด้วยคำถามและปมซ่อนเร้นของตัวละครมากมาย โดยทาง Denis Villeneuve ที่ดูช่ำชองกับหนังลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว ก็เล่าด้วยจังหวะนิ่งๆ ค่อยๆคลายปม สร้างบรรยากาศบีบคั้นด้วยความไม่รู้ ก่อนจะเปิดเผยปมซ่อนเร้นได้อย่างทรงพลัง
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน