ผมมีเรื่องมาให้ปวดหัวเล่นนะครับ เนื่องจากมีหน่วยงานนึงเขาบอกว่าให้คิดค่าไฟฟ้าตามจริง
ทีนี้ผมจะเขียนง่ายๆให้ทั้งผู้เช่า และผู้ให้เช่าเข้าใจนะครับ ว่ามันมีปัญหายังไง ทำไมถึงบ่นกัน
แนวคิดการออกบิล
เพื่อความเข้าใจง่าย การคิดค่าเช่าจะคิดทั้งเดือน คือจ่ายเป็นเดือนๆไป (ไม่ค่อยมีแบบคร่อมเดือนเช่น วันที่ 15 เดือนนี้ - 14 เดือนหน้า)
ดังนั้น ผู้ให้เช่าจึงมักจดมิเตอร์ออกบิลในวันที่ 25-27 โดยมีเวลาให้ผู้เช่ามาจ่ายประมาณ 5-10 วัน ก็คือจ่ายช่วง 1-7 ของอีกเดือน
การได้รับบิลค่าไฟฟ้าส่วนผู้ประกอบการ
บิลจะออกวันสุดท้ายของเดือน (ไฟฟ้าแบบธุรกิจเฉพาะ) แต่หากวันสุดท้ายเป็นวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ ก็จะเลื่อนไปอีก
บางแห่งมีจำนวนห้องน้อยอาจจะขอไฟฟ้าแบบบุคคลธรรมดา ก็จะมาไม่ตรงวันแล้วแต่พื้นที่ว่ากำหนดให้มาออกบิลวันไหน
***ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ค่าไฟฟ้า เป็นแบบใช้ก่อนจ่ายทีหลัง จะทราบว่าค่าไฟต่อหน่วยเท่าไหร่เมื่อได้รับบิลเท่านั้น***
จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรอตัวเลข ยกเว้นแต่ว่าที่ไหนจดแบบบุคคลธรรมดาและค่าไฟมาตรงเวลาวันที่ออกบิลพอดี
ซึ่งกรณีนี้ ก็จะติดปัญหาอีก กรณีผู้เช่าหมดสัญญากลางเดือน หรือมีเหตุให้ต้องออกก่อน
วิธีคิดค่าไฟฟ้ากับผู้เช่า
1) แบบเก่า ก็คือตามตกลงในสัญญา 6-7-8-9-10 บาท ใช้ตัวเลขในมิเตอร์คุมเอา ไม่มีปัญหาซับซ้อนอะไร
2) แบบใหม่ ที่มีบางหน่วยพยายามพูดลอยๆว่า คิดตามจริง **แต่ยังไม่มีการชี้แจงหรือออกวิธีคิดเป็นทางการมาให้ใช้**
มีแต่กลุ่มคนที่ทำงานในนั้นมาให้ความเห็น อย่างนู้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ซึ่งผมจะสรุปวิธีให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง
2.1) วิธีการ = ค่าไฟฟ้าของปีที่แล้วทั้งหมด หารด้วย จำนวนหน่วยของปีที่แล้วทั้งหมด
สิ่งที่ได้ = ค่าเฉลี่ยของปีที่แล้ว
ข้อแย้ง = ไม่เป็นปัจจุบัน + หาก กฟน กฟผ ลดหรือเพิ่มค่าไฟฟ้า หรือจำนวนคนไม่เท่าเดิม ก็จะคลาดเคลื่อนอย่างมาก
2.2) วิธีการ = ค่าไฟฟ้าของเดือนที่แล้วทั้งหมด หารด้วย จำนวนหน่วยของเดือนที่แล้วทั้งหมด
สิ่งที่ได้ = ค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว
ข้อแย้ง = เหมือน 2.1 แม้จะคลาดเคลื่อนน้อยกว่า แต่ก็ไม่มีการรับรองว่าใช้ได้จากหน่วยราชการ
2.3) วิธีการ = ลดค่าไฟฟ้าเหลือเลขกลมๆ ให้มันน้อยๆเช่น 5 บาท 5.50 บาท
สิ่งที่ได้ = ความชัดเจน + ความง่ายในการจด
ข้อแย้ง = ไม่มีการรับรองว่าใช้ได้จากหน่วยราชการ / ผู้ให้เช่าต้องบวกค่าส่วนกลางหรือค่าเช่าเพิ่ม
2.4) วิธีการ = จ่ายเฉพาะค่าเช่าก่อน ค่าไฟฟ้า ประปา รอจ่ายเมื่อบิลออก
สิ่งที่ได้ = ความชัดเจน + ผู้เช่าจ่ายเงินทีละก้อน
ข้อแย้ง = ไม่สามารถเก็บเงิน ณ วันเลิกสัญญาได้ / บิลไม่ได้มาวันเดียวกันทุกเดือน / โอกาสถูกผู้เช่าชักกดาบ
หวังว่าข้อมูลของผมจะทำให้ผู้เช่ากับผู้ประกอบการ ได้เข้าใจกันนะครับ ว่าทำไมมันถึงปฎิบัติกันไม่ได้
และเป็นปัญหาให้ผู้ประกอบการหลายๆที่ตัดใจตัดใจ ยังไม่รับผู้เช่าใหม่ เพราะไม่รู้จะปฎิบัติตามประกาศที่ว่านี้ยังไง
เนื่องจากยังไม่เห็น หน่วยงานที่ออกประกาศ ออกวิธีคิดที่ เป็นรูปธรรม มีแต่คำว่า ตามจริง เป็นธรรม แต่ไม่เห็นบอกวิธี
ถ้าท่าใดมีวิธีที่ปฎิบัติได้ก็ลองแชร์กันมาดูนะครับ ขอบคุณครับ
ตกลงเรื่อง คิดค่าไฟฟ้าห้องเช่าตามจริง มีหน่วยงานไหนออกวิธีคิดหรือยัง
ทีนี้ผมจะเขียนง่ายๆให้ทั้งผู้เช่า และผู้ให้เช่าเข้าใจนะครับ ว่ามันมีปัญหายังไง ทำไมถึงบ่นกัน
แนวคิดการออกบิล
เพื่อความเข้าใจง่าย การคิดค่าเช่าจะคิดทั้งเดือน คือจ่ายเป็นเดือนๆไป (ไม่ค่อยมีแบบคร่อมเดือนเช่น วันที่ 15 เดือนนี้ - 14 เดือนหน้า)
ดังนั้น ผู้ให้เช่าจึงมักจดมิเตอร์ออกบิลในวันที่ 25-27 โดยมีเวลาให้ผู้เช่ามาจ่ายประมาณ 5-10 วัน ก็คือจ่ายช่วง 1-7 ของอีกเดือน
การได้รับบิลค่าไฟฟ้าส่วนผู้ประกอบการ
บิลจะออกวันสุดท้ายของเดือน (ไฟฟ้าแบบธุรกิจเฉพาะ) แต่หากวันสุดท้ายเป็นวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ ก็จะเลื่อนไปอีก
บางแห่งมีจำนวนห้องน้อยอาจจะขอไฟฟ้าแบบบุคคลธรรมดา ก็จะมาไม่ตรงวันแล้วแต่พื้นที่ว่ากำหนดให้มาออกบิลวันไหน
***ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ค่าไฟฟ้า เป็นแบบใช้ก่อนจ่ายทีหลัง จะทราบว่าค่าไฟต่อหน่วยเท่าไหร่เมื่อได้รับบิลเท่านั้น***
จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรอตัวเลข ยกเว้นแต่ว่าที่ไหนจดแบบบุคคลธรรมดาและค่าไฟมาตรงเวลาวันที่ออกบิลพอดี
ซึ่งกรณีนี้ ก็จะติดปัญหาอีก กรณีผู้เช่าหมดสัญญากลางเดือน หรือมีเหตุให้ต้องออกก่อน
วิธีคิดค่าไฟฟ้ากับผู้เช่า
1) แบบเก่า ก็คือตามตกลงในสัญญา 6-7-8-9-10 บาท ใช้ตัวเลขในมิเตอร์คุมเอา ไม่มีปัญหาซับซ้อนอะไร
2) แบบใหม่ ที่มีบางหน่วยพยายามพูดลอยๆว่า คิดตามจริง **แต่ยังไม่มีการชี้แจงหรือออกวิธีคิดเป็นทางการมาให้ใช้**
มีแต่กลุ่มคนที่ทำงานในนั้นมาให้ความเห็น อย่างนู้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ซึ่งผมจะสรุปวิธีให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง
2.1) วิธีการ = ค่าไฟฟ้าของปีที่แล้วทั้งหมด หารด้วย จำนวนหน่วยของปีที่แล้วทั้งหมด
สิ่งที่ได้ = ค่าเฉลี่ยของปีที่แล้ว
ข้อแย้ง = ไม่เป็นปัจจุบัน + หาก กฟน กฟผ ลดหรือเพิ่มค่าไฟฟ้า หรือจำนวนคนไม่เท่าเดิม ก็จะคลาดเคลื่อนอย่างมาก
2.2) วิธีการ = ค่าไฟฟ้าของเดือนที่แล้วทั้งหมด หารด้วย จำนวนหน่วยของเดือนที่แล้วทั้งหมด
สิ่งที่ได้ = ค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว
ข้อแย้ง = เหมือน 2.1 แม้จะคลาดเคลื่อนน้อยกว่า แต่ก็ไม่มีการรับรองว่าใช้ได้จากหน่วยราชการ
2.3) วิธีการ = ลดค่าไฟฟ้าเหลือเลขกลมๆ ให้มันน้อยๆเช่น 5 บาท 5.50 บาท
สิ่งที่ได้ = ความชัดเจน + ความง่ายในการจด
ข้อแย้ง = ไม่มีการรับรองว่าใช้ได้จากหน่วยราชการ / ผู้ให้เช่าต้องบวกค่าส่วนกลางหรือค่าเช่าเพิ่ม
2.4) วิธีการ = จ่ายเฉพาะค่าเช่าก่อน ค่าไฟฟ้า ประปา รอจ่ายเมื่อบิลออก
สิ่งที่ได้ = ความชัดเจน + ผู้เช่าจ่ายเงินทีละก้อน
ข้อแย้ง = ไม่สามารถเก็บเงิน ณ วันเลิกสัญญาได้ / บิลไม่ได้มาวันเดียวกันทุกเดือน / โอกาสถูกผู้เช่าชักกดาบ
หวังว่าข้อมูลของผมจะทำให้ผู้เช่ากับผู้ประกอบการ ได้เข้าใจกันนะครับ ว่าทำไมมันถึงปฎิบัติกันไม่ได้
และเป็นปัญหาให้ผู้ประกอบการหลายๆที่ตัดใจตัดใจ ยังไม่รับผู้เช่าใหม่ เพราะไม่รู้จะปฎิบัติตามประกาศที่ว่านี้ยังไง
เนื่องจากยังไม่เห็น หน่วยงานที่ออกประกาศ ออกวิธีคิดที่ เป็นรูปธรรม มีแต่คำว่า ตามจริง เป็นธรรม แต่ไม่เห็นบอกวิธี
ถ้าท่าใดมีวิธีที่ปฎิบัติได้ก็ลองแชร์กันมาดูนะครับ ขอบคุณครับ