ในที่สุด ประกาศ คสช.ช่วยทีวีดิจิทัล ที่ 9/2561 ได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ในช่วงบ่ายของวันที่ 23 พ.ค. 61 วันครบกำหนดให้ทีวีดิจิทัลทุกรายมาจ่ายเงินค่างวดประมูลงวดที่ 5 ที่ กสทช.ช่วยชุบชีวิตทีวีดิจิทัลที่กำลังดิ้นรนหาทางหนีตายกันอย่างหนัก
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ เป็นไปตามคาดหมายเดิม คือ
สำหรับช่องที่ไม่สามารถจ่ายเงินค่าประมูลได้ ให้พักชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 5 เป็นเวลา 3 ปี โดยจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย 1.5% ให้กับรัฐด้วย และต้องทำหนังสือเป็นทางการแจ้ง กสทช.
กสทช.จะช่วยเหลือจ่ายค่าเช่าโครงข่าย MUX วงเงิน 50% เป็นเวลา 2 ปีให้กับทุกช่อง
สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ
ให้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีทีวีดิจิทัลช่อง NBT และสถานีวิทยุ สามารถมีโฆษณาได้ ซึ่งคาดว่าจะมีโฆษณาได้ 8 นาที/ชั่วโมง เช่นเดียวกับช่อง 5 โดยต้องรอประกาศหลักเกณฑ์จาก กสทช.อีกครั้ง
เนื่องจากกรมประชาสัมพันธ์ได้ร้องเรียนไปยังรัฐบาลว่า มีปัญหาเรื่องการจัดสรรงบประมาณแต่ละปีไม่พอเพียง จึงต้องการให้มีการหารายได้จากค่าโฆษณาในกิจการของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีทีวีดิจิทัลช่อง NBT และสถานีวิทยุอีกจำนวนหนึ่ง รัฐบาลจึงต้องผ่อนผันให้มีโฆษณาได้เพื่อบรรเทาการขาดแคลนงบประมาณ แต่มีข้อแม้ว่า การหาโฆษณาจะต้องมีเท่าที่จำเป็นต่อการผลิตรายการ และไม่เป็นไปในเชิงธุรกิจ
สิ่งที่ไม่มีจากมติ คสช. เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 61 คือ
ไม่มีการระบุถึงการให้เปลี่ยนโอนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของทีวีดิจิทัลหลายช่องเรียกร้องให้รัฐบาลให้การช่วยเหลือ เนื่องจากกฎเกณฑ์เดิมไม่สามารถเปลี่ยนมือเจ้าของได้ ทำได้แค่เพียงซื้อขายหุ้นในบริษัทเดิมเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ เป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ทำให้ประกาศฉบับนี้ออกมาล่าช้ากว่า เนื่องจากยังเป็นประเด็นที่อาจจะมีผลกระทบกับใบอนุญาตประเภทอื่นๆ จำเป็นต้องกลับไปหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมก่อน
ในบรรดาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน 22 ช่อง เวลานี้มีเพียง 2ช่อง คือช่อง 7 และเวิร์คพ้อยท์ ที่ไม่ได้ขอเข้าโครงการรับความช่วยเหลือนี้ มาชำ
โดยช่อง 7 ได้มาจ่ายค่าประมูลงวด 5 วงเงิน 372 ล้านบาท แล้วตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา และจะเหลืออีกเพียงงวดเดียว 372 ล้านบาทที่จะจ่ายครบในปี 2562 ทางด้านเวิร์คพ้อยท์ เมาจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 5
แล้ว 395 ล้านบาท แล้วเช่นกัน
ส่วนอีก 20 ช่อง มาเซ็นแสดงเจตจำนงขอเข้าร่วม ม. 44
ครบ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ที่กสทช. เรียบร้อยแล้ว.
ที่มา:
https://positioningmag.com/1171154
คลอดแล้ว ม.44 อุ้มทีวีดิจิทัล พักค่างวด 3 ปี เพิ่มเติมคือ ช่อง 11 โฆษณาได้-ใบอนุญาตไม่ให้เปลี่ยนมือ
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ เป็นไปตามคาดหมายเดิม คือ
สำหรับช่องที่ไม่สามารถจ่ายเงินค่าประมูลได้ ให้พักชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 5 เป็นเวลา 3 ปี โดยจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย 1.5% ให้กับรัฐด้วย และต้องทำหนังสือเป็นทางการแจ้ง กสทช.
กสทช.จะช่วยเหลือจ่ายค่าเช่าโครงข่าย MUX วงเงิน 50% เป็นเวลา 2 ปีให้กับทุกช่อง
สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ
เนื่องจากกรมประชาสัมพันธ์ได้ร้องเรียนไปยังรัฐบาลว่า มีปัญหาเรื่องการจัดสรรงบประมาณแต่ละปีไม่พอเพียง จึงต้องการให้มีการหารายได้จากค่าโฆษณาในกิจการของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีทีวีดิจิทัลช่อง NBT และสถานีวิทยุอีกจำนวนหนึ่ง รัฐบาลจึงต้องผ่อนผันให้มีโฆษณาได้เพื่อบรรเทาการขาดแคลนงบประมาณ แต่มีข้อแม้ว่า การหาโฆษณาจะต้องมีเท่าที่จำเป็นต่อการผลิตรายการ และไม่เป็นไปในเชิงธุรกิจ
สิ่งที่ไม่มีจากมติ คสช. เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 61 คือ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ เป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ทำให้ประกาศฉบับนี้ออกมาล่าช้ากว่า เนื่องจากยังเป็นประเด็นที่อาจจะมีผลกระทบกับใบอนุญาตประเภทอื่นๆ จำเป็นต้องกลับไปหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมก่อน
ในบรรดาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน 22 ช่อง เวลานี้มีเพียง 2ช่อง คือช่อง 7 และเวิร์คพ้อยท์ ที่ไม่ได้ขอเข้าโครงการรับความช่วยเหลือนี้ มาชำ
โดยช่อง 7 ได้มาจ่ายค่าประมูลงวด 5 วงเงิน 372 ล้านบาท แล้วตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา และจะเหลืออีกเพียงงวดเดียว 372 ล้านบาทที่จะจ่ายครบในปี 2562 ทางด้านเวิร์คพ้อยท์ เมาจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 5
แล้ว 395 ล้านบาท แล้วเช่นกัน
ส่วนอีก 20 ช่อง มาเซ็นแสดงเจตจำนงขอเข้าร่วม ม. 44
ครบ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ที่กสทช. เรียบร้อยแล้ว.
ที่มา: https://positioningmag.com/1171154