เพิ่งจะสามารถคว้านิยายเรื่องบุพเพสันนิวาส มาอ่านได้ ก็หลังจากได้ชมละครทั้งรอบปรกติ และรอบรีรัน จนบัดนี้ ตอนนี้เพิ่งอ่านนิยายไปได้ถึงตอนแค่พาไปตลาดครั้งแรก
อ่านแล้วรู้สึกได้ถึงอรรถรสที่แตกต่างกัน ของทั้งสองอย่าง การชมละคร มีจุดเด่นคือ ได้เห็นภาพ เสียงของนักแสดง การดำเนินเรื่องแนวละคร และฉากต่างๆ รวมถึงเสียงประกอบละคร
ส่วนการอ่านนิยาย ก็มีจุดเด่นในเรื่องของการลงรายละเอียดของเรื่อง การบรรยายความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในแต่ละช่วง
ซึ่งอ่านมาแล้วถึงตรงนี้ ประทับใจเนื้อหาในนิยาย 3 ฉาก คือ
1. ฉากผินกับแย้ม ได้ยินนางเอกถามครั้งแรกว่านี้หีบใส่อะไร โน่นหีบใส่อะไร (ในละครไม่มีฉากนี้) ผินก็ตอบ ขณะที่แย้มซับน้ำตา นึกถึงแม่นายตอนเด็ก ก็ช่างซักช่างถามแบบนี้ แต่โตมาก็กลับกลาย
หลังจากนั้น ก็มีฉากที่ทั้งสองเอ็นดู เจ้านายใหม่ที่กลายเป็นคล้ายเด็กผู้หญิงไม่รู้ความ ถามไปหมด แต่ไม่ถือยศศักดิ์ ยิ่งกว่าเจ้านายคนเดิม สรุปคือ ทั้งสองนึกถึงการะเกดสมัยเด็กๆ นั่นเอง
2. เฮียหมื่น เริ่มนึกถึงนางเอกอย่างแปลกใจ ซึ่งนอกจากท่าทางผิดแผกไป ประกายตาผิดไปจากเดิมมาก กลายเป็นเข้มแข็งแต่อ่อนโยน ไม่ใช่แข็งกระด้างแต่มีเล่ห์เหลี่ยม จะว่าวิปลาสก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้ตาขวางเหมือนคนบ้า หรือจะกลับตัวได้ แต่หรือจะเป็นเพียงใช้เล่ห์แกล้งทำตัวดีขึ้นมา
อ่านตรงนี้ ผมเข้าใจขึ้น เพราะในละคร ท่าทีที่เปลี่ยนไปของนางเอก จนหลายคนบอก บ้าแน่ แต่ก็ยังคุยต่อกับนางเอกเรื่อยๆ นั่นเพราะ เขาจะดูคนบ้า จากการทำตาขวางนั่นเอง เขาจึงไม่ชัวร์ว่า บ้าไม่บ้า เพราะนางเอกไม่ได้ทำตาขวาง พูดจาแม้ภาษาประหลาด แต่ก็ฟังผู้อื่นรู้เรื่อง
อีกทั้ง ถ้าจะถามว่า พระเอกเริ่มชอบ (แต่ยังไม่เลิกเกลียดนะ) นางเอก ตอนไหน ก็ต้องตอบว่า ในนิยายก็ตั้งแต่ตอนนี้เลย อิอิ
3. ฉากพระเอก ให้บ่าวพายเรือเลียบแม่น้ำไปเรื่อยๆ เข้าประตูฉะไกรน้อย ในละครผมเข้าใจว่า คือ พายช้าๆ ให้นางเอก ได้เที่ยวชมบ้านเรือนไปเรื่อยๆ
แต่ในนิยาย จะบรรยายความรู้สึกบ่าวว่า เส้นทางนั้น มันอ้อมไปมากๆ หากจะไปป่าผ้าเหลืองแต่ก็ยอมพายไปโดยดี
แสดงว่า เฮียหมื่นเริ่มใส่ใจนางเอกมากขึ้น เสียแล้ว อิอิ เพราะไม่ใช่แค่พายช้าๆ แต่ให้พายอ้อม จะได้ให้นางชมได้ทั่ว นั่นเอง
อรรถรสที่ได้จากการอ่านนิยาย กับชมละคร บุพเพสันนิวาส
อ่านแล้วรู้สึกได้ถึงอรรถรสที่แตกต่างกัน ของทั้งสองอย่าง การชมละคร มีจุดเด่นคือ ได้เห็นภาพ เสียงของนักแสดง การดำเนินเรื่องแนวละคร และฉากต่างๆ รวมถึงเสียงประกอบละคร
ส่วนการอ่านนิยาย ก็มีจุดเด่นในเรื่องของการลงรายละเอียดของเรื่อง การบรรยายความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในแต่ละช่วง
ซึ่งอ่านมาแล้วถึงตรงนี้ ประทับใจเนื้อหาในนิยาย 3 ฉาก คือ
1. ฉากผินกับแย้ม ได้ยินนางเอกถามครั้งแรกว่านี้หีบใส่อะไร โน่นหีบใส่อะไร (ในละครไม่มีฉากนี้) ผินก็ตอบ ขณะที่แย้มซับน้ำตา นึกถึงแม่นายตอนเด็ก ก็ช่างซักช่างถามแบบนี้ แต่โตมาก็กลับกลาย
หลังจากนั้น ก็มีฉากที่ทั้งสองเอ็นดู เจ้านายใหม่ที่กลายเป็นคล้ายเด็กผู้หญิงไม่รู้ความ ถามไปหมด แต่ไม่ถือยศศักดิ์ ยิ่งกว่าเจ้านายคนเดิม สรุปคือ ทั้งสองนึกถึงการะเกดสมัยเด็กๆ นั่นเอง
2. เฮียหมื่น เริ่มนึกถึงนางเอกอย่างแปลกใจ ซึ่งนอกจากท่าทางผิดแผกไป ประกายตาผิดไปจากเดิมมาก กลายเป็นเข้มแข็งแต่อ่อนโยน ไม่ใช่แข็งกระด้างแต่มีเล่ห์เหลี่ยม จะว่าวิปลาสก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้ตาขวางเหมือนคนบ้า หรือจะกลับตัวได้ แต่หรือจะเป็นเพียงใช้เล่ห์แกล้งทำตัวดีขึ้นมา
อ่านตรงนี้ ผมเข้าใจขึ้น เพราะในละคร ท่าทีที่เปลี่ยนไปของนางเอก จนหลายคนบอก บ้าแน่ แต่ก็ยังคุยต่อกับนางเอกเรื่อยๆ นั่นเพราะ เขาจะดูคนบ้า จากการทำตาขวางนั่นเอง เขาจึงไม่ชัวร์ว่า บ้าไม่บ้า เพราะนางเอกไม่ได้ทำตาขวาง พูดจาแม้ภาษาประหลาด แต่ก็ฟังผู้อื่นรู้เรื่อง
อีกทั้ง ถ้าจะถามว่า พระเอกเริ่มชอบ (แต่ยังไม่เลิกเกลียดนะ) นางเอก ตอนไหน ก็ต้องตอบว่า ในนิยายก็ตั้งแต่ตอนนี้เลย อิอิ
3. ฉากพระเอก ให้บ่าวพายเรือเลียบแม่น้ำไปเรื่อยๆ เข้าประตูฉะไกรน้อย ในละครผมเข้าใจว่า คือ พายช้าๆ ให้นางเอก ได้เที่ยวชมบ้านเรือนไปเรื่อยๆ
แต่ในนิยาย จะบรรยายความรู้สึกบ่าวว่า เส้นทางนั้น มันอ้อมไปมากๆ หากจะไปป่าผ้าเหลืองแต่ก็ยอมพายไปโดยดี
แสดงว่า เฮียหมื่นเริ่มใส่ใจนางเอกมากขึ้น เสียแล้ว อิอิ เพราะไม่ใช่แค่พายช้าๆ แต่ให้พายอ้อม จะได้ให้นางชมได้ทั่ว นั่นเอง