การคัดค้านพิธีสวมสายธุรำ หรือ ยัชโญปวีต โดยคุรุศาสดา นานัก
ทุกองค์กรศาสนา ยอมรับในการเกิด 2 ครั้ง ในชีวิต
1). การเกิดจากครรภ์มารดา และ
2). การเกิดใหม่หรือปฏิรูปทางจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด
การประกอบพิธี การเกิดใหม่หรือปฏิรูปทางจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด นั้น จะมีวัยหนึ่งไว้โดยเฉพาะ ตามหลักความเชื่อของแต่ละศาสนา
ตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ หรือมนูศาสตร์ ชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และ แพทย์ จะต้องทำพิธีสวมสายธุรำ (ทวิชาติ) เพื่อความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของตน ส่วนชาวฮินดู วรรณะศูทรและจัณฑาล ไม่มีสิทธิในการสวมสายธุรำนี้ และถือว่าได้เกิดเพียงครั้งเดียว เป็นเอกชาติ
สายธุรำ ซึ่งสวมโดยพราหมณ์จะทำจากฝ้าย ของกษัตริย์จะทำจากปอ และของแพทย์จะทำจากขนแกะ
เป็นขนบธรรมเนียมว่า วรรณะพราหมณ์ต้องประกอบพิธีนี้ เวลาเด็กอายุวัย 8 ปี ในฤดูใบไม้ปลิ สำหรับกษัตริย์ ตอนเด็กวัย 11 ปี ในฤดูร้อน และ สำหรับแพทย์ ตอนเด็กวัย 12 ปี ในฤดูใบไม้ล่วง
ทุกครัวเรือนชาวฮินดูจะมีพราหมณ์บัณฑิต เป็นอาจารย์ประจำสำนัก บัณฑิต หรทยาล (Hardyal) ผู้อาศัยอยู่ในเมืองตัลวันดี (Talwandi) เป็นพราหมณ์-อาจารย์ประจำสำนักของ มหตา กาลู (Mehta Kalu) บิดาของคุรุศาสดา นานัก ท่านพราหมณ์ หรทยาล เป็นผู้เตรียมโหราศาสตร์ของ ศิริ คุรุ นานัก เอง ตอนคุรุท่านประสูติ พราหมณ์ หรทยาล ถูกเชิญมาประกอบพิธีสวมสายธุรำสำหรับคุรุศาสดานานัก เช่นกัน เมื่อพระองค์ชนมายุครบ 10 พรรษา เพราะพิธีนี้ เป็นสิทธิของพราหมณ์ประจำสำนัก เท่านั้น
ตามเหล่าธรรมศาสตร์ของศาสนาพราหมณ์ บุตรชายเท่านั้น ที่เป็นมงคล ที่จะกู้พ่อแม่ของตนจากการตกนรกได้ บุตรชายเท่านั้น ที่จะประกอบพิธียัชนะ และ พิธีศราทธ์ได้ ลูกสาวจะไม่มีสิทธิในสิ่งเหล่านี้ การสวมสายธุรำ หรือ ยัชโญปวีต ก็เช่นกัน เพียงบุตรชายเท่านั้นที่สวมได้
เช่นเดียวกับการเกิดของบุตรชาย ที่นำความสุขมากมายมาให้กับพ่อแม่ การประกอบพิธีสวมสายยัชโญปวีตโดยบุตรชาย ก็นำความสุขมากมายมาสู่ครอบครัว เสมือนกับการจัดงานแต่งงาน โดยมีญาติๆ พี่น้องและเพื่อนๆ ได้รับเชิญมา จะมีการจัดงานเลี้ยงใหญ่ และการเสริฟเนื้อแพะ เช่นกัน บาบา กาลู (บิดาของคุรุศาสดา) ได้จัดงานเลี้ยงอันใหญ่โตเช่นนี้เหมือนกัน
ความแน่วแน่ที่ไม่ย่อท้อ ของเด็กชาย นานัก
ทุกคนในชุมชนหมู่บ้านของนานัก ทราบดีถึงสติปัญญาความรอบรู้ของเด็กคนนี้ แต่พวกเขายังไม่รู้ทีว่า เด็กวัย 10 ขวบนี้ ครบครันที่จะกล้าต่อต้านขนบธรรมเนียมอันเก่าแก่หลายศตวรรษ์ของเหล่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์ เด็กพรสวรรค์คนนี้ ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า เขาอิสระเสรีจากความหลงใหลและความกลัวทุกประการ
เมื่อแขกผู้มีเกียรติได้รวมตัวกันรอบๆ แล้ว พราหมณ์ หรทยาล จึงริเริ่มพิธีอุปานยันสำหรับคุรุ นานัก ซึ่ง ศาสดาท่านก็นั่งอยู่เคียงคางท่านบัณฑิตและกำลังสังเกตทุกอย่าง เมื่อพิธีบูชาเหล่าเทพเทวาได้สำเร็จลงแล้ว บัณฑิต หรทยาล จึงเตรียมที่จะสวมสายธุรำรอบคอศิริ คุรุ นานัก ทุกคนกำลังเพ่งมองคุรุศาสดาและรอจังหวะเพื่อที่จะแสดงความยินดีต่อบิดา บาบา กาลู และ มารดา ตริปตา ในการสวมสายยัชโญปวีตโดย คุรุท่านอยู่ แต่ คุรุท่านได้หยุดมือของท่านพราหมณ์ก่อน ในขณะที่ท่านกำลังเอื้อมมือมาสวมสายธุรำให้พระองค์
พระองค์ได้ให้เหตุผลกับท่านพราหมณ์ว่า ตามที่เหล่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์กำหนดไว้ การสวมสายธุรำ เป็นการเกิดครั้งที่สอง เป็นการปฏิรูป จิตวิญญาณ หากเป็นเช่นนั้นจริง สายธุรำควรจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับความต้องการของจิตวิญญาณ แต่สายที่ท่านพราหมณ์กำลังให้นั้น เพียงถูกทำมาจากฝ้ายเอง เดี๋ยวมันก็จะเลอะเปรอะเปื้อน แล้วพอเวลาผ่านไป มันก็จะชำรุดขาด และต้องเปลี่ยนมาเป็นเส้นใหม่ แล้วเมื่อถึงเวลาที่จิตวิญญาณต้องจากจากร่างไป มันจะโดนเผาไปพร้อมๆ กับร่างด้วย ในสภาวะนี้ สายธุรำ จะช่วยเกื้อกูล จิตวิญญาณได้อย่างไร คุรุท่านถาม
เป็นคำถามที่ธรรมดาและทุกคนเข้าใจ แต่ไม่เคยมีใครคิดถึงประเด็นนี้มาก่อน และหากมีใครตระหนักถึงปัญหานี้แล้ว ก็ไม่กล้าคัดค้านจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับนี้
พระองค์ผู้ทรงเพียงชนมายุ 10 พรรษา ได้ท้าทายความสมบูรณ์และการมีผลบังคับตามขนบธรรมเนียมของเหล่าธรรมศาสตร์ ทุกคนที่นั่น ตะลึงงันไปหมด ท่านพราหมณ์พยายามโน้มน้าวพระคุรุ อย่างเต็มที่ให้สวมสายธุรำ บิดา มารดาของพระองค์ ก็ได้พยายามชี้แนะพระองค์อย่างรักใคร่งมงายว่าการขัดขืนอำนาจความเชื่อถือของเหล่าธรรมศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ฉลาด
ทั้งการโน้มน้าว และ การข่มขู่ ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อพระองค์ ผู้ซึ่ง มีความแน่วแน่ที่จะยอมรับในสิ่งที่สมเหตุสมผลเท่านั้น คำตอบเดียวของพระองค์ คือ เพื่อการปฏิรูป จิตวิญญาณ จำเป็นต้องใช้สายที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ และหากท่านพราหมณ์ได้พกสายศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้นมาด้วย จึงสวมสายนั้นรอบคอนานัก
เป็นการคัดค้านขนบธรรมเนียมอันเก่าแก่ของหลายศตวรรษโดยพระองค์ในวัยเด็ก ในอีกด้านหนึ่ง มันเป็นการต่อสู้ครั้งแรกของพระองค์ กับความไม่รู้และความคลั่งไคล้ พระองค์ในวัยเด็ก ได้แสดงความกล้าหาญอย่างยิ่ง และ สติสัมปชัญญะในความเที่ยงตรงของพระองค์ หากพระองค์เงียบไป หรือ เห็นพ้องกับสถานการณ์ยัดเยียดนี้ จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าพระองค์ไม่มีทัศนคติ จะคาดหวังเช่นนี้ได้ ก็ต้องจากผู้ที่มีวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์อย่างสมบูรณ์ มีความเหมาะสม และความกลมกลืน ความสามัคคีภายในตน และเป็นอิสระเสรีจากความหลงใหลและความเกรงกลัวทุกประการ
การสวมสายธุรำ กับ คำสอนของคุรุศาสดา
มุมมองของคุรุศาสดาในวัยเด็ก เกี่ยวกับการสวมสายธุรำ ทรงไตร่ตรองไว้ในบทกวี ‘อาสา ดิ วาร’ (Asa Di Var) ของพระองค์
เกี่ยวกับสายธุรำของชาวฮินดู พระเจ้า ทรงโองการผ่านคุรุศาสดา นานัก ตามนี้ -
โศลก มหะละ 1
จงนำ ความเห็นใจ มาเป็นฝ้าย ความพึงพอใจ มาเป็นสาย การควบคุมใจ มาเป็นปม และ ความจริง มาเป็นการบิดพัน นี่คือสายอันศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต โอ้ พราหมณ์ หากท่านมีสายชนิดนี้ จงสวมให้เราเลย เพราะสายชนิดนี้จะไม่ขาด และมันจะไม่เลอะเปรอะเปื้อนด้วยความสกปรก มันจะไม่ถูกเผาไหม้ และจะไม่หลุดหายไปเช่นกัน โอ้ นานัก ผู้นั้นโชคดี ผู้ใดได้สวมสายชนิดนี้รอบคอของตน ส่วนสายอื่นๆ ซึ่ง ซื้อมาไม่กี่ตังค์ และให้พวกทวิชาติ (ผู้เกิด 2 ครั้ง) ซึ่ง นั่งอยู่ภายในเส้นสี่เหลี่ยมศักดิ์สิทธิ์มานั่งสวมกัน หลังจากที่พราหมณ์ได้กระซิบคำสุภาษิตในหูของเขา แล้วก็ได้กลายมาเป็นอาจารย์ของเขานั้น เวลาคนๆ นั้นตาย สายนี้ก็จะถูกเผาไปด้วยกับร่างกาย แล้วเขาก็จะต้องจากไปสู่ปรโลกโดยไร้สาย เช่นกัน ||1||
มหะละ 1
ลักโขมยมานับแสนครั้ง รักเถื่อนมานับแสนครั้ง หลอกลวงคนอื่นมานับแสนครั้ง เบิกความเท็จมานับแสนครั้ง พูดจาหยาบคายมานับแสนครั้ง และ อีกหลายกลอุบายนับแสนอย่างที่ทำมาและเราไม่ทราบ เกาะติดและเป็นส่วนของชีวิตประจำวัน ทั้งวันทั้งคืน แล้วท่านพราหมณ์ก็ได้รับเชิญมา และได้นำสายธุรำที่ทำมาจากฝ้ายให้สวมใส่ แพะก็ถูกฆ่า และได้นำเนื้อมันมาทำเป็นอาหารแจกให้ญาติๆ ที่มาเยือนกิน แล้วทุกคนก็กล่าว ‘สวมสายธุรำได้แล้ว สวมสายธุรำได้แล้ว’ แล้วเมื่อสายธุรำชำรุดเปื่อย ก็แลกเปลี่ยนมันเป็นอีกอัน นานักขอบอกว่า หากสายธุรำมีพลังในตัวมันจริง มันคงไม่ชำรุดหรอก ||2||
มหะละ 1
เกียรติคุณอยู่ในการศรัทธาในพระองค์ (พระเจ้า) การสดุดีพระองค์เป็นการสวมสายธุรำที่แท้จริง สายอันบริสุทธิ์สมบูรณ์ที่ไม่มีวันชำรุดนี้ จะได้สวมไปสู่ศาลของพระองค์ในปรโลก เช่นกัน ||3||
มหะละ 1
ท่านบัณฑิตมิได้สวมสายเช่นนี้บนตนเองเลย ที่สามารถตรวจเช็คอารมณ์และอวัยวะตัณหาของตนได้ ในขณะที่หมกมุ่นอยู่ในโลกีย์วิสัยของชีวิต และต้องมาโดนดูถูกทั้งวันทั้งคืน เพราะกิเลสเหล่านี้ของตน ไม่มีสายธุรำสำหรับเท้า ไม่มีสายสำหรับมือ ไม่มีสายสำหรับลิ้น และ ไม่มีสายสำหรับดวงตาเลย ซึ่ง ล้วนหลงระเริงอยู่ในพวกบาปกรรม ท่านเองยังต้องไปสู่ปรโลกโดยไร้สายธุรำใดๆ เช่นกัน แต่ท่านกลับบิดพันสายธุรำให้คนอื่นสวมกัน และยังคิดค่าจ้างเวลาประกอบพิธีสมรสให้ศิษย์ของตนอีก หรือเวลาอ่านโหราศาสตร์ให้คนอื่นฟัง ก็มาเป็นผู้ชี้แนะหนทางให้เขาเห็น โอ้ ทุกคน มาสังเกตดูสิ่งที่พิศวงยิ่งกว่าพิศวงนี้สิ จิตใจของเขาบอด แต่เขากลับเรียกตนเองเป็นผู้รู้! (บัณฑิต) ||4||
เปารี
หากพระองค์แห่งความเมตตา ทรงกรุณา จึงจะรับใช้พระองค์ได้ (จึงจะทำกุศลได้) เพียงสาวกผู้นั้น เท่านั้น ที่จะรับใช้พระองค์ได้ ผู้ใดทรงก่อให้ศรัทธาในพระบัญชาของพระองค์ (อย่างมีสติ) เพียงผู้ที่ศรัทธาในพระบัญชาของพระองค์เท่านั้น ที่จะเป็นที่ยอมรับ ร่างเขาจะกลายมาเป็นคฤหาสน์แห่งอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์และเขาจะได้เข้าเฝ้าพระองค์โดยตรงภายในตนเอง ผู้ใดประพฤติตนตามพระประสงค์ของพระเจ้า (อย่างมีสติ) ผู้นั้นสมหวังทุกประการ เขาจะได้สวมเสื้อผ้าอาภรณ์แห่งเกียรติยศ (คุณธรรม) เมื่อได้เข้าเฝ้าพระองค์ในที่สุด ||15||
https://m.facebook.com/เรื่องเล่าชาวซิกข์-1759914770734217/?tsid=0.5528435372490798&source=result
เรื่องเล่าชาวซิกข์: อุปานยัน (พิธีสวมสายธุรำ หรือ ยัชโญปวีต) ของคุรุ นานัก ในวัยเด็ก
ทุกองค์กรศาสนา ยอมรับในการเกิด 2 ครั้ง ในชีวิต
1). การเกิดจากครรภ์มารดา และ
2). การเกิดใหม่หรือปฏิรูปทางจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด
การประกอบพิธี การเกิดใหม่หรือปฏิรูปทางจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด นั้น จะมีวัยหนึ่งไว้โดยเฉพาะ ตามหลักความเชื่อของแต่ละศาสนา
ตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ หรือมนูศาสตร์ ชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และ แพทย์ จะต้องทำพิธีสวมสายธุรำ (ทวิชาติ) เพื่อความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของตน ส่วนชาวฮินดู วรรณะศูทรและจัณฑาล ไม่มีสิทธิในการสวมสายธุรำนี้ และถือว่าได้เกิดเพียงครั้งเดียว เป็นเอกชาติ
สายธุรำ ซึ่งสวมโดยพราหมณ์จะทำจากฝ้าย ของกษัตริย์จะทำจากปอ และของแพทย์จะทำจากขนแกะ
เป็นขนบธรรมเนียมว่า วรรณะพราหมณ์ต้องประกอบพิธีนี้ เวลาเด็กอายุวัย 8 ปี ในฤดูใบไม้ปลิ สำหรับกษัตริย์ ตอนเด็กวัย 11 ปี ในฤดูร้อน และ สำหรับแพทย์ ตอนเด็กวัย 12 ปี ในฤดูใบไม้ล่วง
ทุกครัวเรือนชาวฮินดูจะมีพราหมณ์บัณฑิต เป็นอาจารย์ประจำสำนัก บัณฑิต หรทยาล (Hardyal) ผู้อาศัยอยู่ในเมืองตัลวันดี (Talwandi) เป็นพราหมณ์-อาจารย์ประจำสำนักของ มหตา กาลู (Mehta Kalu) บิดาของคุรุศาสดา นานัก ท่านพราหมณ์ หรทยาล เป็นผู้เตรียมโหราศาสตร์ของ ศิริ คุรุ นานัก เอง ตอนคุรุท่านประสูติ พราหมณ์ หรทยาล ถูกเชิญมาประกอบพิธีสวมสายธุรำสำหรับคุรุศาสดานานัก เช่นกัน เมื่อพระองค์ชนมายุครบ 10 พรรษา เพราะพิธีนี้ เป็นสิทธิของพราหมณ์ประจำสำนัก เท่านั้น
ตามเหล่าธรรมศาสตร์ของศาสนาพราหมณ์ บุตรชายเท่านั้น ที่เป็นมงคล ที่จะกู้พ่อแม่ของตนจากการตกนรกได้ บุตรชายเท่านั้น ที่จะประกอบพิธียัชนะ และ พิธีศราทธ์ได้ ลูกสาวจะไม่มีสิทธิในสิ่งเหล่านี้ การสวมสายธุรำ หรือ ยัชโญปวีต ก็เช่นกัน เพียงบุตรชายเท่านั้นที่สวมได้
เช่นเดียวกับการเกิดของบุตรชาย ที่นำความสุขมากมายมาให้กับพ่อแม่ การประกอบพิธีสวมสายยัชโญปวีตโดยบุตรชาย ก็นำความสุขมากมายมาสู่ครอบครัว เสมือนกับการจัดงานแต่งงาน โดยมีญาติๆ พี่น้องและเพื่อนๆ ได้รับเชิญมา จะมีการจัดงานเลี้ยงใหญ่ และการเสริฟเนื้อแพะ เช่นกัน บาบา กาลู (บิดาของคุรุศาสดา) ได้จัดงานเลี้ยงอันใหญ่โตเช่นนี้เหมือนกัน
ความแน่วแน่ที่ไม่ย่อท้อ ของเด็กชาย นานัก
ทุกคนในชุมชนหมู่บ้านของนานัก ทราบดีถึงสติปัญญาความรอบรู้ของเด็กคนนี้ แต่พวกเขายังไม่รู้ทีว่า เด็กวัย 10 ขวบนี้ ครบครันที่จะกล้าต่อต้านขนบธรรมเนียมอันเก่าแก่หลายศตวรรษ์ของเหล่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์ เด็กพรสวรรค์คนนี้ ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า เขาอิสระเสรีจากความหลงใหลและความกลัวทุกประการ
เมื่อแขกผู้มีเกียรติได้รวมตัวกันรอบๆ แล้ว พราหมณ์ หรทยาล จึงริเริ่มพิธีอุปานยันสำหรับคุรุ นานัก ซึ่ง ศาสดาท่านก็นั่งอยู่เคียงคางท่านบัณฑิตและกำลังสังเกตทุกอย่าง เมื่อพิธีบูชาเหล่าเทพเทวาได้สำเร็จลงแล้ว บัณฑิต หรทยาล จึงเตรียมที่จะสวมสายธุรำรอบคอศิริ คุรุ นานัก ทุกคนกำลังเพ่งมองคุรุศาสดาและรอจังหวะเพื่อที่จะแสดงความยินดีต่อบิดา บาบา กาลู และ มารดา ตริปตา ในการสวมสายยัชโญปวีตโดย คุรุท่านอยู่ แต่ คุรุท่านได้หยุดมือของท่านพราหมณ์ก่อน ในขณะที่ท่านกำลังเอื้อมมือมาสวมสายธุรำให้พระองค์
พระองค์ได้ให้เหตุผลกับท่านพราหมณ์ว่า ตามที่เหล่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์กำหนดไว้ การสวมสายธุรำ เป็นการเกิดครั้งที่สอง เป็นการปฏิรูป จิตวิญญาณ หากเป็นเช่นนั้นจริง สายธุรำควรจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับความต้องการของจิตวิญญาณ แต่สายที่ท่านพราหมณ์กำลังให้นั้น เพียงถูกทำมาจากฝ้ายเอง เดี๋ยวมันก็จะเลอะเปรอะเปื้อน แล้วพอเวลาผ่านไป มันก็จะชำรุดขาด และต้องเปลี่ยนมาเป็นเส้นใหม่ แล้วเมื่อถึงเวลาที่จิตวิญญาณต้องจากจากร่างไป มันจะโดนเผาไปพร้อมๆ กับร่างด้วย ในสภาวะนี้ สายธุรำ จะช่วยเกื้อกูล จิตวิญญาณได้อย่างไร คุรุท่านถาม
เป็นคำถามที่ธรรมดาและทุกคนเข้าใจ แต่ไม่เคยมีใครคิดถึงประเด็นนี้มาก่อน และหากมีใครตระหนักถึงปัญหานี้แล้ว ก็ไม่กล้าคัดค้านจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับนี้
พระองค์ผู้ทรงเพียงชนมายุ 10 พรรษา ได้ท้าทายความสมบูรณ์และการมีผลบังคับตามขนบธรรมเนียมของเหล่าธรรมศาสตร์ ทุกคนที่นั่น ตะลึงงันไปหมด ท่านพราหมณ์พยายามโน้มน้าวพระคุรุ อย่างเต็มที่ให้สวมสายธุรำ บิดา มารดาของพระองค์ ก็ได้พยายามชี้แนะพระองค์อย่างรักใคร่งมงายว่าการขัดขืนอำนาจความเชื่อถือของเหล่าธรรมศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ฉลาด
ทั้งการโน้มน้าว และ การข่มขู่ ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อพระองค์ ผู้ซึ่ง มีความแน่วแน่ที่จะยอมรับในสิ่งที่สมเหตุสมผลเท่านั้น คำตอบเดียวของพระองค์ คือ เพื่อการปฏิรูป จิตวิญญาณ จำเป็นต้องใช้สายที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ และหากท่านพราหมณ์ได้พกสายศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้นมาด้วย จึงสวมสายนั้นรอบคอนานัก
เป็นการคัดค้านขนบธรรมเนียมอันเก่าแก่ของหลายศตวรรษโดยพระองค์ในวัยเด็ก ในอีกด้านหนึ่ง มันเป็นการต่อสู้ครั้งแรกของพระองค์ กับความไม่รู้และความคลั่งไคล้ พระองค์ในวัยเด็ก ได้แสดงความกล้าหาญอย่างยิ่ง และ สติสัมปชัญญะในความเที่ยงตรงของพระองค์ หากพระองค์เงียบไป หรือ เห็นพ้องกับสถานการณ์ยัดเยียดนี้ จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าพระองค์ไม่มีทัศนคติ จะคาดหวังเช่นนี้ได้ ก็ต้องจากผู้ที่มีวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์อย่างสมบูรณ์ มีความเหมาะสม และความกลมกลืน ความสามัคคีภายในตน และเป็นอิสระเสรีจากความหลงใหลและความเกรงกลัวทุกประการ
การสวมสายธุรำ กับ คำสอนของคุรุศาสดา
มุมมองของคุรุศาสดาในวัยเด็ก เกี่ยวกับการสวมสายธุรำ ทรงไตร่ตรองไว้ในบทกวี ‘อาสา ดิ วาร’ (Asa Di Var) ของพระองค์
เกี่ยวกับสายธุรำของชาวฮินดู พระเจ้า ทรงโองการผ่านคุรุศาสดา นานัก ตามนี้ -
โศลก มหะละ 1
จงนำ ความเห็นใจ มาเป็นฝ้าย ความพึงพอใจ มาเป็นสาย การควบคุมใจ มาเป็นปม และ ความจริง มาเป็นการบิดพัน นี่คือสายอันศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต โอ้ พราหมณ์ หากท่านมีสายชนิดนี้ จงสวมให้เราเลย เพราะสายชนิดนี้จะไม่ขาด และมันจะไม่เลอะเปรอะเปื้อนด้วยความสกปรก มันจะไม่ถูกเผาไหม้ และจะไม่หลุดหายไปเช่นกัน โอ้ นานัก ผู้นั้นโชคดี ผู้ใดได้สวมสายชนิดนี้รอบคอของตน ส่วนสายอื่นๆ ซึ่ง ซื้อมาไม่กี่ตังค์ และให้พวกทวิชาติ (ผู้เกิด 2 ครั้ง) ซึ่ง นั่งอยู่ภายในเส้นสี่เหลี่ยมศักดิ์สิทธิ์มานั่งสวมกัน หลังจากที่พราหมณ์ได้กระซิบคำสุภาษิตในหูของเขา แล้วก็ได้กลายมาเป็นอาจารย์ของเขานั้น เวลาคนๆ นั้นตาย สายนี้ก็จะถูกเผาไปด้วยกับร่างกาย แล้วเขาก็จะต้องจากไปสู่ปรโลกโดยไร้สาย เช่นกัน ||1||
มหะละ 1
ลักโขมยมานับแสนครั้ง รักเถื่อนมานับแสนครั้ง หลอกลวงคนอื่นมานับแสนครั้ง เบิกความเท็จมานับแสนครั้ง พูดจาหยาบคายมานับแสนครั้ง และ อีกหลายกลอุบายนับแสนอย่างที่ทำมาและเราไม่ทราบ เกาะติดและเป็นส่วนของชีวิตประจำวัน ทั้งวันทั้งคืน แล้วท่านพราหมณ์ก็ได้รับเชิญมา และได้นำสายธุรำที่ทำมาจากฝ้ายให้สวมใส่ แพะก็ถูกฆ่า และได้นำเนื้อมันมาทำเป็นอาหารแจกให้ญาติๆ ที่มาเยือนกิน แล้วทุกคนก็กล่าว ‘สวมสายธุรำได้แล้ว สวมสายธุรำได้แล้ว’ แล้วเมื่อสายธุรำชำรุดเปื่อย ก็แลกเปลี่ยนมันเป็นอีกอัน นานักขอบอกว่า หากสายธุรำมีพลังในตัวมันจริง มันคงไม่ชำรุดหรอก ||2||
มหะละ 1
เกียรติคุณอยู่ในการศรัทธาในพระองค์ (พระเจ้า) การสดุดีพระองค์เป็นการสวมสายธุรำที่แท้จริง สายอันบริสุทธิ์สมบูรณ์ที่ไม่มีวันชำรุดนี้ จะได้สวมไปสู่ศาลของพระองค์ในปรโลก เช่นกัน ||3||
มหะละ 1
ท่านบัณฑิตมิได้สวมสายเช่นนี้บนตนเองเลย ที่สามารถตรวจเช็คอารมณ์และอวัยวะตัณหาของตนได้ ในขณะที่หมกมุ่นอยู่ในโลกีย์วิสัยของชีวิต และต้องมาโดนดูถูกทั้งวันทั้งคืน เพราะกิเลสเหล่านี้ของตน ไม่มีสายธุรำสำหรับเท้า ไม่มีสายสำหรับมือ ไม่มีสายสำหรับลิ้น และ ไม่มีสายสำหรับดวงตาเลย ซึ่ง ล้วนหลงระเริงอยู่ในพวกบาปกรรม ท่านเองยังต้องไปสู่ปรโลกโดยไร้สายธุรำใดๆ เช่นกัน แต่ท่านกลับบิดพันสายธุรำให้คนอื่นสวมกัน และยังคิดค่าจ้างเวลาประกอบพิธีสมรสให้ศิษย์ของตนอีก หรือเวลาอ่านโหราศาสตร์ให้คนอื่นฟัง ก็มาเป็นผู้ชี้แนะหนทางให้เขาเห็น โอ้ ทุกคน มาสังเกตดูสิ่งที่พิศวงยิ่งกว่าพิศวงนี้สิ จิตใจของเขาบอด แต่เขากลับเรียกตนเองเป็นผู้รู้! (บัณฑิต) ||4||
เปารี
หากพระองค์แห่งความเมตตา ทรงกรุณา จึงจะรับใช้พระองค์ได้ (จึงจะทำกุศลได้) เพียงสาวกผู้นั้น เท่านั้น ที่จะรับใช้พระองค์ได้ ผู้ใดทรงก่อให้ศรัทธาในพระบัญชาของพระองค์ (อย่างมีสติ) เพียงผู้ที่ศรัทธาในพระบัญชาของพระองค์เท่านั้น ที่จะเป็นที่ยอมรับ ร่างเขาจะกลายมาเป็นคฤหาสน์แห่งอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์และเขาจะได้เข้าเฝ้าพระองค์โดยตรงภายในตนเอง ผู้ใดประพฤติตนตามพระประสงค์ของพระเจ้า (อย่างมีสติ) ผู้นั้นสมหวังทุกประการ เขาจะได้สวมเสื้อผ้าอาภรณ์แห่งเกียรติยศ (คุณธรรม) เมื่อได้เข้าเฝ้าพระองค์ในที่สุด ||15||
https://m.facebook.com/เรื่องเล่าชาวซิกข์-1759914770734217/?tsid=0.5528435372490798&source=result