เมื่อคุณแม่มีภารกิจต้องไป Business Trip …… งานก็ต้องทำ นมก็ต้องปั๊ม
เราก็เลยต้องหาวิธีที่จะแพคนมแม่กลับมาให้ลูกหมูได้กินแบบครบถ้วน แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราจะเอานมกลับมายังไง เพราะระยะเวลาในการเดินทางจาก Budapest ถึง Bangkok รวมต่อเครื่องใช้เวลาราวๆ 16 ชั่วโมง
Google จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด เราsearch หาทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับการแพคและเก็บนมแม่ แล้วก็เอามาปรับใช้
สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน อย่างแรกที่เราต้องทำคือ ถ้าเป็นการเดินทางโดยไม่ได้มีเด็กไปด้วย เราต้องโทรไปสอบถามสายการบินที่เราจะบิน เกี่ยวกับ Travel with no baby ว่ามีข้อกำหนดอะไรเป็นพิเศษไหม เพราะว่ามีบางสายการบินจะกำหนดปริมาณการเอานมที่ปั๊มแล้วขึ้นเครื่องบิน บางสายการบินจะให้เอาขึ้นเครื่องไม่เกิน 100 ml แต่สายการบินที่เราไปคือ Lufthansa แล้วก็ Austrian Airline ไม่ได้มีข้อกำหนด สามารถเอาขึ้นมาได้ ถ้าสามารถผ่านการตรวจตรง Security check ได้
ทาง Call center ของสายการบินแจ้งว่าให้เราโทรไปสอบถามสนามบินเองว่ามีข้อกำหนดอะไรไหม
เราก็เลยโทรไปสอบถามทางสนามบิน แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นเลย Call center ของสนามบินตอบว่า ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจความปลอดภัยตรง Security check เท่านั้น Call Center ไม่สามารถให้คำตอบได้ สรุปคือ ก็ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าค่ะ ผ่านได้ก็ผ่าน ผ่านไม่ได้ก็ทิ้งงี้
เราเลยเตรียมความพร้อมของเราเอง โดยการพกถุงเก็บน้ำนมแบบใบเล็กไป เพื่อใส่น้ำนมให้ขนาดไม่เกิน 100 ml. เผื่อว่าเค้าจะเล่นแง่เรื่องนี้ แล้วก็เตรียมถุงเก็บน้ำนมถุงใหญ่ไปเผื่อด้วยเผื่อไม่พอ
นอกจากถุงน้ำนมที่ต้องเตรียมแล้วก็ยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่ต้องเตรียมไป
กล่องโฟม อันนี้จำเป็นเพราะระยะเวลาในการเดินทางเราค่อนข้างยาวนาน ประมาณ 16 ชั่วโมง กล่องโฟมจะช่วยเก็บความเย็น ให้นมที่เราแพคมาไม่ละลาย
Ice pack แช่แข็ง เพื่อเก็บความเย็นเวลาเราเอานมแม่ใส่ในกล่องโฟม หาซื้อง่าย Daiso ก็มีขาย เราพกไปประมาณ 8 อัน เป็น Ice pack แบบแข็ง 6 อันแล้วก็แบบเจลอีก 2 อัน
สก๊อตเทปอันใหญ่ เอาไว้ซีลกล่องโฟมกลับมา แบบแน่นหนา ไม่ให้ฝาเปิดออกมา ควรพกกรรไกรไปด้วย เพราะว่าสก๊อตเทปอันใหญ่ตัดค่อนข้างยาก แต่ต้องโหลดนะ เอาขึ้นเครื่องไม่ได้
กระดาษหนังสือพิมพ์ เอาไว้ห่อนมเพื่อรักษาอุณภูมิไว้ให้มากที่สุด ก่อนจะแพคลงกล่องโฟม เราห่อประมาณ 3 ชั้น
ถุงจัดระเบียบนมแม่ แนะนำเป็นถุงซิบล๊อคจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ แล้วแต่สะดวก เราใช้ถุง IKEA เพราะว่ามีอยู่ที่บ้านอยู่แล้วไม่ต้องไปซื้อมาใหม่
กล่องใส่นมสำหรับแช่ตู้เย็น อันนี้สำหรับการที่เราต้องแช่ตู้เย็นที่เค้าแช่ของอย่างอื่นรวมๆ กัน เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นอาหารเข้ามาปนในนมแม่ พอปั๊มเสร็จเราจะเอามาใส่ในกล่องก่อน หลังจากนั้นค่อยย้ายมาไว้ในถุงซิบล๊อค แล้วซิลให้แน่น
กระเป๋าเก็บความเย็น สำหรับเอาไว้ขึ้นเครื่องและเดินทาง ในนั้นจะมี Ice pack อยู่ 2 ก้อน เพื่อเอาไว้เก็บนมที่เราปั๊มได้บนเครื่อง
อ่อ … เราเอากระเป๋าเดินทางไปอีกใบเพื่อใส่กล่องโฟมโดยเฉพาะ แต่จริงๆ เราสามารถแพคกล่องโฟม แล้วเขียนติดบนกล่อง แล้วโหลดลงใต้เครื่องเลยก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกในการยก แล้วก็เคลื่อนที่ เอาใส่กระเป๋าเดินทางสะดวกสุด อุปกรณ์เกี่ยวกับการปั๊มนมแล้วก็ขนนมกลับมา เราเอามารวมไว้ในกระเป๋าใบนี้ใบเดียว
มาเล่าประสบการณ์ในการเดินทางดีกว่า……..
เราไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิก่อนเวลาพอสมควร เผื่อว่าจะโดนเรียกตรวจอะไรสำหรับกระเป๋าเก็บความเย็นที่เอาขึ้นเครื่อง ในกระเป๋าเก็บความเย็นของเรา มี
เครื่องปั๊มนม
ขวด+กรวยปั๊มนม 1 คู่
ถุงเก็บน้ำนมขนาด 4 oz.
Ice pack 2 ก้อน
ผ้าคลุมปั๊มนม
ตอนผ่าน security check ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ต้องสแกนกระเป๋า เราก็แจ้งเจ้าหน้าที่ตรงนั้นว่าในกระเป๋านั้นเป็นอุปกรณ์ปั๊มนม พร้อม Ice pack เจ้าหน้าที่ก็พยักหน้า ตรวจผ่านมาไม่อะไร บทจะง่ายก็ง่ายซะงั้น
ข้ามมาตอนขึ้นเครื่องเลยละกัน
เนื่องจากเราบินไกลมาก 10 ชม ก่อนจะไปต่อเครื่อง จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปั๊มนมบนเครื่องบิน โชคดีที่คนนั่งข้างเป็นผู้หญิง ก็เลยไม่ได้อายมากเท่าไหร่ แต่ถึงเป็นผู้ชาย ด้วยความเป็นมนุษย์แม่ ยังไงเราก็ต้องปั๊มอยู่ดี
ด้วยความที่บินนาน Ice pack ที่พกมาความเย็นเริ่มลดลง และเราก็กลัวว่านมจะได้ความเย็นไม่พออาจจะเสียได้ เลยไปถามแอร์ว่าเราสามารถแช่น้ำนมในถุงได้ที่ไหนบ้าง แอร์บอกว่าไม่มีตู้เย็นให้แช่ ถ้าจะแช่ต้อง Put on Ice ซึ่งต้องมีถุงใส่อีกอัน เพราะว่าเหมือนเราเอาถุงน้ำนมไปแช่ในน้ำแข็งทั้งถุง เอาแล้วไง ไม่ได้พกถุงซิบล๊อคที่จัดระเบียบถุงเก็บนมแม่ขึ้นเครื่องมา สุดท้ายแอร์ใจดีมาก ไปหาถุงที่เราสามารถใส่มาจนได้ นางก็เลยแนะนำว่า คราวหน้าถ้าจะปั๊มนมบนเครื่องอีก ให้พกถุงอีกถุงมาเพื่อเอาถุงน้ำนมใส่ลงไป ก่อนไปแช่ในน้ำแข็ง แอร์บริการดีมาก เข้าใจมนุษย์แม่อย่างดีเยี่ยม
หลังจากผ่านมา 10 กว่าชั่วโมง ก็ต้องมาต่อเครื่องที่ Frankfurt กว่าจะผ่าน Security check ได้ใช้เวลานานพอสมควร กระเป๋าเก็บความเย็น โดน Scan เข้าออกเครื่องอยู่หลายรอบ และถูกเจ้าหน้าที่เรียกขอให้เปิดกระเป๋า ซึ่งเราไม่ได้มีปัญหาอะไร พอมาถึงเครื่องปั๊มนม เจ้าหน้าที่ถามว่าเครื่องนี้ไว้ทำอะไร ก็ตอบไป ว่าใช้ปั๊มนม เจ้าหน้าที่ดูไม่เข้าใจที่เราพูด หรืออาจจะเป็นเพราะภาษาอังกฤษเราจะไม่ดี หรือเพราะเจ้าหน้าที่คนนั้นเป็นผู้ชาย เลยต้องมีการทำท่าทางประกอบ เป็นท่าคล้ายบีบนมวัว T_T พอทำปุ๊บ เข้าใจทันที เอาว่ะ ภาษาอื่นไม่ได้ ภาษากายสื่อสารได้ ก็ถือว่าผ่าน
เนื่องจากทริปนี้เราไปทำงาน เลยมีเวลาปั๊มนมระหว่างวันที่ออฟฟิศ แล้วเอาแช่เก็บไว้ในตู้เย็นที่บริษัท ปั๊มเสร็จเราจะเอาใส่กล่องที่ปิดฝาสนิทแช่ไว้ในช่องแช่แข็งก่อน เรียงให้ถุงนมแบนๆ จะได้แพคง่าย
พอแช่นมแม่จนแข็งเต็มกล่องแล้ว เราค่อยย้ายจากล่องมาเก็บไว้ในถุงซิบล๊อค แล้วแช่ไว้ในช่องฟรีซต่อ ควรปิดถุงซิบล๊อคให้แน่น เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลิ่นอะไรมาปนกับนมแม่
ถุงซิบล๊อคถุงนึงไม่ควรอัดจนแน่นเกินไป เพราะว่าเดี๋ยวเราต้องห่อหนังสือพิมพ์อีก มันจะหนาจนใส่กล่องโฟมไม่ได้
ด้วยความที่เราไปเมืองที่มีอากาศหนาว กระเป๋าเก็บความเย็นเราแทบไม่ต้องใช้เลย อากาศหนาวเข้าขั้นติดลบทุกวัน แค่เอากรวยปั๊มนมใส่กระเป๋าถือธรรมดาก็เย็นพอแล้ว
แล้วอุปกรณ์ปั๊มนมทำความสะอาดยังไง ……
เช็คแล้วว่าโรงแรมที่เราไปไม่มีไมโครเวฟ ถุงนึ่งในไมโครเวฟเลยไม่สามารถใช้ได้ เราเลยใช้วิธีการล้าง แล้วลวกน้ำร้อนเอา
มาถึงวันกลับก่อนเดินทาง เราก็เอานมแม่ที่เก็บไว้ในถุงซิบล๊อคทั้งหมดมาห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ประมาณ 3ชั้นให้หนาพอประมาณ เพื่อเก็บความเย็นไว้ให้นานที่สุด
แล้วก็เอาแพคลงกล่องโฟม โดยการใส่ Ice Pack ไว้เป็นชั้นๆ เพื่อให้ความเย็นกระจายทั่วถึง ซีลกล่องโฟมด้วยสก๊อตเทปให้แน่น แล้วก็เอากล่องโฟมใส่กระเป๋าเดินทางอีกที ถ้าไม่ได้เอากระเป๋าเดินทางไป ก็สามารถเอาโหลดลงเครื่องทั้งกล่องโฟมได้
พอมาถึงสนามบินทั้งที Budapest และ Vienna เวลาที่ผ่าน Security check กระเป๋าเก็บความเย็นเราโดนตรวจเหมือนเดิมทุกรอบ และก็ขอเปิดดูอุปกรณ์ด้านใน รวมถึง Ice Pack เจ้าหน้าที่มีการเอาสารบางอย่างมาป้าย เราเข้าใจว่าน่าจะเป็นการตรวจดูสารเสพติด เจ้าหน้าที่ขอตรวจ เราก็ให้ตรวจไป บอกเค้าว่าเป็นอุปกรณ์ปั๊มนมสำหรับลูก ก็ไม่มีปัญหาอะไร สามารถเอาขึ้นมาได้หมด แค่อาจจะเสียเวลานิดนึง ใครที่พกอุปกรณ์พวกนี้ไป ก็ควรเผื่อเวลานิดนึง เพราะยังไงเค้าก็เรียกตรวจ
ระหว่างอยู่ที่สนามบิน มันจะมี Lounge ที่เราสามารถหามุมหลบมาปั๊มนมได้ ก่อนขึ้นเครื่อง
อันนี้เป็น Quiet Zone เป็น Lounge ของการบินไทย ที่สนามบิน Vienna
[By Travelling As A Couple]How to pack expressed breast milk: แพคนมแม่ข้ามทวีป ฮังการี- กรุงเทพฯ 16 ชั่วโมงแบบชิลๆ
เมื่อคุณแม่มีภารกิจต้องไป Business Trip …… งานก็ต้องทำ นมก็ต้องปั๊ม
เราก็เลยต้องหาวิธีที่จะแพคนมแม่กลับมาให้ลูกหมูได้กินแบบครบถ้วน แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราจะเอานมกลับมายังไง เพราะระยะเวลาในการเดินทางจาก Budapest ถึง Bangkok รวมต่อเครื่องใช้เวลาราวๆ 16 ชั่วโมง
Google จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด เราsearch หาทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับการแพคและเก็บนมแม่ แล้วก็เอามาปรับใช้
สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน อย่างแรกที่เราต้องทำคือ ถ้าเป็นการเดินทางโดยไม่ได้มีเด็กไปด้วย เราต้องโทรไปสอบถามสายการบินที่เราจะบิน เกี่ยวกับ Travel with no baby ว่ามีข้อกำหนดอะไรเป็นพิเศษไหม เพราะว่ามีบางสายการบินจะกำหนดปริมาณการเอานมที่ปั๊มแล้วขึ้นเครื่องบิน บางสายการบินจะให้เอาขึ้นเครื่องไม่เกิน 100 ml แต่สายการบินที่เราไปคือ Lufthansa แล้วก็ Austrian Airline ไม่ได้มีข้อกำหนด สามารถเอาขึ้นมาได้ ถ้าสามารถผ่านการตรวจตรง Security check ได้
ทาง Call center ของสายการบินแจ้งว่าให้เราโทรไปสอบถามสนามบินเองว่ามีข้อกำหนดอะไรไหม
เราก็เลยโทรไปสอบถามทางสนามบิน แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นเลย Call center ของสนามบินตอบว่า ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจความปลอดภัยตรง Security check เท่านั้น Call Center ไม่สามารถให้คำตอบได้ สรุปคือ ก็ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าค่ะ ผ่านได้ก็ผ่าน ผ่านไม่ได้ก็ทิ้งงี้
เราเลยเตรียมความพร้อมของเราเอง โดยการพกถุงเก็บน้ำนมแบบใบเล็กไป เพื่อใส่น้ำนมให้ขนาดไม่เกิน 100 ml. เผื่อว่าเค้าจะเล่นแง่เรื่องนี้ แล้วก็เตรียมถุงเก็บน้ำนมถุงใหญ่ไปเผื่อด้วยเผื่อไม่พอ
นอกจากถุงน้ำนมที่ต้องเตรียมแล้วก็ยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่ต้องเตรียมไป
กล่องโฟม อันนี้จำเป็นเพราะระยะเวลาในการเดินทางเราค่อนข้างยาวนาน ประมาณ 16 ชั่วโมง กล่องโฟมจะช่วยเก็บความเย็น ให้นมที่เราแพคมาไม่ละลาย
Ice pack แช่แข็ง เพื่อเก็บความเย็นเวลาเราเอานมแม่ใส่ในกล่องโฟม หาซื้อง่าย Daiso ก็มีขาย เราพกไปประมาณ 8 อัน เป็น Ice pack แบบแข็ง 6 อันแล้วก็แบบเจลอีก 2 อัน
สก๊อตเทปอันใหญ่ เอาไว้ซีลกล่องโฟมกลับมา แบบแน่นหนา ไม่ให้ฝาเปิดออกมา ควรพกกรรไกรไปด้วย เพราะว่าสก๊อตเทปอันใหญ่ตัดค่อนข้างยาก แต่ต้องโหลดนะ เอาขึ้นเครื่องไม่ได้
กระดาษหนังสือพิมพ์ เอาไว้ห่อนมเพื่อรักษาอุณภูมิไว้ให้มากที่สุด ก่อนจะแพคลงกล่องโฟม เราห่อประมาณ 3 ชั้น
ถุงจัดระเบียบนมแม่ แนะนำเป็นถุงซิบล๊อคจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ แล้วแต่สะดวก เราใช้ถุง IKEA เพราะว่ามีอยู่ที่บ้านอยู่แล้วไม่ต้องไปซื้อมาใหม่
กล่องใส่นมสำหรับแช่ตู้เย็น อันนี้สำหรับการที่เราต้องแช่ตู้เย็นที่เค้าแช่ของอย่างอื่นรวมๆ กัน เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นอาหารเข้ามาปนในนมแม่ พอปั๊มเสร็จเราจะเอามาใส่ในกล่องก่อน หลังจากนั้นค่อยย้ายมาไว้ในถุงซิบล๊อค แล้วซิลให้แน่น
กระเป๋าเก็บความเย็น สำหรับเอาไว้ขึ้นเครื่องและเดินทาง ในนั้นจะมี Ice pack อยู่ 2 ก้อน เพื่อเอาไว้เก็บนมที่เราปั๊มได้บนเครื่อง
อ่อ … เราเอากระเป๋าเดินทางไปอีกใบเพื่อใส่กล่องโฟมโดยเฉพาะ แต่จริงๆ เราสามารถแพคกล่องโฟม แล้วเขียนติดบนกล่อง แล้วโหลดลงใต้เครื่องเลยก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกในการยก แล้วก็เคลื่อนที่ เอาใส่กระเป๋าเดินทางสะดวกสุด อุปกรณ์เกี่ยวกับการปั๊มนมแล้วก็ขนนมกลับมา เราเอามารวมไว้ในกระเป๋าใบนี้ใบเดียว
มาเล่าประสบการณ์ในการเดินทางดีกว่า……..
เราไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิก่อนเวลาพอสมควร เผื่อว่าจะโดนเรียกตรวจอะไรสำหรับกระเป๋าเก็บความเย็นที่เอาขึ้นเครื่อง ในกระเป๋าเก็บความเย็นของเรา มี
เครื่องปั๊มนม
ขวด+กรวยปั๊มนม 1 คู่
ถุงเก็บน้ำนมขนาด 4 oz.
Ice pack 2 ก้อน
ผ้าคลุมปั๊มนม
ตอนผ่าน security check ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ต้องสแกนกระเป๋า เราก็แจ้งเจ้าหน้าที่ตรงนั้นว่าในกระเป๋านั้นเป็นอุปกรณ์ปั๊มนม พร้อม Ice pack เจ้าหน้าที่ก็พยักหน้า ตรวจผ่านมาไม่อะไร บทจะง่ายก็ง่ายซะงั้น
ข้ามมาตอนขึ้นเครื่องเลยละกัน
เนื่องจากเราบินไกลมาก 10 ชม ก่อนจะไปต่อเครื่อง จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปั๊มนมบนเครื่องบิน โชคดีที่คนนั่งข้างเป็นผู้หญิง ก็เลยไม่ได้อายมากเท่าไหร่ แต่ถึงเป็นผู้ชาย ด้วยความเป็นมนุษย์แม่ ยังไงเราก็ต้องปั๊มอยู่ดี
ด้วยความที่บินนาน Ice pack ที่พกมาความเย็นเริ่มลดลง และเราก็กลัวว่านมจะได้ความเย็นไม่พออาจจะเสียได้ เลยไปถามแอร์ว่าเราสามารถแช่น้ำนมในถุงได้ที่ไหนบ้าง แอร์บอกว่าไม่มีตู้เย็นให้แช่ ถ้าจะแช่ต้อง Put on Ice ซึ่งต้องมีถุงใส่อีกอัน เพราะว่าเหมือนเราเอาถุงน้ำนมไปแช่ในน้ำแข็งทั้งถุง เอาแล้วไง ไม่ได้พกถุงซิบล๊อคที่จัดระเบียบถุงเก็บนมแม่ขึ้นเครื่องมา สุดท้ายแอร์ใจดีมาก ไปหาถุงที่เราสามารถใส่มาจนได้ นางก็เลยแนะนำว่า คราวหน้าถ้าจะปั๊มนมบนเครื่องอีก ให้พกถุงอีกถุงมาเพื่อเอาถุงน้ำนมใส่ลงไป ก่อนไปแช่ในน้ำแข็ง แอร์บริการดีมาก เข้าใจมนุษย์แม่อย่างดีเยี่ยม
หลังจากผ่านมา 10 กว่าชั่วโมง ก็ต้องมาต่อเครื่องที่ Frankfurt กว่าจะผ่าน Security check ได้ใช้เวลานานพอสมควร กระเป๋าเก็บความเย็น โดน Scan เข้าออกเครื่องอยู่หลายรอบ และถูกเจ้าหน้าที่เรียกขอให้เปิดกระเป๋า ซึ่งเราไม่ได้มีปัญหาอะไร พอมาถึงเครื่องปั๊มนม เจ้าหน้าที่ถามว่าเครื่องนี้ไว้ทำอะไร ก็ตอบไป ว่าใช้ปั๊มนม เจ้าหน้าที่ดูไม่เข้าใจที่เราพูด หรืออาจจะเป็นเพราะภาษาอังกฤษเราจะไม่ดี หรือเพราะเจ้าหน้าที่คนนั้นเป็นผู้ชาย เลยต้องมีการทำท่าทางประกอบ เป็นท่าคล้ายบีบนมวัว T_T พอทำปุ๊บ เข้าใจทันที เอาว่ะ ภาษาอื่นไม่ได้ ภาษากายสื่อสารได้ ก็ถือว่าผ่าน
เนื่องจากทริปนี้เราไปทำงาน เลยมีเวลาปั๊มนมระหว่างวันที่ออฟฟิศ แล้วเอาแช่เก็บไว้ในตู้เย็นที่บริษัท ปั๊มเสร็จเราจะเอาใส่กล่องที่ปิดฝาสนิทแช่ไว้ในช่องแช่แข็งก่อน เรียงให้ถุงนมแบนๆ จะได้แพคง่าย
พอแช่นมแม่จนแข็งเต็มกล่องแล้ว เราค่อยย้ายจากล่องมาเก็บไว้ในถุงซิบล๊อค แล้วแช่ไว้ในช่องฟรีซต่อ ควรปิดถุงซิบล๊อคให้แน่น เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลิ่นอะไรมาปนกับนมแม่
ถุงซิบล๊อคถุงนึงไม่ควรอัดจนแน่นเกินไป เพราะว่าเดี๋ยวเราต้องห่อหนังสือพิมพ์อีก มันจะหนาจนใส่กล่องโฟมไม่ได้
ด้วยความที่เราไปเมืองที่มีอากาศหนาว กระเป๋าเก็บความเย็นเราแทบไม่ต้องใช้เลย อากาศหนาวเข้าขั้นติดลบทุกวัน แค่เอากรวยปั๊มนมใส่กระเป๋าถือธรรมดาก็เย็นพอแล้ว
แล้วอุปกรณ์ปั๊มนมทำความสะอาดยังไง ……
เช็คแล้วว่าโรงแรมที่เราไปไม่มีไมโครเวฟ ถุงนึ่งในไมโครเวฟเลยไม่สามารถใช้ได้ เราเลยใช้วิธีการล้าง แล้วลวกน้ำร้อนเอา
มาถึงวันกลับก่อนเดินทาง เราก็เอานมแม่ที่เก็บไว้ในถุงซิบล๊อคทั้งหมดมาห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ประมาณ 3ชั้นให้หนาพอประมาณ เพื่อเก็บความเย็นไว้ให้นานที่สุด
แล้วก็เอาแพคลงกล่องโฟม โดยการใส่ Ice Pack ไว้เป็นชั้นๆ เพื่อให้ความเย็นกระจายทั่วถึง ซีลกล่องโฟมด้วยสก๊อตเทปให้แน่น แล้วก็เอากล่องโฟมใส่กระเป๋าเดินทางอีกที ถ้าไม่ได้เอากระเป๋าเดินทางไป ก็สามารถเอาโหลดลงเครื่องทั้งกล่องโฟมได้
พอมาถึงสนามบินทั้งที Budapest และ Vienna เวลาที่ผ่าน Security check กระเป๋าเก็บความเย็นเราโดนตรวจเหมือนเดิมทุกรอบ และก็ขอเปิดดูอุปกรณ์ด้านใน รวมถึง Ice Pack เจ้าหน้าที่มีการเอาสารบางอย่างมาป้าย เราเข้าใจว่าน่าจะเป็นการตรวจดูสารเสพติด เจ้าหน้าที่ขอตรวจ เราก็ให้ตรวจไป บอกเค้าว่าเป็นอุปกรณ์ปั๊มนมสำหรับลูก ก็ไม่มีปัญหาอะไร สามารถเอาขึ้นมาได้หมด แค่อาจจะเสียเวลานิดนึง ใครที่พกอุปกรณ์พวกนี้ไป ก็ควรเผื่อเวลานิดนึง เพราะยังไงเค้าก็เรียกตรวจ
ระหว่างอยู่ที่สนามบิน มันจะมี Lounge ที่เราสามารถหามุมหลบมาปั๊มนมได้ ก่อนขึ้นเครื่อง
อันนี้เป็น Quiet Zone เป็น Lounge ของการบินไทย ที่สนามบิน Vienna