นกคีรีบูนช่วยชีวิตชาวเหมือง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Canary Singing birds sounds at its best | Melodies Canary Bird song | Training Video






อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นของสะสมพิพิธภัณฑ์
Science Museum ใน South Kensington มหานคร London
มันดูเหมือนกับห้องรมก๊าซในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
เพื่อใช้กำจัดศัตรูทางการเมืองการปกครองของรัฐ
ข้างในมีนกคีรีบูนที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสาอยู่ในห้องกรงขัง
รอเปิดวาล์วเพื่อปล่อยก๊าซพิษที่วางอยู่บนด้านบนลงไป
แล้วค่อยหัวเราะอย่างสะใจ
ขณะที่นกน้อยค่อย ๆ ดิ้นกระแด่ว ๆ แล้วตายไป


แต่เรื่องจริงกลับตรงกันข้ามไปเลย
อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ใช้ฆ่านกคีรีบูนแต่อย่างใดเลย
แต่กลับใช้เพื่อช่วยชีวิตของนกคีรีบูน
ถังเก็บลมด้านบนจะบรรจุก๊าซออกซิเจน
ซึ่งมีไว้เพื่อช่วยชีวิตและต่อลมหายใจให้กับนกคีรีบูน
อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่า Canary Resuscitators


ราว ๆ 30 ปีก่อนหน้านี้ ชาวเมืองแร่ถ่านหินที่จะลงไปทำงานในใต้ดิน
ต่างจะพานกคีรีบูนใส่ในกรงคล้ายแบบตัวอย่างนี้
ลงไปในเหมืองใต้ดินด้วยกัน  เพื่อเป็น Buddy เพื่อนร่วมงานด้วย
เพราะในเหมืองใต้ดินมักจะมีก๊าซอันตรายถึงตายได้
เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่สะสมอยู่ภายใน
เพราะสาเหตุอุบัติเหตุ เช่น เพลิงรุกไหม้ หรือ การระเบิด
ก๊าซที่ไร้สีไร้กลิ่นนี้  ฆ่าทั้งคนทั้งนกคีรีบูนได้
แต่นกคีรีบูนจะมีปฏิกิริยาไวต่อก๊าซพิษมาก
และรู้สึกตัวได้อย่างรวดเร็ว
จึงแจ้งเตือนภัยชาวเหมืองได้ทันท่วงที
ถึงภยันตรายและภัยคุกคามจากก๊าซพิษ


เมื่อลงไปทำงานในเหมืองถ่านหิน
หรือเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้นภายในเหมืองถ่านหิน
ชาวเหมืองจะนำนกคีรีบูนที่ถูกขังอยู่ภายในกรงพิเศษ
ที่มีลักษณ์เป็นกล่อง/กรงแก้วในกรอบโลหะ
มีช่องประตูแก้วเปิดปิดรูปวงกลมด้านหน้า
แต่ปิดตะแกรงไว้ด้านในเพื่อป้องกันนกบินหนีออกมา

ถ้ามีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อยู่ในบริเวณนั้นมาก
นกคีรีบูนจะแสดงอาการออกมาอย่างเห็นได้ชัด
มันจะเริ่มมีอาการกระสับกระส่ายขณะที่เกาะบนคอน
แล้วในที่สุดก็ตกลงจากคอนที่เกาะ

ถ้านกคีรีบูนเกิดอาการหมดสติขึ้นมา
ชาวเหมืองจะรีบปิดประตูแก้ว
แล้วรีบเปิดวาล์วปล่อยให้ออกซิเจนจากถังด้านบน
อัดอากาศลงไปข้างในกล่องแก้ว
เพิ่มช่วยเติมอากาศและช่วยชีวิตนกคีรีบูน
แล้วชาวเหมืองก็จะรีบอพยพออกจากพื้นที่อันตราย



Credit: www.healeyhero.co.uk




ในครั้งแรกนั้น แนวความคิดที่จะใช้นกคีรีบูนตรวจสอบก๊าซพิษ
ถูกนำเสนอโดย John Haldane นักสรีรวิทยาชาวสก็อต
ที่ได้รับการยอมรับเรื่องการค้นพบสรีรวิทยาการหายใจ
และลักษณะของก๊าซที่ส่งผลต่อร่างกายมนุษย์

John Haldane มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงมาก
ด้วยการขังตัวเองไว้ในห้องที่ปิดทึบ
พร้อมกับหายใจก๊าซพิษชนิดต่าง ๆ
ที่อาจทำให้คนเราถึงตายได้
ขณะที่ค่อย ๆ บันทึกอาการที่เกิดขึ้นจากก๊าซพิษ
ในระหว่างที่อยู่ภายในห้องทดลอง
และบันทึกเพิ่มเติมภายหลังที่ฟื้นสติ
หลังจากออกมาจากห้องทดลองแล้ว

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
John Haldane จีงมีความคืบหน้าอย่างมาก
ในการระบุก๊าซพิษที่ใช้โดยทหารเยอรมัน
ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์หน้ากากป้องกันก๊าซพิษได้เป็นครั้งแรก





John Haldane ยังค้นพบว่า
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
ที่ทำให้คนงานเหมืองส่วนใหญ่ตาย
เพราะสังเกตเห็นว่าศพของชาวเหมือง
ตามบริเวณบางส่วนของศพจะมีสีคล้ายสีชมพูของผลเชอรี่
ทั้งนี้เป็นผลมาจากสารประกอบที่ก่อตัวขึ้นในเลือด
เมื่อมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์รวมกับฮีโมโกลบิน


ในปลายยุค 1890
John Haldane จึงเริ่มทดลองกับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนูขาว นกคีรีบูน
เพราะสัตว์ขนาดเล็กมีอัตราการเผาผลาญอาหารได้เร็วกว่าคน
และด้วยสาเหตุนี้จึงแสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัดเจนและเร็วกว่าคน
ยิ่งอาการข้างเคียงจากก๊าซพิษของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
แม้ว่าจะมีปริมาณเจือปนในอากาศเพียงเล็กน้อยก็ตาม

นกคีรีบูนเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการทดลอง
การตรวจจับก๊าซพิษในอากาศรอบข้าง
เพราะระบบทางเดินหายใจที่มีลักษณะแบบพิเศษของพวกมัน



ภาพเคลื่อนไหวแสดงความแตกต่างระหว่างระบบทางเดินหายใจของมนุษย์และนก Credit: Eleanor Lutz




นกคีรีบูนก็เหมือนกับนกทั่ว ๆ ไป ทุกชนิด
ที่มีระบบทางเดินหายใจที่สลับซับซ้อน
ซึ่งออกแบบมาเพื่อรวบรวมออกซิเจนให้มากที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้จากอากาศภายนอก
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกนก
เพราะเวลาบินพวกนกต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ในบางครั้งเอง ที่พวกนกบินขึ้นสูงมาก
ยิ่งจะมีก๊าซออกซิเจนน้อยมากในอากาศด้านบนที่สูง


ในการที่นกสูดอากาศหายใจแต่ละครั้ง
จะได้ปริมาณอากาศเป็นจำนวนมาก
เมื่อเทียบกับขนาดของตัวนก
ระบบทางเดินหายใจของนก
มีถึง 20% ของร่างกายนก
เทียบเท่ากับ  5% ในคน

อากาศบางส่วนของพวกนก
จะเก็บไว้ในพื้นที่ว่างที่เรียกว่า air sacs
ซึ่งมีอยู่กระจายไปทั่วร่างกายของนก
อากาศส่วนที่เหลือจะถูกนำเข้าไปในปอด
ที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อนกหายใจออกอากาศไปแล้ว
อากาศที่ที่เก็บไว้ในถุงลม air sacs
จะค่อย ๆ นำเข้าสู่ปอดนกอีกครั้ง
เพื่อเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ดังนั้น นกจะหายใจออกซิเจนได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งขณะที่นกหายใจเข้าและนกหายใจออก
เรื่องแบบนี้นกทำได้ดีกว่าคนมากในเรื่องใช้ก๊าซออกซิเจน
แต่ในทำนองกลับกัน
นกยิ่งเสี่ยงต่อสารพิษในอากาศมากกว่าคน


Credit: www.healeyhero.co.uk



ในปี 1986 ในอังกฤษ เพราะผลจากการรณรงค์กันอย่างแรง
เรื่องสิทธิของสัตว์ เสียงที่ไร้เสียง และหลักมนุษยธรรม
จึงมีการออกกฎหมายห้ามการใช้นกคีรีบูนในเหมืองแร่ถ่านหิน
ซึ่งในขณะนั้นมีนกคีรีบูนมากกว่า 200 ตัวที่ทำหน้าที่นี้อยู่
ทำให้พวกนกต่างตกงานและไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับคนอีกต่อไป
เพราะถูกแทนที่โดยเครื่องตรวจจับแบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพมากกว่า


เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2Gr3FQG
http://bit.ly/2KyhLCr





ที่มา https://goo.gl/n3jU5q






ข้อมูลเพิ่มเติม


นกคีรีบูน

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์: ก๊าซอันตรายที่มองไม่เห็น




เรื่องเดิม
  

ไขปริศนาประตูสู่นรก






64 ภาพโฆษณาเพื่อเสียงที่ไร้เสียง







คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

"ขุดบ่อบาดาล" อาชีพที่มาพร้อมกับภัยแล้ง - Springnews



เรื่องเล่าไร้สาระ


ภูมิปัญญาชาวบ้านไทยในเรื่องก๊าซพิษที่ทำให้ถึงตายได้
ในการขุดบ่อน้ำของชาวบ้านไทยในยุคก่อน
ที่จะต้องวางปล่องบ่อลงไปทีละลูก ๆ
และต้องใช้แรงงานคนขุดลงไปในใต้ดิน
ขุดจนกว่าจะไปเจอตาน้ำ (น้ำซึมออกมาจากผิวดิน)

ช่างขุดบ่อน้ำรุ่นเก่ามักจะมีการโยนกิ่งไม้/ใบไม้ลงไปเป็นระยะ ๆ
หรือสาดน้ำเย็นลงไปข้างล่างในบ่อให้คนขุดบ่อเป็นระยะ ๆ
ไม่ใช่เพื่อดับร้อนของคนขุดในบ่อเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นการไล่ก๊าซพิษที่สะสมในบ่อด้วยส่วนหนึ่ง
ส่วนบางคนจะใช้วิธีจุดไม้ขีดไฟทดสอบในบ่อดูก่อน
ถ้าไฟดับอย่างรวดเร็วจะรีบขึ้นมาจากบ่อเลย
เพราะแสดงว่าอากาศข้างล่างเริ่มไม่เพียงพอแล้ว

วิธีการนี้ก็ยังจะใช้ในตอนล้างบ่อน้ำเก่า/ลอกบ่อน้ำเก่า
ถ้าโยนไม้ขีดไฟ/กิ่งไม้ติดไฟ/เทียนติดไฟ
ลงไปในบ่อน้ำแล้วดับเร็วมากผิดปรกติ
แสดงว่าอากาศข้างล่างในบ่อไม่เพียงพอ
ก็จะต้องสาดน้ำลงไปเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับโยนกิ่งไม้ใบไม้ลงไปตาม
เพื่อไปปัดเป่าไล่ก๊าซพิษจากล่างขึ้นมาข้างบน
ซึ่งมักจะมี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

แต่ช่างขุดบ่อน้ำบางคนจะโหดกว่านั้นหน่อย
หลังจากสาดน้ำลงไปพร้อมกับโยนกิ่งไม้ใบไม้ลงไปในบ่อเก่าแล้ว
มักจะใช้วิธีโยนไก่เป็น ๆ ทั้งตัวลงไปในบ่อเก่าด้วย
นัยอ้างว่าเพื่อบวงสรวงพระแม่ธรณี/เจ้าที่เจ้าทาง/สัมภเวสี
ถ้าไก่ตายในบ่อก็จะเลื่อนวันขุดลอกบ่อเก่าออกไปก่อน
หรือโหดกว่านั้นจะทำพิธีกรรมเสี่ยงทายไปเรื่อย
โดยสาดน้ำลงไปพร้อมกับโยนกิ่งไม้ใบไม้ลงไปในบ่อเก่า
แล้วโยนไก่ลงไปตามในภายหลังจนกว่าไก่จะไม่ตาย
พร้อมกับถือโอกาสนำไก่ตายมาทำเป็นอาหารต่อไป

แต่บางรายจะนำไก่  หรือนกกระทา หรือกระรอก
ลงไปในบ่อเก่าด้วยเพื่อใช้สัตว์เป็นตัววัดอากาศภายในบ่อ
ถ้าสัตว์เลี้ยงสะลึมสะลือหรือออกอาการน่าเป็นห่วง
ก็จะรีบขึ้นจากบ่อเก่าโดยเร็ว

แต่ปัจจุบันใช้พัดลมเป่าอากาศลงไปแทนที่ก่อน
หรือใช้เครื่องปั้มลมอัดอากาศลงไปไล่อากาศเสีย
ไม่มีพิธีกรรมแบบในอดีตที่ใช้สัตว์เป็น ๆ ลงไปในบ่อ
เพราะมักจะใช้เครื่องมือขุดเจาะบ่อบาบาล
แต่พิธีขอขมาพระแม่ธรณี/เจ้าที่เจ้าทาง/สัมภเวสี
ยังมีอยู่ตามความเชื่อและความสบายใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง


ในปัจจุบันจะใช้เครื่องมือขุดเบาะบ่อบาดาล
แบบเจาะลงไปในดินฝังท่อขนาด 2 4 6 นิ้วแทน
ซึ่งเครื่องมือขุดเจาะบ่อบาดาลทั่วไปมักจะพบเห็นในขนาดนี้
เพราะท่อน้ำตัน/ท่อน้ำเซาะร่องพอหาซื้อได้ในท้องตลาดในราคาย่อมเยา
รวมทั้งปั้มน้ำที่สูบน้ำขึ้นจากบ่อบาดาลมักจะมีขนาดนิยม
ไม่เกิน 4 หุน 1 นิ้ว 2 นิ้ว แล้วแต่ความต้องการใช้น้ำ
ว่าต้องการปริมาณน้ำระดับใดบ้างและส่งไปในระยะทางเท่าใด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่