ได้ฤกษ์ลงกระทู้แล้วค่ะ Hahaha
(ฉบับ ปรับปรุง) "ลงข้อมูลวันเดียวจบ" ซึ่งกระทู้ก่อนหน้าใช้เวลาหลายวันในการลง
แต่ก็คาดว่าต้องได้ลงข้อมูลในช่องแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเน่นอน เนื่องจากข้อกำหนดจำนวนตัวอักษรของ pantip
ห่างหายไปนานอย่าว่ากันน๊า อย่างน้อยก็ยังกลับมา แยกกระทู้อ่านได้ค่ะ กระทู้นี้เป็น ฉบับ ปรับปรุง ของ รวบรวมข้อมูล แคคตัสและพืชอวบน้ำ cactus&succulent ซึ่งข้อมูลก็ไม่แตกต่างกันมาก ข้อมูลที่นำมาลงเป็นการรวบรวมจากหลายแหล่งที่มา ขอขอบคุณทุกแหล่งที่มาด้วยค่ะ ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ
มีไฟล์ให้ด้วยค่ะ
สารบัญ
เนื้อหา
กระทู้แคคตัสก่อนนี้
https://ppantip.com/topic/35240595 รวบรวมข้อมูล แคคตัสและพืชอวบน้ำ cactus&succulent
https://ppantip.com/topic/37049277 รวบรวมข้อมูล แคคตัสและไม้อวบน้ำ cactus&succulent "2"
https://ppantip.com/topic/37086542 ภาพน้องหนามสายเขียว cactus&succulent กระทู้คั่นเวลา
แคคตัสและไม้อวบน้ำ
1. ประวัติความเป็นมาของแคคตัส
ประวัติความเป็นมาของแคคตัส มีการสันนิษฐานกันว่าต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และช่วงต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคสมัยที่พืชมีดอกได้รับการพัฒนามากที่สุด เชื่อกันว่าในยุคสมัยนั้นแคคตัสมีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกดอกติดผลเหมือนต้นไม้ทั่วไป โดยจะเห็นได้จากแคคตัสในสกุล Pereskia ซึ่งชนิดที่ปลูกประดับมากในไทยได้แก่กุหลาบเมาะลำเลิงและกุหลาบพุกามที่ยังคงมีลักษณะดังกล่าวอยู่ ในช่วงระยะเวลานานหลายล้านปีที่สภาพแวดล้อมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดมหาสมุทรและทิวเขาขึ้นมาบนพื้นโลก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางแถบทิศตะวันตกของทวีปต่างๆ ซึ่งลมฝนไม่สามารถพัดผ่านมาทางด้านตะวันออกของทิวเขาได้ ทำให้พื้นที่เริ่มแห้งแล้งและกลายเป็นทะเลทราย พืชพันธุ์ต่างๆที่เจริญเติบโตอยู่ในแถบนั้นจึงเริ่มปรับสภาพของตัวเองเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งทุรกันดารนั้นต่อไปได้แคคตัสได้พัฒนาโครงสร้างของตัวเองให้สามารถเก็บสะสมน้ำไว้ภายในลำต้นมากถึง 80–90 % ทำให้ลำต้นอวบอ้วนและสั้นลง รากส่วนมากจะอยู่ใกล้ผิวดิน ไม่หยั่งลึกลงไปมากนักเพื่อดูดจับน้ำและความชื้นในอากาศได้ง่ายและที่สำคัญ คือลดขนาดใบไม้ให้เล็กลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นหนามจำนวนมาก ช่วยพรางความร้อนของแสงอาทิตย์เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้น แคคตัสส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ พบมากในพื้นที่แถบทะเลทรายแต่ก็มีบางประเภทที่เติบโตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งแคคตัสกลุ่มนี้มักจะมีลำต้นแบนๆ แตกต่างจากพวกที่อยู่ในทะเลทรายที่มักจะมีลำต้นกลมๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ในการรับแสงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีสามารถพบแคคตัสเจริญเติบโตอยู่ตามบริเวณทุ่งหญ้า เกาะอาศัยอยู่กับต้นไม้ใหญ่ในป่าชื้น บนภูเขา หรือแม้กระทั่งริมทะเล
1.1 ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยงในบ้านเราตั้งแต่เมื่อใด เดิมนั้นเรารู้จักแคคตัสแค่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปเช่น เสมา โบตั๋น และนิยมเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า ตะบองเพชรหรือกระบองเพชร เนื่องจากลักษณะของต้นที่เป็นลำสูงยาวคล้ายกระบองที่มีหนามส่องประกายกระทบแวววาวสวยงาม จากบทความในจุลสารของชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทยโดย “กระท่อมลุงจรณ์” กล่าวไว้ว่า “ก่อนปีพ.ศ.2500 แคคตัสได้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้รักต้นไม้สกุล ‘สมบัติศิริ’ โดยนำมาเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนฝูงด้วยความประทับในความประงดงามประหลาดตา จึงเริ่มมีการสั่งเข้ามาปลูกเพื่อสะสมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณสมพงษ์ เล็กอารีย์ คุณอารีย์ นาควัชระ และคุณบุษบง มุ่งการดี” ความนิยมแคคตัสเริ่มแพร่ขยายเป็นวงกว้างทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดร้าน ‘471’ ของคุณวาส สังข์สุวรรณ ขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นร้านขายแคคตัสโดยตรงเป็นร้านแรกของประเทศ จากนั้นก็มีร้าน ‘ลุงจรณ์’ ตั้งอยู่ริมคลองหลอดเกิดขึ้นตามมาเกิดกลุ่มนักเล่นและนักสะสมแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ซึ่งกันและกัน
โดยมีคุณขจี วสุธาร เป็นนักเล่นคนสำคัญในยุคสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการสั่งไม้ต่อยอดสีแดง
ยิมโนด่าง และต้นจากการเพาะเมล็ดชนิดอื่นๆ เข้ามาจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักเล่นตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องการต่อยอดแคคตัสมากขึ้น เริ่มมีการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์เองภายในประเทศ เกิดการพัฒนาและผลิตต้นออกสู่ตลาดได้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มนักเล่น ในขณะที่ร้านขายแคคตัสใหญ่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นตามมาอีกหลายร้าน เช่น ร้านพิศพร้อม ร้านยุทธนาแคคตัส ร้านลินจง เป็นต้น แคคตัสยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา มีการสร้าง Geodesic Dome จัดเป็นสวนแคคตัสขึ้นภายในสวนหลวง ร.9 มีตำราแคคตัสภาษาไทยเล่มแรกโดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้จำหน่ายขยายวงกว้างครอบคลุมไปกว่า 50 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนายกระดับคุณภาพ เกิดพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆขึ้นเสมอ จนกล่าวได้ว่าแคคตัสเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้
แคคตัสหรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อไทยว่า “กระบองเพชร” นั้น เป็นไม้ประดับอย่างหนึ่งที่นิยมกันแพร่หลายในเมืองไทยมนานแล้ว สมัยก่อนนั้นอาจยังไม่มีมากชนิดนัก แต่ปัจจุบันที่นิยมเลี้ยงกันอยู่โดยมากได้นำพันธุ์มาจากต่างประเทศจึงทำให้แคคตัสมนบ้านเรามีพันธุ์ที่หลากหลายและสวยงามแปลกตากว่าเมื่อก่อนมากบางคนรู้สึกว่าแคคตัสช่างเป็นต้นไม้ที่น่าหวาดกลัวเพราะหนามที่แหลมคนนั้นดูอันตราย ไม่ว่าต้นเล็กต้นน้อยก็มีหนามเมื่อไปสัมผัสหากพลาดพลั้งเข้าก็อาจจะถูกหนามทิ่มแทงให้เจ็บปวดแต่หากเรามองให้ดีๆ เราก็จะพบความสวยงามของรูปทรงและหนามที่มีต่างๆกันไป มีทั้ง รูปร่างแบน กลม หรือเหลี่ยม บางชนิดเป็นพุ่มบางชนิดมีใบอย่างเช่น กุหลาบพุกาม บางชนิดไม่มีหนาม ทั้งขนาดเล็กจิ๋วจนใหญ่ยักษ์ แคคตัสจำนวนมากมีดอกที่สวยงามอ่อนหวานความพิเศษของพืชหนามคมเหล่านี้ก็คือ มีการปรับตัวได้ดีกับสภาพการปลูกเลี้ยงที่ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
2. ลักษณะรูปทรงของแคคตัสและไม้อวบน้ำ
2.1 ลักษณะทั่วไปของแคคตัสและไม้อวบน้ำ
2.1.1 แคคตัส จัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ชนิดอวบน้ำชนิดหนึ่งมีความหมายถึงพืชที่สามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้น ในเซลล์เนื้อเยื่อหรือในใบ ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของแคคตัสนั้นหมายถึงชื่อพืชในวงศ์ CACTACEAE ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 200 สกุล และราว 14,000 ชนิดที่เรารู้จักและสามารถอธิบายลักษณะได้
เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอวบน้ำ ผิวของลำต้นเคลือบด้วยขี้ผึ้ง (wax) มีหนามตามลำต้น ซึ่งเป็นส่วนของใบที่ลดรูปเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และหนามนั้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณจุดกำเนิดของหนาม (areole) ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ตามแนวสัน (rib) ของลำต้น บริเวณจุดกำเนิดของหนามนี้ยังสามารถเกิดขนที่มีลักษณะแข็ง กิ่งก้านและตาดอกได้อีกด้วย ส่วนดอกของแคคตัสนั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน มีรังไข่อยู่ต่ำกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ของดอก (inferior ovary) ผลมีลักษณะนุ่ม ฉ่ำน้ำ (berry fruit)
โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามมักเป็นแคคตัสซึ่งในความเป็นจริงแล้วแคคตัสบางสกุล เช่น Lophophora หรือ Astrophytum บางชนิดก็ไม่มีหนามแต่ถูกจัดว่าเป็นแคคตัส ในขณะที่ไม้อวบน้ำ ( succulent ) บางสกุล เช่น Euphobia ก็มีหนามแต่ก็ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส หลักพฤกษศาสตร์กล่าวว่า พืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae นั้นเป็นไม้ยืนต้นและจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ตุ่มหนาม” บริเวณนี้จะเป็นที่ที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่และเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย ส่วนในไม้อวบน้ำประเภททที่มีหนามนั้นหนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบไปรอบๆ ต้น และไม่พบบริเวณตุ่มหนามเหมือนแคคตัส อีกทั้งพืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ Cactaceae นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Euphobiaceae ดอกจะไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกและรังไข่จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
2.1.2 ไม้อวบน้ำ Succulent คือ พันธุ์ไม้ที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ภายในทุกส่วนของต้น เพื่อต่อสู้กับความแห้งแล้ง ซึ่งรวมถึงกลุ่มแคคตัส จะมีการกักเก็บน้ำไว้ในใบ ลำต้น และราก ลักษณะเป็นวุ้นๆ ไม้อวบน้ำมักจะมีไขเคลือบอยู่ตามใบและลำต้น เพื่อป้องกันการคายน้ำออกจากลำต้น ช่วยในการกักเก็บความชื้นเอาไว้ ไม้อวบน้ำไม่ค่อยชอบแดดแรง ไม่ควรให้รับแสงแดดโดยตรง และบางชนิดจะปกคลุมด้วยหนามแหลม หรือขนเพื่อป้องกันสัตว์มากัดกิน
2.2 รูปทรงต่างๆ ของแคคตัสและไม้อวบน้ำ
3. วิธีการปลูกเลี้ยงแคคตัส
3.1 การปลูกเลี้ยงแคคตัส
3.1.1 เครื่องปลูก เน้นที่ความโปร่ง เพื่อให้รากสามารถชอนไชไปได้สะดวก ซึ่งถ้าเราสังเกตดู
รากของแคคตัสจะเป็นฝอยเล็กๆ แผ่กระจายอยู่ใต้ผิวดินในระดับตื้นๆ ถ้าหากวัสดุปลูกแน่นเกินไปคงเป็นการยากที่รากเล็กๆ เหล่านั้นจะชอนไชได้ ระบายน้ำได้ดี ไม่กักเก็บความชื้นไว้มาก เนื่องจากแคคตัสไม่ได้ต้องการน้ำและความชื้นมาก หากมีน้ำเยอะแล้วยังชื้นอีกจะส่งผลให้รากเน่าได้ เครื่องปลูก จะเป็นวัสดุหลายชนิดมาผสมกัน เช่น ทรายหยาบ ขี้เถ้าแกลบ หินภูเขาไฟ ขุยมะพร้าว ใบก้ามปู ปุ๋ยจุลินทรีย์หมัก
3.1.2 น้ำ แคคตัสไม่ต้อการน้ำมาก รดน้ำประมาณสัปดาห์ล่ะ 2 ครั้ง หรืออาจใช้วิธีลองยกกระถางขึ้น หากกระถางมีน้ำหนักเบาก็ควรรดน้ำได้ หรือไม่ก็ลองใช้นิ้วจิ้มลงในวัสดุปลูก หากรู้สึกว่าแห้งก็ควรรดน้ำ และหากเป็นช่วงฤดูฝนความชื้นในอากาศสูง ควรจะเว้นช่วงห่างของการรดน้ำเกิน 1 สัปดาห์ การรดน้ำโดยทั่วไปควรรดในตอนเช้าเพื่อให้น้ำระเหยไปในระหว่างวัน ไม่ทิ้งความชื้นไว้กับวัสดุปลูกไว้จนมากเกินไป และควรรดเฉพาะวัสดุปลูก ไม่จำเป็นต้องรดให้ต้นเปียกไปด้วย น้ำที่ใช้รด หากเป็นน้ำประปาควรพักน้ำไว้ก่อน 1 คืน เพื่อลดความเข้มข้นของคลอรีนลง ถ้าใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องดูแลเรื่องความขุ่นของตะกอน อย่าให้มีปะปนมากกับน้ำ เพราะเมื่อรดน้ำแล้วอาจจะทิ้งคราบไว้บนผิวของลำต้นได้
3.1.3 อากาศ แคคตัสปลูกเลี้ยงได้ในสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก
3.1.4 แสงแดด แสงแดดที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ตลอดวัน แคคตัสบางชนิดถ้าได้รับแดดมากเกินไป อาจทำให้สีผิวเปลี่ยน เหี่ยวแห้ง แต่ถ้าได้รับแสงมากเกินไป อาจทำให้ลำต้นยืดยาวเสียรูปทรง หนามอ่อนแอ และมีโอกาสที่ดอกนั้นจะไม่ออกเลยหรือออกน้อย
3.1.5 ปุ๋ย การให้ปุ๋ยควรให้ประมาณเดือนล่ะครั้ง โดยใช้ปุ๋ย เกล็ดละลายน้ำสูตรเสมอ อันที่จริงในเครื่องปลูกนั้นก็จะมีธาตุอาหารเพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตของแคคตัส แต่การใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปก็เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตสมบูรณ์ดีนั่นเอง
รวบรวมข้อมูล แคคตัสและไม้อวบน้ำ cactus&succulent (ฉบับ ปรับปรุง) "ลงข้อมูลวันเดียวจบ"
ห่างหายไปนานอย่าว่ากันน๊า อย่างน้อยก็ยังกลับมา แยกกระทู้อ่านได้ค่ะ กระทู้นี้เป็น ฉบับ ปรับปรุง ของ รวบรวมข้อมูล แคคตัสและพืชอวบน้ำ cactus&succulent ซึ่งข้อมูลก็ไม่แตกต่างกันมาก ข้อมูลที่นำมาลงเป็นการรวบรวมจากหลายแหล่งที่มา ขอขอบคุณทุกแหล่งที่มาด้วยค่ะ ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ
https://ppantip.com/topic/35240595 รวบรวมข้อมูล แคคตัสและพืชอวบน้ำ cactus&succulent
https://ppantip.com/topic/37049277 รวบรวมข้อมูล แคคตัสและไม้อวบน้ำ cactus&succulent "2"
https://ppantip.com/topic/37086542 ภาพน้องหนามสายเขียว cactus&succulent กระทู้คั่นเวลา
1. ประวัติความเป็นมาของแคคตัส
ประวัติความเป็นมาของแคคตัส มีการสันนิษฐานกันว่าต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และช่วงต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคสมัยที่พืชมีดอกได้รับการพัฒนามากที่สุด เชื่อกันว่าในยุคสมัยนั้นแคคตัสมีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกดอกติดผลเหมือนต้นไม้ทั่วไป โดยจะเห็นได้จากแคคตัสในสกุล Pereskia ซึ่งชนิดที่ปลูกประดับมากในไทยได้แก่กุหลาบเมาะลำเลิงและกุหลาบพุกามที่ยังคงมีลักษณะดังกล่าวอยู่ ในช่วงระยะเวลานานหลายล้านปีที่สภาพแวดล้อมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดมหาสมุทรและทิวเขาขึ้นมาบนพื้นโลก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางแถบทิศตะวันตกของทวีปต่างๆ ซึ่งลมฝนไม่สามารถพัดผ่านมาทางด้านตะวันออกของทิวเขาได้ ทำให้พื้นที่เริ่มแห้งแล้งและกลายเป็นทะเลทราย พืชพันธุ์ต่างๆที่เจริญเติบโตอยู่ในแถบนั้นจึงเริ่มปรับสภาพของตัวเองเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งทุรกันดารนั้นต่อไปได้แคคตัสได้พัฒนาโครงสร้างของตัวเองให้สามารถเก็บสะสมน้ำไว้ภายในลำต้นมากถึง 80–90 % ทำให้ลำต้นอวบอ้วนและสั้นลง รากส่วนมากจะอยู่ใกล้ผิวดิน ไม่หยั่งลึกลงไปมากนักเพื่อดูดจับน้ำและความชื้นในอากาศได้ง่ายและที่สำคัญ คือลดขนาดใบไม้ให้เล็กลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นหนามจำนวนมาก ช่วยพรางความร้อนของแสงอาทิตย์เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้น แคคตัสส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ พบมากในพื้นที่แถบทะเลทรายแต่ก็มีบางประเภทที่เติบโตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งแคคตัสกลุ่มนี้มักจะมีลำต้นแบนๆ แตกต่างจากพวกที่อยู่ในทะเลทรายที่มักจะมีลำต้นกลมๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ในการรับแสงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีสามารถพบแคคตัสเจริญเติบโตอยู่ตามบริเวณทุ่งหญ้า เกาะอาศัยอยู่กับต้นไม้ใหญ่ในป่าชื้น บนภูเขา หรือแม้กระทั่งริมทะเล
1.1 ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยงในบ้านเราตั้งแต่เมื่อใด เดิมนั้นเรารู้จักแคคตัสแค่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปเช่น เสมา โบตั๋น และนิยมเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า ตะบองเพชรหรือกระบองเพชร เนื่องจากลักษณะของต้นที่เป็นลำสูงยาวคล้ายกระบองที่มีหนามส่องประกายกระทบแวววาวสวยงาม จากบทความในจุลสารของชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทยโดย “กระท่อมลุงจรณ์” กล่าวไว้ว่า “ก่อนปีพ.ศ.2500 แคคตัสได้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้รักต้นไม้สกุล ‘สมบัติศิริ’ โดยนำมาเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนฝูงด้วยความประทับในความประงดงามประหลาดตา จึงเริ่มมีการสั่งเข้ามาปลูกเพื่อสะสมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณสมพงษ์ เล็กอารีย์ คุณอารีย์ นาควัชระ และคุณบุษบง มุ่งการดี” ความนิยมแคคตัสเริ่มแพร่ขยายเป็นวงกว้างทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดร้าน ‘471’ ของคุณวาส สังข์สุวรรณ ขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นร้านขายแคคตัสโดยตรงเป็นร้านแรกของประเทศ จากนั้นก็มีร้าน ‘ลุงจรณ์’ ตั้งอยู่ริมคลองหลอดเกิดขึ้นตามมาเกิดกลุ่มนักเล่นและนักสะสมแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ซึ่งกันและกัน
โดยมีคุณขจี วสุธาร เป็นนักเล่นคนสำคัญในยุคสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการสั่งไม้ต่อยอดสีแดง
ยิมโนด่าง และต้นจากการเพาะเมล็ดชนิดอื่นๆ เข้ามาจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักเล่นตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องการต่อยอดแคคตัสมากขึ้น เริ่มมีการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์เองภายในประเทศ เกิดการพัฒนาและผลิตต้นออกสู่ตลาดได้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มนักเล่น ในขณะที่ร้านขายแคคตัสใหญ่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นตามมาอีกหลายร้าน เช่น ร้านพิศพร้อม ร้านยุทธนาแคคตัส ร้านลินจง เป็นต้น แคคตัสยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา มีการสร้าง Geodesic Dome จัดเป็นสวนแคคตัสขึ้นภายในสวนหลวง ร.9 มีตำราแคคตัสภาษาไทยเล่มแรกโดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้จำหน่ายขยายวงกว้างครอบคลุมไปกว่า 50 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนายกระดับคุณภาพ เกิดพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆขึ้นเสมอ จนกล่าวได้ว่าแคคตัสเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้
แคคตัสหรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อไทยว่า “กระบองเพชร” นั้น เป็นไม้ประดับอย่างหนึ่งที่นิยมกันแพร่หลายในเมืองไทยมนานแล้ว สมัยก่อนนั้นอาจยังไม่มีมากชนิดนัก แต่ปัจจุบันที่นิยมเลี้ยงกันอยู่โดยมากได้นำพันธุ์มาจากต่างประเทศจึงทำให้แคคตัสมนบ้านเรามีพันธุ์ที่หลากหลายและสวยงามแปลกตากว่าเมื่อก่อนมากบางคนรู้สึกว่าแคคตัสช่างเป็นต้นไม้ที่น่าหวาดกลัวเพราะหนามที่แหลมคนนั้นดูอันตราย ไม่ว่าต้นเล็กต้นน้อยก็มีหนามเมื่อไปสัมผัสหากพลาดพลั้งเข้าก็อาจจะถูกหนามทิ่มแทงให้เจ็บปวดแต่หากเรามองให้ดีๆ เราก็จะพบความสวยงามของรูปทรงและหนามที่มีต่างๆกันไป มีทั้ง รูปร่างแบน กลม หรือเหลี่ยม บางชนิดเป็นพุ่มบางชนิดมีใบอย่างเช่น กุหลาบพุกาม บางชนิดไม่มีหนาม ทั้งขนาดเล็กจิ๋วจนใหญ่ยักษ์ แคคตัสจำนวนมากมีดอกที่สวยงามอ่อนหวานความพิเศษของพืชหนามคมเหล่านี้ก็คือ มีการปรับตัวได้ดีกับสภาพการปลูกเลี้ยงที่ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
2. ลักษณะรูปทรงของแคคตัสและไม้อวบน้ำ
2.1 ลักษณะทั่วไปของแคคตัสและไม้อวบน้ำ
2.1.1 แคคตัส จัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ชนิดอวบน้ำชนิดหนึ่งมีความหมายถึงพืชที่สามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้น ในเซลล์เนื้อเยื่อหรือในใบ ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของแคคตัสนั้นหมายถึงชื่อพืชในวงศ์ CACTACEAE ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 200 สกุล และราว 14,000 ชนิดที่เรารู้จักและสามารถอธิบายลักษณะได้
เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอวบน้ำ ผิวของลำต้นเคลือบด้วยขี้ผึ้ง (wax) มีหนามตามลำต้น ซึ่งเป็นส่วนของใบที่ลดรูปเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และหนามนั้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณจุดกำเนิดของหนาม (areole) ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ตามแนวสัน (rib) ของลำต้น บริเวณจุดกำเนิดของหนามนี้ยังสามารถเกิดขนที่มีลักษณะแข็ง กิ่งก้านและตาดอกได้อีกด้วย ส่วนดอกของแคคตัสนั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน มีรังไข่อยู่ต่ำกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ของดอก (inferior ovary) ผลมีลักษณะนุ่ม ฉ่ำน้ำ (berry fruit)
โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามมักเป็นแคคตัสซึ่งในความเป็นจริงแล้วแคคตัสบางสกุล เช่น Lophophora หรือ Astrophytum บางชนิดก็ไม่มีหนามแต่ถูกจัดว่าเป็นแคคตัส ในขณะที่ไม้อวบน้ำ ( succulent ) บางสกุล เช่น Euphobia ก็มีหนามแต่ก็ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส หลักพฤกษศาสตร์กล่าวว่า พืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae นั้นเป็นไม้ยืนต้นและจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ตุ่มหนาม” บริเวณนี้จะเป็นที่ที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่และเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย ส่วนในไม้อวบน้ำประเภททที่มีหนามนั้นหนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบไปรอบๆ ต้น และไม่พบบริเวณตุ่มหนามเหมือนแคคตัส อีกทั้งพืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ Cactaceae นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Euphobiaceae ดอกจะไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกและรังไข่จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
2.1.2 ไม้อวบน้ำ Succulent คือ พันธุ์ไม้ที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ภายในทุกส่วนของต้น เพื่อต่อสู้กับความแห้งแล้ง ซึ่งรวมถึงกลุ่มแคคตัส จะมีการกักเก็บน้ำไว้ในใบ ลำต้น และราก ลักษณะเป็นวุ้นๆ ไม้อวบน้ำมักจะมีไขเคลือบอยู่ตามใบและลำต้น เพื่อป้องกันการคายน้ำออกจากลำต้น ช่วยในการกักเก็บความชื้นเอาไว้ ไม้อวบน้ำไม่ค่อยชอบแดดแรง ไม่ควรให้รับแสงแดดโดยตรง และบางชนิดจะปกคลุมด้วยหนามแหลม หรือขนเพื่อป้องกันสัตว์มากัดกิน
2.2 รูปทรงต่างๆ ของแคคตัสและไม้อวบน้ำ
3. วิธีการปลูกเลี้ยงแคคตัส
3.1 การปลูกเลี้ยงแคคตัส
3.1.1 เครื่องปลูก เน้นที่ความโปร่ง เพื่อให้รากสามารถชอนไชไปได้สะดวก ซึ่งถ้าเราสังเกตดู
รากของแคคตัสจะเป็นฝอยเล็กๆ แผ่กระจายอยู่ใต้ผิวดินในระดับตื้นๆ ถ้าหากวัสดุปลูกแน่นเกินไปคงเป็นการยากที่รากเล็กๆ เหล่านั้นจะชอนไชได้ ระบายน้ำได้ดี ไม่กักเก็บความชื้นไว้มาก เนื่องจากแคคตัสไม่ได้ต้องการน้ำและความชื้นมาก หากมีน้ำเยอะแล้วยังชื้นอีกจะส่งผลให้รากเน่าได้ เครื่องปลูก จะเป็นวัสดุหลายชนิดมาผสมกัน เช่น ทรายหยาบ ขี้เถ้าแกลบ หินภูเขาไฟ ขุยมะพร้าว ใบก้ามปู ปุ๋ยจุลินทรีย์หมัก
3.1.2 น้ำ แคคตัสไม่ต้อการน้ำมาก รดน้ำประมาณสัปดาห์ล่ะ 2 ครั้ง หรืออาจใช้วิธีลองยกกระถางขึ้น หากกระถางมีน้ำหนักเบาก็ควรรดน้ำได้ หรือไม่ก็ลองใช้นิ้วจิ้มลงในวัสดุปลูก หากรู้สึกว่าแห้งก็ควรรดน้ำ และหากเป็นช่วงฤดูฝนความชื้นในอากาศสูง ควรจะเว้นช่วงห่างของการรดน้ำเกิน 1 สัปดาห์ การรดน้ำโดยทั่วไปควรรดในตอนเช้าเพื่อให้น้ำระเหยไปในระหว่างวัน ไม่ทิ้งความชื้นไว้กับวัสดุปลูกไว้จนมากเกินไป และควรรดเฉพาะวัสดุปลูก ไม่จำเป็นต้องรดให้ต้นเปียกไปด้วย น้ำที่ใช้รด หากเป็นน้ำประปาควรพักน้ำไว้ก่อน 1 คืน เพื่อลดความเข้มข้นของคลอรีนลง ถ้าใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องดูแลเรื่องความขุ่นของตะกอน อย่าให้มีปะปนมากกับน้ำ เพราะเมื่อรดน้ำแล้วอาจจะทิ้งคราบไว้บนผิวของลำต้นได้
3.1.3 อากาศ แคคตัสปลูกเลี้ยงได้ในสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก
3.1.4 แสงแดด แสงแดดที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ตลอดวัน แคคตัสบางชนิดถ้าได้รับแดดมากเกินไป อาจทำให้สีผิวเปลี่ยน เหี่ยวแห้ง แต่ถ้าได้รับแสงมากเกินไป อาจทำให้ลำต้นยืดยาวเสียรูปทรง หนามอ่อนแอ และมีโอกาสที่ดอกนั้นจะไม่ออกเลยหรือออกน้อย
3.1.5 ปุ๋ย การให้ปุ๋ยควรให้ประมาณเดือนล่ะครั้ง โดยใช้ปุ๋ย เกล็ดละลายน้ำสูตรเสมอ อันที่จริงในเครื่องปลูกนั้นก็จะมีธาตุอาหารเพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตของแคคตัส แต่การใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปก็เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตสมบูรณ์ดีนั่นเอง