พืชพันธุ์แห่งทะเลทราย
แคคตัส เป็นพืชอวบน้ำ (succulent)
ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของพืช ในบริเวณที่มีความแห้งแล้งกันดาร จึงมีการสะสมน้ำไว้ในส่วนของต้น
ราก และใบ แคคตัสจัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งยังไม่มีการขุดค้นพบซากฟอสซิล (fossil) โบราณ
ของแคคตัสมาก่อนเลย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณ Moseic และในช่วงต้นยุค Teriary
หรือประมาณ 20,000 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีบันทึกที่ชัดเจนว่า แคคตัส มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เมื่อไร
แต่มีการค้นพบบันทึกหลักฐานเก่าแก่ เกี่ยวกับแคคตัสที่สำคัญ ซึ่งถูกบันทึกในปี ค.ศ. 1325 โดยชนชาว Aztecs
ในประเทศเม็กซิโก ใช้แคคตัสชนิดหนึ่ง คือเสมา (Opuntia) เป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมเผ่าพันธุ์ชาว Aztecs
และแทนการก่อตั้งเมืองเม็กซิโกซิตี้ โดยใช้สัญลักษณ์ เป็นรูปนกอินทรีย์เกาะอยู่บนต้นเสมา ซึ่งงอกอยู่บนหินผา
ประวัติความเป็นมาของแคคตัส
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสประวัติความเป็นมาของแคคตัส มีการสันนิษฐานกันว่าต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และช่วงต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคสมัยที่พืชมีดอกได้รับการพัฒนามากที่สุด เชื่อกันว่าในยุคสมัยนั้นแคคตัสมีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกดอกติดผลเหมือนต้นไม้ทั่วไป โดยจะเห็นได้จากแคคตัสในสกุล Pereskia ซึ่งชนิดที่ปลูกประดับมากในไทยได้แก่กุหลาบเมาะลำเลิงและกุหลาบพุกามที่ยังคงมีลักษณะดังกล่าวอยู่ ในช่วงระยะเวลานานหลายล้านปีที่สภาพแวดล้อมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดมหาสมุทรและทิวเขาขึ้นมาบนพื้นโลก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางแถบทิศตะวันตกของทวีปต่างๆ ซึ่งลมฝนไม่สามารถพัดผ่านมาทางด้านตะวันออกของทิวเขาได้ ทำให้พื้นที่เริ่มแห้งแล้งและกลายเป็นทะเลทราย พืชพันธุ์ต่างๆที่เจริญเติบโตอยู่ในแถบนั้นจึงเริ่มปรับสภาพของตัวเองเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งทุรกันดารนั้นต่อไปได้ แคคตัสได้พัฒนาโครงสร้างของตัวเองให้สามารถเก็บสะสมน้ำไว้ภายในลำต้นมากถึง 80–90 % ทำให้ลำต้นอวบอ้วนและสั้นลง รากส่วนมากจะอยู่ใกล้ผิวดิน ไม่หยั่งลึกลงไปมากนักเพื่อดูดจับน้ำและความชื้นในอากาศได้ง่ายและที่สำคัญ คือลดขนาดใบไม้ให้เล็กลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นหนามจำนวนมาก ช่วยพรางความร้อนของแสงอาทิตย์เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้น แคคตัสส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ พบมากในพื้นที่แถบทะเลทรายแต่ก็มีบางประเภทที่เติบโตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งแคคตัสกลุ่มนี้มักจะมีลำต้นแบนๆแตกต่างจากพวกที่อยู่ในทะเลทรายที่มักจะมีลำต้นกลมๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ในการรับแสงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีสามารถพบแคคตัสเจริญเติบโตอยู่ตามบริเวณทุ่งหญ้า เกาะอาศัยอยู่กับต้นไม้ใหญ่ในป่าชื้น บนภูเขา หรือแม้กระทั่งริมทะเล
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยงในบ้านเราตั้งแต่เมื่อใด เดิมนั้นเรารู้จักแคคตัสแค่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปเช่น เสมา โบตั๋น และนิยมเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า ตะบองเพชรหรือกระบองเพชร เนื่องจากลักษณะของต้นที่เป็นลำสูงยาวคล้ายกระบองที่มีหนามส่องประกายกระทบแวววาวสวยงาม จากบทความในจุลสารของชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทยโดย “กระท่อมลุงจรณ์” กล่าวไว้ว่า “ก่อนปีพ.ศ.2500 แคคตัสได้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้รักต้นไม้สกุล ‘สมบัติศิริ’ โดยนำมาเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนฝูงด้วยความประทับในความประงดงามประหลาดตา จึงเริ่มมีการสั่งเข้ามาปลูกเพื่อสะสมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณสมพงษ์ เล็กอารีย์ คุณอารีย์ นาควัชระ และคุณบุษบง มุ่งการดี” ความนิยมแคคตัสเริ่มแพร่ขยายเป็นวงกว้างทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดร้าน ‘471’ ของคุณวาส สังข์สุวรรณ ขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นร้านขายแคคตัสโดยตรงเป็นร้านแรกของประเทศ จากนั้นก็มีร้าน ‘ลุงจรณ์’ ตั้งอยู่ริมคลองหลอดเกิดขึ้นตามมาเกิดกลุ่มนักเล่นและนักสะสมแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ซึ่งกันและกัน โดยมีคุณขจี วสุธาร เป็นนักเล่นคนสำคัญในยุคสมัยนั้น ประมาณปีพ.ศ. 2519 มีการสั่งไม้ต่อยอดสีแดง ยิมโนด่าง และต้นจากการเพาะเมล็ดชนิดอื่นๆ เข้ามาจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักเล่นตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องการต่อยอดแคคตัสมากขึ้น เริ่มมีการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์เองภายในประเทศ เกิดการพัฒนาและผลิตต้นออกสู่ตลาดได้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มนักเล่น ในขณะที่ร้านขายแคคตัสใหญ่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นตามมาอีกหลายร้าน เช่น ร้านพิศพร้อม ร้านยุทธนาแคคตัส ร้านลินจง เป็นต้น แคคตัสยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา มีการสร้าง Geodesic Dome จัดเป็นสวนแคคตัสขึ้นภายในสวนหลวง ร.9 มีตำราแคคตัสภาษาไทยเล่มแรกโดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้จำหน่ายขยายวงกว้างครอบคลุมไปกว่า 50 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนายกระดับคุณภาพ เกิดพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆขึ้นเสมอ จนกล่าวได้ว่าแคคตัสเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้
ลักษณะทั่วไปของแคคตัส
ลักษณะทั่วไปของแคคตัส โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามมักเป็นแคคตัสซึ่งในความเป็นจริงแล้วแคคตัสบางสกุล เช่น Lophophora หรือ Astrophytum บางชนิดก็ไม่มีหนามแต่ถูกจัดว่าเป็นแคคตัส ในขณะที่ไม้อวบน้ำ ( succulent ) บางสกุล เช่น Euphobia ก็มีหนามแต่ก็ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส หลักพฤกษศาสตร์กล่าวว่า พืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae นั้นเป็นไม้ยืนต้นและจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ตุ่มหนาม” บริเวณนี้จะเป็นที่ที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่และเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย ส่วนในไม้อวบน้ำประเภททที่มีหนามนั้นหนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบไปรอบๆต้น และไม่พบบริเวณตุ่มหนามเหมือนแคคตัส อีกทั้งพืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ Cactaceae นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Euphobiaceae ดอกจะไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกและรังไข่จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ลักษณะนิสัยและความชอบ
ลักษณะนิสัยและความชอบ คนส่วนใหญ่คิดว่าแคคตัสเป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ในทะเลทรายแต่ในความจริงแล้วแคคตัสสามารถเจริญเติบโตได้หลายพื้นที่ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลเช่นสกุล Pachycereus ที่ขึ้นอยู่แถบชายฝั่งทะเลในประเทศเม็กซิโก บริเวณทุ่งหญ้า ในป่าที่มีความชื้นสูง ที่ความสูงระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ซึ่งมีระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร อากาศหนาวเย็นอย่างเช่นทางตอนเหนือ และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาที่อากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ทะเลทราย บริเวณที่ราบ แม้แต่ตามซอกหินไหล่เขา ซึ่งมีดินที่อุดมสมบูรณ์หรือเป็นหินแข็ง นอกจากนี้ยังพบว่ามีแคคตัสหลายชนิดที่เจริญเติบโตได้โดยอาศัยพืชอื่น เช่น แคคตัสพวก Ephithelanta bokei ที่เจริญเติบโตขึ้นจากเมล็ดโดยอาศัยร่มเงาและความชื้นจากพืชในกลุ่ม xerophyte พวก Selaginella lepidophylla ( Resurrection Plant ) จากที่กล่าวมานั้นย่อมแสดงว่า แคคตัสสามารถเจริญอยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่และสภาพอากาศของโลกเกือบทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะแถบทะเลทรายเท่านั้นแต่อย่างไรก็ตามแคคตัสแต่ละพันธุ์ก็ย่อมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
จะมาต่อให้น๊า
รวบรวมข้อมูล แคคตัสและพืชอวบน้ำ cactus&succulent
แคคตัส เป็นพืชอวบน้ำ (succulent)
ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของพืช ในบริเวณที่มีความแห้งแล้งกันดาร จึงมีการสะสมน้ำไว้ในส่วนของต้น
ราก และใบ แคคตัสจัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งยังไม่มีการขุดค้นพบซากฟอสซิล (fossil) โบราณ
ของแคคตัสมาก่อนเลย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณ Moseic และในช่วงต้นยุค Teriary
หรือประมาณ 20,000 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีบันทึกที่ชัดเจนว่า แคคตัส มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เมื่อไร
แต่มีการค้นพบบันทึกหลักฐานเก่าแก่ เกี่ยวกับแคคตัสที่สำคัญ ซึ่งถูกบันทึกในปี ค.ศ. 1325 โดยชนชาว Aztecs
ในประเทศเม็กซิโก ใช้แคคตัสชนิดหนึ่ง คือเสมา (Opuntia) เป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมเผ่าพันธุ์ชาว Aztecs
และแทนการก่อตั้งเมืองเม็กซิโกซิตี้ โดยใช้สัญลักษณ์ เป็นรูปนกอินทรีย์เกาะอยู่บนต้นเสมา ซึ่งงอกอยู่บนหินผา
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสประวัติความเป็นมาของแคคตัส มีการสันนิษฐานกันว่าต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และช่วงต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคสมัยที่พืชมีดอกได้รับการพัฒนามากที่สุด เชื่อกันว่าในยุคสมัยนั้นแคคตัสมีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกดอกติดผลเหมือนต้นไม้ทั่วไป โดยจะเห็นได้จากแคคตัสในสกุล Pereskia ซึ่งชนิดที่ปลูกประดับมากในไทยได้แก่กุหลาบเมาะลำเลิงและกุหลาบพุกามที่ยังคงมีลักษณะดังกล่าวอยู่ ในช่วงระยะเวลานานหลายล้านปีที่สภาพแวดล้อมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดมหาสมุทรและทิวเขาขึ้นมาบนพื้นโลก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางแถบทิศตะวันตกของทวีปต่างๆ ซึ่งลมฝนไม่สามารถพัดผ่านมาทางด้านตะวันออกของทิวเขาได้ ทำให้พื้นที่เริ่มแห้งแล้งและกลายเป็นทะเลทราย พืชพันธุ์ต่างๆที่เจริญเติบโตอยู่ในแถบนั้นจึงเริ่มปรับสภาพของตัวเองเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งทุรกันดารนั้นต่อไปได้ แคคตัสได้พัฒนาโครงสร้างของตัวเองให้สามารถเก็บสะสมน้ำไว้ภายในลำต้นมากถึง 80–90 % ทำให้ลำต้นอวบอ้วนและสั้นลง รากส่วนมากจะอยู่ใกล้ผิวดิน ไม่หยั่งลึกลงไปมากนักเพื่อดูดจับน้ำและความชื้นในอากาศได้ง่ายและที่สำคัญ คือลดขนาดใบไม้ให้เล็กลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นหนามจำนวนมาก ช่วยพรางความร้อนของแสงอาทิตย์เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้น แคคตัสส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ พบมากในพื้นที่แถบทะเลทรายแต่ก็มีบางประเภทที่เติบโตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งแคคตัสกลุ่มนี้มักจะมีลำต้นแบนๆแตกต่างจากพวกที่อยู่ในทะเลทรายที่มักจะมีลำต้นกลมๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ในการรับแสงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีสามารถพบแคคตัสเจริญเติบโตอยู่ตามบริเวณทุ่งหญ้า เกาะอาศัยอยู่กับต้นไม้ใหญ่ในป่าชื้น บนภูเขา หรือแม้กระทั่งริมทะเล
ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยงในบ้านเราตั้งแต่เมื่อใด เดิมนั้นเรารู้จักแคคตัสแค่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปเช่น เสมา โบตั๋น และนิยมเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า ตะบองเพชรหรือกระบองเพชร เนื่องจากลักษณะของต้นที่เป็นลำสูงยาวคล้ายกระบองที่มีหนามส่องประกายกระทบแวววาวสวยงาม จากบทความในจุลสารของชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทยโดย “กระท่อมลุงจรณ์” กล่าวไว้ว่า “ก่อนปีพ.ศ.2500 แคคตัสได้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้รักต้นไม้สกุล ‘สมบัติศิริ’ โดยนำมาเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนฝูงด้วยความประทับในความประงดงามประหลาดตา จึงเริ่มมีการสั่งเข้ามาปลูกเพื่อสะสมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณสมพงษ์ เล็กอารีย์ คุณอารีย์ นาควัชระ และคุณบุษบง มุ่งการดี” ความนิยมแคคตัสเริ่มแพร่ขยายเป็นวงกว้างทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดร้าน ‘471’ ของคุณวาส สังข์สุวรรณ ขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นร้านขายแคคตัสโดยตรงเป็นร้านแรกของประเทศ จากนั้นก็มีร้าน ‘ลุงจรณ์’ ตั้งอยู่ริมคลองหลอดเกิดขึ้นตามมาเกิดกลุ่มนักเล่นและนักสะสมแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ซึ่งกันและกัน โดยมีคุณขจี วสุธาร เป็นนักเล่นคนสำคัญในยุคสมัยนั้น ประมาณปีพ.ศ. 2519 มีการสั่งไม้ต่อยอดสีแดง ยิมโนด่าง และต้นจากการเพาะเมล็ดชนิดอื่นๆ เข้ามาจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักเล่นตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องการต่อยอดแคคตัสมากขึ้น เริ่มมีการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์เองภายในประเทศ เกิดการพัฒนาและผลิตต้นออกสู่ตลาดได้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มนักเล่น ในขณะที่ร้านขายแคคตัสใหญ่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นตามมาอีกหลายร้าน เช่น ร้านพิศพร้อม ร้านยุทธนาแคคตัส ร้านลินจง เป็นต้น แคคตัสยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา มีการสร้าง Geodesic Dome จัดเป็นสวนแคคตัสขึ้นภายในสวนหลวง ร.9 มีตำราแคคตัสภาษาไทยเล่มแรกโดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้จำหน่ายขยายวงกว้างครอบคลุมไปกว่า 50 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนายกระดับคุณภาพ เกิดพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆขึ้นเสมอ จนกล่าวได้ว่าแคคตัสเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้
ลักษณะทั่วไปของแคคตัส โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามมักเป็นแคคตัสซึ่งในความเป็นจริงแล้วแคคตัสบางสกุล เช่น Lophophora หรือ Astrophytum บางชนิดก็ไม่มีหนามแต่ถูกจัดว่าเป็นแคคตัส ในขณะที่ไม้อวบน้ำ ( succulent ) บางสกุล เช่น Euphobia ก็มีหนามแต่ก็ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส หลักพฤกษศาสตร์กล่าวว่า พืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae นั้นเป็นไม้ยืนต้นและจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ตุ่มหนาม” บริเวณนี้จะเป็นที่ที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่และเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย ส่วนในไม้อวบน้ำประเภททที่มีหนามนั้นหนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบไปรอบๆต้น และไม่พบบริเวณตุ่มหนามเหมือนแคคตัส อีกทั้งพืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ Cactaceae นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Euphobiaceae ดอกจะไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกและรังไข่จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ลักษณะนิสัยและความชอบ คนส่วนใหญ่คิดว่าแคคตัสเป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ในทะเลทรายแต่ในความจริงแล้วแคคตัสสามารถเจริญเติบโตได้หลายพื้นที่ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลเช่นสกุล Pachycereus ที่ขึ้นอยู่แถบชายฝั่งทะเลในประเทศเม็กซิโก บริเวณทุ่งหญ้า ในป่าที่มีความชื้นสูง ที่ความสูงระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ซึ่งมีระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร อากาศหนาวเย็นอย่างเช่นทางตอนเหนือ และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาที่อากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ทะเลทราย บริเวณที่ราบ แม้แต่ตามซอกหินไหล่เขา ซึ่งมีดินที่อุดมสมบูรณ์หรือเป็นหินแข็ง นอกจากนี้ยังพบว่ามีแคคตัสหลายชนิดที่เจริญเติบโตได้โดยอาศัยพืชอื่น เช่น แคคตัสพวก Ephithelanta bokei ที่เจริญเติบโตขึ้นจากเมล็ดโดยอาศัยร่มเงาและความชื้นจากพืชในกลุ่ม xerophyte พวก Selaginella lepidophylla ( Resurrection Plant ) จากที่กล่าวมานั้นย่อมแสดงว่า แคคตัสสามารถเจริญอยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่และสภาพอากาศของโลกเกือบทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะแถบทะเลทรายเท่านั้นแต่อย่างไรก็ตามแคคตัสแต่ละพันธุ์ก็ย่อมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
จะมาต่อให้น๊า