เนื่องจากช่วงนี้จังหวัดเชียงใหม่มีงานประเพณี "ใส่ขันดอกอินทขิล" หลายท่านอาจอยากทราบว่า อินทขิล คืออะไร
อินทขิลก็คือเสาหลักเมืองของเชียงใหม่ เช่นเดียวกับเสาหลักเมืองทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นเสาหลักเมืองกรุงเทพ เสาหลักเมืองขอนแก่น เป็นต้น
และในทุกๆปีจะมีการบูชาเสาหลักเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและบ้านเมือง
เริ่มต้นการบูชาเสาอินทขิลก็คือมีการใช้เครื่องถวายบูชา ดังนี้
- ข้าวตอกดอกไม้ และเทียน 8 สวย (สวย: กรวยที่ทำมาจากใบตองหรือกระดาษ)
- พลู 8 สวย
- ดอกไม้เงิน 1
- ผ้าขาว 1 ลำ
- ช่อขาว 8 ผืน
- มะพร้าว 2 แขนง
- กล้วย 2 หวี
- อ้อย 2 เล่ม
- ข้าว 4 ควัก (กระทง)
- แกงส้ม แกงหวาน อย่างละ 4
- โภชนะอาหาร 7 อย่าง
และพิธีใส่ขันดอก เป็นพิธีที่กระทำต่อ จากการจุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมากเพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ที่ตนเตรียมมาไปวาง ในพาน (ขัน) จนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ การถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาแก่เสาอินทขิล กุมภัณฑ์ ฤาษี และพระรัตนตรัย
พิธีสืบชะตาเมือง
พิธีสืบชะตาเมืองเป็นพิธีที่กระทำหลังจากสิ้นสุดการบูชาเสาอิทขิลแล้วระยะหนึ่ง แต่ก็ยังคงอยู่ในช่วงครึ่งแรกของเดือน 9 เหนือ ประเพณีมีขึ้นเนื่องจากเมืองเชียงใหม่สร้างชื้นตามหลักโหราศาสตร์ และการเลือกชัยภูมิ ตลอดจนมหาทักษาเพื่อให้ได้ชัยภูมิ เวลา และฤกษ์ที่เป็นมงคล อันจะบันดาลให้เมืองเจริญรุ่งเรืองสืบไปอย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไปย่อมมีบางช่วงที่ดวงเมืองเบี่ยงเบน ตามลัคนา การทำบุญสืบชะตาเมือง จะช่วยให้เคราะห์ร้ายลดลงและสถานการณ์ต่างๆ กลับดีขึ้นไป การสืบชะตาของชาวล้านนาเทียบได้กับการทำบุญวันเกิด แต่มีพิธีการค่อนข้างละเอียดถี่ถ้วน โดยมีความเชื่อว่า หากกระทำแล้วจะช่วย สืบ อายุให้ยืนยาวต่อไป พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะกระทำในตัวเมือง 10 แห่ง คือที่กลางเวียง อันเคยเป็นสะดือเมือง ประตูทั้ง 5 ประตู และแจ่ง เวียง (มุมเมือง) ทั้ง 4 แจ่ง เมื่อมีพระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์ มาประดิษฐานที่หน้าศาลากลางเก่า ตั้งแต่ พ.ศ.2526 การทำพิธีสืบชะตา ณ กลางเวียง ก็กระทำที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ โดยมีพระสงฆ์ 9 รูปที่เหลืออีก 9 แห่งมีพระสงฆ์แห่งละ 11 รูป รวมทั้งสิ้นเป็น 108 รูป เท่ากับ จำนวน 108 มงคลในลัทธิพราหมณ์ และเท่ากับพระพุทธคุณพระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวม 108 ประการ เช่นกัน พิธีสืบชะตาเมืองซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ.2511 นั้น จะกระทำขึ้นพร้อมๆกันทุกจุดในเวลา 07.00 นาฬิกา จะเริ่มพิธีสืบชะตาเมือง โดยเริ่มด้วยการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมาทานเบญจศีล พระภิกษุสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์แล้วแสดงธรรมเทศนา เมื่อจบแล้วจึงถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์ หลังจาก เพลมีพิธีถวายไทยทานพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ประกอบพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่เทพยดาอารักษ์ ตลอดจนพระ วิญญาณ พญามังราย และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทุกพระองค์
เอาล่ะ เกริ่นมาซะเยอะ วันนี้จะมาเล่าเรื่องสถาปัตยกรรมทางล้านนากันสักหน่อย ก็คือ "หัมยนต์" และ "กาแล" บางท่านที่เป็นคนเมืองแท้ๆอาจไม่ทราบว่าคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้จะมาเขียนบทความให้ได้ทราบกันถ้วนหน้าเลย
หัมยนต์
หัมยนต์ ก็คือ แผ่นไม้แกะสลักที่อยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอนในเรือนกาแลของชาวล้านนา มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีลวดลายที่สวยงาม เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ก้านขด ลายเมฆ ลายน้ำ ลายประแจจีน หรือลายเรขาคณิตอย่างง่าย ชาวล้านนาเชื่อว่ายนต์มีพลังลึกลับที่สามารถดลบันดาลความเป็นไปแก่เจ้าของบ้าน มีการทำยนต์ขึ้นในเวลาสร้างเรือนใหม่ โดยนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสามงคล (เสาเอก) เพื่อทำพิธีสูตรถอน และอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตที่ยนต์ จากนั้นแกะสลักแล้วทำการติดตั้งโดยมีพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหาร มีปราชญ์ประจำหมู่บ้านทำหน้าที่กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์ ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์
การกำหนดขนาดของหัมยนต์ ใช้วิธีวัดขนาดจากความยาวของเท้าเจ้าของบ้าน ถ้าเป็นประตูขนาดเล็กจะใช้ขนาดสามเท่าของเท้า ประตูขนาดใหญ่จะวัดให้ได้ขนาดสี่เท่าของเท้าเจ้าของบ้าน โดยถือว่าการทำหัมยนต์เป็นการข่มผู้ที่จะเดินลอดผ่านข้างใต้ด้วย เชื่อกันว่าหัมยนต์เป็นสิ่งที่สามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามากล้ำกลายเจ้าของเรือนและครอบครัวได้ ในด้านการใช้งาน หัมยนต์อยู่เหนือข่มประตูห้องนอน แบ่งพื้นที่ห้องนอนกับพื้นที่เติ๋น (ชานร่มรับแขกบนเรือน) เป็นการแบ่งพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของครอบครัวซึ่งนับถือผีตระกูลเดียวกันออกจากผู้มาเยือน และเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของเจ้าของเรือนที่ผู้อื่นไม่ควรกล้ำกลายเข้าไปโดยพละการ การถลำก้าวล้ำเข้าไปถือเป็นการผิดผี จะต้องทำพิธีขอสูมา (ขอขมา) ทัศนะของนักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่นเกี่ยวกับหัมยนต์มีมากหลาย เช่น เป็นยันตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยอันตราย บ้างว่าอาจมีที่มาจากรูปแบบทับหลังซุ้มประตูในสถาปัตยกรรมเขมรที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาอีกต่อหนึ่ง แล้วแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนาภายหลัง
คำว่า "หัม" ภาษาล้านนาหมายถึง "อัณฑะ" อันเป็นสิ่งที่รวมพลังของเพศชาย ส่วนคำว่า "ยน" คงมาจาก "ยนตร์" แปลว่าสิ่งป้องกันรักษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นหัมยนต์จึงเป็นส่วนตกแต่งเรือนและทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่จะป้องกันอันตรายจากภายนอก อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และหัมยนต์เปรียบเป็นอัณฑะของพม่า เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะนั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่อง
กาแล
กาแล คือส่วนประดับบนหลังคาเรือนล้านนา มีลักษณะเป็นไม้แบบเหลี่ยมแกะสลักให้มีลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของ ปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่โดยติดในาลักษณะไขว้กัน เนื่องจากที่กาแลมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นการตกแต่งให้เรือนกาแลงดงามยิ่งขี้น ดังนั้นจึ่งมีการยึดเอากาแลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นล้านนา
กาแล อาจแผลงมาจากคำว่า "กะแหล้ง" ซึ่งแปลว่าไขว้กัน เหตุที่มีการนำไม้มาไขว้กันที่หน้าจั่วหลังคาก็เพราะเป็นความเชื่อสมัยก่อนเมื่อคราวที่พม่าเข้าปกครองล้านนา แต่เกรงว่าจะมีผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิดในแผ่นดินที่ตนปกครองและอาจกลับมาโค่นล้มอำนาจและชิงเมืองคืนได้ จึงให้คนเมือง (ชาวล้านนา) ติดกาแลนี้ไว้เพื่อทำลายบุญบารมีของเด็กที่เกิดใหม่ ถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล เนื่องจากกาแลนี้ประยุกต์มาจาก "ไม้กะแแหล้ง" หรือไม้กากบาท ที่ปักเอาไว้เหนือหลุมศพของเด็กเพื่อสะกดวิญญาณไม่ให้ออกมา อีกทั้งการติดกาแลบนหลังคาบ้านจะยึดถือว่าบ้านหลังนี้เป็นคนล้านนา สามารถเก็บส่วยหรือภาษีได้ เพราะคนสมัยก่อนยึดถือเรื่องศักดิ์ศรีของชาติพันธุ์ตนเองมาก แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีกาแลติดก็เป็นคนพม่าหรือมีสามีเป็นทหารพม่า จึงจะได้รับยกเว้นการเก็บภาษี คนล้าานาบางคนยอมเสียศักดิ์ศรีไม่ติดกาแลเพื่อหวังว่าเมื่อตนเองมีสามีเป็นคนพม่าก็จะได้ร่ำรวยเงินทองและมีอำนาจวาสนา
"มอญไม่ใช่พม่า แต่เป็นพม่าปกครองมอญ"
ย้อนไปสมัยพระเจ้าบุเรงนองกษัติริย์ของพม่าก่อนที่จะเข้ายึดครองล้านนาได้นั้น หลายคนอาจสงสัยว่าก็ในเมื่อเมืองหงสาวดีเป็นเมืองของมอญทำไมเรียกพม่า
เพราะพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์ของหงสาวดีเป็นชาวพม่า (ตองอู) ก่อนหน้านี้มอญกับพม่าต่างก็เป็นอริกันตลอด (เพราะอยู่ใกล้กันด้วย)
จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองเข้าตีเมืองหงสาวดีของชาวมอญและรวมเมืองตองอูของพม่าเข้าด้วยกัน และพระองค์ปฏิบัติต่อชาวหงสาวดีด้วยดี เพราะรับเอาวัฒนธรรม-ประเพณีของมอญมาใช้ในราชสำนักของพระองค์ และยังรับชาวมอญเข้ามาเป็นข้าราชบริพารในราชสำนักด้วย ดังนั้นวัฒนธรรม-ประเพณีของมอญ-พม่า จึงมีความผสมผสานกันอย่างลงตัว
การจะแยกมอญกับพม่านั้นให้ดูที่สัญลักษณ์ประจำชนชาติ
เมืองหงสาวดีนั้น ชื่อ หงส์ เป็นศัพท์แขกบาลีสันสกฤตแต่แรกทีเดียว แปลตรงๆ ว่าเมืองหงส์ เพราะในตำนานอ้างไปถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาทอดพระเนตรเห็นหงส์คู่ผู้เมียที่นั่น (ไปแถวเมืองมอญจึงมีสัญลักษณ์หงส์ขี่กันให้เห็นจนวันนี้)
ส่วนพม่ามีสัญลักษณ์เป็นนกยูง นับตั้งแต่สมัยราชาธิปไตยเป็นต้นมา พม่าได้ใช้รูปนกยูงรำแพนเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดินมาโดยตลอด รูปดังกล่าวได้ปรากฏในเงินรูปีของพม่าและธงชาติพม่าในสมัยต่างๆ ทั้งในยุคราชวงศ์คองบอง
ที่มา:
- รูปเสาอินทขิล: ททท.
- รูปเมืองหงสาวดี:
https://chill.co.th/articles/article.php?aid=110
- ข้อมูลประเพณีใส่ขันดอกอินทขิล: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ข้อมูลหัมยนต์:
http://lannaarch.blogspot.com/2010/07/blog-post_15.html
- ข้อมูลกาแล:
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=noonrinz&date=04-06-2010&group=2&gblog=27
- ข้อมูลประวัติหงสาวดี:
https://www.baanjomyut.com/library/mon_history/05.html
- ข้อมูลชนชาติมอญ-พม่า:
https://bunnarothwrite.blogspot.com/2015/07/blog-post_46.html
"หัมยนต์" และ "กาแล" สถาปัตยกรรมล้านนาที่แฝงไปด้วยคติความเชื่อของพม่า
อินทขิลก็คือเสาหลักเมืองของเชียงใหม่ เช่นเดียวกับเสาหลักเมืองทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นเสาหลักเมืองกรุงเทพ เสาหลักเมืองขอนแก่น เป็นต้น
และในทุกๆปีจะมีการบูชาเสาหลักเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและบ้านเมือง
เริ่มต้นการบูชาเสาอินทขิลก็คือมีการใช้เครื่องถวายบูชา ดังนี้
- ข้าวตอกดอกไม้ และเทียน 8 สวย (สวย: กรวยที่ทำมาจากใบตองหรือกระดาษ)
- พลู 8 สวย
- ดอกไม้เงิน 1
- ผ้าขาว 1 ลำ
- ช่อขาว 8 ผืน
- มะพร้าว 2 แขนง
- กล้วย 2 หวี
- อ้อย 2 เล่ม
- ข้าว 4 ควัก (กระทง)
- แกงส้ม แกงหวาน อย่างละ 4
- โภชนะอาหาร 7 อย่าง
และพิธีใส่ขันดอก เป็นพิธีที่กระทำต่อ จากการจุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมากเพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ที่ตนเตรียมมาไปวาง ในพาน (ขัน) จนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ การถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาแก่เสาอินทขิล กุมภัณฑ์ ฤาษี และพระรัตนตรัย
พิธีสืบชะตาเมือง
พิธีสืบชะตาเมืองเป็นพิธีที่กระทำหลังจากสิ้นสุดการบูชาเสาอิทขิลแล้วระยะหนึ่ง แต่ก็ยังคงอยู่ในช่วงครึ่งแรกของเดือน 9 เหนือ ประเพณีมีขึ้นเนื่องจากเมืองเชียงใหม่สร้างชื้นตามหลักโหราศาสตร์ และการเลือกชัยภูมิ ตลอดจนมหาทักษาเพื่อให้ได้ชัยภูมิ เวลา และฤกษ์ที่เป็นมงคล อันจะบันดาลให้เมืองเจริญรุ่งเรืองสืบไปอย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไปย่อมมีบางช่วงที่ดวงเมืองเบี่ยงเบน ตามลัคนา การทำบุญสืบชะตาเมือง จะช่วยให้เคราะห์ร้ายลดลงและสถานการณ์ต่างๆ กลับดีขึ้นไป การสืบชะตาของชาวล้านนาเทียบได้กับการทำบุญวันเกิด แต่มีพิธีการค่อนข้างละเอียดถี่ถ้วน โดยมีความเชื่อว่า หากกระทำแล้วจะช่วย สืบ อายุให้ยืนยาวต่อไป พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะกระทำในตัวเมือง 10 แห่ง คือที่กลางเวียง อันเคยเป็นสะดือเมือง ประตูทั้ง 5 ประตู และแจ่ง เวียง (มุมเมือง) ทั้ง 4 แจ่ง เมื่อมีพระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์ มาประดิษฐานที่หน้าศาลากลางเก่า ตั้งแต่ พ.ศ.2526 การทำพิธีสืบชะตา ณ กลางเวียง ก็กระทำที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ โดยมีพระสงฆ์ 9 รูปที่เหลืออีก 9 แห่งมีพระสงฆ์แห่งละ 11 รูป รวมทั้งสิ้นเป็น 108 รูป เท่ากับ จำนวน 108 มงคลในลัทธิพราหมณ์ และเท่ากับพระพุทธคุณพระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวม 108 ประการ เช่นกัน พิธีสืบชะตาเมืองซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ.2511 นั้น จะกระทำขึ้นพร้อมๆกันทุกจุดในเวลา 07.00 นาฬิกา จะเริ่มพิธีสืบชะตาเมือง โดยเริ่มด้วยการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมาทานเบญจศีล พระภิกษุสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์แล้วแสดงธรรมเทศนา เมื่อจบแล้วจึงถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์ หลังจาก เพลมีพิธีถวายไทยทานพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ประกอบพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่เทพยดาอารักษ์ ตลอดจนพระ วิญญาณ พญามังราย และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทุกพระองค์
เอาล่ะ เกริ่นมาซะเยอะ วันนี้จะมาเล่าเรื่องสถาปัตยกรรมทางล้านนากันสักหน่อย ก็คือ "หัมยนต์" และ "กาแล" บางท่านที่เป็นคนเมืองแท้ๆอาจไม่ทราบว่าคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้จะมาเขียนบทความให้ได้ทราบกันถ้วนหน้าเลย
หัมยนต์
หัมยนต์ ก็คือ แผ่นไม้แกะสลักที่อยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอนในเรือนกาแลของชาวล้านนา มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีลวดลายที่สวยงาม เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ก้านขด ลายเมฆ ลายน้ำ ลายประแจจีน หรือลายเรขาคณิตอย่างง่าย ชาวล้านนาเชื่อว่ายนต์มีพลังลึกลับที่สามารถดลบันดาลความเป็นไปแก่เจ้าของบ้าน มีการทำยนต์ขึ้นในเวลาสร้างเรือนใหม่ โดยนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสามงคล (เสาเอก) เพื่อทำพิธีสูตรถอน และอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตที่ยนต์ จากนั้นแกะสลักแล้วทำการติดตั้งโดยมีพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหาร มีปราชญ์ประจำหมู่บ้านทำหน้าที่กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์ ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์
การกำหนดขนาดของหัมยนต์ ใช้วิธีวัดขนาดจากความยาวของเท้าเจ้าของบ้าน ถ้าเป็นประตูขนาดเล็กจะใช้ขนาดสามเท่าของเท้า ประตูขนาดใหญ่จะวัดให้ได้ขนาดสี่เท่าของเท้าเจ้าของบ้าน โดยถือว่าการทำหัมยนต์เป็นการข่มผู้ที่จะเดินลอดผ่านข้างใต้ด้วย เชื่อกันว่าหัมยนต์เป็นสิ่งที่สามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามากล้ำกลายเจ้าของเรือนและครอบครัวได้ ในด้านการใช้งาน หัมยนต์อยู่เหนือข่มประตูห้องนอน แบ่งพื้นที่ห้องนอนกับพื้นที่เติ๋น (ชานร่มรับแขกบนเรือน) เป็นการแบ่งพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของครอบครัวซึ่งนับถือผีตระกูลเดียวกันออกจากผู้มาเยือน และเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของเจ้าของเรือนที่ผู้อื่นไม่ควรกล้ำกลายเข้าไปโดยพละการ การถลำก้าวล้ำเข้าไปถือเป็นการผิดผี จะต้องทำพิธีขอสูมา (ขอขมา) ทัศนะของนักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่นเกี่ยวกับหัมยนต์มีมากหลาย เช่น เป็นยันตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยอันตราย บ้างว่าอาจมีที่มาจากรูปแบบทับหลังซุ้มประตูในสถาปัตยกรรมเขมรที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาอีกต่อหนึ่ง แล้วแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนาภายหลัง
คำว่า "หัม" ภาษาล้านนาหมายถึง "อัณฑะ" อันเป็นสิ่งที่รวมพลังของเพศชาย ส่วนคำว่า "ยน" คงมาจาก "ยนตร์" แปลว่าสิ่งป้องกันรักษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นหัมยนต์จึงเป็นส่วนตกแต่งเรือนและทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่จะป้องกันอันตรายจากภายนอก อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และหัมยนต์เปรียบเป็นอัณฑะของพม่า เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะนั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่อง
กาแล
กาแล คือส่วนประดับบนหลังคาเรือนล้านนา มีลักษณะเป็นไม้แบบเหลี่ยมแกะสลักให้มีลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของ ปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่โดยติดในาลักษณะไขว้กัน เนื่องจากที่กาแลมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นการตกแต่งให้เรือนกาแลงดงามยิ่งขี้น ดังนั้นจึ่งมีการยึดเอากาแลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นล้านนา
กาแล อาจแผลงมาจากคำว่า "กะแหล้ง" ซึ่งแปลว่าไขว้กัน เหตุที่มีการนำไม้มาไขว้กันที่หน้าจั่วหลังคาก็เพราะเป็นความเชื่อสมัยก่อนเมื่อคราวที่พม่าเข้าปกครองล้านนา แต่เกรงว่าจะมีผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิดในแผ่นดินที่ตนปกครองและอาจกลับมาโค่นล้มอำนาจและชิงเมืองคืนได้ จึงให้คนเมือง (ชาวล้านนา) ติดกาแลนี้ไว้เพื่อทำลายบุญบารมีของเด็กที่เกิดใหม่ ถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล เนื่องจากกาแลนี้ประยุกต์มาจาก "ไม้กะแแหล้ง" หรือไม้กากบาท ที่ปักเอาไว้เหนือหลุมศพของเด็กเพื่อสะกดวิญญาณไม่ให้ออกมา อีกทั้งการติดกาแลบนหลังคาบ้านจะยึดถือว่าบ้านหลังนี้เป็นคนล้านนา สามารถเก็บส่วยหรือภาษีได้ เพราะคนสมัยก่อนยึดถือเรื่องศักดิ์ศรีของชาติพันธุ์ตนเองมาก แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีกาแลติดก็เป็นคนพม่าหรือมีสามีเป็นทหารพม่า จึงจะได้รับยกเว้นการเก็บภาษี คนล้าานาบางคนยอมเสียศักดิ์ศรีไม่ติดกาแลเพื่อหวังว่าเมื่อตนเองมีสามีเป็นคนพม่าก็จะได้ร่ำรวยเงินทองและมีอำนาจวาสนา
"มอญไม่ใช่พม่า แต่เป็นพม่าปกครองมอญ"
ย้อนไปสมัยพระเจ้าบุเรงนองกษัติริย์ของพม่าก่อนที่จะเข้ายึดครองล้านนาได้นั้น หลายคนอาจสงสัยว่าก็ในเมื่อเมืองหงสาวดีเป็นเมืองของมอญทำไมเรียกพม่า
เพราะพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์ของหงสาวดีเป็นชาวพม่า (ตองอู) ก่อนหน้านี้มอญกับพม่าต่างก็เป็นอริกันตลอด (เพราะอยู่ใกล้กันด้วย)
จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองเข้าตีเมืองหงสาวดีของชาวมอญและรวมเมืองตองอูของพม่าเข้าด้วยกัน และพระองค์ปฏิบัติต่อชาวหงสาวดีด้วยดี เพราะรับเอาวัฒนธรรม-ประเพณีของมอญมาใช้ในราชสำนักของพระองค์ และยังรับชาวมอญเข้ามาเป็นข้าราชบริพารในราชสำนักด้วย ดังนั้นวัฒนธรรม-ประเพณีของมอญ-พม่า จึงมีความผสมผสานกันอย่างลงตัว
การจะแยกมอญกับพม่านั้นให้ดูที่สัญลักษณ์ประจำชนชาติ
เมืองหงสาวดีนั้น ชื่อ หงส์ เป็นศัพท์แขกบาลีสันสกฤตแต่แรกทีเดียว แปลตรงๆ ว่าเมืองหงส์ เพราะในตำนานอ้างไปถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาทอดพระเนตรเห็นหงส์คู่ผู้เมียที่นั่น (ไปแถวเมืองมอญจึงมีสัญลักษณ์หงส์ขี่กันให้เห็นจนวันนี้)
ส่วนพม่ามีสัญลักษณ์เป็นนกยูง นับตั้งแต่สมัยราชาธิปไตยเป็นต้นมา พม่าได้ใช้รูปนกยูงรำแพนเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดินมาโดยตลอด รูปดังกล่าวได้ปรากฏในเงินรูปีของพม่าและธงชาติพม่าในสมัยต่างๆ ทั้งในยุคราชวงศ์คองบอง
ที่มา:
- รูปเสาอินทขิล: ททท.
- รูปเมืองหงสาวดี: https://chill.co.th/articles/article.php?aid=110
- ข้อมูลประเพณีใส่ขันดอกอินทขิล: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ข้อมูลหัมยนต์: http://lannaarch.blogspot.com/2010/07/blog-post_15.html
- ข้อมูลกาแล: https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=noonrinz&date=04-06-2010&group=2&gblog=27
- ข้อมูลประวัติหงสาวดี: https://www.baanjomyut.com/library/mon_history/05.html
- ข้อมูลชนชาติมอญ-พม่า: https://bunnarothwrite.blogspot.com/2015/07/blog-post_46.html