ที่มาของกระทู้
เดิมทีเป็นการลองเลนส์ถ่ายภาพ จะไปตั้งกระทู้ในห้องกล้อง ดูภาพไปดูมา .....ตั้งห้องมอไซค์ดีกว่า เห็นช่วงนี้กะลังเงียบๆ
*คำเตือน
เนื่องจากสินค้านี้ไม่ใช่ ไลน์โปรดักส์ปกติ ที่ทำมาเพื่อจำหน่ายในบ้านเรา ดังนั้นข้อมูลประวัติของตัวรถจึงหาไม่ค่อยเจอ รายละเอียดในกระทู้นี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลจากคำบอกเล่าของคนเก่าๆที่เคยเกี่ยวข้อง และแกะเอาจากเวปไซค์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ซึ่งหากใครจะเอาไปเป็นข้อมูลอ้างอิงต่อ หากเกิดผลเสียหายอะไรขึ้น จขกท.ขอสงวนสิทธิไม่รับผิดชอบทุกกรณี .....ถือว่าเล่าสู่กันฟังเฉยๆ
...................................................................................................................................................................
( สิบปีที่แล้ว )
" รถรุ่นนี้อ่ะนะ สมัยผมเรียนซื้อกันไม่เกินพัน ....แปดร้อยก็แพงแล้ว " จนท.ตรวจสภาพรถประจำขนส่งจังหวัด รำลึกความหลังพึมพัมเสียงดังพอได้ยิน ขณะกำลังลงมือขูดคัดลอกเลขตัวถังบนซากวัตถุที่พอจะติดเครื่องและเคลื่อนที่ได้สีเทาๆ
ผมกับผู้ขายเหลียวสบตากันยิ้มๆ ....พูดไม่ออก
" เวลาตีกับเด็กสถาบันอื่น ผมสละรถเลยนะ .....วิ่งจะเร็วกว่า รถค่อยไปตามเก็บทีหลัง " จนท.พูดพลางยิ้มๆหัวเราะกรั่กๆๆๆ อารมณ์ดี
....................................................................................................................................................................
มาดูที่มาของรถรุ่นนี้คร่าวๆกันดีกว่า
ฮอนด้าชาลี รุ่นแรก ถูกผลิตออกมาเพื่อรองรับการใช้งานแบบเอนกประสงค์ มีขนาดเล็กกระทัดรัดเหมาะสำหรับแม่บ้านและเด็กๆได้ใช้งาน โดย เจนแรกสุดถูกผลิตขึ้นในปี 1972 มีสองขนาดเครื่องยนต์คือพิกัด 50 และ 70 ซีซี บอดี้และชิ้นส่วนหลักผลิตขึ้นจากเหล็ก....นิยมเรียกกันในบ้านเราว่า "ชาลีไฟบน" จุดสังเกตุ"หลักๆ"เฉพาะตัวคือ 1.ไฟบนรวมเป็นชุดเดียวกับ มาตรวัดความเร็ว 2.ล้อสี่ก้าน 3.เบาะยาวตลอดเฟรมตัวถัง 4.ตะแกรงปลายกระดก 5.บังโคลนหน้า-หลังเป็นเหล็ก ....ทั้ง 5 อย่างนี้คือ"ส่วนหลักๆ"ที่ขาดไม่ได้ มันถูกผลิตใช้งานหลายปีซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีเสียงบ่นๆจากการใช้งานบางประการทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสู่รุ่นต่อมา
ฮอนด้าชาลี รุ่นสองถูกผลิตขึ้นในปี 1976 มันถูกปรับปรุงส่วนหน้าของรถ เพราะในรุ่นแรกตระกร้าแม่บ้านถูกติดตั้งในตำแหน่งต่ำกว่าโคมไฟหน้า ทำให้เวลาวางของในตระกร้า ....น่าจะบังการส่องของแสงไฟ จึงเกิดการไมเนอร์เชนจ์ในส่วนนี้ โดยยังคงสภาพส่วนอื่นๆที่เหลือไว้ตามรุ่นแรก ทำให้รุ่นสองดูเป็นรุ่นที่อุปกรณ์ผสมระหว่างรุ่นแรก กับรุ่นสามที่จะกล่าวถึงต่อไป ลักษณะของการไมเนอร์เชนจ์ส่วนหน้าคือ การแยกโคมไฟกับเรือนไมล์ออกจากกันด้วยแผงบังหน้า โดยยึดตัวโคมที่ส่วนล่างของแผง และส่วนปลายด้านบนของแผงโค้งงอไปอยู่เหนือตุ๊กตาจับแฮนด์ ...เพื่อรองรับเรือนไมล์แยก .....ทีนี้แสงไฟก็ไม่โดนตระกร้าใส่ของบดบังละ จุดสังเกตุ"หลัก"ๆเฉพาะตัวคือ 1.ไฟแยกอยู่ต่ำ 2.ล้อสี่ก้าน 3.เบาะยาวตลอดเฟรมตัวถัง 4.ตะแกรงปลายกระดก 5.บังโคลนหน้า-หลังยังคงเป็นเหล็ก นิยมเรียกกันในบ้านเราว่า " ชาลีไฟล่าง"
ฮอนด้าชาลี รุ่นสามถูกผลิตขึ้นในปี 1979 ทีนี้แหละมันถูกปรับปรุงเยอะเลย แต่ยังคงรูปลักษณ์อารมณ์เดิมๆไว้ได้ แบบถ้าไม่สังเกตุจะแทบไม่รู้ สิ่งแรกที่เห็นต่างจากสองรุ่นแรกได้ชัดเจนคือ ล้อดีไซน์ใหม่เป็นสามก้านทรงสปอร์ต กระบอกช็อคอัพหน้าขนาดใหญ่ขึ้น ตะแกรงหลังหนาปลายตรง และเบาะนั่งสั้นลงเพื่อเน้นการรองรับแค่ผู้ขับขี่ (ดูรูปเอา) จุดสังเกตุหลักๆ 1.ไฟแยกต่ำ 2.ล้อสามก้าน 3.เบาะสั้น 4.ตะแกรงหนาปลายตรง 5.บังโคลนหน้า-หลังเป็นพลาสติกเหนียว(ทำให้ย้ายชุดไฟท้ายทรงใหม่ขึ้นไปห้อยกับตะแกรง) 6.ท่อไอเสียทรงใหม่เงียบกว่าเดิม นิยมเรียกกันในบ้านเราปนๆไปกับรุ่นสอง...เพียงแต่แยกย่อยว่าตัวล้อสามก้าน
.....................................................................................................................................................................
ถัดจากสามรุ่นข้างต้น เริ่มหมดไอเดียแล้วครับ เพราะในยุคหนึ่ง ทั้งสามรุ่นที่ว่ามันเริ่มหมดอายุใช้งานในญี่ปุ่นจนทำให้ถูกปลดระวางเตรียมถูกดำเนินการ จนมีคนไทยหัวใสไปเหมามาเป็นตู้คอนเทรนเนอร์เข้ามาจำหน่ายราคาถูกๆในบ้านเรา เป็นการเปิดโลกทรรศให้ผู้ใช้ในบ้านเราเริ่มรู้จักรถรุ่นนี้ ซึ่งกว่ารุ่นถัดไปจะถูกปลดระวาง กฏหมายในบ้านเราก็เริ่มขยับลักษณะคุณภาพการใช้งานพอดี ทำให้รุ่นต่อๆมามีการพัฒนาไมเนอร์เชนจ์เพื่อใช้งานในญี่ปุ่นกันอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีการนำเข้ามาในบ้านเราแบบเป็นกิจลักษณะอีกต่อไป
ข้อจำกัดของจักรยานยนต์ที่จะจดใหม่ ต้องมีขนาดล้อไม่ต่ำกว่า 10 นิ้ว
ความจุถูกปรับเลื่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจาก 50-70-90 .....ปัจจุบัน น่าจะ 100 ซีซี แล้วมั๊ง ซึ่งกฏหมายก็ยกประโยชน์ให้ผู้ที่เคยจดทะเบียน อย่างถูกต้องไม่ย้อนหลัง แต่ปล่อยให้รถเหล่านั้นหมดสภาพไปตามเวลาไปเอง....
..................................................................................................................................................................
.....แต่ จะสบประมาทรถมินิพวกนี้ไปหน่อยละมั๊ง อิอิ
ต้องขอบคุณโรงงานผู้ผลิต ที่พัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ๆโดยยังคงอาศัยรากฐานเดิมๆเป็นหลัก มานับสิบๆปี
สเปค รถ
CF50 ความจุกระบอกสูบ 49.5 cc กระบอกสูบ x ช่วงชัก 39 x 41.4 mm. 4.8แรงม้าที่ 10000 rpm ทอร์คไม่ระบุ เกียร์ 3 สปีด
CF70 ความจุกระบอกสูบ 71.8 cc กระบอกสูบ x ช่วงชัก 47 x 41.4 mm. 6.0แรงม้าที่ 9000 rpm 0.53 kg/m.@7000 rpm เกียร์ 3 สปีด
............................................ พิมพ์มือหงิก ไปกินข้าวแพร๊บ เดี๋ยวมาต่อ....
[CR] ( CR ) รีวิวรถมือสาม(มั๊ง) Honda CF50 chaly
เดิมทีเป็นการลองเลนส์ถ่ายภาพ จะไปตั้งกระทู้ในห้องกล้อง ดูภาพไปดูมา .....ตั้งห้องมอไซค์ดีกว่า เห็นช่วงนี้กะลังเงียบๆ
*คำเตือน
เนื่องจากสินค้านี้ไม่ใช่ ไลน์โปรดักส์ปกติ ที่ทำมาเพื่อจำหน่ายในบ้านเรา ดังนั้นข้อมูลประวัติของตัวรถจึงหาไม่ค่อยเจอ รายละเอียดในกระทู้นี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลจากคำบอกเล่าของคนเก่าๆที่เคยเกี่ยวข้อง และแกะเอาจากเวปไซค์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ซึ่งหากใครจะเอาไปเป็นข้อมูลอ้างอิงต่อ หากเกิดผลเสียหายอะไรขึ้น จขกท.ขอสงวนสิทธิไม่รับผิดชอบทุกกรณี .....ถือว่าเล่าสู่กันฟังเฉยๆ
( สิบปีที่แล้ว )
" รถรุ่นนี้อ่ะนะ สมัยผมเรียนซื้อกันไม่เกินพัน ....แปดร้อยก็แพงแล้ว " จนท.ตรวจสภาพรถประจำขนส่งจังหวัด รำลึกความหลังพึมพัมเสียงดังพอได้ยิน ขณะกำลังลงมือขูดคัดลอกเลขตัวถังบนซากวัตถุที่พอจะติดเครื่องและเคลื่อนที่ได้สีเทาๆ
ผมกับผู้ขายเหลียวสบตากันยิ้มๆ ....พูดไม่ออก
" เวลาตีกับเด็กสถาบันอื่น ผมสละรถเลยนะ .....วิ่งจะเร็วกว่า รถค่อยไปตามเก็บทีหลัง " จนท.พูดพลางยิ้มๆหัวเราะกรั่กๆๆๆ อารมณ์ดี
มาดูที่มาของรถรุ่นนี้คร่าวๆกันดีกว่า
ฮอนด้าชาลี รุ่นแรก ถูกผลิตออกมาเพื่อรองรับการใช้งานแบบเอนกประสงค์ มีขนาดเล็กกระทัดรัดเหมาะสำหรับแม่บ้านและเด็กๆได้ใช้งาน โดย เจนแรกสุดถูกผลิตขึ้นในปี 1972 มีสองขนาดเครื่องยนต์คือพิกัด 50 และ 70 ซีซี บอดี้และชิ้นส่วนหลักผลิตขึ้นจากเหล็ก....นิยมเรียกกันในบ้านเราว่า "ชาลีไฟบน" จุดสังเกตุ"หลักๆ"เฉพาะตัวคือ 1.ไฟบนรวมเป็นชุดเดียวกับ มาตรวัดความเร็ว 2.ล้อสี่ก้าน 3.เบาะยาวตลอดเฟรมตัวถัง 4.ตะแกรงปลายกระดก 5.บังโคลนหน้า-หลังเป็นเหล็ก ....ทั้ง 5 อย่างนี้คือ"ส่วนหลักๆ"ที่ขาดไม่ได้ มันถูกผลิตใช้งานหลายปีซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีเสียงบ่นๆจากการใช้งานบางประการทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสู่รุ่นต่อมา
ฮอนด้าชาลี รุ่นสองถูกผลิตขึ้นในปี 1976 มันถูกปรับปรุงส่วนหน้าของรถ เพราะในรุ่นแรกตระกร้าแม่บ้านถูกติดตั้งในตำแหน่งต่ำกว่าโคมไฟหน้า ทำให้เวลาวางของในตระกร้า ....น่าจะบังการส่องของแสงไฟ จึงเกิดการไมเนอร์เชนจ์ในส่วนนี้ โดยยังคงสภาพส่วนอื่นๆที่เหลือไว้ตามรุ่นแรก ทำให้รุ่นสองดูเป็นรุ่นที่อุปกรณ์ผสมระหว่างรุ่นแรก กับรุ่นสามที่จะกล่าวถึงต่อไป ลักษณะของการไมเนอร์เชนจ์ส่วนหน้าคือ การแยกโคมไฟกับเรือนไมล์ออกจากกันด้วยแผงบังหน้า โดยยึดตัวโคมที่ส่วนล่างของแผง และส่วนปลายด้านบนของแผงโค้งงอไปอยู่เหนือตุ๊กตาจับแฮนด์ ...เพื่อรองรับเรือนไมล์แยก .....ทีนี้แสงไฟก็ไม่โดนตระกร้าใส่ของบดบังละ จุดสังเกตุ"หลัก"ๆเฉพาะตัวคือ 1.ไฟแยกอยู่ต่ำ 2.ล้อสี่ก้าน 3.เบาะยาวตลอดเฟรมตัวถัง 4.ตะแกรงปลายกระดก 5.บังโคลนหน้า-หลังยังคงเป็นเหล็ก นิยมเรียกกันในบ้านเราว่า " ชาลีไฟล่าง"
ฮอนด้าชาลี รุ่นสามถูกผลิตขึ้นในปี 1979 ทีนี้แหละมันถูกปรับปรุงเยอะเลย แต่ยังคงรูปลักษณ์อารมณ์เดิมๆไว้ได้ แบบถ้าไม่สังเกตุจะแทบไม่รู้ สิ่งแรกที่เห็นต่างจากสองรุ่นแรกได้ชัดเจนคือ ล้อดีไซน์ใหม่เป็นสามก้านทรงสปอร์ต กระบอกช็อคอัพหน้าขนาดใหญ่ขึ้น ตะแกรงหลังหนาปลายตรง และเบาะนั่งสั้นลงเพื่อเน้นการรองรับแค่ผู้ขับขี่ (ดูรูปเอา) จุดสังเกตุหลักๆ 1.ไฟแยกต่ำ 2.ล้อสามก้าน 3.เบาะสั้น 4.ตะแกรงหนาปลายตรง 5.บังโคลนหน้า-หลังเป็นพลาสติกเหนียว(ทำให้ย้ายชุดไฟท้ายทรงใหม่ขึ้นไปห้อยกับตะแกรง) 6.ท่อไอเสียทรงใหม่เงียบกว่าเดิม นิยมเรียกกันในบ้านเราปนๆไปกับรุ่นสอง...เพียงแต่แยกย่อยว่าตัวล้อสามก้าน
ถัดจากสามรุ่นข้างต้น เริ่มหมดไอเดียแล้วครับ เพราะในยุคหนึ่ง ทั้งสามรุ่นที่ว่ามันเริ่มหมดอายุใช้งานในญี่ปุ่นจนทำให้ถูกปลดระวางเตรียมถูกดำเนินการ จนมีคนไทยหัวใสไปเหมามาเป็นตู้คอนเทรนเนอร์เข้ามาจำหน่ายราคาถูกๆในบ้านเรา เป็นการเปิดโลกทรรศให้ผู้ใช้ในบ้านเราเริ่มรู้จักรถรุ่นนี้ ซึ่งกว่ารุ่นถัดไปจะถูกปลดระวาง กฏหมายในบ้านเราก็เริ่มขยับลักษณะคุณภาพการใช้งานพอดี ทำให้รุ่นต่อๆมามีการพัฒนาไมเนอร์เชนจ์เพื่อใช้งานในญี่ปุ่นกันอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีการนำเข้ามาในบ้านเราแบบเป็นกิจลักษณะอีกต่อไป
ข้อจำกัดของจักรยานยนต์ที่จะจดใหม่ ต้องมีขนาดล้อไม่ต่ำกว่า 10 นิ้ว
ความจุถูกปรับเลื่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจาก 50-70-90 .....ปัจจุบัน น่าจะ 100 ซีซี แล้วมั๊ง ซึ่งกฏหมายก็ยกประโยชน์ให้ผู้ที่เคยจดทะเบียน อย่างถูกต้องไม่ย้อนหลัง แต่ปล่อยให้รถเหล่านั้นหมดสภาพไปตามเวลาไปเอง....
.....แต่ จะสบประมาทรถมินิพวกนี้ไปหน่อยละมั๊ง อิอิ
ต้องขอบคุณโรงงานผู้ผลิต ที่พัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ๆโดยยังคงอาศัยรากฐานเดิมๆเป็นหลัก มานับสิบๆปี
สเปค รถ
CF50 ความจุกระบอกสูบ 49.5 cc กระบอกสูบ x ช่วงชัก 39 x 41.4 mm. 4.8แรงม้าที่ 10000 rpm ทอร์คไม่ระบุ เกียร์ 3 สปีด
CF70 ความจุกระบอกสูบ 71.8 cc กระบอกสูบ x ช่วงชัก 47 x 41.4 mm. 6.0แรงม้าที่ 9000 rpm 0.53 kg/m.@7000 rpm เกียร์ 3 สปีด
............................................ พิมพ์มือหงิก ไปกินข้าวแพร๊บ เดี๋ยวมาต่อ....