เปิดเผยเบื้องลึกสาเหตุการนอกใจด้วยผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์

บทความนี้จะเป็นผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ถึงสาเหตุของการนอกใจค่ะ

ประเด็นแรก คือประเด็นทางวิทยาศาสตร์

1. “คนที่เคยนอกใจมาแล้วจะหยุดนอกใจไม่ได้”
สิ่งนี้อาจจะเป็นความจริง

งานวิจัยใหม่ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Sexual Behavior
ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 484 คน โดยไม่ได้แบ่งเพศ
ผู้วิจัยถามพวกเขาว่าเคยนอกใจ และเคยสงสัยว่าคู่รักของตนอาจนอกใจหรือไม่

และผลการวิจัยพบว่าคนที่เคยนอกใจและโกหกในความสัมพันธ์ครั้งแรก มีโอกาสนอกใจและโกหกกับความสัมพันธ์ครั้งต่อไป
มากกว่าคนที่ไม่เคยทำเลยถึง สามเท่า

เหตุผลที่สามารถนำมาอธิบายได้อาจเป็นความจริงที่ว่า เมื่อเรานอกใจหรือเมื่อเราโกหก สมองเราจะเคยชินกับมัน

นี่คือการค้นพบของการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Neuroscience ซึ่งชี้ว่าการสร้างเรื่องโกหกเล็กๆ น้อยๆ ทำให้สมองของเราเคยชินต่ออารมณ์เชิงลบ จนกล้าโกหกเรื่องที่ใหญ่ขึ้นในครั้งต่อไป
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คำโกหกด้วยเหตุจำเป็นเพื่อรักษาน้ำใจกันอาจพัฒนาไปสู่การโกหกร้ายแรงในที่สุด

ได้มีการทดลอง
ผู้เข้าทดลองจะถูกแบ่งเป็นคู่ๆ
คนหนึ่งจะได้เห็นขวดแก้วที่เต็มไปด้วยเหรียญ
อีกคนจะเห็นเพียงภาพเบลอๆของขวดนั้น

คนแรกจะต้องช่วยอีกฝ่ายให้เดาถูก ว่ามีเหรียญในขวดอยู่เท่าไหร่
โดยผู้วิจัยได้บอกผู้เข้าร่วมกลุ่มหนึ่งว่าจะได้รับเงินรางวีล หากคู่ของพวกเขาเดาจำนวนเหรียญมากกว่าความเป็นจริง
พวกเขาจึงเริ่มโกหกและพูดเกินจริง

นักวิจัยพบว่าสมองส่วนหน้าที่รับผิดชอบต่ออารมณ์ จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อผู้เข้าร่วมพูดโกหก
แต่จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อผู้เข้าร่วมโกหกซ้ำๆ
พูดง่ายๆก็คือ

ความรู้สึกผิดของเราจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเราพูดโกหกซ้ำๆ
สมองส่วนนี้ที่เรียกว่าเซรีบรัมเฮมิสเฟียร์(cerebrum hemisphere) ซึ่งอยู่ที่สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ มันจะเกิดการเคยชินกับการโกหกของเรา จนกลายเป็นไม่มีความรู้สึกผิดเมื่อพูดโกหกซ้ำๆ

คล้ายกับการแอบนอกใจคู่รัก ครั้งแรกที่ทำ พวกเขาอาจจะรู้สึกแย่ แต่ถ้าเกิดขึ้นอีกครั้ง ตามหลักชีววิทยาของสมอง พวกเขาจะรู้สึกแย่น้อยเรื่อยๆ ในแต่ละครั้งที่นอกใจคนรัก

2. ข้อเท็จจริงของสัตว์โลก
มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่มีลักษณะผัวเดียวเมียเดียวซึ่งรวมถึงมนุษย์เราด้วย พฤติกรรมการมีคู่ครองแบบนี้มีข้อดี คือเราจะมีคู่ได้เพียงคนเดียวซึ่งทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขภายใต้ กฎหมาย วัฒนธรรมและศีลธรรม ที่มนุษย์พึงมี

แต่ข้อเท็จจริงก็คือ มนุษย์ก็ยังคงเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีแรงขับทางเพศและสันชาตญานในสืบพันธ์ และที่สำคัญคือในเวลาระยะสั้น เรายังคงใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ทำให้ขาดเหตุผล ขาดสติ และไม่มีการยับยั้งชั่งใจเมื่อมีสิ่งยั่วยุตรงหน้า

3. สารเคมีล้วนๆ
ในระหว่างที่คุณกำลังตกหลุมรักใครสักคน เราจะเริ่มคิดถึงแต่เขาคนนั้น ทั้งวัน ทั้งคืน ใช่มั้ยค่ะ แพรก็เคยเป็นค่ะ ฮ่าๆๆๆ ชนิดที่ว่า นั่งเพ้อ นอนเพ้อ ลืมตาหลับตาก็เห็นแต่หน้าเธอ
เมื่อมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทกลุ่มหนึ่งออกมาเรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบด้วย ฮอร์โมน 3 ตัว ด้วยกัน คือ

1.ฮอร์โมน โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีแห่งรัก ที่ช่วยให้ร่างกายของเราตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว เวลาที่เรากำลังตกหลุมรักใครสักคน ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกหลั่งอออกมามากผิดปกติ และยิ่งมันถูกหลั่งออกมามาก เราก็จะยิ่งรู้สึกดีกับคนๆ นั้น แบบว่าชั้นรักเธอจังเลย ชั้นมองไม่เห็นข้อเสียของเธอเลย ตาชั้นบอดไปแล้ว

2.ฮอร์โมน เอพิเนฟรีน (epinephrine) หรือ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ทำให้เราเหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดขยาย และรู้สึกตื่นเต้น และเมื่อไหร่ที่เราอยู่ใกล้เขา เราอาจมีอาการรู้สึกหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ นั้นแปลว่าเรากำลัง จะรักเขาแล้วละ

3.ฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสาเคมีที่ทำให้เราเกิดอาการ ซึม เศร้า เหงา เพราะคิดถึง ละเมอ เพ้อหา เพราะรักเธอ สารเคมีตัวนี้ ถูกสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนจำเป็น“ทริปโตเฟน” และนอกจากอาการเหล่านี้แล้ว ยังมีผลต่อ อุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต วงจรการนอนหลับ หากร่างกายมีการหลั่งสารเซโรโทนินที่เพียงพอ ก็จะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย สงบ มีความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์มั่นคง ไม่แปรปรวนค่ะ

โอเค ฮอโมนทั้งสามตัวที่พูดเมื่อกี้คือ ทุกคนจะหลั่งสารเคมีเหล่านี้เมื่อเกิดความรักกับคู่ของตัวเองเป็นระยะเวลาเฉลี่ยประมาน 6 เดือน

หรือที่เราชอบเรียกกันว่า ช่วงโปรโมชั่น นั่นเองค่ะ ฮ่าๆๆๆ พอหมดโปรโมชั่นเราก็ต้องมาดูกันที่ปัจจัยอื่นๆต่อไปค่ะ

และมีผลการศึกษาอย่างหนีงที่น่าสนใจมากๆ ที่พูดถึงเรื่องสารเคมีแห่งรัก คือเรื่องยีน
นักวิจัยจาก Binghamton University, State University of New York (SUNY) ได้ค้นพบว่าทุกคนมียีนที่ทำให้มีความเสี่ยงที่จะนอกใจได้

นักวิจัยทำการสำรวจแบบไม่ระบุเพศ และไม่ระบุพฤติกรรมทางเพศ โดยมีอาสาสมัคร 181 คนมาทดสอบดีเอ็นเอของพวกเขาด้วยการล้างช่องปากด้วยน้ำยาบ้วนปากพิเศษอะไรตามขั้นตอนของเขาอะนะคะ

และนักวิจัยได้ค้นพบว่ามีอะไรบางอย่างในยีนที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมากๆค่ะ ทุกคนน่าจะรู้จักคำว่า ยีนหรือพันธุกรรมใช่มั้ยค่ะ เขาบอกว่า

ผู้ที่มียีนแอลลีน(Allele)ยาว จะมีพฤติกรรมนอกใจประมาน 50%
ซึ่งมากกว่าผู้ที่มียีนอัลลีลสั้นค่ะ

ส่วนผู้ที่มียีนอัลลีลสั้นมีโอกาสนอกใจแค่ประมาณ 20% เท่านั้นค่ะ

แอลลีล (Allele) คืออะไร แอลลีนคือรูปแบบของยีน(gene)ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมค่ะ

พูดง่ายๆก็คือกรรมพันธ์ที่คุณได้มาจากพ่อแม่หรือบรรพบุรุษค่ะ ถ้าพ่อแม่ของคุณมียีนลักษณะนี้ ก็เป็นไปได้ที่ คนที่มักนอกใจอาจจะมีพ่อแม่ที่เคยนอกใจคู่รักมาก่อน เหมือนที่เราเคยได้ยินกันมาว่า ผู้ชายคนนี้เจ้าชู้เหมือนพ่อเลยนะ ฮ่าๆๆๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปโทษว่า โอ้ยพ่อแม่รังแกฉันให้ยีนนอกใจชั้นมา จิงๆแล้วชั้นไม่อยากนอกใจนะ

เรื่องยีนหรือพันธุกรรมมันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการวิจัยเท่านั้นค่ะ ยังมีอีกหลายอย่างที่เป็นปัจจัยในประเด็นนี้ค่ะ

โอเค
สารเคมีจากสมองตัวต่อไปที่มีการวิจัยว่ามีผลต่อพฤติกรรมการนอกใจความเชื่อใจและสายสัมพันธ์ก็คือ

วาโซเพรสซิน(Vasopressin)

มีการวิจัยในปี 2014 ในจำนวนนักศึกษา 7,000 คน พบว่าการที่ระดับฮอร์โมนวาโซเพรสซินลดลง จะส่งผลต่อพฤติกรรมนอกใจให้คนอยากนอกใจมากขึ้นค่ะ

เจ้าตัววาโซเพรสซิน (Vasopressin) นี่นะคะ
เป็นสารเคมีที่หลั่งออกจากสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) แล้วถูกลำเลียงไปสร้างเป็นฮอร์โมนเต็มตัวที่สมองส่วน pituitary มีฤทธิ์ยับยั้งการขับปัสสาวะของไต ขณะเดียวกันก็มีบทบาทต่อความรักและความรู้สึกผูกพันในระยะยาวด้วย จะถูกหลั่งออกมาหลังการมีเพศสัมพันธ์ทั้งในทั้งสองเพศ

นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ศึกษาผลของฮอร์โมนตัวนี้ที่มีต่อสัมพันธภาพระยะยาวโดยทำการทดลองในหนู Prairie voles โดยธรรมชาติของมันจะมีคู่ครองเพียงตัวเดียว (monogamy)

ปกติมันจะมีการร่วมเพศกับคู่ของมันถี่มาก ตัวผู้จะมีพฤติกรรมปกป้องตัวเมียเวลามีตัวผู้อื่นมารบกวน เมื่อตัวผู้ได้รับยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ วาโซเพรสซิน Vasopressin
ความรู้สึกผูกพันต่อคู่ของมันจะยุติลงทันที ไม่มีพฤติกรรมหวงคู่ของมันและไม่พยายามที่จะปกป้องคู่ของมันจากตัวผู้อื่นอีกต่อไป แต่จะไปร่วมเพศกับตัวเมียอื่นๆเรื่อยไปเช่นเดียวกับสัตว์ส่วนใหญ่ อืม.....

หลังจบปฏิบัติการทดสอบแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกได้ชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร
ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย ฮ่าๆๆๆ

ถามว่า แล้วทำยังไงจะไม่ให้เจ้าวาโซเพรสซินหมดไป แพรจะขอมาเล่าให้ฟังในลำดับต่อไปค่า

ต่อไปที่จะพูดก็คือ

ประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ค่ะ

แพรขออนุญาตนำบทความจากสำนักข่าว THE STANDARD มาให้ฟังกันค่ะ

คุณเคยสงสัยใช่มั้ยค่ะ ว่าทำไมหลายต่อหลายคนในสังคมของเราจึงเลือกที่จะนอกใจภรรยาหรือสามีของตัวเอง ทั้งๆ ที่พวกเขาและเธอเหล่านี้ต่างก็ดูมีความสุขในชีวิตแต่งงานและชีวิตครอบครัว
คนที่ดูท่าทางเป็นคนดี ทำไมพวกเขาและเธอจึงยอมเสี่ยงที่จะสูญเสียทุกๆ อย่างในชีวิตที่มีเพื่อแลกกับการสนองความใคร่ หรือความสุขเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น

แพรจึงขอถือโอกาสนำเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ จากเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาเขียนอธิบายถึงต้นตอของพฤติกรรมการนอกใจของคนเราให้ฟังกันค่ะ เริ่มต้นด้วย

1. คนเราไม่เก่งในการพยากรณ์อารมณ์ของตัวเอง

เวลาที่คุณกำลังอิ่มอยู่ คุณมักจะไม่สามารถจินตนาการได้ว่าความรู้สึกหิวนั้นเป็นอย่างไรใช่มั้ยค่ะ
เพราะแบบนี้ผู้หญิงเราถึงชอบพูดว่า ชั้นจะลดความอ้วนแล้วนะ แต่ตอนที่พูดคือพูดในขณะที่ยังอิ่มอยู่
เพราะเราลืมความรู้สึกในตอนที่หิว
ไปแล้วว่าเราห้ามตัวเองไม่ให้กินไม่ได้

แล้วพอหิวขึ้นมาทีนี้จะพูดว่า พรุ่งนี้ค่อยลด ฮ่าๆๆๆๆ
เวลาที่คุณกำลังหิวอยู่ คุณก็มักจะไม่สามารถจินตนาการได้ว่าความรู้สึกอิ่มนั้นเป็นอย่างไร

และถ้าคุณต้องสั่งอาหารในขณะที่คุณกำลังอิ่มอยู่ คุณจะสั่งอาหารจำนวนน้อยเท่าที่จำเป็น แต่คุณจะสั่งอาหารจำนวนมากเกินความจำเป็นในขณะที่คุณกำลังหิวอยู่

เช่นเดียวกันกับความต้องการทางเพศ เวลาที่คนเราอยู่ใน cold-state(ความต้องการทางเพศต่ำ)
เราก็มักจะจินตนาการไม่ค่อยได้ว่าความรู้สึกตอนที่อารมณ์ทางเพศของเรากำลังสูงอยู่ (หรือสภาวะ hot-state) เป็นอย่างไร
และมันจะมีผลกระทบต่อทัศนคติ จริยธรรม และพฤติกรรมของเราอย่างไรบ้าง

และด้วยเหตุผลนี้นี่เอง คนที่อยู่ใน cold-state(ความต้องการทางเพศต่ำ) อยู่
มักจะประเมินผลกระทบของการมีอารมณ์ทางเพศต่อพฤติกรรมการนอกใจของตัวเองต่ำเกินไป
ซึ่งส่งผลทำให้คนเรามักจะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมโดยไม่ได้ตั้งใจ และเมื่อพวกเขาเข้าไปอยู่ในสภาวะ hot-state(ความต้องการทางเพศสูง) แล้วอะไรจะเกิดขึ้นก็ได้

2. คนเราชอบความสุขทันทีและมักจะไม่คิดถึงปัญหาที่จะตามมา

นอกจาก hot-state และ cold-state แล้ว คนส่วนใหญ่มักจะมีความขัดแย้งภายในใจของตัวเองระหว่าง สิ่งที่เราต้องการ และ สิ่งที่เราควรจะทำ

สิ่งที่เราต้องการนั้นถูกควบคุมด้วยระบบความคิดที่มีอารมณ์เป็นตัวนำ ส่วนสิ่งที่เราควรจะทำนั้นถูกควบคุมด้วยระบบความคิดที่มีเหตุผลเป็นตัวนำ
พูดง่ายๆคือ

สิ่งเราที่ต้องการ เรามักจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ
สิ่งที่ควรจะทำ เราจะต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจ

ถ้าคนเราทุกคนใช้ความพยายามในการใช้เหตุผล เป็นตัวนำในการตัดสินใจทุกครั้ง

โลกของเราก็คงจะไม่มีใครที่นอกใจคู่ตัวเองเป็นแน่แท้

แต่ปัญหาก็คือ ระบบความคิดที่มีอารมณ์เป็นตัวนำนั้นมักจะเริ่มทำงานอย่างรวดเร็วกว่า
แถมยังใช้พลังงานในการทำงานน้อยกว่าระบบความคิดที่มีเหตุผลเป็นตัวนำเยอะ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่มักเลือกพฤติกรรมที่ทำให้พวกเขาและเธอมีความสุขทันที
โดยที่ไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง

และยิ่งถ้าระบบความคิดที่มีเหตุผลเป็นตัวนำกำลังต้องทำงานหนักและกำลังโอเวอร์โหลดอยู่ล่ะก็ อย่างเช่นเวลาที่เรากำลังเครียดจากงานอยู่ หรือเวลาที่จำเป็นต้องใช้สมองหนักๆ
เราจะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้น้อยลง

3. ยิ่งรู้จักเพื่อนหรือคนที่นอกใจเยอะ ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนเรานอกใจ
ถ้าเราว่ากันตามทฤษฎีของ Social norms หรือบรรทัดฐานของสังคมแล้ว ยิ่งมีคนที่ทำผิดกฎเยอะเท่าไร กฎก็จะไม่เป็นกฎอีกต่อไป และการทำผิดกฎก็จะไม่ทำให้เรารู้สึกผิด

ยกตัวอย่างเช่น คนที่ตกงานในเมืองที่ทุกคนมีงานทำ จะมีความรู้สึกเสียใจมากกว่าคนที่ตกงานในเมืองที่คนอื่นๆ ก็ตกงานเหมือนๆ กันกับเขา

เช่นเดียวกันกับการที่เรามีเพื่อนหรือคนที่รู้จักนอกใจเยอะๆ
ซึ่งการมีกลุ่มเปรียบเทียบอย่างนี้ ทำให้การนอกใจดูเป็นเรื่องธรรมดา
ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเราอาจจะมีความสุขในชีวิตคู่ของเราก็ตาม และยังเป็นเครื่องมือที่คนเรามักหยิบขึ้นมาใช้เป็นเหตุผลในการทำผิดของเราเอง (“คนอื่นๆ เขาก็ทำกัน ไม่เห็นเป็นอะไรเลย”)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่