สหรัฐฯ ยังปลื้มผลงานไทย! คงสถานะทรัพย์สินทางปัญญาในบัญชี WL
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คืนวันที่ 27 เมษายน 2561 ตามเวลาประเทศไทย ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ได้ประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญ ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) โดยในปีนี้ ประเทศไทยสามารถรักษาสถานะอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) ได้ต่อไป หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ปรับสถานะไทยให้ดีขึ้นจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็น WL เมื่อปลายปีที่แล้ว
ในการประกาศครั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ชื่นชมนโยบายและความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยหลายเรื่อง โดยเฉพาะการที่รัฐบาล โดยคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน ได้กำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทำให้การบรูณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจ เป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งทำให้การปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เอง สหรัฐฯ ได้ชื่นชมที่ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริดว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ และมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับรัฐบาลสหรัฐฯ และภาคเอกชนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งได้จัดทำรายงานพร้อมความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรส่งให้แก่ USTR ทำให้สหรัฐฯ ได้รับทราบถึงนโยบายและการดำเนินการต่าง ๆ และประเมินสถานะของไทยบนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
สำหรับประเทศที่สหรัฐฯ จัดให้อยู่ในบัญชี PWL ในปีนี้มี 12 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย อาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี จีน โคบัมเบีย อินเดีย อินโดนีเซีย คูเวต รัสเซีย ยูเครน และเวเนซูเอลา และประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชี WL มี 24 ประเทศ เช่น บราซิล เอกวาดอร์ อียิปต์ กรีซ เม็กซิโก ปากีสถาน เปรู โรมาเนีย ซาอุดิอารเบีย สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี เวียดนาม และไทย
ทั้งนี้ นายสนธิรัตน์ฯ ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวด้วยว่า ผลการจัดสถานะประจำปีนี้ถือว่าน่าพอใจ และขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานอย่างหนักมาโดยตลอด อาทิ กอ.รมน. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพเรือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมสรรพากร กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช. สำนักงาน ปปง. และสำนักงาน อย. เป็นต้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดีเช่นนี้ต่อไป
อนึ่ง ในการที่จะรักษาสถานะของไทยไว้ในบัญชี WL หรือผลักดันให้ไทยหลุดจากทุกบัญชีในอนาคตนั้น ยังคงมีสิ่งที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเฉพาะการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในทุกรูปแบบ การพัฒนาระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
ทั้งนี้ นอกจากการเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุนจากการจัดสถานะของสหรัฐฯ แล้ว การดำเนินการของไทยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเหมาะสมกับระดับการพัฒนาประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย และจูงใจให้คนไทยเข้าสู่ระบบการคุ้มครองและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้นักประดิษฐ์ นักคิด นักสร้างสรรค์ไทย เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา อันจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปอย่างมั่นคง ยั่งยืนต่อไป
http://www.thansettakij.com/content/277802
ปลื้ม! “บิ๊กตู่” พอใจสหรัฐถอดไทย พ้นบัญชีถูกจับตาพิเศษทรัพย์สินทางปัญญา หลังพยายามแก้10ปี
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พอใจผลการประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ที่สหรัฐฯ ได้เผยแพร่ออกมาล่าสุด โดยถอดประเทศไทยออกจากกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List-PWL) ให้อยู่ในกลุ่มบัญชีจับตาธรรมดา (Watch List : WL) หลังจากที่ไทยใช้ความพยายามในเรื่องนี้มาแล้วกว่า 10 ปี แต่ยังไม่สำเร็จ
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า นายกฯ ระบุว่า รัฐบาลนี้ได้ประกาศสงครามกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกรูปแบบ จึงส่งผลให้สหรัฐฯ ยอมรับในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา เช่น แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เพิ่มจำนวนผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า เพื่อลดปริมาณคำขอจดที่ค้างอยู่จำนวนมาก และลดเวลาจดให้ได้ตามมาตรฐานสากล สนับสนุนงบประมาณสำหรับเครื่องไม้เครื่องมือ และระบบ IT ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนสั่งการให้ ตำรวจ ทหาร กอ.รมน.DSI ปปง. กรมศุลกากร ทุกภาคมีส่วนร่วมกันป้องกันและปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่สำคัญ นายกฯมักจะกล่าวถึงเรื่องความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา และความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของรัฐบาลในแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนและเด็ดขาดอยู่บ่อยครั้งผ่านสื่อต่าง ๆ หรือเมื่อมีโอกาส
อย่างไรก็ตาม นายกฯ ยังฝากขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมผลักดันเรื่องนี้ โดยในครั้งนี้สหรัฐฯ ได้พิจารณาทบทวนและจัดทำ Out Of Cycle Review ให้กับประเทศไทยเพียงแห่งเดียว เพราะโดยปกติแล้วจะประกาศผลเพียงปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนเท่านั้น
https://www.prachachat.net/politics/news-88297
สิ่งดีๆที่รัฐบาลจัดให้ประเทศชาติ
ต้องปรบมือให้กำลังใจกันหน่อยค่ะ
💡👍~มาลาริน~ผลงานของรัฐบาลค่ะ...สหรัฐฯ ยังปลื้มผลงานไทย! คงสถานะทรัพย์สินทางปัญญาในบัญชี WLหลังพยายามแก้มา 10 ปี
สหรัฐฯ ยังปลื้มผลงานไทย! คงสถานะทรัพย์สินทางปัญญาในบัญชี WL
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คืนวันที่ 27 เมษายน 2561 ตามเวลาประเทศไทย ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ได้ประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญ ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) โดยในปีนี้ ประเทศไทยสามารถรักษาสถานะอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) ได้ต่อไป หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ปรับสถานะไทยให้ดีขึ้นจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็น WL เมื่อปลายปีที่แล้ว
ในการประกาศครั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ชื่นชมนโยบายและความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยหลายเรื่อง โดยเฉพาะการที่รัฐบาล โดยคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน ได้กำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทำให้การบรูณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจ เป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งทำให้การปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เอง สหรัฐฯ ได้ชื่นชมที่ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริดว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ และมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับรัฐบาลสหรัฐฯ และภาคเอกชนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งได้จัดทำรายงานพร้อมความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรส่งให้แก่ USTR ทำให้สหรัฐฯ ได้รับทราบถึงนโยบายและการดำเนินการต่าง ๆ และประเมินสถานะของไทยบนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
สำหรับประเทศที่สหรัฐฯ จัดให้อยู่ในบัญชี PWL ในปีนี้มี 12 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย อาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี จีน โคบัมเบีย อินเดีย อินโดนีเซีย คูเวต รัสเซีย ยูเครน และเวเนซูเอลา และประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชี WL มี 24 ประเทศ เช่น บราซิล เอกวาดอร์ อียิปต์ กรีซ เม็กซิโก ปากีสถาน เปรู โรมาเนีย ซาอุดิอารเบีย สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี เวียดนาม และไทย
ทั้งนี้ นายสนธิรัตน์ฯ ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวด้วยว่า ผลการจัดสถานะประจำปีนี้ถือว่าน่าพอใจ และขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานอย่างหนักมาโดยตลอด อาทิ กอ.รมน. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพเรือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมสรรพากร กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช. สำนักงาน ปปง. และสำนักงาน อย. เป็นต้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดีเช่นนี้ต่อไป
อนึ่ง ในการที่จะรักษาสถานะของไทยไว้ในบัญชี WL หรือผลักดันให้ไทยหลุดจากทุกบัญชีในอนาคตนั้น ยังคงมีสิ่งที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเฉพาะการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในทุกรูปแบบ การพัฒนาระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
ทั้งนี้ นอกจากการเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุนจากการจัดสถานะของสหรัฐฯ แล้ว การดำเนินการของไทยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเหมาะสมกับระดับการพัฒนาประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย และจูงใจให้คนไทยเข้าสู่ระบบการคุ้มครองและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้นักประดิษฐ์ นักคิด นักสร้างสรรค์ไทย เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา อันจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปอย่างมั่นคง ยั่งยืนต่อไป
http://www.thansettakij.com/content/277802
ปลื้ม! “บิ๊กตู่” พอใจสหรัฐถอดไทย พ้นบัญชีถูกจับตาพิเศษทรัพย์สินทางปัญญา หลังพยายามแก้10ปี
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พอใจผลการประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ที่สหรัฐฯ ได้เผยแพร่ออกมาล่าสุด โดยถอดประเทศไทยออกจากกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List-PWL) ให้อยู่ในกลุ่มบัญชีจับตาธรรมดา (Watch List : WL) หลังจากที่ไทยใช้ความพยายามในเรื่องนี้มาแล้วกว่า 10 ปี แต่ยังไม่สำเร็จ
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า นายกฯ ระบุว่า รัฐบาลนี้ได้ประกาศสงครามกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกรูปแบบ จึงส่งผลให้สหรัฐฯ ยอมรับในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา เช่น แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เพิ่มจำนวนผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า เพื่อลดปริมาณคำขอจดที่ค้างอยู่จำนวนมาก และลดเวลาจดให้ได้ตามมาตรฐานสากล สนับสนุนงบประมาณสำหรับเครื่องไม้เครื่องมือ และระบบ IT ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนสั่งการให้ ตำรวจ ทหาร กอ.รมน.DSI ปปง. กรมศุลกากร ทุกภาคมีส่วนร่วมกันป้องกันและปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่สำคัญ นายกฯมักจะกล่าวถึงเรื่องความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา และความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของรัฐบาลในแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนและเด็ดขาดอยู่บ่อยครั้งผ่านสื่อต่าง ๆ หรือเมื่อมีโอกาส
อย่างไรก็ตาม นายกฯ ยังฝากขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมผลักดันเรื่องนี้ โดยในครั้งนี้สหรัฐฯ ได้พิจารณาทบทวนและจัดทำ Out Of Cycle Review ให้กับประเทศไทยเพียงแห่งเดียว เพราะโดยปกติแล้วจะประกาศผลเพียงปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนเท่านั้น
https://www.prachachat.net/politics/news-88297
สิ่งดีๆที่รัฐบาลจัดให้ประเทศชาติ
ต้องปรบมือให้กำลังใจกันหน่อยค่ะ