กระทู้นี้จะแนะนำหนทางการเข้าสู่วงการมัคคุเทศก์ในแบบของตนเอง จากประสบการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้น. ซึ่งออกตัวก่อนเลยว่าปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว. และเป็นไกด์ฟรีแลนด์บ้าง ไม่ค่อยได้คลุกคลีกับวงการการท่องเที่ยวแล้ว. กระทู้นี้ของให้เป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆน้องๆที่มีความสนใจในวงการอาชีพนี้ และขอให้ประสบความสำเร็จกับสายงานที่เลือกนะคะ
นิวเข้ามาในวงการการท่องเที่ยวแบบบังเอิญก็ว่าได้ แต่จริงๆแล้วนิวอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมนี้มาตลอด แต่เราไม่เคยใส่ใจ. จนมาวันหนึ่งก็ก้าวเข้าสู่ประตูวิชาชีพ โดยการตัดสินใจเรียนท่องเที่ยว ด้วยเหตุผลที่ว่า “เรียนใกล้บ้าน และมีภาษาจีนที่ตนถนัด” และ ก็ใช้ชีวิตเรียบง่ายกับการเรียน. ไม่ได้ตื่นเต้น เพราะไม่ได้อินอะไรกับสาขาที่ลงเท่าไรนัก. แล้วก็ได้เข้ามาพบกับสายงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องตั้งแต่อยู่ปี 2 เท่านั้น มีชาวไต้หวันซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทนำเที่ยวท่านหนึ่ง เข้ามาที่มหาลัยเพื่อหานักศึกษาไปตามทัวร์เป็นลูกมือไกด์ โดยมีค่าแรงให้วันละ 500 เป็นเวลา 10 วัน แล้วนั้นคือครั้งแรกที่สัมผัสกับงานทำทัวร์. แล้วชีวิตก็เป็นไป
ด้วยที่เป็นคนที่พูดภาษาจีนค่อนข้างใช้ได้ เพราะเคยเรียนอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง. เจ้านายเห็นแวว เลยขอตัวไว้ทำงานต่อ. ณ เวลานั้นยังเรียนไม่จบในหลักสูตรท่องเที่ยว. ไม่มีบัตรไกด์ (บอกตรงๆเลยว่าก่อนเรียนไม่เคยทราบเลยว่าจบแล้วจะได้บัตรบอร์น ซึ่งถ้าอบรมเอง ต้องใช้เวลาอบรม 3 เดือน และค่าใช้จ่าย 39000 บาท) เพราะไม่มีบัตรเลยตามทัวร์ไปเรื่อยๆ ตอนนั้นได้ค่าแรงที่ 500 บาท (ไม่มีเงินเดือน ไม่มีสวัสดิการ) จากนั้นไม่ถึงปี. ตามทัวร์จนเริ่มชำนาญ พากษ์ทัวร์เองได้ และเริ่มหาวิธีสอบเข้าร่วมอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ เพื่อให้ได้บัตรมา ตอนนั้นยังไม่มีวุฒิ ป ตรี เลยไม่สามารถสอบบัตรบอร์นได้ (บัตรสำหรับนำเที่ยวต่างชาติทั่วประเทศ) และหาโครงการอบรมบัตรชมพูแทน (นำเที่ยวต่างชาติเฉพาะพื้นที่ ) จนได้เข้าโครงการของนิด้า อบรมเข้มข้นจนได้บัตรมา. นั่นคือจุดที่ทำให้ต้องมาเป็นมัคคุเทศก์ถึง 6 ปี
หลังจากได้บัตรไกด์มา นิวทำงานเป็น ด้วยเรทเงินค่าแรงที่ปรับขึ้น. ค่าแรงจะเรียกว่า ทิปไกด์ ไม่มีเงินเดือน ไม่มีสวัสดิการเช่นเดิม แต่อาชีพนี้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ นิวทำงานในฐานะไกด์บริษัท ได้ค่าแรงจากลูกค้า 300 / บาทต่อ 1 หัวลูกค้า เรทไกด์จีนซึ่งจะสูงกว่าภาษาอังกฤษ (เมื่อ 5 ปีก่อน) นิวทำรายได้เดือนหนึ่งมากกว่า 6 หมื่น ด้วยความที่เราเป็นคนที่เรียนในสาขานี้ และเห็นถึงความพัฒนาสามารถสอบบัตรไกด์มาได้. เจ้านายชาวไต้หวันจึงไว้ใจให้หาเด็กๆมาฝึกอีก นิวหาเด็กมาหลายรุ่น บ้างก็ได้ร่วมงานกัน บ้างก็แยกย้ายไปทำที่อื่น. แต่ทุกคนก็ได้เป็นมัคคุเทศก์อาชีพทั้งนั้น. บางคนซื้อบ้านซื้อรถภายใน 2 ปี รายได้เงินทองไม่ได้มาเพราะคำว่าไกด์รายได้ดี แต่มาจากความสามารถและความขยัน. คุณรู้ไหมว่าอาชีพนี้ต้องอดทน และความตั้งใจขนาดไหน เก่งอย่างเดียวทำไม่ได้ คุณต้องยิ้มเมื่อเจอลูกค้า ไม่ว่าบางครั้งน้ำตาตกใน. ตื่นเต้นทุกครั้งที่จะต้องเจอลูกค้ากลุ่มใหม่ และเสียวสันหลังทุกครั้งที่โดนคอมเพลน. ไกด์ต้องปีนเขา พายคายัก นั่งสปีด ไปเที่ยวนำเที่ยวแต่ที่เดิมๆ บางครั้งต้องมีปากเสียกับพนักงานโรงแรม แต่ลูกค้าคือพระเจ้าจริงๆ ต่อให้อยากบีบคอมันก้ทำไม่ได้. เลวร้ายที่สุดในชีวิตนิวที่เคยเจอ มี 2-3 เรื่อง เจอมนุษย์ป้าบ่นเรื่องรถมารับช้า บ่นจนอยากจะกระโดดลงจากรถเลยละคุณ 11 คน รุมพ้นน้ำลายใส่คุณ และมีบางคนดีกับไกด์มาก กลับประเทศไป คอมเพลนทุกอย่างก็เจอมาแล้ว. พฤติกรรมนักท่องเที่ยวแต่ละชาติต่างกัน. นำเที่ยวไม่สนุกเท่าลุ้นลูกค้าหรอกคุณ
แนะนำหนทางการเป็นมัคคุเทศก์อาชีพ(ไกด์) แบบเพื่อนบอกเพื่อน
นิวเข้ามาในวงการการท่องเที่ยวแบบบังเอิญก็ว่าได้ แต่จริงๆแล้วนิวอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมนี้มาตลอด แต่เราไม่เคยใส่ใจ. จนมาวันหนึ่งก็ก้าวเข้าสู่ประตูวิชาชีพ โดยการตัดสินใจเรียนท่องเที่ยว ด้วยเหตุผลที่ว่า “เรียนใกล้บ้าน และมีภาษาจีนที่ตนถนัด” และ ก็ใช้ชีวิตเรียบง่ายกับการเรียน. ไม่ได้ตื่นเต้น เพราะไม่ได้อินอะไรกับสาขาที่ลงเท่าไรนัก. แล้วก็ได้เข้ามาพบกับสายงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องตั้งแต่อยู่ปี 2 เท่านั้น มีชาวไต้หวันซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทนำเที่ยวท่านหนึ่ง เข้ามาที่มหาลัยเพื่อหานักศึกษาไปตามทัวร์เป็นลูกมือไกด์ โดยมีค่าแรงให้วันละ 500 เป็นเวลา 10 วัน แล้วนั้นคือครั้งแรกที่สัมผัสกับงานทำทัวร์. แล้วชีวิตก็เป็นไป
ด้วยที่เป็นคนที่พูดภาษาจีนค่อนข้างใช้ได้ เพราะเคยเรียนอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง. เจ้านายเห็นแวว เลยขอตัวไว้ทำงานต่อ. ณ เวลานั้นยังเรียนไม่จบในหลักสูตรท่องเที่ยว. ไม่มีบัตรไกด์ (บอกตรงๆเลยว่าก่อนเรียนไม่เคยทราบเลยว่าจบแล้วจะได้บัตรบอร์น ซึ่งถ้าอบรมเอง ต้องใช้เวลาอบรม 3 เดือน และค่าใช้จ่าย 39000 บาท) เพราะไม่มีบัตรเลยตามทัวร์ไปเรื่อยๆ ตอนนั้นได้ค่าแรงที่ 500 บาท (ไม่มีเงินเดือน ไม่มีสวัสดิการ) จากนั้นไม่ถึงปี. ตามทัวร์จนเริ่มชำนาญ พากษ์ทัวร์เองได้ และเริ่มหาวิธีสอบเข้าร่วมอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ เพื่อให้ได้บัตรมา ตอนนั้นยังไม่มีวุฒิ ป ตรี เลยไม่สามารถสอบบัตรบอร์นได้ (บัตรสำหรับนำเที่ยวต่างชาติทั่วประเทศ) และหาโครงการอบรมบัตรชมพูแทน (นำเที่ยวต่างชาติเฉพาะพื้นที่ ) จนได้เข้าโครงการของนิด้า อบรมเข้มข้นจนได้บัตรมา. นั่นคือจุดที่ทำให้ต้องมาเป็นมัคคุเทศก์ถึง 6 ปี
หลังจากได้บัตรไกด์มา นิวทำงานเป็น ด้วยเรทเงินค่าแรงที่ปรับขึ้น. ค่าแรงจะเรียกว่า ทิปไกด์ ไม่มีเงินเดือน ไม่มีสวัสดิการเช่นเดิม แต่อาชีพนี้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ นิวทำงานในฐานะไกด์บริษัท ได้ค่าแรงจากลูกค้า 300 / บาทต่อ 1 หัวลูกค้า เรทไกด์จีนซึ่งจะสูงกว่าภาษาอังกฤษ (เมื่อ 5 ปีก่อน) นิวทำรายได้เดือนหนึ่งมากกว่า 6 หมื่น ด้วยความที่เราเป็นคนที่เรียนในสาขานี้ และเห็นถึงความพัฒนาสามารถสอบบัตรไกด์มาได้. เจ้านายชาวไต้หวันจึงไว้ใจให้หาเด็กๆมาฝึกอีก นิวหาเด็กมาหลายรุ่น บ้างก็ได้ร่วมงานกัน บ้างก็แยกย้ายไปทำที่อื่น. แต่ทุกคนก็ได้เป็นมัคคุเทศก์อาชีพทั้งนั้น. บางคนซื้อบ้านซื้อรถภายใน 2 ปี รายได้เงินทองไม่ได้มาเพราะคำว่าไกด์รายได้ดี แต่มาจากความสามารถและความขยัน. คุณรู้ไหมว่าอาชีพนี้ต้องอดทน และความตั้งใจขนาดไหน เก่งอย่างเดียวทำไม่ได้ คุณต้องยิ้มเมื่อเจอลูกค้า ไม่ว่าบางครั้งน้ำตาตกใน. ตื่นเต้นทุกครั้งที่จะต้องเจอลูกค้ากลุ่มใหม่ และเสียวสันหลังทุกครั้งที่โดนคอมเพลน. ไกด์ต้องปีนเขา พายคายัก นั่งสปีด ไปเที่ยวนำเที่ยวแต่ที่เดิมๆ บางครั้งต้องมีปากเสียกับพนักงานโรงแรม แต่ลูกค้าคือพระเจ้าจริงๆ ต่อให้อยากบีบคอมันก้ทำไม่ได้. เลวร้ายที่สุดในชีวิตนิวที่เคยเจอ มี 2-3 เรื่อง เจอมนุษย์ป้าบ่นเรื่องรถมารับช้า บ่นจนอยากจะกระโดดลงจากรถเลยละคุณ 11 คน รุมพ้นน้ำลายใส่คุณ และมีบางคนดีกับไกด์มาก กลับประเทศไป คอมเพลนทุกอย่างก็เจอมาแล้ว. พฤติกรรมนักท่องเที่ยวแต่ละชาติต่างกัน. นำเที่ยวไม่สนุกเท่าลุ้นลูกค้าหรอกคุณ