ปีที่แล้วได้มีโอกาสไปอบรมไกด์ ได้บัตรไกด์สีบรอนซ์เงินมาครอบครองเป็นที่เรียบร้อย กับเวลา เงิน และแรงที่ได้ทำลงไป ชีวิตเปลี่ยนไปหลายอย่าง มานั่งนึกย้อนๆ ดูแล้ว ก็อยากบอกว่า ประสบการณ์การไปอบรมไกด์ครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต วันนี้ว่างๆ เลยอยากจะมาแชร์ให้ได้อ่านกัน เผื่อว่ามีใครสนใจ หรืออยากรู้ว่าถ้าอยากเป็นไกด์มันต้องทำอะไร มันเป็นยังไง และจะเป็นดีไหม กระทู้นี้มีคำตอบ
ก่อนอื่นเลย คือเป็นคนที่เดินทางบ่อย หาเงินมาได้ก็เที่ยวกระจุย พอเที่ยวไปสักพักเริ่มสนใจอาชีพไกด์ขึ้นมา ณ ตอนนั้นที่คิดจะอบรมไกด์ ก็ภาษาอังกฤษคุยได้ระดับนึง ไม่เก่ง แต่ไม่แย่ ความรู้ประวัติศาสตร์ไทยได้มากกว่ามาตราฐานคนไทยทั่วไปพอควรเพราะชอบอ่านด้านนี้มากอยู่ แต่ไม่เคยพาใครเที่ยวเมืองไทยซักที เลยเสริชๆ ดูว่าต้องอะไรยังไงบ้าง โดยไกด์ที่คนไทยเรียกๆ กันติดปากน่ะ แบ่งเป็น
1. อินบาว
2. เอ้าบาว
ในส่วนของอินบาว แบ่งเป็นสองอย่างอีก คือ การพานักท่องเที่ยวเที่ยวเมืองไทย แบ่งเป็น พาคนไทยเที่ยวไทยด้วยภาษาไทย และพาต่างชาติเที่ยวไทย ด้วยภาษาอื่นๆ
ส่วนเอ้าบาวนั้นกลับกัน คือ เป็นคนไทยที่พาคนไทยไปเที่ยวเมืองนอก โดยมีไกด์ที่เมืองนอกอีกทีคอยเป็นคนให้ข้อมูลกับเรา ซึ่งจริงๆ คือผู้นำเทียว หรือ หัวหน้าทัวร์ หรือผู้นำทัวร์ ก็สุดแต่จะเรียก แต่นักท่องเที่ยวไทย ล้วนเรียกไกด์ เช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้ ขออนุญาตข้ามไป เพราะเมื่อเราเรียบจบ สอบผ่านได้บัตรไกด์สีบอรนซ์เงินมาแล้ว เราจะสามารถมีบัตรผู้นำเที่ยวได้โดยปริยายอีก 1 ใบโดยไม่ต้องไปอบรมหรือสอบอะไรใดๆ
ขออนุญาติกลับมาที่อินบาว บัตรไกด์นั้นบังคับให้ไกด์ทุกคนต้องมีและต้องห้อยบัตรเสมอ (ไม่แสดงบัตร มีโทษปรับ) และมีหลายประเภทมากๆ ทั้งไกด์เฉพาะทาง (เดินป่า, ดำน้ำฯลฯ) และไกด์ทั่วไป หรือมัคคุเทศก์ทั่วไป ซึ่งก็คือบัตรสีบรอนซ์เงินที่กำลังจะไปอบรมนี้เอง
ก่อนอื่นพอแน่ใจแล้วว่าเอออยากเป้นไกด์ก็ลองหาดูว่าทำยังไงจะได้เป็นไกด์ ซึ่งนั่นก็คือต้องไปสมัครเข้าสอบเพื่อไปอบรมกับสถาบันที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการท่องเที่ยว ซึ่งโดยมากเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ เช่นตามมหาวิทยาลัย มีทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงราชภัฏบางแห่ง แต่ละสถาบันเปิดรับสมัครปีละ 1 ครั้ง (โดยมากจะเปิดราวๆ ปีครึ่งต่อ 1 ครั้ง)
แต่... เราจะเลือกเรียนที่ไหนดี?
ตอนแรกก็ถามตัวเองด้วยคำนี้เหมือนกัน มีหลายสถานบันมากๆ เปิดสอน แต่สุดท้ายเราเลือก มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของรัฐแห่งหนึ่ง อาจจะเพราะเป็นดวงก็ได้ เพราะว่าเปิดรับสมัครในช่วงที่สนใจพอดีก็เลยลองสมัครไป
ค่าสมัครสอบ 500 บาท ใช้รูปถ่าย สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาน สำเนาวุฒิการศึกษาระดับ ป.ตรี (และยังมีระเบียบเขียนไว้ว่าให้แสดงวุฒิตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ดูด้วย ป้องกันการใช้วุฒิปลอม) ตอนสมัครนี่ในใจนึกแต่ว่า ถ้าสอบไม่ติดก็เสีย 500ฟรีๆ สินะ แต่วันไปสมัคร เจ้าหน้าที่มีการบอกว่ามีเพื่อนก็ชวนๆ กันมานะ พักนี้คนสมัครน้อยลงมาก ไม่รู้ทำไม ฟังแล้วก็เออนั่นสิ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน เพราะสำหรับเรา ไกด์นี่น่าสนุกดีออก
วันสอบ ประกอบไปด้วย ข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ ข้อเขียนก็คือมีคำถามมาให้พร้อมตัวเลือก 4 ตัว ร้อยข้อ คำถามประมาณวิชาความเป็นไทย เช่น เทือกเขาอะไรกั้นภาคอีสานกับบลาๆๆ, ดอกไม้ประจำประเทศไทยคือดอกอะไร คำถามประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมอะไรทำนองนั้น ส่วนสอบสัมภาษณ์นี่เหมือนเทสภาษา เพราะว่าให้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ ถามไทยแต่ให้อังกฤษกลับมา ถ้าเป็นภาษาที่สามก็ให้พูดให้ฟังด้วย
ตอนที่กลับจากวันสอบนี่ในใจคิดว่าน่าจะสอบได้แหละ เพราะเขาดูเหมือนอยากให้โอกาสทุกคนได้เข้าไปอบรม แล้วก็เป็นไปตามคาด คือผ่านเข้ามาแบบสบายๆ แต่เพิ่งมารู้ทีหลังว่าสอบเข้าได้ ไม่ได้หมายความว่าจะเรียนจบทุกคนนะคะ ถ้าสอบจบคะแนนไม่ถึง ก็ไม่ผ่าน ไม่ผ่านก็คือจบเหมือนกัน คือจบสิ้นกันที อยากได้บัตรไกด์หรอ... สอบใหม่ ลงเรียนใหม่ เสียเงินใหม่อีกรอบไงเธอ..
หลังจากสอบเข้าไปแล้วเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้นก็คือไปจ่ายค่าเทอม รู้สึกคล้ายกลับไปสมัยวัยรุ่นอีกครั้ง ต้องไปโอนเงินจ่ายค่าเทอม สิริรวมก็อยู่ที่ 39xxxบาท ตรงนี้เรารู้ข้อมูลแต่แรกแล้ว เข้าใจว่ามีการบังคับไว้ เพราะค่าเรียนแต่ละสถาบันใกล้เคียงกัน ต่างกันไม่เกิน 500 บาท ทุกแห่งจะของรัฐหรือเอกชนก็ตาม
ในที่สุดวันเปิดอบรมก็มาถึง วันนั้นจำได้ว่าตื่นเต้น อารมณ์แบบเหมือนตอนเด็กๆ ที่ย้ายไปเรียนโรงเรียนใหม่วันแรก ตื่นเช้ามาก(เห่อ) ไปถึงแต่เช้า ไปถึงก็ได้รับแจกเป็นบัตรประจำตัวผู้เข้ารับการอบรม ให้คล้องคอ และมีกฎว่าต้องคล้องบัตรทุกวันที่มาอบรม รวมทั้งเวลาไปออกทริปภาคสนาม วันแรกนี่คือเป็นการไปเพื่อรับทราบกฎระเบียบมากมายล้วนๆ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำก็คือ
1. การเรียน 1 ครั้ง เท่ากับ 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง พักเบรก 10 นาที และห้ามขาดเกินกว่า 10 ครั้ง เป็นอันขาด (จะขาด ลา ป่วย ลากิจ นับหมด)
2. มีสอบกลางภาค 1 ครั้ง และสอบปลายภาค 1 ครั้ง แบ่งเป็นสามวิชา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาทางประวัติศาสตร์ และวิชาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของไกด์ เมื่อเรียบครบหมดและสอบปลายภาคแล้วคะแนนรวมกับกลางภาคแล้วยังไม่ถึง 70% ก็คือสอบตก สามารถสอบซ่อมได้ แต่ ซ่อมได้ไม่เกิน 2 วิชา ถ้าตกทั้ง 3 วิชา ถือว่าเรียนไม่จบ
3. มีการออกทริปภาคสนามแบบไปเช้ากลับเย็น 2 หน แบบไปค้างคืน 2-3คืนรวม 3 หน ห้ามขาดเป็นอันขาด
4. ผู้ที่ไม่เคยขาดเรียน ไม่เคยมีประวัติเสียหาย และสอบผ่านหมด จะได้รับประกาศนียบัตรพิเศษเพิ่มด้วย (ดีจัง แต่เสียดายเราไม่ได้ ต้องหยุดเรียนไปธุระ)
เมื่อรับทราบข้อกำหนดต่างๆ แล้วก็ถึงเวลาแนะนำตัวกัน อยากบอกว่าเป็นอะไรตื่นตามาก เพราะว่าหลายคนอ้าปากปุ๊บนี่เรารู้เลยว่าไม่ธรรมดา ในแง่ของการใช้ภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เพราะถ้าคนไทยพูดภาษาที่สามได้ จะถูกขอให้แนะนำตัวเป็นภาษานั้นๆ ด้วย ในรุ่นที่เราเรียนมีครบทั้ง เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น บางคนนี่พูดได้ประโยคเดียวก็รู้แล้วว่าภาษาขั้นเทพมาก แม้ว่าเราจะฟังไม่ออกก็ตาม และก็ยังมีหลายคนที่มาด้วยภาษาอังกฤษล้วนๆ ซึ่งมีทั้งเก่งมากๆ ทั้งสำเนียงเปะแบบฝรั่งเลยก็มี เลยไปจนถึงคนที่แทบพูดอังกฤษไม่ค่อยจะได้ ก็มีเช่นกัน
ซึ่ง ณ ตอนนั้นเรายังไม่คิดอะไรมาก ได้แต่ชื่นชมว่าเออมีคนเก่งๆ เยอะแยะเลยนะ แต่เพิ่งมาคิดได้ตอนมีบัตรได์แล้ว ว่าการพูดภาษาที่สามได้มันสำคัญกับอาชีพนี้มากมายขนาดไหน อ้อ เพื่อนร่วมชั้นมีตั้งแต่วัย22+ คือเพิ่งจบ ป. ตรี เลยไปจนถถึง 60+ คือเข้าใจว่าเกษียณแล้วอยากอะไรทำมากกว่าจะไปเป็นไกด์จริงๆ
มาถึงตรงนี้ขออนุญาติเพิ่มข้อมูลสำหรับคนที่สนใจจะเป็นไกด์ คุณสมบัติสำคัญ มากๆ ของไกด์ ที่คุณต้องมีนี่ เราได้เรียนรู้จากการอบรมในคาบแรกๆ เลย นั่นคือมีคนถามวิทยากร ซึ่งเป็นไกด์ที่เกษียณแล้ว ว่าหัวใจสำคัญที่ทำให้มีคนจ้างงานเราไปเป็นไกด์ไม่มีขาดคืออะไร ในใจเรานั้นนึกว่าคำตอบคือ มีความรู้ดี บลาๆ แต่เขากลับตอบว่า "ผมไม่เคยป่วย ไม่เคยสาย"
ตอนนั้นถึงคิดได้ว่าเออจริงแหะ ข้อมูลดีนั้น เรียนรู้และศึกษากันได้ แต่คนไม่แข็งแรง เจอแดดประเทศไทยกลางแจ้งแทบทุกวัน (หรือคนแข็งแรงก็เถอะ) ป่วยบ่อยๆ ใครจะจ้างงาน และอีกอย่างคือคนมาสาย ใครจะจ้าง ดังนั้นคุณต้องแน่ใจว่าจะไม่ป่วย (หรือป่วยก็ต้องทำงานไหว) และไม่มีนิสัยมาสาย แม้แต่มาตรงเวลาก็ไม่มี มีแต่มาก่อนเวลาเท่านั้นสำหรับอาชีพนี้
ตลอดช่วงเวลาที่ไปอบรมคล้ายได้ปรับตัว ด้วยช่วงอายุ, ประสบการณ์, ความถนัดเฉพาะด้านแต่ละคนแตกต่างกันมากๆ แต่มาเจอกันบ่อยๆ เข้าก็เริ่มจับกลุ่ม ตั้งแก๊งกันจนอดนึกถึงช่วงเป็นวัยรุ่นขึ้นมาไม่ได้ บรรยากาศแบบนั้นมันกลับมาอีก แตกต่างตรงที่ความหลากหลาย ยิ่งเมื่อได้ไปออกทริปไปต่างจังหวัดด้วยกันแล้วก็ยิ่งมีแต่จะสนุกมากขึ้นไปอีก ตอนแรกคิดว่าโหดจังบังคับไปต่างจังหวตั้งหลายทริป แต่พอถึงเวลาเข้าจริงกลายเป็นใจจรดจ่ออยากให้ถึงวันออกทริปเร็วๆ
ช่วงออกทริปต่างจังหวัดก็เป็นอะไรที่สนุกมาก คือเราได้เพื่อนใหม่มากมายยังไม่พอ ได้ไปเที่ยวแบบหาความรู้เข้าสมองในระหว่างที่มีการฝึกงานไกด์อยู่เล็กๆ น้อยๆ เชช่น ให้ออกไปพูดหน้าบัส สมมติว่าเราเป้นไกด์ เราจะพูดอะไรทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (และบางคนแถมภาษาที่สามให้) ช่วงนี้เองที่ยืนยันได้เต็มปากเลยว่ามันทำให้การอบรมนี้คุ้มค่า คือได้รู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่เที่ยวดังๆ ยิ่งถ้าคนที่ไม่ค่อยได้เที่ยวไทย คราวนี้ก็ไปกันชุ่มปอด อย่างอยุธยาวัดดังๆ นี่ ไปแน่นอน สุโขทัยเมืองประวัติศาสตร์อะไรทำนองนั้น ข้อสำคัญคือเวลาเรามีความสุขกับมัน เราจะไม่รู้สึกว่ามันคือการทำงาน หรือว่ากำลังเรียนหนังสืออยู่ แต่เป็นอะไรที่เราอยากทำมันต่อไปอีกด้วยความเต็มใจ
เขียนมายาวแล้ว ไม่รู้จะมีใครอ่านบ้างรึเปล่า เอาเป็นว่าขอสรุปเลยแล้วกัน
สิ่งที่ได้เมื่อจบการอบรม
1. บัตรมัคคุเทศก์สีบรอนซ์เงิน หมายถึงสามารถพาคนไทยเที่ยวไทย หรือพาต่างชาติเที่ยวได้ทั่วราชอาณาจักรไทย แถมได้บัตรผู้นำเที่ยว สามารถพาคนไทยเที่ยวเมืองนอกได้ด้วย
2. ภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ไม่ว่าเลเวลอังกฤษตอนเริ่มแรกอบรมจะเป็นยังไงก็ตาม เราเชื่อว่าภาษาของคุณจะดีขึ้นจริงๆ กล้าพูด กล้าคุยมากขึ้นด้วย
3. ได้เพื่อนใหม่ ข้อนี้ขออนุญาติแนะนำ สำหรับคนที่มองหาโอกาสในอาชีพไกด์ ขอบอกตรงๆ เลยว่า... เพื่อนนี่ละ คือคนที่จะหางานไกด์ให้คุณในอนาคต ดังนั้น ไม่ว่ายังไงก็ตาม สร้างมิตรให้มาก โดยเฉพาะมิตรที่อยู่ในวงการท่องเที่ยว
4. ได้เที่ยวเมืองไทย ครบหมด ทุกเมืองสำคัญ ลพบุรี อยุธยา สุโขทัย เชียงใหม่ เชียงรายฯลฯ (อันนี้แล้วแต่หลักสูตรของแต่ละสถาบัน)
5. ได้แฟน ฮ่าๆ อันนี้บางคนได้นะ แต่ส่วนมากไม่ได้
ส่วนลักษณะที่ไม่แนะนำให้มาอบรมไกด์ ก็คือ ถ้าคุณเป็นคนที่...
-ไม่ชอบตากแดด แดดประเทศไทยก็รู้อยู่ร้อนขนาดไหน ฉันไม่ยอมผิวเสียหรอก
-พูดจาไม่รู้เรื่อง คือมีเรื่องอยากสื่อ แต่พูดออกมายาวมาก คนฟังกลับไม่เข้าใจ
-ตัดสินใจไม่ได้ ย้ำคิดย้ำทำ เพราะไกด์คือผู้นำการท่องเที่ยว จะพาคนอื่นไปเที่ยว ถ้าคุณไม่มีภาวะผู้นำ คุณทำไม่ได้นะคะ
-สุขภาพไม่ดี
-ไม่ตรงต่อเวลาเป็นนิสัยดั้งเดิม
เพิ่มเติมให้อีกอย่าง ถ้าคุณเป็นคนแบบที่ อังกฤษ อ่าน เขียน คล่องเปะตรงแกรมม่า แต่พูดได้งูๆ ปลาๆ แต่อยากทำไกด์ภาษาอังกฤษ อันนี้ก็ยากเช่นกัน ควรไปฝึกทักษะทางภาษามาก่อนจะเหมาะกว่า มีบัตรแล้วไปทำงานไกด์ แล้วพูดไม่ได้ จะโดนคอมเพลน แล้วจะไม่มีใครจ้างงานอีกได้
อ้อ... ความจริงอันน่าตกใจคือ...
-มีราว 10% ผู้เข้าอบรมไกด์เท่านั้น ที่จะไปทำอาชีพไกด์จริงๆ ที่เหลือก็เลิกๆ ไป
-ภาษาที่สาม ไม่มีตกงาน ถ้าพูดภาษาที่สามได้ งานไกด์ขาดแคลนอย่างหนัก ขณะที่ไกด์ภาษาอังกฤษมีมากมาย (เพราะคนพูดภาษาที่สามได้ก็พูดอังกฤษได้เช่นกัน)
อยากบอกว่า...
-ถ้าจะมาเป็นไกด์เพราะอยากรวย ขอให้รู้ไว้เลยว่า ก็เหมือนอาชีพอื่นๆ นั่นล่ะ กว่าจะไปถึงจุดที่หาเงินได้เดือนละมากๆ นั้น มันไม่ใช่ง่ายๆ เลย
-อย่าคิดว่า ฉันเก่งอังกฤษ ไม่รู้จะทำอะไร ไปเป็นไกด์ดีกว่า แบบนี้มักทำได้ไม่นานก็เลิกไปเอง เพราะสุดท้ายอาชีพไกด์ก็เหมือนอาชีพอื่นๆ (อีกนั่นละ) คือถ้าไม่มีใจรักก็ไม่สนุกที่จะทำ และพูดอังกฤษคล่อง มีบัตรไกด์ก็ไม่ได้แปลว่าจะหางานได้เสมอ
เคยมีนักท่องเที่ยวถามไกด์มือเก๋าๆ ว่าทำยังไงจะได้เป็นไกด์ เขาตอบว่า "ก็มีบัตรไกด์ และมีเส้น"
สุดท้ายอยากบอกว่า...
*ถ้าคิดอยากเป็นไกด์ แต่ไม่รู้ว่าเราจะเหมาะกับอาชีพนี้ไหม อยากให้ลงทุนด้วยเงินสี่หมื่นบาทนี้ดู เมื่ออบรมจบแล้วได้บัตรไกด์มาใบนึง แล้วคุณจะรู้ว่าจะไปต่อดีหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะเป็นไกด์หรือไม่ก็ตาม เรายังยืนยันว่าเป็นการหาประสบการณ์ที่คุ้มค่าเงินมากกว่าที่คิดจริงๆ*
สุดท้ายหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจค่ะ
แช์ประสบการณ์ อบรมไกด์ เวลาหลายเดือนกับเงินสี่หมื่นได้อะไรกลับมามาดูกัน
ก่อนอื่นเลย คือเป็นคนที่เดินทางบ่อย หาเงินมาได้ก็เที่ยวกระจุย พอเที่ยวไปสักพักเริ่มสนใจอาชีพไกด์ขึ้นมา ณ ตอนนั้นที่คิดจะอบรมไกด์ ก็ภาษาอังกฤษคุยได้ระดับนึง ไม่เก่ง แต่ไม่แย่ ความรู้ประวัติศาสตร์ไทยได้มากกว่ามาตราฐานคนไทยทั่วไปพอควรเพราะชอบอ่านด้านนี้มากอยู่ แต่ไม่เคยพาใครเที่ยวเมืองไทยซักที เลยเสริชๆ ดูว่าต้องอะไรยังไงบ้าง โดยไกด์ที่คนไทยเรียกๆ กันติดปากน่ะ แบ่งเป็น
1. อินบาว
2. เอ้าบาว
ในส่วนของอินบาว แบ่งเป็นสองอย่างอีก คือ การพานักท่องเที่ยวเที่ยวเมืองไทย แบ่งเป็น พาคนไทยเที่ยวไทยด้วยภาษาไทย และพาต่างชาติเที่ยวไทย ด้วยภาษาอื่นๆ
ส่วนเอ้าบาวนั้นกลับกัน คือ เป็นคนไทยที่พาคนไทยไปเที่ยวเมืองนอก โดยมีไกด์ที่เมืองนอกอีกทีคอยเป็นคนให้ข้อมูลกับเรา ซึ่งจริงๆ คือผู้นำเทียว หรือ หัวหน้าทัวร์ หรือผู้นำทัวร์ ก็สุดแต่จะเรียก แต่นักท่องเที่ยวไทย ล้วนเรียกไกด์ เช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้ ขออนุญาตข้ามไป เพราะเมื่อเราเรียบจบ สอบผ่านได้บัตรไกด์สีบอรนซ์เงินมาแล้ว เราจะสามารถมีบัตรผู้นำเที่ยวได้โดยปริยายอีก 1 ใบโดยไม่ต้องไปอบรมหรือสอบอะไรใดๆ
ขออนุญาติกลับมาที่อินบาว บัตรไกด์นั้นบังคับให้ไกด์ทุกคนต้องมีและต้องห้อยบัตรเสมอ (ไม่แสดงบัตร มีโทษปรับ) และมีหลายประเภทมากๆ ทั้งไกด์เฉพาะทาง (เดินป่า, ดำน้ำฯลฯ) และไกด์ทั่วไป หรือมัคคุเทศก์ทั่วไป ซึ่งก็คือบัตรสีบรอนซ์เงินที่กำลังจะไปอบรมนี้เอง
ก่อนอื่นพอแน่ใจแล้วว่าเอออยากเป้นไกด์ก็ลองหาดูว่าทำยังไงจะได้เป็นไกด์ ซึ่งนั่นก็คือต้องไปสมัครเข้าสอบเพื่อไปอบรมกับสถาบันที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการท่องเที่ยว ซึ่งโดยมากเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ เช่นตามมหาวิทยาลัย มีทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงราชภัฏบางแห่ง แต่ละสถาบันเปิดรับสมัครปีละ 1 ครั้ง (โดยมากจะเปิดราวๆ ปีครึ่งต่อ 1 ครั้ง)
แต่... เราจะเลือกเรียนที่ไหนดี?
ตอนแรกก็ถามตัวเองด้วยคำนี้เหมือนกัน มีหลายสถานบันมากๆ เปิดสอน แต่สุดท้ายเราเลือก มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของรัฐแห่งหนึ่ง อาจจะเพราะเป็นดวงก็ได้ เพราะว่าเปิดรับสมัครในช่วงที่สนใจพอดีก็เลยลองสมัครไป
ค่าสมัครสอบ 500 บาท ใช้รูปถ่าย สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาน สำเนาวุฒิการศึกษาระดับ ป.ตรี (และยังมีระเบียบเขียนไว้ว่าให้แสดงวุฒิตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ดูด้วย ป้องกันการใช้วุฒิปลอม) ตอนสมัครนี่ในใจนึกแต่ว่า ถ้าสอบไม่ติดก็เสีย 500ฟรีๆ สินะ แต่วันไปสมัคร เจ้าหน้าที่มีการบอกว่ามีเพื่อนก็ชวนๆ กันมานะ พักนี้คนสมัครน้อยลงมาก ไม่รู้ทำไม ฟังแล้วก็เออนั่นสิ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน เพราะสำหรับเรา ไกด์นี่น่าสนุกดีออก
วันสอบ ประกอบไปด้วย ข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ ข้อเขียนก็คือมีคำถามมาให้พร้อมตัวเลือก 4 ตัว ร้อยข้อ คำถามประมาณวิชาความเป็นไทย เช่น เทือกเขาอะไรกั้นภาคอีสานกับบลาๆๆ, ดอกไม้ประจำประเทศไทยคือดอกอะไร คำถามประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมอะไรทำนองนั้น ส่วนสอบสัมภาษณ์นี่เหมือนเทสภาษา เพราะว่าให้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ ถามไทยแต่ให้อังกฤษกลับมา ถ้าเป็นภาษาที่สามก็ให้พูดให้ฟังด้วย
ตอนที่กลับจากวันสอบนี่ในใจคิดว่าน่าจะสอบได้แหละ เพราะเขาดูเหมือนอยากให้โอกาสทุกคนได้เข้าไปอบรม แล้วก็เป็นไปตามคาด คือผ่านเข้ามาแบบสบายๆ แต่เพิ่งมารู้ทีหลังว่าสอบเข้าได้ ไม่ได้หมายความว่าจะเรียนจบทุกคนนะคะ ถ้าสอบจบคะแนนไม่ถึง ก็ไม่ผ่าน ไม่ผ่านก็คือจบเหมือนกัน คือจบสิ้นกันที อยากได้บัตรไกด์หรอ... สอบใหม่ ลงเรียนใหม่ เสียเงินใหม่อีกรอบไงเธอ..
หลังจากสอบเข้าไปแล้วเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้นก็คือไปจ่ายค่าเทอม รู้สึกคล้ายกลับไปสมัยวัยรุ่นอีกครั้ง ต้องไปโอนเงินจ่ายค่าเทอม สิริรวมก็อยู่ที่ 39xxxบาท ตรงนี้เรารู้ข้อมูลแต่แรกแล้ว เข้าใจว่ามีการบังคับไว้ เพราะค่าเรียนแต่ละสถาบันใกล้เคียงกัน ต่างกันไม่เกิน 500 บาท ทุกแห่งจะของรัฐหรือเอกชนก็ตาม
ในที่สุดวันเปิดอบรมก็มาถึง วันนั้นจำได้ว่าตื่นเต้น อารมณ์แบบเหมือนตอนเด็กๆ ที่ย้ายไปเรียนโรงเรียนใหม่วันแรก ตื่นเช้ามาก(เห่อ) ไปถึงแต่เช้า ไปถึงก็ได้รับแจกเป็นบัตรประจำตัวผู้เข้ารับการอบรม ให้คล้องคอ และมีกฎว่าต้องคล้องบัตรทุกวันที่มาอบรม รวมทั้งเวลาไปออกทริปภาคสนาม วันแรกนี่คือเป็นการไปเพื่อรับทราบกฎระเบียบมากมายล้วนๆ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำก็คือ
1. การเรียน 1 ครั้ง เท่ากับ 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง พักเบรก 10 นาที และห้ามขาดเกินกว่า 10 ครั้ง เป็นอันขาด (จะขาด ลา ป่วย ลากิจ นับหมด)
2. มีสอบกลางภาค 1 ครั้ง และสอบปลายภาค 1 ครั้ง แบ่งเป็นสามวิชา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาทางประวัติศาสตร์ และวิชาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของไกด์ เมื่อเรียบครบหมดและสอบปลายภาคแล้วคะแนนรวมกับกลางภาคแล้วยังไม่ถึง 70% ก็คือสอบตก สามารถสอบซ่อมได้ แต่ ซ่อมได้ไม่เกิน 2 วิชา ถ้าตกทั้ง 3 วิชา ถือว่าเรียนไม่จบ
3. มีการออกทริปภาคสนามแบบไปเช้ากลับเย็น 2 หน แบบไปค้างคืน 2-3คืนรวม 3 หน ห้ามขาดเป็นอันขาด
4. ผู้ที่ไม่เคยขาดเรียน ไม่เคยมีประวัติเสียหาย และสอบผ่านหมด จะได้รับประกาศนียบัตรพิเศษเพิ่มด้วย (ดีจัง แต่เสียดายเราไม่ได้ ต้องหยุดเรียนไปธุระ)
เมื่อรับทราบข้อกำหนดต่างๆ แล้วก็ถึงเวลาแนะนำตัวกัน อยากบอกว่าเป็นอะไรตื่นตามาก เพราะว่าหลายคนอ้าปากปุ๊บนี่เรารู้เลยว่าไม่ธรรมดา ในแง่ของการใช้ภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เพราะถ้าคนไทยพูดภาษาที่สามได้ จะถูกขอให้แนะนำตัวเป็นภาษานั้นๆ ด้วย ในรุ่นที่เราเรียนมีครบทั้ง เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น บางคนนี่พูดได้ประโยคเดียวก็รู้แล้วว่าภาษาขั้นเทพมาก แม้ว่าเราจะฟังไม่ออกก็ตาม และก็ยังมีหลายคนที่มาด้วยภาษาอังกฤษล้วนๆ ซึ่งมีทั้งเก่งมากๆ ทั้งสำเนียงเปะแบบฝรั่งเลยก็มี เลยไปจนถึงคนที่แทบพูดอังกฤษไม่ค่อยจะได้ ก็มีเช่นกัน
ซึ่ง ณ ตอนนั้นเรายังไม่คิดอะไรมาก ได้แต่ชื่นชมว่าเออมีคนเก่งๆ เยอะแยะเลยนะ แต่เพิ่งมาคิดได้ตอนมีบัตรได์แล้ว ว่าการพูดภาษาที่สามได้มันสำคัญกับอาชีพนี้มากมายขนาดไหน อ้อ เพื่อนร่วมชั้นมีตั้งแต่วัย22+ คือเพิ่งจบ ป. ตรี เลยไปจนถถึง 60+ คือเข้าใจว่าเกษียณแล้วอยากอะไรทำมากกว่าจะไปเป็นไกด์จริงๆ
มาถึงตรงนี้ขออนุญาติเพิ่มข้อมูลสำหรับคนที่สนใจจะเป็นไกด์ คุณสมบัติสำคัญ มากๆ ของไกด์ ที่คุณต้องมีนี่ เราได้เรียนรู้จากการอบรมในคาบแรกๆ เลย นั่นคือมีคนถามวิทยากร ซึ่งเป็นไกด์ที่เกษียณแล้ว ว่าหัวใจสำคัญที่ทำให้มีคนจ้างงานเราไปเป็นไกด์ไม่มีขาดคืออะไร ในใจเรานั้นนึกว่าคำตอบคือ มีความรู้ดี บลาๆ แต่เขากลับตอบว่า "ผมไม่เคยป่วย ไม่เคยสาย"
ตอนนั้นถึงคิดได้ว่าเออจริงแหะ ข้อมูลดีนั้น เรียนรู้และศึกษากันได้ แต่คนไม่แข็งแรง เจอแดดประเทศไทยกลางแจ้งแทบทุกวัน (หรือคนแข็งแรงก็เถอะ) ป่วยบ่อยๆ ใครจะจ้างงาน และอีกอย่างคือคนมาสาย ใครจะจ้าง ดังนั้นคุณต้องแน่ใจว่าจะไม่ป่วย (หรือป่วยก็ต้องทำงานไหว) และไม่มีนิสัยมาสาย แม้แต่มาตรงเวลาก็ไม่มี มีแต่มาก่อนเวลาเท่านั้นสำหรับอาชีพนี้
ตลอดช่วงเวลาที่ไปอบรมคล้ายได้ปรับตัว ด้วยช่วงอายุ, ประสบการณ์, ความถนัดเฉพาะด้านแต่ละคนแตกต่างกันมากๆ แต่มาเจอกันบ่อยๆ เข้าก็เริ่มจับกลุ่ม ตั้งแก๊งกันจนอดนึกถึงช่วงเป็นวัยรุ่นขึ้นมาไม่ได้ บรรยากาศแบบนั้นมันกลับมาอีก แตกต่างตรงที่ความหลากหลาย ยิ่งเมื่อได้ไปออกทริปไปต่างจังหวัดด้วยกันแล้วก็ยิ่งมีแต่จะสนุกมากขึ้นไปอีก ตอนแรกคิดว่าโหดจังบังคับไปต่างจังหวตั้งหลายทริป แต่พอถึงเวลาเข้าจริงกลายเป็นใจจรดจ่ออยากให้ถึงวันออกทริปเร็วๆ
ช่วงออกทริปต่างจังหวัดก็เป็นอะไรที่สนุกมาก คือเราได้เพื่อนใหม่มากมายยังไม่พอ ได้ไปเที่ยวแบบหาความรู้เข้าสมองในระหว่างที่มีการฝึกงานไกด์อยู่เล็กๆ น้อยๆ เชช่น ให้ออกไปพูดหน้าบัส สมมติว่าเราเป้นไกด์ เราจะพูดอะไรทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (และบางคนแถมภาษาที่สามให้) ช่วงนี้เองที่ยืนยันได้เต็มปากเลยว่ามันทำให้การอบรมนี้คุ้มค่า คือได้รู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่เที่ยวดังๆ ยิ่งถ้าคนที่ไม่ค่อยได้เที่ยวไทย คราวนี้ก็ไปกันชุ่มปอด อย่างอยุธยาวัดดังๆ นี่ ไปแน่นอน สุโขทัยเมืองประวัติศาสตร์อะไรทำนองนั้น ข้อสำคัญคือเวลาเรามีความสุขกับมัน เราจะไม่รู้สึกว่ามันคือการทำงาน หรือว่ากำลังเรียนหนังสืออยู่ แต่เป็นอะไรที่เราอยากทำมันต่อไปอีกด้วยความเต็มใจ
เขียนมายาวแล้ว ไม่รู้จะมีใครอ่านบ้างรึเปล่า เอาเป็นว่าขอสรุปเลยแล้วกัน
สิ่งที่ได้เมื่อจบการอบรม
1. บัตรมัคคุเทศก์สีบรอนซ์เงิน หมายถึงสามารถพาคนไทยเที่ยวไทย หรือพาต่างชาติเที่ยวได้ทั่วราชอาณาจักรไทย แถมได้บัตรผู้นำเที่ยว สามารถพาคนไทยเที่ยวเมืองนอกได้ด้วย
2. ภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ไม่ว่าเลเวลอังกฤษตอนเริ่มแรกอบรมจะเป็นยังไงก็ตาม เราเชื่อว่าภาษาของคุณจะดีขึ้นจริงๆ กล้าพูด กล้าคุยมากขึ้นด้วย
3. ได้เพื่อนใหม่ ข้อนี้ขออนุญาติแนะนำ สำหรับคนที่มองหาโอกาสในอาชีพไกด์ ขอบอกตรงๆ เลยว่า... เพื่อนนี่ละ คือคนที่จะหางานไกด์ให้คุณในอนาคต ดังนั้น ไม่ว่ายังไงก็ตาม สร้างมิตรให้มาก โดยเฉพาะมิตรที่อยู่ในวงการท่องเที่ยว
4. ได้เที่ยวเมืองไทย ครบหมด ทุกเมืองสำคัญ ลพบุรี อยุธยา สุโขทัย เชียงใหม่ เชียงรายฯลฯ (อันนี้แล้วแต่หลักสูตรของแต่ละสถาบัน)
5. ได้แฟน ฮ่าๆ อันนี้บางคนได้นะ แต่ส่วนมากไม่ได้
ส่วนลักษณะที่ไม่แนะนำให้มาอบรมไกด์ ก็คือ ถ้าคุณเป็นคนที่...
-ไม่ชอบตากแดด แดดประเทศไทยก็รู้อยู่ร้อนขนาดไหน ฉันไม่ยอมผิวเสียหรอก
-พูดจาไม่รู้เรื่อง คือมีเรื่องอยากสื่อ แต่พูดออกมายาวมาก คนฟังกลับไม่เข้าใจ
-ตัดสินใจไม่ได้ ย้ำคิดย้ำทำ เพราะไกด์คือผู้นำการท่องเที่ยว จะพาคนอื่นไปเที่ยว ถ้าคุณไม่มีภาวะผู้นำ คุณทำไม่ได้นะคะ
-สุขภาพไม่ดี
-ไม่ตรงต่อเวลาเป็นนิสัยดั้งเดิม
เพิ่มเติมให้อีกอย่าง ถ้าคุณเป็นคนแบบที่ อังกฤษ อ่าน เขียน คล่องเปะตรงแกรมม่า แต่พูดได้งูๆ ปลาๆ แต่อยากทำไกด์ภาษาอังกฤษ อันนี้ก็ยากเช่นกัน ควรไปฝึกทักษะทางภาษามาก่อนจะเหมาะกว่า มีบัตรแล้วไปทำงานไกด์ แล้วพูดไม่ได้ จะโดนคอมเพลน แล้วจะไม่มีใครจ้างงานอีกได้
อ้อ... ความจริงอันน่าตกใจคือ...
-มีราว 10% ผู้เข้าอบรมไกด์เท่านั้น ที่จะไปทำอาชีพไกด์จริงๆ ที่เหลือก็เลิกๆ ไป
-ภาษาที่สาม ไม่มีตกงาน ถ้าพูดภาษาที่สามได้ งานไกด์ขาดแคลนอย่างหนัก ขณะที่ไกด์ภาษาอังกฤษมีมากมาย (เพราะคนพูดภาษาที่สามได้ก็พูดอังกฤษได้เช่นกัน)
อยากบอกว่า...
-ถ้าจะมาเป็นไกด์เพราะอยากรวย ขอให้รู้ไว้เลยว่า ก็เหมือนอาชีพอื่นๆ นั่นล่ะ กว่าจะไปถึงจุดที่หาเงินได้เดือนละมากๆ นั้น มันไม่ใช่ง่ายๆ เลย
-อย่าคิดว่า ฉันเก่งอังกฤษ ไม่รู้จะทำอะไร ไปเป็นไกด์ดีกว่า แบบนี้มักทำได้ไม่นานก็เลิกไปเอง เพราะสุดท้ายอาชีพไกด์ก็เหมือนอาชีพอื่นๆ (อีกนั่นละ) คือถ้าไม่มีใจรักก็ไม่สนุกที่จะทำ และพูดอังกฤษคล่อง มีบัตรไกด์ก็ไม่ได้แปลว่าจะหางานได้เสมอ
เคยมีนักท่องเที่ยวถามไกด์มือเก๋าๆ ว่าทำยังไงจะได้เป็นไกด์ เขาตอบว่า "ก็มีบัตรไกด์ และมีเส้น"
สุดท้ายอยากบอกว่า...
*ถ้าคิดอยากเป็นไกด์ แต่ไม่รู้ว่าเราจะเหมาะกับอาชีพนี้ไหม อยากให้ลงทุนด้วยเงินสี่หมื่นบาทนี้ดู เมื่ออบรมจบแล้วได้บัตรไกด์มาใบนึง แล้วคุณจะรู้ว่าจะไปต่อดีหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะเป็นไกด์หรือไม่ก็ตาม เรายังยืนยันว่าเป็นการหาประสบการณ์ที่คุ้มค่าเงินมากกว่าที่คิดจริงๆ*
สุดท้ายหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจค่ะ