"ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นการตีความของฝ่ายอังวะในบทละครเท่านั้น"
เป็นเวลาเดียวกับที่พระเจ้ามังระเรียกประชุมขุนนางทั้งชาวอังวะและฝรั่งขอความเห็นว่า อยากจะยกทัพไปอโยธยาเพื่อล้างอายศึกคราก่อน ขุนนางเห็นด้วย พระเจ้ามังระให้ไปเตรียมทัพ
“มิบังควรยกทัพพระเจ้าข้า” เสียงอะแซหวุ่นกี้แย้งขึ้น พระเจ้ามังระถามว่าเหตุใดถึงเห็นว่าไม่ควรยกทัพ “แม้เราจะสิ้นศึกในแล้วแต่อาณาประชาราษฎร์ยังอ่อนล้าจากการทำศึกมานานปี จึงควรให้พักผ่อนฟื้นกำลังมากกว่าเร่งทำศึกต่อ อีกประเทศอังวะเราได้เปรียบอโยธยาอยู่ห้าข้อ จึงไม่จำเป็นต้องออกศึกในเพลานี้พระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้ามังระถามว่าห้าข้อมีกระไรบ้าง ข้อหนึ่งอะแซหวุ่นกี้เปรียบเทียบให้เห็นข้อได้เปรียบและเสียเปรียบในการปกครองประเทศว่าอังวะได้เปรียบอโยธยาอยู่มาก ข้อสอง ขุนนางอโยธยาเกณฑ์แรงงานไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน จึงทำให้เสื่อมทรุดเป็นช่องทางให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงยิ่งขึ้นไปอีก ข้อสาม เหล่าขุนนางของ อโยธยาชิงดีชิงเด่นแบ่งพรรคแบ่งพวกกันมากขึ้น ทำให้อโยธยาอ่อนแอลงทุกที ข้อสี่ อโยธยาเก็บภาษีไม่เป็นธรรม แม้แต่ผักบุ้งก็ยังเก็บภาษี ทำให้ราษฎรเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
พระเจ้ามังระชมว่าพิเคราะห์ได้ดี ถามว่าแล้วข้อห้าเล่า อะแซหวุ่นกี้ยิ้มเจ้าเล่ห์ทันที...
“นับแต่ศึกคราก่อนเราก็มีไส้ศึกฝังตัวอยู่ในอโยธยา แลทุกวันนี้ก็ยังทำหน้าที่ไส้ศึกให้เราอย่างดี กล่าวได้ว่าเรารู้ความเป็นไปของอโยธยากระจ่างดั่งนิ้วในฝ่ามือพระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้ามังระถูกใจการพิเคราะห์ของอะแซหวุ่นกี้มากยิ่งเชื่อมั่นว่าถึงคราวรบจริงต้องชนะแน่นอน
ทำให้เราได้เห็นว่าทุกข้อที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยทุกยุคทุกสมัยมาจนปัจจุบัน ไม่ได้อยู่แค่ในช่วงยุคสมัยอยุทธยาตอนปลายเท่านั้น และยากเกินจะแก้ไขได้
ขอชื่นชมบทวิเคราะห์ของ "อะแซหวุ่นกี้" ในละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" ของเมื่อวานนี้ครับ
"ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นการตีความของฝ่ายอังวะในบทละครเท่านั้น"
เป็นเวลาเดียวกับที่พระเจ้ามังระเรียกประชุมขุนนางทั้งชาวอังวะและฝรั่งขอความเห็นว่า อยากจะยกทัพไปอโยธยาเพื่อล้างอายศึกคราก่อน ขุนนางเห็นด้วย พระเจ้ามังระให้ไปเตรียมทัพ
“มิบังควรยกทัพพระเจ้าข้า” เสียงอะแซหวุ่นกี้แย้งขึ้น พระเจ้ามังระถามว่าเหตุใดถึงเห็นว่าไม่ควรยกทัพ “แม้เราจะสิ้นศึกในแล้วแต่อาณาประชาราษฎร์ยังอ่อนล้าจากการทำศึกมานานปี จึงควรให้พักผ่อนฟื้นกำลังมากกว่าเร่งทำศึกต่อ อีกประเทศอังวะเราได้เปรียบอโยธยาอยู่ห้าข้อ จึงไม่จำเป็นต้องออกศึกในเพลานี้พระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้ามังระถามว่าห้าข้อมีกระไรบ้าง ข้อหนึ่งอะแซหวุ่นกี้เปรียบเทียบให้เห็นข้อได้เปรียบและเสียเปรียบในการปกครองประเทศว่าอังวะได้เปรียบอโยธยาอยู่มาก ข้อสอง ขุนนางอโยธยาเกณฑ์แรงงานไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน จึงทำให้เสื่อมทรุดเป็นช่องทางให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงยิ่งขึ้นไปอีก ข้อสาม เหล่าขุนนางของ อโยธยาชิงดีชิงเด่นแบ่งพรรคแบ่งพวกกันมากขึ้น ทำให้อโยธยาอ่อนแอลงทุกที ข้อสี่ อโยธยาเก็บภาษีไม่เป็นธรรม แม้แต่ผักบุ้งก็ยังเก็บภาษี ทำให้ราษฎรเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
พระเจ้ามังระชมว่าพิเคราะห์ได้ดี ถามว่าแล้วข้อห้าเล่า อะแซหวุ่นกี้ยิ้มเจ้าเล่ห์ทันที...
“นับแต่ศึกคราก่อนเราก็มีไส้ศึกฝังตัวอยู่ในอโยธยา แลทุกวันนี้ก็ยังทำหน้าที่ไส้ศึกให้เราอย่างดี กล่าวได้ว่าเรารู้ความเป็นไปของอโยธยากระจ่างดั่งนิ้วในฝ่ามือพระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้ามังระถูกใจการพิเคราะห์ของอะแซหวุ่นกี้มากยิ่งเชื่อมั่นว่าถึงคราวรบจริงต้องชนะแน่นอน
ทำให้เราได้เห็นว่าทุกข้อที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยทุกยุคทุกสมัยมาจนปัจจุบัน ไม่ได้อยู่แค่ในช่วงยุคสมัยอยุทธยาตอนปลายเท่านั้น และยากเกินจะแก้ไขได้