ปรัชญาการศึกษาของ John Dewey (จอห์น ดิวอี้) .. 26/4/2561
https://ppantip.com/topic/37604887
เป็นการสัมมนาหนังสือที่ John Dewey นักปรัชญาการศึกษาสหรัฐฯได้เขียนหนังสือโยงการศึกษากับประชาธิปไตย ไปอ่านดูครับ
https://prachatai.com/journal/2016/09/67723
.. สรายุทธ พฤหัส 26/4/2561
รายงานเสวนาการศึกษา 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา
Published on Thu, 2016-09-01 20:43
ธัญญ์ฐิตา วรกุลสิริศักดิ์ กลุ่มพลเรียน รายงาน
วงเสวนาถก 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา พร้อมทั้งประเด็น 2475 มา ประชาธิปไตยได้สร้างคุณูปการต่อการศึกษาไทยจริงหรือ การศึกษาไทยในปัจจุบันได้เสริมสร้างหรือเตรียมคนให้เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยบ้างหรือไม่ อย่างไร และประชาธิปไตยจำเป็นต่อไปอีกหรือ กับการเอามาปรับใช้ในวงการการศึกษาในสภาวการณ์บ้านเมืองเช่นนี้
เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มพลเรียน ได้จัดเสวนาการศึกษา “100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา” ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกิจกรรมเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเสวนาการศึกษา : ประชาธิปไตย การกดขี่ และการวิพากษ์ โดยครั้งเป็นการย้อนรำลึกครบรอบ 100 ปี หนังสือ “Democracy and Education” ของจอห์น ดิวอี้(John Dewey) นักปฏิรูปการศึกษาคนสำคัญของอเมริกันในต้นศตวรรษที่ 20 หนังสือดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ 1916 โดยเนื้อหาภายในหนังสือเป็นการกล่าวถึงบทบาทโรงเรียนในการสร้างสังคมประชาธิปไตย
ช่วงแรก ปาฐกถา “ 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา”
ช่วงแรก ปาฐกถา “ 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา” โดย ดร.รัตนา แซ่เล้า อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเล่าว่า จอห์น ดิวอี้ เป็นคนละเอียดอ่อน เวลาอ่านหนังสือหรืองานของดิวอี้เสร็จแล้วก็จะต้องกลับมาคิด วิเคราะห์ว่าดิวอี้ต้องการจะหมายความอย่างไร ภายในหนังสือ “Democracy and Education” ของดิวอี้ในทั้ง 26 บทของหนังสือเล่มนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ตอน (Theme) คือ 1.ความต้องการของสังคมประชาธิปไตย ความต้องการของการศึกษา และบทบาททั่วไป 2.จุดหมายของประชาธิปไตยในการศึกษา 3.หลักสูตรและการเรียน 4.อธิบายว่าทำไมสิ่งที่ดิวอี้พูดจึงกลับไปเป็น philosophy of education (ปรัชญาการศึกษา)
รัตนา ได้แบ่งการบรรยายครั้งนี้ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.บทบาทของการศึกษาคืออะไร การศึกษาแปลว่าอะไรสำหรับดิวอี้ 2.ประชาธิปไตยกับการศึกษาเมื่อนำมารวมกันแล้วเป็นอย่างไร มีกี่แบบ 3.การศึกษาแบบดิวอี้และความท้าทายของอุดมศึกษามีอะไรบ้าง และ 4.ดิวอี้กับบริบทสังคมไทย
การศึกษามีบทบาทอย่างไร และการศึกษาเพื่อการสร้างพลเมืองเป็นอย่างไร
รัตนา ระบุว่า ดิวอี้ไม่เชื่อในการศึกษาเพื่อบางสิ่งบางอย่าง (Something) ไม่เชื่อว่าการศึกษาสามารถเตรียมคนเพื่อไปเป็นอะไรสักอย่าง แต่เป็นระบบการศึกษาที่ค่อยๆ สร้างการเจริญเติบโตให้กับคนเพื่อการใช้ชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่ง รัตนา เห็นว่าควรใช้เป็นภาษาไทยว่า “ประชาธิปไตยและการศึกษา” เพราะ “การศึกษา” และ “ประชาธิปไตย” เป็นสิ่งสองสิ่งที่แยกออกจากกันแต่ทำเพื่อกันและกัน
บทบาทของการศึกษาคืออะไร การศึกษาแปลว่าอะไรสำหรับดิวอี้
รัตนา มองว่า สำหรับดิวอี้ การศึกษาคือ reconstruction of experience การเลือกใช้คำแต่ละคำของดิวอี้จึงค่อนข้างมีความหมายลึกซึ้ง เช่น Growth (การเจริญเติบโต) Environment (สิ่งแวดล้อม) ซึ่งจะปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ซ้ำไปซ้ำมา แต่ในการเสวนาครั้งนี้ อ.รัตนา ได้ขอยกคำสำคัญ (Keywords) มา 3 คำ คือ 1.Nature 2.Growth 3.Harmonization
ดิวอี้เปรียบโรงเรียนเหมือนธรรมชาติ (ในภาษาต้นฉบับ ดิวอี้ใช้ Nature และ Environment สลับกันไปมา) เหมือนน้ำ เหมือนดิน เหมือนอากาศ ที่เป็นสื่อกลางระหว่างความคาดหวังของสังคมกับนักเรียน ไม่ใช่การเรียนแบบทื่อ ๆ แบบเข้าไปในห้องเรียนแล้วจำบทเรียนได้ทันทีทันใด ดังนั้นเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะสร้างบรรยากาศให้นักเรียนได้ซึมซับความคิดและ Concept ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่การเรียนรู้แบบท่องจำกันทั่วไป ดิวอี้ได้กล่าวไว้ในหนังสืออย่างน่าสนใจว่า “โรงเรียนไม่ใช่แค่ห้องเรียน แต่โรงเรียนคือดิน อากาศ น้ำ ปุ๋ย ที่จะทำให้เมล็ดพันธุ์คือเด็กนั้นได้เติบโต”
ประเด็นต่อมา คือ การศึกษาคือการเติบโต (Growth) ดิวอี้ได้แบ่งเป็น 2 ความหมายคือ การเติบโตในระดับปัจเจก (Growth of individual) และการเติบโตของอารยธรรม (Growth of Civilization) สำหรับการเติบโตของอารยธรรมที่ก้าวไปอย่างไม่สิ้นสุดอันมีมากมายกมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นสังคมหรือวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดเหล่านี้ก็ไม่สามารถให้ครอบครัวทำหน้าที่สอนเด็กได้ตามลำพังอีกต่อไป ในแง่หนึ่งดิวอี้กำลังสื่อไปถึงความสำคัญของโรงเรียนที่จะต้องมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงของวัฒนธรรมที่เติบโตอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนการเติบโตของปัจเจกนั้น การศึกษาต้องมีจุดมุ่งหมาย และจุดมุ่งหมายนั้นควรเป็นการเติบโต ยกตัวอย่าง การศึกษาไม่ควรเป็นการเรียนเพื่อเป็นนักศึกษาปริญญาเอก นักศึกษาปริญญาเอกไม่ควรเรียนเพื่อให้จบปริญญาเอกแล้วมีงานทำ แต่ทุกคนควรเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ (Lifelong Learning) เรียนเพื่อเติบโตไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่เรียนเพียงเพื่อมีอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่ดิวอี้เปรียบ (Analogy) คนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่โตไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตาย การศึกษาจำเป็นต้องมีขึ้นเพราะเมล็ดพันธุ์มีวันตาย ถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ตายก็ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษา โลกก็จะมีคนที่อยู่ชั่วนิรันดร์ แต่โลกไม่ใช่อย่างนั้น เพราะต่อให้เมล็ดพันธุ์เติบโตกลายเป็นต้นไม้ที่แข็งแกร่งมากเพียงใดก็จะต้องมาถึงจุดจบ การศึกษาหรือโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีขึ้นเพื่อสร้างต่อหรือเชื่อมโยงเมล็ดพันธุ์เก่าและเมล็ดพันธุ์ใหม่ (Legacy) เพื่อไม่ให้เกิดการเว้นว่าง (gap) โรงเรียนจึงต้องเข้ามาจัดการตรงช่องว่างเหล่านี้
โรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ดังนั้นจุดมุ่งหมายหรือจุดสูงสุดของการศึกษาไม่ใช่การสร้างสิ่งที่สมบูรณ์แบบแต่เป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตให้เติบโตอย่างสม่ำเสมอในช่วงชีวิตนั้นเอง โรงเรียนจึงมีหน้าที่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ใช่แค่ให้ความรู้ แต่ต้องสร้างความทะเยอทะยานและความปรารถนาให้กับนักเรียน ถ้าโรงเรียนไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนออกไปอ่านหนังสือด้วยตนเองได้ นี่จะไม่ใช่ Growth สำหรับดิวอี้
ประเด็นสุดท้ายคือ “Harmonization” การสร้างความกลมกลืนระหว่างปัจเจกกับสังคม กล่าวคือ เป็นต้นไม้ที่สามารถอยู่ร่วมกันกับคนอื่นได้ หน้าที่ของโรงเรียนอีกอย่างหนึ่งก็คือเชื่อมโยงระหว่างคนที่แตกต่างหลากหลายในทั้งภาษาหรือความเชื่อด้วยกิจกรรม (Common Activities) เพื่อให้แต่ละคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้
ประชาธิปไตยกับการศึกษาเมื่อนำมารวมกันแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร มีรูปแบบอะไรบ้าง
รัตนา ระบุว่า ดิวอี้ได้รับแรงบันดาลเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อมาอธิบายหมายความของการศึกษาของตนเองจาก 3 แนวคิด คือ The Platonic Educational Philosophy, The “Individualistic” Ideal of the Eighteenth Century, และ Education as National and as Social
สำหรับแนวคิดของเพลโต (Platonic) สังคมที่มั่นคงเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในสังคมนั้นใช้ความสามารถที่ธรรมชาติให้มาเฉพาะตัวเพื่อประโยชน์กับผู้อื่น ดังนั้นหน้าที่ของการศึกษาคือการพัฒนาทักษะเฉพาะตนตามกาลเทศะเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม เพลโตเชื่อว่าคนเกิดมามีทักษะและความชำนาญที่ไม่เหมือนกัน สังคมจำเป็นต้องรู้เป้าหมายว่าต้องการอะไรเพื่อให้สามารถจัดระเบียบและวางแผนให้สังคมบรรลุเป้าหมายนั้น จึงได้เสนอให้นักปรัชญา ผู้รู้ และผู้ที่รักในคุณธรรมมาออกแบบโครงสร้างของสังคม แล้วรัฐก็นำมาเป็นต้นแบบ ซึ่งหากแต่ละคนต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น ในความคิดของเพลโต การแยกคนตามทักษะและความสามารถนั้นดีกว่าการแยกคนตามชนชั้นและฐานะทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดิวอี้มองว่าสังคมอุดมคติเช่นนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ 1.เพลโตไม่เห็นความหลากหลายของคนที่มีมากกว่าพ่อค้า พลเมืองของรัฐ และนักกฎหมาย 2.สังคมประชาธิปไตยไม่ควรถูกแบ่งเป็นชนชั้น 3.สังคมที่ดีต้องเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง ไม่ตายตัวจากการถูกแบ่งแยกและมีกำแพงขึ้นมาระหว่างคน สำหรับดิวอี้สังคมอุดมคติคือสังคมที่คนมีความหลากหลาย มีอาชีพ ความคิด และความรู้ต่างกัน สามารถถกปัญหาและตั้งคำถามได้ และ 4.ข้อเสนอของเพลโตไม่เห็นถึงอำนาจของการศึกษา (Power of Education) ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้
The “Individualistic” Ideal of the Eighteenth Century ของ Rousseau แม้รุสโซจะได้รับอิทธิพลความคิดจากเพลโต แต่ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่หลากหลายของปัจเจกบุคคลมากกว่า ให้ความสำคัญกับอิสรภาพว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความเป็นอิสรภาพของปัจเจกเป็นปัจจัยหลักขับเคลื่อนความก้าวหน้าของสังคม (Individual freedom for social progress) การปลดปล่อยคนให้เป็นไทจากห่วงโซ่ต่าง ๆ เริ่มจากการปลดแอกคนจากความคิดที่ผิด กลไกในธรรมชาติสามารถพัฒนาไปถึงจุดที่สมบูรณ์แบบโดยตัวมันเอง รุสโซเชื่อว่ามี 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการศึกษา คือ 1.ธรรมชาติ 2.คน 3.สิ่งของ โดยคนและสิ่งของต้องทำงานประสานกันไปสู่จุดที่ธรรมชาติต้องเป็น ทั้งหมดทั้งมวลนำไปสู่มุมมองทางการศึกษา 2 ประเด็น คือ 1.ความแตกต่างของคนในทางความคิด ความสามารถ ฐานะ สถานะ ฯลฯ เกิดจากการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การแก้ปัญหาคือการใช้การศึกษาเชื่อมให้ปรับตัวเข้าหากัน 2.ทำให้ความหลากหลายได้แสดงออกมากที่สุด แม้ดิวอี้จะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของรุสโซมามากแต่ก็ได้วิพากษ์แนวคิดไว้ 3 ประเด็น คือ 1.ถ้าทุกอย่างขึ้นอยู่กับธรรมชาติ แล้วโรงเรียนจะมีไว้ทำไม ทุกอย่างไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง ต้องมีปัจจัยมากมายที่ฝึกฝนเด็กให้เติบโต ทุกอย่างจึงต้องสมดุลกันโดยให้ความสำคัญกับความหลากหลายของเด็กกับการเติบโตในบริบทของสิ่งแวดล้อม 2.การศึกษาไม่ควรแยกออกจากธรรมชาติ 3.จะสร้างธรรมชาติอย่างไรให้เด็กสามารถแสดงตัวตนของตัวเองออกมาได้มากที่สุดแต่อยู่ในระบบของโรงเรียน
Education as National and as Social เป็นแนวคิดในช่วงที่รัฐเยอรมันเข้ามาจัดการดูแลและให้ความสำคัญกับการศึกษาซึ่งเป็นไปแบบชาตินิยม (Nationalism) การศึกษาไม่ได้มีเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ให้เต็มประสิทธิภาพแต่มีหน้าที่อบรมคนเพื่อเข้าสู่หน้าที่ตามสถาบันที่มีอยู่ในสังคม คนต้องหาตัวตนและศักยภาพของตนเองให้เจอเพื่อไปทำหน้าที่ตามสถาบันที่มีอยู่ในสังคม และหน้าที่ของโรงเรียนคือการจัดการศึกษาให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐชาติ โดยมีรัฐชาติเป็นผู้กำกับดูแล ดิวอี้เห็นด้วยที่รัฐชาติจัดการดูแลเรื่องการศึกษา แต่อยากให้รัฐให้บริการด้านการศึกษามากกว่าที่รัฐจะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ
รูปแบบการศึกษาตามความคิดของดิวอี้
รัตนา มองว่า สำหรับดิวอี้ ห้องเรียนและโรงเรียนควรมีอิสรภาพอย่างเต็มที่ เด็กสามารถเคลื่อนไหวตัวอย่างไปอิสระ สามารถตอบหรือแสดงความเห็นได้อย่างไม่เคอะเขินและไม่กลัว ครูไม่ควรสั่งการทุกอย่าง เด็กสามารถมีชีวิตเหมือนอยู่นอกห้องเรียน หลักสูตรต้องมีความหมายกับประสบการณ์ของนักเรียน ห้องเรียนและโรงเรียนต้องให้พื้นที่นักเรียนในการมีตัวตนของตัวเอง สนับสนุนให้นักเรียนมีความทะเยอทะยานอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง หากเป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ควรมีรูปแบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง โดยดิวอี้เห็นว่าการศึกษาควรทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิตเด็กมากกว่าเรียนรู้สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องหรือห่างไกลจากเด็กเกินไป
มีต่อ ..
ปรัชญาการศึกษาของ John Dewey (จอห์น ดิวอี้) .. 26/4/2561 สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/37604887
เป็นการสัมมนาหนังสือที่ John Dewey นักปรัชญาการศึกษาสหรัฐฯได้เขียนหนังสือโยงการศึกษากับประชาธิปไตย ไปอ่านดูครับ
https://prachatai.com/journal/2016/09/67723
.. สรายุทธ พฤหัส 26/4/2561
รายงานเสวนาการศึกษา 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา
Published on Thu, 2016-09-01 20:43
ธัญญ์ฐิตา วรกุลสิริศักดิ์ กลุ่มพลเรียน รายงาน
วงเสวนาถก 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา พร้อมทั้งประเด็น 2475 มา ประชาธิปไตยได้สร้างคุณูปการต่อการศึกษาไทยจริงหรือ การศึกษาไทยในปัจจุบันได้เสริมสร้างหรือเตรียมคนให้เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยบ้างหรือไม่ อย่างไร และประชาธิปไตยจำเป็นต่อไปอีกหรือ กับการเอามาปรับใช้ในวงการการศึกษาในสภาวการณ์บ้านเมืองเช่นนี้
เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มพลเรียน ได้จัดเสวนาการศึกษา “100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา” ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกิจกรรมเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเสวนาการศึกษา : ประชาธิปไตย การกดขี่ และการวิพากษ์ โดยครั้งเป็นการย้อนรำลึกครบรอบ 100 ปี หนังสือ “Democracy and Education” ของจอห์น ดิวอี้(John Dewey) นักปฏิรูปการศึกษาคนสำคัญของอเมริกันในต้นศตวรรษที่ 20 หนังสือดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ 1916 โดยเนื้อหาภายในหนังสือเป็นการกล่าวถึงบทบาทโรงเรียนในการสร้างสังคมประชาธิปไตย
ช่วงแรก ปาฐกถา “ 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา”
ช่วงแรก ปาฐกถา “ 100 ปี จอห์น ดิวอี้ กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยผ่านการศึกษา” โดย ดร.รัตนา แซ่เล้า อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเล่าว่า จอห์น ดิวอี้ เป็นคนละเอียดอ่อน เวลาอ่านหนังสือหรืองานของดิวอี้เสร็จแล้วก็จะต้องกลับมาคิด วิเคราะห์ว่าดิวอี้ต้องการจะหมายความอย่างไร ภายในหนังสือ “Democracy and Education” ของดิวอี้ในทั้ง 26 บทของหนังสือเล่มนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ตอน (Theme) คือ 1.ความต้องการของสังคมประชาธิปไตย ความต้องการของการศึกษา และบทบาททั่วไป 2.จุดหมายของประชาธิปไตยในการศึกษา 3.หลักสูตรและการเรียน 4.อธิบายว่าทำไมสิ่งที่ดิวอี้พูดจึงกลับไปเป็น philosophy of education (ปรัชญาการศึกษา)
รัตนา ได้แบ่งการบรรยายครั้งนี้ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.บทบาทของการศึกษาคืออะไร การศึกษาแปลว่าอะไรสำหรับดิวอี้ 2.ประชาธิปไตยกับการศึกษาเมื่อนำมารวมกันแล้วเป็นอย่างไร มีกี่แบบ 3.การศึกษาแบบดิวอี้และความท้าทายของอุดมศึกษามีอะไรบ้าง และ 4.ดิวอี้กับบริบทสังคมไทย
การศึกษามีบทบาทอย่างไร และการศึกษาเพื่อการสร้างพลเมืองเป็นอย่างไร
รัตนา ระบุว่า ดิวอี้ไม่เชื่อในการศึกษาเพื่อบางสิ่งบางอย่าง (Something) ไม่เชื่อว่าการศึกษาสามารถเตรียมคนเพื่อไปเป็นอะไรสักอย่าง แต่เป็นระบบการศึกษาที่ค่อยๆ สร้างการเจริญเติบโตให้กับคนเพื่อการใช้ชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่ง รัตนา เห็นว่าควรใช้เป็นภาษาไทยว่า “ประชาธิปไตยและการศึกษา” เพราะ “การศึกษา” และ “ประชาธิปไตย” เป็นสิ่งสองสิ่งที่แยกออกจากกันแต่ทำเพื่อกันและกัน
บทบาทของการศึกษาคืออะไร การศึกษาแปลว่าอะไรสำหรับดิวอี้
รัตนา มองว่า สำหรับดิวอี้ การศึกษาคือ reconstruction of experience การเลือกใช้คำแต่ละคำของดิวอี้จึงค่อนข้างมีความหมายลึกซึ้ง เช่น Growth (การเจริญเติบโต) Environment (สิ่งแวดล้อม) ซึ่งจะปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ซ้ำไปซ้ำมา แต่ในการเสวนาครั้งนี้ อ.รัตนา ได้ขอยกคำสำคัญ (Keywords) มา 3 คำ คือ 1.Nature 2.Growth 3.Harmonization
ดิวอี้เปรียบโรงเรียนเหมือนธรรมชาติ (ในภาษาต้นฉบับ ดิวอี้ใช้ Nature และ Environment สลับกันไปมา) เหมือนน้ำ เหมือนดิน เหมือนอากาศ ที่เป็นสื่อกลางระหว่างความคาดหวังของสังคมกับนักเรียน ไม่ใช่การเรียนแบบทื่อ ๆ แบบเข้าไปในห้องเรียนแล้วจำบทเรียนได้ทันทีทันใด ดังนั้นเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะสร้างบรรยากาศให้นักเรียนได้ซึมซับความคิดและ Concept ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่การเรียนรู้แบบท่องจำกันทั่วไป ดิวอี้ได้กล่าวไว้ในหนังสืออย่างน่าสนใจว่า “โรงเรียนไม่ใช่แค่ห้องเรียน แต่โรงเรียนคือดิน อากาศ น้ำ ปุ๋ย ที่จะทำให้เมล็ดพันธุ์คือเด็กนั้นได้เติบโต”
ประเด็นต่อมา คือ การศึกษาคือการเติบโต (Growth) ดิวอี้ได้แบ่งเป็น 2 ความหมายคือ การเติบโตในระดับปัจเจก (Growth of individual) และการเติบโตของอารยธรรม (Growth of Civilization) สำหรับการเติบโตของอารยธรรมที่ก้าวไปอย่างไม่สิ้นสุดอันมีมากมายกมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นสังคมหรือวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดเหล่านี้ก็ไม่สามารถให้ครอบครัวทำหน้าที่สอนเด็กได้ตามลำพังอีกต่อไป ในแง่หนึ่งดิวอี้กำลังสื่อไปถึงความสำคัญของโรงเรียนที่จะต้องมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงของวัฒนธรรมที่เติบโตอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนการเติบโตของปัจเจกนั้น การศึกษาต้องมีจุดมุ่งหมาย และจุดมุ่งหมายนั้นควรเป็นการเติบโต ยกตัวอย่าง การศึกษาไม่ควรเป็นการเรียนเพื่อเป็นนักศึกษาปริญญาเอก นักศึกษาปริญญาเอกไม่ควรเรียนเพื่อให้จบปริญญาเอกแล้วมีงานทำ แต่ทุกคนควรเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ (Lifelong Learning) เรียนเพื่อเติบโตไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่เรียนเพียงเพื่อมีอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่ดิวอี้เปรียบ (Analogy) คนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่โตไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตาย การศึกษาจำเป็นต้องมีขึ้นเพราะเมล็ดพันธุ์มีวันตาย ถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ตายก็ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษา โลกก็จะมีคนที่อยู่ชั่วนิรันดร์ แต่โลกไม่ใช่อย่างนั้น เพราะต่อให้เมล็ดพันธุ์เติบโตกลายเป็นต้นไม้ที่แข็งแกร่งมากเพียงใดก็จะต้องมาถึงจุดจบ การศึกษาหรือโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีขึ้นเพื่อสร้างต่อหรือเชื่อมโยงเมล็ดพันธุ์เก่าและเมล็ดพันธุ์ใหม่ (Legacy) เพื่อไม่ให้เกิดการเว้นว่าง (gap) โรงเรียนจึงต้องเข้ามาจัดการตรงช่องว่างเหล่านี้
โรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ดังนั้นจุดมุ่งหมายหรือจุดสูงสุดของการศึกษาไม่ใช่การสร้างสิ่งที่สมบูรณ์แบบแต่เป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตให้เติบโตอย่างสม่ำเสมอในช่วงชีวิตนั้นเอง โรงเรียนจึงมีหน้าที่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ใช่แค่ให้ความรู้ แต่ต้องสร้างความทะเยอทะยานและความปรารถนาให้กับนักเรียน ถ้าโรงเรียนไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนออกไปอ่านหนังสือด้วยตนเองได้ นี่จะไม่ใช่ Growth สำหรับดิวอี้
ประเด็นสุดท้ายคือ “Harmonization” การสร้างความกลมกลืนระหว่างปัจเจกกับสังคม กล่าวคือ เป็นต้นไม้ที่สามารถอยู่ร่วมกันกับคนอื่นได้ หน้าที่ของโรงเรียนอีกอย่างหนึ่งก็คือเชื่อมโยงระหว่างคนที่แตกต่างหลากหลายในทั้งภาษาหรือความเชื่อด้วยกิจกรรม (Common Activities) เพื่อให้แต่ละคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้
ประชาธิปไตยกับการศึกษาเมื่อนำมารวมกันแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร มีรูปแบบอะไรบ้าง
รัตนา ระบุว่า ดิวอี้ได้รับแรงบันดาลเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อมาอธิบายหมายความของการศึกษาของตนเองจาก 3 แนวคิด คือ The Platonic Educational Philosophy, The “Individualistic” Ideal of the Eighteenth Century, และ Education as National and as Social
สำหรับแนวคิดของเพลโต (Platonic) สังคมที่มั่นคงเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในสังคมนั้นใช้ความสามารถที่ธรรมชาติให้มาเฉพาะตัวเพื่อประโยชน์กับผู้อื่น ดังนั้นหน้าที่ของการศึกษาคือการพัฒนาทักษะเฉพาะตนตามกาลเทศะเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม เพลโตเชื่อว่าคนเกิดมามีทักษะและความชำนาญที่ไม่เหมือนกัน สังคมจำเป็นต้องรู้เป้าหมายว่าต้องการอะไรเพื่อให้สามารถจัดระเบียบและวางแผนให้สังคมบรรลุเป้าหมายนั้น จึงได้เสนอให้นักปรัชญา ผู้รู้ และผู้ที่รักในคุณธรรมมาออกแบบโครงสร้างของสังคม แล้วรัฐก็นำมาเป็นต้นแบบ ซึ่งหากแต่ละคนต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น ในความคิดของเพลโต การแยกคนตามทักษะและความสามารถนั้นดีกว่าการแยกคนตามชนชั้นและฐานะทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดิวอี้มองว่าสังคมอุดมคติเช่นนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ 1.เพลโตไม่เห็นความหลากหลายของคนที่มีมากกว่าพ่อค้า พลเมืองของรัฐ และนักกฎหมาย 2.สังคมประชาธิปไตยไม่ควรถูกแบ่งเป็นชนชั้น 3.สังคมที่ดีต้องเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง ไม่ตายตัวจากการถูกแบ่งแยกและมีกำแพงขึ้นมาระหว่างคน สำหรับดิวอี้สังคมอุดมคติคือสังคมที่คนมีความหลากหลาย มีอาชีพ ความคิด และความรู้ต่างกัน สามารถถกปัญหาและตั้งคำถามได้ และ 4.ข้อเสนอของเพลโตไม่เห็นถึงอำนาจของการศึกษา (Power of Education) ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้
The “Individualistic” Ideal of the Eighteenth Century ของ Rousseau แม้รุสโซจะได้รับอิทธิพลความคิดจากเพลโต แต่ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่หลากหลายของปัจเจกบุคคลมากกว่า ให้ความสำคัญกับอิสรภาพว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความเป็นอิสรภาพของปัจเจกเป็นปัจจัยหลักขับเคลื่อนความก้าวหน้าของสังคม (Individual freedom for social progress) การปลดปล่อยคนให้เป็นไทจากห่วงโซ่ต่าง ๆ เริ่มจากการปลดแอกคนจากความคิดที่ผิด กลไกในธรรมชาติสามารถพัฒนาไปถึงจุดที่สมบูรณ์แบบโดยตัวมันเอง รุสโซเชื่อว่ามี 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการศึกษา คือ 1.ธรรมชาติ 2.คน 3.สิ่งของ โดยคนและสิ่งของต้องทำงานประสานกันไปสู่จุดที่ธรรมชาติต้องเป็น ทั้งหมดทั้งมวลนำไปสู่มุมมองทางการศึกษา 2 ประเด็น คือ 1.ความแตกต่างของคนในทางความคิด ความสามารถ ฐานะ สถานะ ฯลฯ เกิดจากการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การแก้ปัญหาคือการใช้การศึกษาเชื่อมให้ปรับตัวเข้าหากัน 2.ทำให้ความหลากหลายได้แสดงออกมากที่สุด แม้ดิวอี้จะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของรุสโซมามากแต่ก็ได้วิพากษ์แนวคิดไว้ 3 ประเด็น คือ 1.ถ้าทุกอย่างขึ้นอยู่กับธรรมชาติ แล้วโรงเรียนจะมีไว้ทำไม ทุกอย่างไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง ต้องมีปัจจัยมากมายที่ฝึกฝนเด็กให้เติบโต ทุกอย่างจึงต้องสมดุลกันโดยให้ความสำคัญกับความหลากหลายของเด็กกับการเติบโตในบริบทของสิ่งแวดล้อม 2.การศึกษาไม่ควรแยกออกจากธรรมชาติ 3.จะสร้างธรรมชาติอย่างไรให้เด็กสามารถแสดงตัวตนของตัวเองออกมาได้มากที่สุดแต่อยู่ในระบบของโรงเรียน
Education as National and as Social เป็นแนวคิดในช่วงที่รัฐเยอรมันเข้ามาจัดการดูแลและให้ความสำคัญกับการศึกษาซึ่งเป็นไปแบบชาตินิยม (Nationalism) การศึกษาไม่ได้มีเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ให้เต็มประสิทธิภาพแต่มีหน้าที่อบรมคนเพื่อเข้าสู่หน้าที่ตามสถาบันที่มีอยู่ในสังคม คนต้องหาตัวตนและศักยภาพของตนเองให้เจอเพื่อไปทำหน้าที่ตามสถาบันที่มีอยู่ในสังคม และหน้าที่ของโรงเรียนคือการจัดการศึกษาให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐชาติ โดยมีรัฐชาติเป็นผู้กำกับดูแล ดิวอี้เห็นด้วยที่รัฐชาติจัดการดูแลเรื่องการศึกษา แต่อยากให้รัฐให้บริการด้านการศึกษามากกว่าที่รัฐจะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ
รูปแบบการศึกษาตามความคิดของดิวอี้
รัตนา มองว่า สำหรับดิวอี้ ห้องเรียนและโรงเรียนควรมีอิสรภาพอย่างเต็มที่ เด็กสามารถเคลื่อนไหวตัวอย่างไปอิสระ สามารถตอบหรือแสดงความเห็นได้อย่างไม่เคอะเขินและไม่กลัว ครูไม่ควรสั่งการทุกอย่าง เด็กสามารถมีชีวิตเหมือนอยู่นอกห้องเรียน หลักสูตรต้องมีความหมายกับประสบการณ์ของนักเรียน ห้องเรียนและโรงเรียนต้องให้พื้นที่นักเรียนในการมีตัวตนของตัวเอง สนับสนุนให้นักเรียนมีความทะเยอทะยานอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง หากเป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ควรมีรูปแบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง โดยดิวอี้เห็นว่าการศึกษาควรทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิตเด็กมากกว่าเรียนรู้สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องหรือห่างไกลจากเด็กเกินไป
มีต่อ ..