ยิ่งนานไปมนุษย์ยิ่งมีโอกาสริบหรี่ในการเดินทางหาดาวที่มีสิ่งมีชีวิตใช่ไหม

เพราะจักรวาลขยายตัวไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วที่สูงมากขึ้น ๆ ทำให้ระยะทางระหว่างดวงดาวยิ่งไกลขึ้น ๆ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ยิ่งนานไปมนุษย์ยิ่งมีโอกาสริบหรี่ในการเดินทางหาดาวที่มีสิ่งมีชีวิตใช่ไหม
เพราะจักรวาลขยายตัวไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วที่สูงมากขึ้น ๆ ทำให้ระยะทางระหว่างดวงดาวยิ่งไกลขึ้น ๆ


จริง ๆ แล้ว  การขยายตัวของเอกภพนั้นจะเกิดขึ้นใน scale ที่ใหญ่มากเลยนะครับ
scale ใหญ่นี้  คือ กลุ่มแกแลคซี่ที่ไกลออกไปมากระดับ 100 ล้านปีแสงจากเรา
แต่การสำรวจอวกาศของเราจะกระทำแค่ดวงดาวภายในแกแลคซี่เท่านั้น  ซึ่งในระดับนี้
จะไม่มีการขยายตัวใด ๆ เลย  ระบบดาวที่เรากำลังศึกษาอยู่ในระยะ 20  30  50 ... 100 ปีแสง
จะมีระยะที่เปลี่ยนแปลงน้อยมาก ๆ  แม้ในอีกหลายพันปีข้างหน้า

เรื่องการขยายตัวของเอกภพ และ การเคลื่อนที่ของแกแลคี่ต่าง ๆ  ผมขอเสนอเนื้อหายาวให้ครบถ้วนเลยนะครับ

การเคลื่อนที่ของแกแลคซี่ นั้น  จะมี 3 ลำดับชั้น ของ Group ของแกแลคซี่ครับ  และแต่ละชั้นจะเคลื่อนที่ไม่เหมือนกัน
แกแลคซี่ต่าง ๆ นับหมื่นล้านแกแลคซี่  จะอยู่เป็น "กลุ่ม"

1. กลุ่มที่เล็กสุดเรียกว่า Local group  หรือ  Local Galactic Group  กินอาณาเขตกว้างใหญ่
ประมาณ 5 - 6 ล้านปีแสง  จะมีสมาชิกหลักคือ แกแลคซี่ทางช้างเผือกของเรา , Andromeda , M33 , LEO1 , LEO2  
และแกแลคซี่อื่น ๆ อีกนับสิบ ๆ แห่ง  โดยทั้งหมดกำลังเคลื่อนที่วนไปมา ภายใน Local group นี้
ตัวอย่างเช่น  ทางช้างเผือกของเรากำลังเคลื่อนที่เข้าชนกับแกแลคซี่ Amdromeda
ด้วยความเร็วประมาณ 600 กิโลเมตร/วินาที  อีกประมาณ 4,000 ล้านปี ข้างหน้า  จะรวมตัวกัน
โดยมีแกแลคซี่ M33 กำลังวิ่งตัดหน้าเส้นทางนี้ด้วยครับ

การที่แกแลคซี่ Andromeda กับเรา จะวิ่งมาชนกัน  เป็นเพราะว่าภายใน Local group นี้
มีแรงโน้มถ่วงระหว่างแกแลคซี่ที่เรียกว่า Gravitationally bound  ดังนั้น  จึงเป็นเหตุให้
Andromeda วิ่งเข้าหาเรา  (แถมยังมีแกแลคซี่ M33 วิ่งอ้อมตัดหน้าเส้นทางนี้ด้วย)
และจะมีแกแลคซี่อื่น ๆ ใน Local group วิ่งไปมาอีกด้วย  แต่ยังไม่มีข้อมูลในตรงนี้ครับ


2. กลุ่มที่ใหญ่กว่า คือ Supercluster กว้างใหญ่ประมาณ 150 ล้านปีแสง
ข้างในประกอบด้วย Local group ในข้อ 1.  และ group อื่น ๆ อีกหลายสิบ  ซึ่ง Superpercluster
ของเรา  ชื่อว่า  Virgo Supercluster


3. ใหญ่กว่านั้นอีก  ก็คือ Local Supercluster  ซึ่งก็คือ supercluster ในข้อ 2.
และ supercluster อื่น ๆ อีกเป็นร้อย ๆ ที่ครับ


จากที่อธิบายไปในข้อ 1.  ที่ว่าแกแลคซี่เคลื่อนที่วนไปมา .... แต่ ... แกแลคซี่ในข้อ 2 และ 3
กลับออกห่างจากเราไปครับ   เพราะแกแลคซี่ห่างไกลเหล่านั้นไม่ได้มี Gravitationally bound
กระทำต่อกันอย่างเห็นผลแล้ว  มันจึงผละออกห่างกันตามการขยายตัวของเอกภพ
เราสามารถดูได้ว่าแกแลคซี่ใหนกำลังวิ่งออกห่างจากเรา  คือดูที่ค่า Red shift ของมัน
หากแกแลคซี่ใดมีค่า red shift มาก ๆ (ค่าตั้งแต่ 3 - 11) แสดงว่าวิ่งออกห่างจากเราเร็วมาก
และแกแลคซี่ที่มี red shift สูง  ล้วนแต่อยู่ไกลจากเรามาก  และถอยห่างจากเราเร็วมาก
ตามการขยายตัวของเอกภพ ครับ

สุดท้าย .... ให้ดูภาพนี้ทีละ scale ครับ  จะเข้าใจเรื่อง Group - Cluster - Supercluster ได้ดีขึ้น
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0f/Earth%27s_Location_in_the_Universe_SMALLER_%28JPEG%29.jpg
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่